พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

คุณงามความดีและคุณประโยชน์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือที่เรียกว่า พระพุทธคุณ ที่มนุษย์และเทวาทั้งหลายต่างกล่าวสรรเสริญ มีทั้งหมด 9 ประการ ดังต่อไปนี้

[one_half]

พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

         
ประการที่ 1 อรหํ แปลว่า ไกล หมายถึง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่ห่างไกลจากกิเลสหรือพ้นจากกิเลส เพราะทรงกำจัดกิเลสทั้งหลายให้หมดไปจากใจได้ โดยไม่เหลือแม้กระทั่งเศษเสี้ยวของกิเลส ทำให้พระพุทธองค์บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนกับแท่งทองชมพูนุท และมีใจที่มั่นคง ไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์

[/one_half]

[one_half_last]
         
ที่มากระทบ คือ ไม่ทรงยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนา และไม่ทรงยินร้ายในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเปรียบเหมือนกับเสาเขื่อนที่มั่นคง ไม่คลอนแคลนหรือหวั่นไหวต่อพายุที่มาจากทิศทั้ง 4

เมื่อพระพุทธองค์ไม่เคยหวั่นไหวต่อสิ่งใด เพราะสามารถกำจัดกิเลสอาสวะได้จนหมดสิ้น ไม่เหลือแม้กระทั่งเศษเสี้ยว จึงมีนัยที่แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นผู้ควร หมายถึง เป็นผู้ที่เหล่ามนุษย์และเทวา ทั้งหลายสมควรแก่การเคารพ เทิดทูนบูชาอย่างยิ่ง และเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่แท้จริง

เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์เป็นผู้ไกลจากกิเลส เพราะพระพุทธองค์เป็นผู้มั่นคง ไม่หวั่นไหวจากกิเลสทั้งปวงที่จะมากระทบใจได้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลใดมาพบเจอพระพุทธองค์ ก็รู้ว่าท่านผู้นี้คือ บุคคลที่ควรแก่การเคารพกราบไหว้ เทิดทูนบูชาไว้ในใจ เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดที่แท้จริง

[/one_half_last]

         

[one_half]

         
ประการที่ 2 สัมมาสัมพุทโธ มาจากคำ 3 คำ คือ คำว่า สัมมา คำว่า สัม และคำว่า พุทโธ คำว่า “พุทโธ” แปลว่า รู้ เข้าใจ หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้ที่ทั้งรู้ทั้งเห็นอย่างถูกต้อง โดยอาศัยธรรมจักษุ ซึ่งสิ่งทั้งหลายที่พระองค์รู้เห็นนั้น ตรงตามความเป็นจริง ไม่ใช่คาดคะเนหรืออนุมานเอา เพราะพระพุทธองค์ เป็นผู้ที่มีดวงตาธรรม คือ ตาภายใน เห็นเหตุในทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง และการตรัสรู้ของพระพุทธองค์มีขั้นตอนเป็นไปตามลำดับ เมื่อเป็นเช่นนี้พระพุทธองค์จึงทรงมีความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริงทุกประการ ซึ่งเป็นไปตามเนื้อความในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรตอนหนึ่งที่ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อปฏิบัติมรรคมีองค์ 8 แล้ว ก็ทำให้ธรรมะเหล่านี้เกิดขึ้นแก่เรา คือ จักขุ ญาณัง ปัญญา วิชชา อาโลโก” ซึ่งคุณพิเศษทั้ง 5 อย่างนี้ จะเกิดขึ้นมาตามลำดับ อะไรที่เป็นความมืดมน หรือลี้ลับของโลกและชีวิตก็ถูกเปิดเผยขึ้น พระองค์จึงเป็นเหมือนประทีปธรรมเอกของโลกและจักรวาล ที่นำความสว่างไสวมาสู่ใจของมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย

ดังนั้น เมื่อพระพุทธองค์ดำเนินทางสายกลางคือ มรรคมีองค์ 8 จนสามารถตรัสรู้ธรรม รู้เห็น เหตุเกิดของสรรพสิ่งตามความจริง จึงทำให้เข้าใจในสรรพสิ่งตามความเป็นจริงทุกอย่าง และทำให้กำจัดกิเลสอาสวะได้หมดสิ้น พร้อมกับทรงรู้แจ้งในธรรมทั้งปวง พร้อมทั้งเหตุทั้งผลอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ความรู้เช่นนี้จึงไม่มีบุคคลใดที่จะสามารถมาติเตียนพระพุทธองค์ได้ เพราะว่าการที่บุคคลใดจะทำอะไรหรือเรียนอะไรก็ตาม ย่อมต้องเห็นก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าไม่ได้เห็นแล้วก็ยากที่จะรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำหรือเรียนในสิ่งนั้น ความรู้ที่พระพุทธองค์รู้นั้น จึงสามารถแปลได้ว่า ทั้งรู้ทั้งเห็น ไม่ใช่รู้เพียงอย่างเดียว

คำว่า สัม มาจากคำว่า สัง แปลว่า ด้วยตนเอง เป็นคำนำหน้า พุทโธ จึงหมายความว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
[/one_half]

[one_half_last]

พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

ไม่ต้องให้บุคคลใดมาสอน หรือไม่ได้ไปคัดลอกเลียนแบบใคร เพราะพระพุทธองค์ทรงรู้เห็นด้วยตนเอง

คำว่า สัมมา แปลว่า โดยชอบ ถูกต้อง เป็นคำนำหน้า สัมพุทโธ จึงหมายความว่า พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เองในสิ่งที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น และในสิ่งที่ตรัสรู้ยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงทุกประการ เพราะสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสรู้นั้น มีเหตุผลรองรับกันเสมอ ไม่ได้มีความคลาดเคลื่อนกัน เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงรู้เหตุและผล รู้ว่าอะไรเป็นเหตุและรู้ว่าอะไรเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำเหตุเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น คำว่า สัมมาสัมพุทโธ จึงมีความหมายว่า เป็นผู้ตรัสรู้แล้วด้วยพระองค์เองโดยชอบหรือโดยถูกต้อง คือ เป็นผู้ที่ทั้งรู้ทั้งเห็นในธรรมทั้งหลาย และรู้อีกว่าอะไรเป็นเหตุที่ทำให้สิ่งนี้เกิดขึ้นมาได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเป็นผู้ที่ทั้งรู้ทั้งเห็นในเหตุและผลของธรรมทั้งหลายตรงตามความเป็นจริงด้วยพระองค์เอง โดยไม่ได้มีบุคคลใดมาสอนให้ ดังที่พระอัสสชิกล่าวกับพระสารีบุตรว่า “ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุแห่งความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”

[/one_half_last]


[one_half]

พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

[/one_half]
         
[one_half_last]ประการที่ 3 วิชชาจรณสัมปันโน มาจากคำ 2 คำ คือ วิชชาและจรณะ คำว่า วิชชา หมายเอาวิชชา 8 คือ วิปัสสนาญาณ ความเห็นแจ้ง เห็นวิเศษ หมายถึง พระพุทธองค์ทรงเห็นแจ้งในสภาวธรรมตรงตามความเป็นจริง เช่น เห็นขันธ์ 5 ว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา และยังทำให้สรรพสัตว์ ทั้งหลายต้องติดอยู่ในวัฏสงสารและต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่รู้จักจบสิ้น ซึ่งการเห็นแจ้งนั้น ไม่ใช่จะมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ แต่พระพุทธองค์ทรงรู้เห็นได้ด้วยตาธรรม คือ ตาภายใน
[/one_half_last]
[clear]
[clear]

         มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ คือ จะนึกให้เป็นอย่างไร ก็เป็นไปตามที่นึกได้

         อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ได้ เช่น เนรมิตกายคนเดียวเป็นหลายคนได้

         ทิพพโสต มีหูทิพย์ มีญาณพิเศษที่จะฟังอะไรก็ได้ยินตามที่ปรารถนา

         เจโตปริยญาณ คือ รู้วาระจิตของผู้อื่น

         ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ความรู้ที่สามารถระลึกชาติหนหลังได้ว่า ชาติไหน เกิดเป็นอะไร

         ทิพพจักษุ คือ ตาทิพย์ พระองค์ทรงสามารถมองเห็นทุกสิ่งได้หมด ไม่ว่าจะอยู่ใกล้ไกลอย่างไร และระลึกชาติหนหลังของสัตว์อื่นได้

         อาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำลายอาสวะให้หมดสิ้น คือ ทรงขจัดกิเลสอาสวะให้หมดสิ้นไป ไม่มีเหลือในขันธสันดานของพระองค์เลยแม้แต่นิดเดียว ดังที่ได้ตรัสกับสคารวมาณพว่า “เมื่อจิตเราเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผุดผ่อง หลุดพ้นจากกิเลสแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นไม่มีŽ”

         

[one_half]การที่พระพุทธองค์ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชา 8 ประการนี้ จึงทำให้พระองค์สามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป และยังสั่งสอนให้สรรพสัตว์ทั้งหลายได้รู้เห็นจนสามารถกำจัดกิเลสไปได้หมดเหมือนอย่างกับพระองค์ วิชชา จึงเป็นความรู้ที่สามารถจะกำจัดความมืด คือ อวิชชา ให้หมดสิ้นไปได้อย่างถาวร

คำว่า จรณะ หมายถึง ความประพฤติอันงดงาม มี 15 ประการ ได้แก่ ศีลสังวร คือ ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ อินทรีย์สังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ โภชเนมัตตัญญุตา คือ ความรู้จักประมาณในการบริโภค ชาคริยานุโยค คือ การประกอบความเพียรที่ทำให้เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ ศรัทธา สติ หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ อุปักโม ปัญญาและรูปฌาน 4
[/one_half]

[one_half_last]สิ่งเหล่านี้แสดงถึงว่า พระพุทธองค์ทรงมีศีลาจารวัตรที่งดงาม ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมามากมายหลายภพหลายชาติ จึงทำให้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะจรณะทั้ง 15 ประการ เป็นพื้นฐานที่ทำให้พระองค์มีความหนักแน่น มั่นคงอย่างต่อเนื่องในการสร้างบารมี จนกระทั่งบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตามความปรารถนาที่ตั้งใจไว้

เพราะฉะนั้น คำว่า วิชชาจรณสัมปันโน จึงหมายความว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เพราะพระองค์ทรงประพฤติปฏิบัติจรณะทั้ง 15 ประการมาหลายภพหลายชาติ จึงทำให้พระองค์มีวิชชาที่รู้ในสิ่งที่สามารถกำจัดความมืด คือ อวิชชา และบรรลุเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ด้วยพระองค์เอง
[/one_half_last]
[clear]
[clear]
         


[one_half]

พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

         
ประการที่ 4 สุคโต แปลว่า ผู้เสด็จไปดีแล้ว เสด็จไปสู่ที่ดี เสด็จไปโดยชอบ ผู้ทรงละกิเลสด้วย อรหัตตมัคคญาณแล้วไม่ทรงกลับมาสู่กิเลสนั้นอีก เสด็จไปจากสงสารแล้วไม่กลับมาอีก หรือผู้เสด็จไปเพื่อยังประโยชน์ของตนและผู้อื่นให้สำเร็จด้วยดี หมายความว่า พระพุทธองค์ทรงประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา ใจ อย่างสม่ำเสมอมาหลายภพหลายชาติ โดยดำเนินไปตามเส้นทางของศีล
[/one_half]

[one_half_last]
         
สมาธิและปัญญา จนสามารถกำจัดกิเลสที่อยู่ในใจได้อย่างหมดสิ้น แล้วบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณได้ และเมื่อดับขันธปรินิพพานก็ไปสู่ พระนิพพาน ซึ่งพระพุทธองค์ไม่ทรงกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ละได้แล้วอีก

นอกจากนี้ คำว่า สุคโต ยังแปลว่า ไปสู่ที่ไหนดีที่นั่น หมายความว่า ไปทำประโยชน์เกื้อกูลให้ ความสุขแก่ที่นั่น ดังเช่นเมื่อคราวที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปยังกรุงเวสาลี เพื่อขจัดทุกข์โศกโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้หมดไป ทำให้เมืองเวสาลีสะอาดหมดจดและชาวเมืองเวสาลีก็กลับมามีความสุขกันอีกครั้งหนึ่ง

เพราะเหตุที่พระพุทธองค์ทรงประพฤติดีทั้งทางกาย วาจา และใจมาอย่างต่อเนื่องทุกๆ ชาติที่เกิดมาสร้างบารมี จึงทำให้พระพุทธองค์สามารถกำจัดกิเลสได้หมดสิ้นและไปสู่พระนิพพาน โดยที่ไม่ต้องกลับมาเกิดอีกต่อไป นอกจากนี้ยังทำให้พระพุทธองค์ไม่ว่าจะเสด็จไปที่ใด สรรพสัตว์ทั้งหลายก็จะเกิดความชุ่มเย็นด้วยบุญญาบารมีของพระองค์ที่สั่งสมมา และทำให้สถานที่นั้นสะอาดหมดจด มีแต่ความสุขความเจริญ มนุษย์และเทวดาทั้งหลายก็เข้าถึงธรรม มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุด
[/one_half_last]


[one_half]
         
ประการที่ 5 โลกวิทู แปลว่า ทรงรู้แจ้งโลก หมายความว่า ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ในภพ 3 คือโลกทั้ง 3 มีสังขารโลก สัตวโลก โอกาสโลก

สังขารโลก คือ รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณ หรือที่เรียกว่า ขันธ์ 5 หมายถึง สังขารร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยกายกับใจ ซึ่งมีอาหาร เป็นปัจจัยปรุงแต่งให้สรรพสัตว์ทั้งหลายดำรงอยู่ได้

สัตวโลก คือ เห็น จำ คิด รู้ หรือที่เรียกว่า ใจ หมายถึง สรรพสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในภพ 3 ยังมีจิตซัดส่ายไปในสิ่งต่างๆ ที่ได้พบเห็น หรือได้สัมผัสทางรูป รส กลิ่น เสียงหรือวัตถุสิ่งของก็ตาม ก็ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดไปในสิ่งต่างๆ เหล่านั้น

โอกาสโลก คือ สถานที่ที่รองรับซึ่งกันและกัน หรือที่เรียกว่า ภพ 3 หมายถึง สถานที่ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
[/one_half]

[one_half_last]

พุทธคุณ 9 ประการ พร้อมคําแปล

         
และยังเป็นสถานที่สร้างกรรมดีและกรรมชั่ว นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่เสวยผลแห่งกรรมดีและกรรมชั่วของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ได้กระทำไว้ครั้นเมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่
[/one_half_last]

         
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้สภาพความเป็นไปของสัตวโลกทั้งหมด ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่อย่างไร จะตายจะเกิดได้อย่างไร จะคิดดีคิดชั่วอย่างไร และต้องเวียนว่ายตายเกิดอย่างไร หรือแม้แต่ภพภูมิ จักรวาลที่อาศัยอยู่นี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร และจะมีการเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร ดังนั้นพระพุทธองค์จึงทรงสรุปได้ว่า โลกทั้งโลกก็คือคุกขังสรรพสัตว์Ž ทำให้ต้องเวียนว่ายตายเกิดมานับภพนับชาติไม่ถ้วน จึงทำให้พระพุทธองค์ ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ชื่อว่าความลับไม่มีในโลกใบนี้สำหรับพระพุทธองค์ เพราะฉะนั้น พระพุทธองค์จึงชื่อว่า โลกวิทู หมายถึง ผู้รู้แจ้งซึ่งโลก เพราะเหตุที่พระพุทธองค์สั่งสมบารมีมาอย่างยาวนาน จนทำให้พระพุทธองค์เกิดปัญญาแทงตลอด สามารถรู้ในทุกสิ่งได้ ไม่มีอะไรจะมาปิดบังพระองค์ได้เลย จึงทำให้ความรู้แจ้งทุกอย่างในโลกก็เกิดขึ้นตามมาได้ในที่สุด

[big_button url=”http://dou.us/พุทธคุณ-9-ประการ-ตอนที่-2/”]อ่านต่อ[/big_button]
[clear]


ที่มา : หนังสือเรียน GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

Share on Facebook Share

Share on TwitterTweet

Share on Google Plus Share

Share on LinkedIn Share

Print Print

สมัครรับอีเมล์ข่าวสารจาก DOU

สมัครรับข้อมูลข่าวสารออนไลน์ กับ DOU ง่าย ๆ บนเว็บไซต์ แค่กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน คุณจะไม่พลาดข่าวสารสำคัญ ๆ ที่ส่งตรงถึงอีเมล์ของคุณ

พระพุทธคุณ 9 ประการมีอะไรบ้าง

พุทธคุณ 9 ประการ.
อรหํ เป็นพระอรหันต์.
สมฺมาสมฺพุทโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ.
สุคโต เสด็จไปดีแล้ว.
โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก.
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า.
สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระพุทธคุณ 9 ให้ข้อคิดอย่างไร

พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ สรุปลงเป็น ๓ ประการคือ ๑. พระวิสุทธิคุณ คือ ความบริสุทธิ์ อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๑,๓ และ ๙ ๒. พระปัญญาคุณ คือ ปัญญา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๒,๕ และ๘ ๓. พระมหากรุณาธิคุณ คือ พระมหากรุณา อันได้แก่ พระคุณข้อที่ ๔,๖ และ ๗

พุทธคุณมีกี่ข้อพร้อมความหมาย

น. คุณของพระพุทธเจ้าอย่างย่อที่สุด มี ๓ ประการ คือ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาคุณ พระกรุณาคุณ. ไตรสรณคมน์, ไตรสรณาคมน์ (-สะระนะคม, -สะระนาคม) น. การยึดถือพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกโดยการน้อมนำเอาพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มาเป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติ.

พระกรุณาคุณมีอะไรบ้าง

3. พระกรุณาธิคุณ คือ ประกอบด้วยความกรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ทรงเลือกชาติชั้นวรรณะแต่ประการใด แม้แต่ในศีลของพระองค์ก็ทรงบัญญัติให้คนงดเว้นไม่ทำสิ่งมีชีวิตให้ตกล่วงไป และทรงแนะให้แผ่มตตาจิตต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อให้อยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อันเป็นเป้าหมายของการดำรงชีวิต