การศึกษาภาคบังคับ มีกี่ระดับ

‘การศึกษาภาคบังคับ’ คือ กฎหมายที่กำหนดให้ เด็กและเยาวชนในประเทศนั้นๆ ต้องได้รับการศึกษาในขั้นต่ำตามกำหนดและทางภาครัฐก็จะต้องมีการจัดหาสถานศึกษาให้ เช่น การเลือกเรียนสถานศึกษาใกล้บ้าน เป็นต้น โดยประเทศในบางประเทศการศึกษาที่บ้าน ก็สามารถเป็นการศึกษาภาคบังคับซึ่งเป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย ได้เช่นเดียวกัน

การศึกษาภาคบังคับ แห่งประเทศไทย

โดยการศึกษาภาคบังคับ ณ โรงเรียนประถมศึกษาหลายแห่งทั่วประเทศ ได้สร้างความตกลง ในหลักอันเป็นสิทธิมนุษย์ชนสากล ค.ศ. 1948 โดยประเทศทั้งหลายในโลกส่วนใหญ่ ต่างบัญญัติกฎหมายเพื่อให้ได้มีการศึกษาภาคบังคับแก่เยาวชนคนรุ่นใหม่ของประเทศ อย่างต่ำสุด คือ ในระดับชั้นประถมศึกษา อีกทั้งยังเกิดความพยายามมากยิ่งขึ้น ในการจะพยายามผลักดันให้ขยายไปถึงในระดับมัธยมศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพของชีวิตเด็กๆ ให้ดีขึ้น จนเจริญเติบโตไปกลายเป็นผู้ใหญ่ดีมีคุณภาพของสังคม

ประโยชน์ของการศึกษาภาคบังคับ ได้แก่…

การศึกษาภาคบังคับ มีกี่ระดับ
การศึกษาภาคบังคับ มีกี่ระดับ
การศึกษาภาคบังคับ

ย้อนไปในอดีตอันแสนยาวนาน ก่อนจะเกิดการศึกษาภาคบังคับขึ้นมา เด็กๆและเยาวชน มักได้เรียนรู้ทักษะอาชีพของผู้ปกครองเป็นการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นนั่นเอง โดยการศึกษาภาคบังคับ จะแนะนำงานในอาชีพอื่นๆ ที่เด็กๆ สามารถเรียนได้และมีความชอบ มีความถนัดในส่วนบุคคล ตัวอย่างเช่น วิชาคณิตศาสตร์ สามารถนำพาเด็กๆ ไปยังอาชีพที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ได้ หรือวิชาชีววิทยาก็สามารถนำพาเด็กๆ ไปยังอาชีพทางด้านการแพทย์ได้ เป็นต้น

ป้องกัน , ปราบปราม , ขัดขวางการใช้แรงงานเด็ก

จุดมุ่งหมายอีกหนึ่งประการของการบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ คือ การลดจำนวนกลุ่มเด็กอันธพาลตามท้องถนน เพราะไม่มีอะไรทำ หรือไม่รู้ว่าจะไปทำอะไรดี ซึ่งพ่วงประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาสังคมอีกทางหนึ่งด้วย

หากแต่สำหรับในประเทศไทย การศึกษาภาคบังคับก็ควรมีความยืดหยุ่นให้แก่ประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิ เลือกช่วงชั้น ทำให้ครอบครัวสามารถตัดสินใจได้ว่า ควรให้เด็กได้รับการศึกษาเมื่อไหร่ โดยไม่เป็นปัญหาขัดแย้งต่อสภาวะการครองชีพของครอบครัว ซึ่งน่าจะดีกว่าการกำหนดเจาะจงไปว่าจะต้องเริ่มที่อนุบาลเมื่อมีอายุ 4 ปีเท่านั้น

นอกจากนี้การศึกษาภาคบังคับ เพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดว่าเป็นข้อกำหนดอันต่ำมาก เพราะนักเรียนยังไม่มีความรู้มากพอ ซึ่งจะไปประกอบอาชีพต่อยอดเลี้ยงตัวในอนาคต นอกจากนี้ก็ยังไม่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ตลอดจนการสื่อสารกับบุคคลอื่น ก็จำเป็นต้องใช้ความสามารถในการอ่าน – เขียนด้วยความชำนาญ ซึ่งเพียงแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก็อาจยังไม่แข็งแรงพอ แต่ถ้าการศึกษาภาคบังคับเปลี่ยนมาให้เรียนจบมัธยมศึกษาปี่ที่ 3 เป็นอย่างน้อย ก็น่าจะกลายมาเป็นประโยชน์แก่เด็กมากขึ้น จึงน่าจะกลายมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีความสำคัญของครอบครัวเด็ก เพราะกลายมาเป็นปัจจัยที่เหมาะสมแก่สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวมากที่สุดนั่นเอง

ที่ให้เริ่มตั้งแต่ระดับอนุบาลปฐมวัย โดยในหมวด 4 หน้าที่ของปวงชนชาวไทย มาตรา 47 (4) ได้กำหนดไว้ว่า...บุคคลมีหน้าที่เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ และในหมวด 5 หน้าที่ของรัฐ ได้กำหนดเพิ่มเติมในมาตรา 50 ว่า รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาภาคบังคับที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง โดยไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่าย...รัฐต้องดำเนินการหรือจัดให้มีการศึกษาก่อนวัยเรียนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง และ...รัฐต้องดำเนินการให้ผู้ด้อยโอกาสได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาตามความถนัดของตน...ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ ...ซึ่งในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ได้กำหนดรายละเอียดของการศึกษาภาคบังคับว่าเริ่มในระดับอนุบาลปฐมวัยตั้งแต่อายุย่างเข้าปีที่ 4 ถึงปีที่ 12 นั่นคือสามปีแรก และในระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 6 อีกหกปี รวมทั้งสิ้น 9 ปี

ข้อที่น่าสังเกตุก็คือร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้กำหนดเรื่องการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงถือเป็นการยกเลิกการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายตามที่เคยกำหนดในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่กำหนดไว้สิบสองปีทั้งหมดแต่ในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....มาตรา 12 ได้กำหนดไว้ว่า บุคคลที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป...มีสิทธิได้รับการจัดสรรทุนการศึกษาจากรัฐ...และในมาตรา 13 ได้กำหนดว่า บุคคลที่เข้ารับการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรีมีสิทธิกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และที่เป็นพิเศษก็คือ มาตรา 18 (3) ที่กำหนดไว้ว่า การดูแลและเสริมสร้างพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนเข้าสู่ภาคบังคับ(โดย)ได้รับการอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงมาตรา 19 ที่กำหนดให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการและสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาระดับปฐมวัยและประถมศึกษามีสิทธิได้รับประโยชน์ตามควรแก่กรณี

พิจารณาจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ... จะพบว่า การสนับสนุนของรัฐจะเป็นการกระจายความรับผิดชอบลงไปตามส่วนงานต่างๆตั้งแต่ส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น ถึงระดับชุมชนและปัจเจกบุคคลปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือมาตรฐานการจัดการศึกษาจะเป็นอย่างไร เพราะศักยภาพในการจัดการศึกษาของแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน

นอกจากนี้ ถ้าหากการศึกษาของชาติมีการบริหารจัดการในรูปแบบที่กำหนดไว้ในร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....ฉบับนี้ ก็คงเป็นเรื่องที่จะต้องดูว่าจะเป็นการสร้างเสริมประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการศึกษาของชาติได้แค่ใหนเพียงไร โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการศึกษาระดับมัธยมที่เคยได้รับการยกเว้นไม่เสียค่าใช้จ่าย มาเป็นการเสียค่าใช้จ่าย แต่มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาหรือทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา เพราะจะต้องมีระเบียบปฏิบัติกำกับกระบวนการขอรับทุนหรือการกู้ยืมเงินตามที่สภานโยบายและพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ (ที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่) เป็นผู้กำหนด

อีกปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือการศึกษาภาคบังคับในระดับปฐมวัยที่ยังไม่มีเกณฑ์อะไรที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งแตกต่างกับระดับประถมศึกษาอย่างมาก ในขณะที่รัฐต้องการให้การศึกษาในระดับนี้มีความเป็นอิสระและสามารถใช้วิธีเรียนหรือสอนที่เป็นระบบหรือแม้ไม่เป็นระบบได้ในหลากลายรูปแบบ แต่จะต้องสร้างความมั่นใจว่าเด็กอายุถึงเกณฑ์ที่จะเข้าเรียนในระดับประถมศึกษาแล้วจะต้องมีความพร้อมที่อยู่ในมาตรฐานเดียวกันเพราะมิฉนั้นจะเป็นปัญหาสำหรับการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาอย่างมาก ในมาตรา 26(1) ได้กำหนดให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยมีความหลากหลายตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น เช่นนี้แล้ว มาตรฐานจะอยู่ที่ใหน

ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ได้มีการอภิปรายถึงการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายในสี่ลักษณะดังนี้

1) กลุ่มที่สนับสนุนให้บุคคลได้รับการศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 9 ปี สองช่วงชั้น ตั้งแต่ช่วงชั้นอนุบาลปฐมวัย ถึงช่วงชั้นระดับประถมศึกษา

2) กลุ่มที่สนับสนุนให้การศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 9 ปี สองช่วงชั้น ตั้งแต่ช่วงชั้นประถมศึกษา ถึงช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

3) กลุ่มที่สนับสนุนให้การศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย 12 ปี สามช่วงชั้น นับตั้งแต่ช่วงชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือประโยควิชาชีพชั้นต้น

4) กลุ่มที่ต้องการให้ยืดระยะเวลาการศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย สี่ช่วงชั้น นับตั้งแต่ช่วงชั้นประถมศึกษา ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ช่วงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และช่วงชั้นปริญญาตรี

ทั้งสี่กลุ่มต่างมีเหตุผลสนับสนุนแนวความคิดอย่างน่าสนใจ และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั้งสิ้น เพราะทุกคนมีความเห็นอยู่บนแนวความคิดเดียวกันว่า การให้การศึกษาเป็นการลงทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ระยะยาว (Investment) มิใช่เรื่องของค่าใช้จ่าย (Cost) สิ่งที่รัฐลงทุนในขณะปัจจุบัน ถ้าหากเป็นการลงทุนที่เหมาะสม จะมีผลต่อความมั่นคงของประเทศในวันข้างหน้าเนื่องจากประเทศไทยจะมีประชากรที่มีความรู้ความชำนาญ มีความสามารถในการแข่งขัน และนั่นก็คือเป้าหมายสูงสุดของประเทศ

ในการร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 แม้ว่าจะสรุปให้มีการศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 12 ปี แต่ก็มีคำถามสำคัญที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางว่าจำเป็นหรือไม่ที่การศึกษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายจะต้องเริ่มต้นที่ประถมศึกษาปี่ที่ 1 และจบลงที่มัธยมศึกษาปีที่ 6 เสมอไป และน่าจะดีกว่าหรือไม่ถ้าเปิดโอกาสให้ครอบครัวของเด็กมีสิทธิที่จะเลือกว่าอาจเริ่มต้นที่ระดับอนุบาลปฐมวัยสามปี ประถมศึกษาหกปี และมัธยมศึกษาตอนต้นอีกสามปี นั่นคือการให้ความสำคัญกับช่วงชั้นมากกว่าจำนวนปี และเปิดโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กสามารถเลือกช่วงชั้นที่มีความเหมาะสมกับสภาวะการดำรงชีพของแต่ละครอบครัวและสภาวะท้องถิ่นมีการจัดการศึกษาระดับอนุบาลปฐมวัยที่ไม่เหมือนกัน

ด้วยตรรกะเดียวกันนี้ คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 จึงอาจพิจารณาเรื่องการศึกษาภาคบังคับเก้าปีว่า น่าจะมีทางเลือกให้เด็กได้รับการศึกษาตามช่วงชั้นซึ่งอาจเป็นช่วงสามปีในระดับปฐมวัยและช่วงหกปีในระดับประถมศึกษา หรือเป็นช่วงหกปีในระดับประถมศึกษาและช่วงสามปีในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงหลักการและเหตุผล ทั้งในทางทฤษฎี และปฏิบัติแล้ว น่าจะเป็นจุดลงตัวที่สำคัญด้วยเหตุผลดังนี้

เหตุผลในทางทฤษฎี

1) เรื่องสิทธิเสรีภาพในการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของหมวดที่ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทย ซึ่งเป็นหมวดที่สำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิเสรีภาพอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ในการให้ความเสมอภาคอย่างเท่าเทียมกันนี้ ไม่ได้หมายความว่ารัฐจะต้องกำหนดเป็นการตายตัวว่าทุกคนในชาติจะต้องเหมือนกันหมด โดยไม่เปิดโอกาสหรือทางเลือกอื่นอันอาจจะพึงมีหรือพึงทำได้ ถ้าทางเลือกเช่นว่านั้นถือเป็นการใช้สิทธิของประชาชนที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่น

2) เรื่องของสิทธิเสรีภาพเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งส่วนหนึ่งของเรื่องสิทธิมนุษยชน (Civil Rights) ในเรื่องสิทธิมนุษยชนนั้น สิ่งที่เลวร้ายที่สุดก็คือการเลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมโดยรัฐ (Segregation หรือ Discrimination) แต่ไม่ใช่เรื่องปิดโอกาสทางเลือกของประชาชนที่จะใช้สิทธิเลือก หรืออาจกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ บุคคลต้องมีเสรีภาพในการเลือกแนวทางที่ตนต้องการ (Freedom of Choices) และรัฐจะต้องยืนยันความถูกต้องของการเลือกเช่นว่านั้น ถ้าไม่ขัดต่อกฎหมายและสิทธิเสรีภาพ ของประชาชน (Affirmation Action)

3) เมื่อเป็นเช่นนี้ การที่คณะกรรมการยกร่างฯแก้ไขว่า ให้เป็นสิทธิของบุคคลที่จะเลือกว่าจะเริ่มต้นการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ช่วงชั้นใด จึงถือเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักการสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิเลือก ซึ่งน่าจะดีกว่าการกำหนดแบบตายตัวให้ประชาชนทุกคนจะต้องใช้สิทธิเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะในช่วงชั้นที่กำหนดให้เท่านั้น ทั้งๆที่ครอบครัวแต่ละครอบครัวมีความพร้อมที่แตกต่างกันในการส่งบุตรหลานเข้ารับการศึกษา

4) เสรีภาพที่จะเลือก (Freedom of Choices) นี้ สามารถใช้กับกรณีอื่นที่นอกเหนือจากการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายได้ เช่นเรื่องการออกเสียงเลือกตั้ง (Voting) การเข้าถึงและใช้บริการของรัฐอย่างทั่วถึง (Public Accommodation and Services) การจ้างงาน (Employment) การอยู่อาศัย (Housing) และที่สำคัญก็คือการได้รับการศึกษาโดยไม่ถูกแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ (Desegregation)

เหตุผลในทางปฏิบัติ

นอกเหนือจากเหตุผลสนับสนุนในทางทฤษฎีข้างต้นแล้ว ยังมีเหตุผลในทางปฏิบัติที่น่าจะนำมาประกอบการพิจารณาความสมเหตุสมผลของคณะกรรมการยกร่างฯ ดังนี้

1) เป็นการเปิดโอกาสให้ครอบครัวที่บิดามารดาผู้ปกครองเด็กที่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาเลี้ยงดูเด็กอายุเข้าสู่ปีที่ 4 ถึง 6 ขวบ ด้วยตนเอง และ / หรือ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการส่งเด็กไปเรียนอนุบาลปฐมวัย ได้รับการผ่อนภาระ โดยรัฐรับเป็นธุระรับภาระให้ทั้งหมดตั้งแต่ช่วงอนุบาลปฐมวัยจนถึงจบระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จากนั้นไป ครอบครัวจะรับภาระส่งต่อ หรือนักเรียนอาจเข้าสู่ตลาดแรงงานตามความจำเป็นของครอบครัว ในขณะที่บางครอบครัวอาจต้องการให้บุตรอยู่ในความดูแลของตนอย่างใกล้ชิดและไม่ต้องการให้เข้าเรียนระดับอนุบาล ก็สามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่ช่วงระดับประถมศึกษาหกปี และช่วงมัธยมศึกษาตอนต้นอีกสามปี ซึ่งเมื่อจบในช่วงที่สองนี้แล้วก็สามารถขอรับทุนการศึกษาหรือกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาได้ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาเป็นต้นไป

2) การเปิดโอกาสให้มีทางเลือกเช่นว่านี้จะเหมาะสมสำหรับบุคคลที่มิได้อยู่ในเขตเมือง ที่ไม่มีโรงเรียนอนุบาลปฐมวัยรองรับ เพราะถ้าบังคับให้เริ่มต้นที่อนุบาลปฐมวัย แต่ไม่มีสถานที่ให้เรียน ก็จะเสียสิทธิจากข้อจำกัดเช่นว่านั้น ทำให้เกิดความลักลั่น ไม่เป็นธรรมโดยนโยบายของรัฐเอง การเปิดโอกาสให้เริ่มต้นตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ได้จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว

3) นักเรียนที่มีลักษณะเป็นเด็กพิเศษ จำเป็นต้องได้รับการศึกษาพิเศษ (Special Education) ซึ่งแม้ว่ารัฐจะจัดให้มีโรงเรียนพิเศษ ก็ไม่สามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมทั่วถึง ถ้าเด็กพิเศษเหล่านี้สามารถเข้าเรียนได้ตั้งแต่ระดับอนุบาลปฐมวัย จะช่วยผ่อนภาระของพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างมาก นอกจากนี้ ในแนวทางการศึกษาสำหรับเด็กพิเศษสมัยใหม่ต้องการให้เด็กพิเศษเข้าเรียนร่วมกับเด็กปกติมากที่สุดที่โรงเรียนสามัญ (Mainstream School) เพื่อให้สามารถปรับตัวใช้ชีวิตได้อย่างคนปกติทั่วไป ถ้าเด็กเหล่านี้สามารถเริ่มต้นที่ระดับอนุบาลปฐมวัยได้ ถือว่ารัฐได้ให้การช่วยเหลือโดยตรงต่อพ่อแม่ผู้ปกครองของเด็กพิเศษเหล่านั้น

4) การกำหนดระยะเวลาเป็นช่วงชั้น นอกจากถือเป็นการให้ประชาชนมีทางเลือกในการกำหนดช่วงชั้นตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นเข้ารับการศึกษาจนเรียนจบครบ 9 ปีแล้ว รัฐก็สามารถกำหนดงบประมาณได้ชัดเจนว่าจะต้องใช้งบประมาณเพียงใดในการให้การศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะเมื่อบุคคลใดเริ่มลงทะเบียนใช้สิทธิเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วงชั้นใด ก็สามารถคำนวณได้ว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวจะเป็นเท่าไรจนกว่าจะเรียนครบ 9 ปี

5) ในอนาคต หากมีการบัญญัติเปิดทางไว้ หลักการเช่นว่านี้อาจปรับเปลี่ยนเป็นช่วงชั้นอื่นก็ได้

6) การกำหนดระยะเวลา 9 ปี เท่าเทียมกัน มีข้อดีในแง่ที่ว่าทุกคนจะทราบและปรับตัวเองให้เข้ากับสถานะทางเศรษฐกิจของครอบครัวและจุดมุ่งหมายในอนาคต และมีความชัดเจนว่า เมื่อครบ 9 ปีแล้ว จะต้องพึ่งตัวเอง จึงเท่ากับเป็นการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนเตรียมตัวเองที่จะพึ่งตัวเอง และครอบครัวไม่รอความหวังจากรัฐ และขวนขวายช่องทางอื่นที่เหมาะสมเช่นกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา ออกไปประกอบอาชีพ และหาโอกาสที่จะกลับเข้ามาศึกษาต่อเมื่อมีความพร้อมในภายหลัง หรือเข้ารับการเรียนการสอนโดยวิธีอื่นที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง และค่าใช้จ่ายต่ำ เช่นการศึกษานอกโรงเรียน วิทยาลัยการอาชีพ การศึกษาทางไกล หรือการศึกษาทางเลือกอื่นๆที่มีให้เลือกอย่างหลากหลายในปัจจุบัน

7) เป็นการดำเนินการตามลักษณะของประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบทุนเสรี ที่มิใช่ระบบสังคมนิยม หรือรัฐสวัสดิการ เพราะถ้ารัฐใช้ระบบสังคมนิยมหรือรัฐสวัสดิการก็จะต้องเก็บภาษีสูงมากเพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งประชาชนจะไม่สามารถแบกรับภาษีที่สูงมากได้

กล่าวโดยสรุป การศึกษาภาคบังคับควรมีความยืดหยุ่นให้กับประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิ การเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิที่จะเลือกช่วงชั้น จะทำให้ครอบครัวตัดสินใจได้ว่าควรให้เด็กได้รับการศึกษาเมื่อใดที่ไม่เป็นปัญหากับสภาวะการครองชีพของครอบครัวและความพร้อมของแต่ละท้องถิ่นในการให้การศึกษา ซึ่งน่าจะดีกว่าการกำหนดตายตัวว่าจะต้องเริ่มที่อนุบาลปฐมวัยเมื่ออายุเข้าปีที่สี่เท่านั้น

การศึกษาภาคบังคับที่สิ้นสุดแค่ชั้นประถมศึกษาปีที่หกนับว่าต่ำเกินไป และนักเรียนยังไม่มีความรู้มากพอที่จะไปประกอบอาชีพในอนาคต ยังไม่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลที่อาศัยความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ และการสื่อสารกับบุคคลอื่นที่ต้องใช้ความสามารถในการอ่านเขียนก็อาจจะยังไม่แข็งแรงพอ ถ้าการศึกษาภาคบังคับกำหนดให้เรียนจบมัธยมศึกษาปี่ที่สามเป็นอย่างน้อยได้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับเด็กมากขึ้น จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่สำคัญของครอบครัวเด็กว่าจะเลือกการศึกษาภาคบังคับในรูปแบบใหนที่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัวมากที่สุด

การศึกษาภาคบังคับ ชั้นไหน

"การศึกษาภาคบังคับ" หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงปีที่เก้า ของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกฎหมาย ว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ

การศึกษาภาคบังคับ กี่ปี 2563

เด็กทุก คนต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับจํานวนเก้าปี เป้าหมายคือความรู้ที่เท่า เทีย ม

การศึกษามีกี่ภาค

6.1 การศึกษาขั้นพื้นฐาน 6.2 อาชีวศึกษา 6.3 อุดมศึกษา 6.4 การศึกษานอกระบบ

การศึกษามีกี่สาย

สำหรับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มี 3 รูปแบบคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ การศึกษาตามอัธยาศัย