การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

การออกกำลังกาย คือ การขยับร่างกายหรือกิจกรรมทางกายที่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาร่างกายในด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ทำเพื่อความยืดหยุ่น เพื่อความแข็งแรง หรือความคงทนของร่างกาย

Show

กีฬา คือ กิจกรรมที่มีการใช้สมรรถภาพทางร่างกาย และทักษะเฉพาะบางอย่างในกิจกรรมเฉพาะ ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานบันเทิง โดยจะทำคนเดียวหรือทำเป็นกลุ่มก็ได้

ดังนั้น ถ้าเราอยากเล่นกีฬาให้สนุก จะต้องมีการออกกำลังกายเพื่อให้เกิดสมรรถภาพทางร่างกาย และทักษะต่าง ๆ ที่เหมาะสมและส่งเสริมให้การเล่นกีฬาของเรานั้นมีความสามารถสูงสุด

การออกกำลังกายเพื่อเสริมสมรรถภาพนักกีฬานั้นเป็นสิ่งที่นักกีฬาทุกคนที่อยากเล่นกีฬาอย่างมีความสุขและไม่บาดเจ็บควรทำ ไม่ว่าจะเป็นนักกีฬาอาชีพ หรือนักกีฬาเพื่อการนันทนาการ (recreational athletes) แต่หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร แนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นโค้ชผู้ฝึกสอน หรือทีมแพทย์เวชศาสตร์การกีฬาและเวชศาสตร์ฟื้นฟู เพื่อให้สามารถออกกำลังกายได้ตรงจุด ปลอดภัย และได้ผลลัพธ์ตรงตามเป้าหมายที่ต้องการ หน่วยวิทยาศาสตร์การกีฬาและการฟื้นฟูทางการกีฬา

การให้บริการ หน่วยวิทยาศาสตร์การกีฬาและการฟื้นฟูทางการกีฬา

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

1. การทดสอบและเสริมสมรรถภาพร่างกาย (Fitness training)

  • ทำการฝึกและพัฒนาสมรรถภาพทางร่างกาย
  • ทำการฝึกและพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องกับแต่ละชนิดกีฬา
  • การฝึกออกกำลังกายรายบุคคลและเป็นกลุ่มกับนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความเชี่ยวชาญดูแล
  • การทดสอบสมรรถภาพร่างกายด้วยเครื่องมือทันสมัยที่ได้มาตรฐาน
  • การทดสอบสมรรถภาพร่างกายที่มีความจำเพาะในแต่ละชนิดกีฬา
  • การทดสอบสมรรถภาพร่างกายสำหรับบุคคลทั่วไป

2. การวิเคราะห์การเคลื่อนไหว (Motion analysis)

  • ทำการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ทางการกีฬา เพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหว
  • ทำการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ทางการกีฬา ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
  • ทำการวิเคราะห์เคลื่อนไหว เพื่อพัฒนาศักยภาพในแต่ละชนิดกีฬา

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

การฟื้นฟูสมรรถภาพนักกีฬา คือ

3. กายภาพบำบัดการกีฬา (Sports physical therapy)

  • ป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา โดยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การพันผ้าเทป
  • ตรวจประเมินการบาดเจ็บทางการกีฬา โดยนักกายภาพบำบัดทางการกีฬา
  • ทำการรักษาทางกายภาพบำบัดด้วยเทคนิคและเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน
  • มีโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพที่เฉพาะเจาะจง ภายหลังได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ท่านอาจเคยสงสัยว่านักฟุตบอลอาชีพที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า และต้องเข้ารับการผ่าตัดรักษา เหตุใดจึงต้องหยุดการเล่นเป็นเวลา 6 - 12 เดือน หลายท่านเข้าใจว่านักกีฬาเหล่านั้นเป็น แค่เพียงพักพื้น รอให้แผลหาย อันที่จริงแล้วนักกีฬาสามารถตัดไหมที่เย็บแผลจากการผ่าตัดได้ภายในเวลา 2 – 3 อาทิตย์หลังผ่าตัดเท่านั้นเอง ในช่วงเวลา 6 - 12 เดือนที่เหลือหลังผ่าตัดนั้น จะต้องเข้ารับการฝึกฝนพื้นฟูสมรรถภาพในการเดิน วิ่ง กระโดด และรับน้ำหนักตัวอย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดการบาดเจ็บฉีกขาดซ้ำเดิมอีก

ขบวนการฟื้นฟูดังกล่าวมีความละเอียดอ่อน คือ จะต้องกำหนดการออกกำลังกายให้มีความยากที่เหมาะสมกับระยะของการฟื้นตัวของเอ็นกล้ามเนื้อที่รอบข้อเข่า การฝึกที่ง่ายหรือเบาเกินไปไม่สามารถเตรียมความพร้อมที่พอเพียงต่อการป้องกันการบาดเจ็บซ้ำได้ การฝึกที่หนักหรือการฝึกในระดับที่ยาก ก่อนที่นักกีฬาจะมีความพร้อมพอเพียง ก็จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บระหว่างการฝึก ระดับความพร้อมของนักกีฬานั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามวันและเวลา และผลของการฝึก

ณ 2 เดือนหลังผ่าตัดเป็นที่คาดหวังว่า หากดำเนินการฟื้นฟูได้สมบูรณ์แบบนักกีฬาจะสามารถพับข้อเข่าได้เท่าปกติเต็มที่เท่ากับข้างปกติ สามารถนั่งยองๆ ได้ และสามารถมีกำลังกล้ามเนื้อฟื้นฟูขึ้นมาในระดับประมาณอย่างน้อยข้างละ 50% ของข้างปกติ

ส่วนในช่วง 4 เดือนหลังผ่าตัด หากดำเนินการฟื้นฟูได้เหมาะสมนักกีฬา น่าจะสามารถทำการกระโดด และวิ่ง รวมทั้งการวิ่งสลับฟันปลาอย่างเบาๆ ได้ เริ่มทำการกระโดดขึ้นและลงแท่นที่มีความสูงประมาณ 1 ฟุตได้

ส่วนภายใน 6 เดือนหรือ 12 เดือนแล้วแต่กรณี การฝึกโปรแกรมเร่งด่วนหรือธรรมดา นักกีฬาควรสามารถลงเล่นกีฬาได้ โดยมีความเสี่ยงต่ำต่อการบาดเจ็บซ้ำ นักกีฬาควรจะสามารถกระโดดขาเดียวโดยใช้ขาข้างที่ผ่าตัด สามารถทำระยะการกระโดดขาเดียวได้เท่ากันหรือใกล้เคียงข้างที่ไม่ได้ผ่าตัด มีความต่างกันไม่ควรเกิน 20% เป็นต้น

โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าของ DBC นั้น นอกจากจะถอดแบบมาจากมาตรฐานที่ยอมรับในตำราและวงการวิชาการเวชศาสตร์ฟืนฟูแล้ว ยังถูกประมวลออกมาจากประสบการณ์การฟื้นฟูคนไข้ นักกีฬาฟุตบอลอาชีพในทวีปยุโรป โดยทีมงานของ DBC INTERNATIONAL เมื่อร่วมกันกับความสามารถในการกำหนดมาตรฐานโปรแกรมการฟื้นฟู ตลอดจนเครื่องมือที่ได้รับการออกแบบพิเศษ เพื่อให้เอื้อต่อการฝึกฝนต่อการมีประสิทธิภาพแล้ว มีความเชื่อมั่นได้มากว่า โปรแกรมการฟื้นฟูข้อเข่าหลังผ่าตัดในตามแบบของ DBC นั้น จะทำให้ข้อเข่าที่ได้รับการผ่าตัดกลับมาทำงานได้มีประสิทธิภาพดีสูงสุดใกล้เคียงกับสภาพก่อนผ่าตัด และมีความเสี่ยงในการกลับมาบาดเจ็บซ้ำน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

โดยทั่วไปผู้ป่วยควรเข้ารับโปรแกรมการฟื้นฟู ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดเพื่อเตรียมความพร้อม  และหลังผ่าตัดควรเข้ารับการฟื้นฟูสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในเวลาที่ผู้ป่วยไม่ได้มาที่ศูนย์ฟื้นฟู ผู้ป่วยคงจะต้องออกกำลังกายตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดทุกวันอีกด้วย 

ผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูอย่างเต็มรูปแบบจะมีประสิทธิภาพในการใช้ข้อเข่าได้สูง ต่างจากผู้ที่ไม่ได้รับการฟื้นฟู กล่าวคือ ผู้ที่ผ่าเข่าแต่ไม่ได้รับการฟื้นฟูมักจะทำได้แค่เพียงเดินทางราบ เดินขึ้น เดินลงบันไดแล้ว ก็ไม่มีอาการเข่าบวมบ่อยๆ ไม่มีอาการเข่าทรุด เข่าล็อค เช่นกับในสภาพที่ยังไม่ได้ผ่าตัด

ส่วนผู้ที่ได้ทำการฟื้นฟูแบบเต็มรูปแบบจะสามารถลุกนั่ง วิ่ง กระโดดได้อย่างแข็งแรงและมั่นใจ จะเห็นว่าการฟื้นฟูสภาพเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า ไหน ๆ ก็ผ่าตัดแล้ว ถ้าไม่ฟื้นฟูก็จะไม่ได้ประสิทธิภาพ ไม่ได้ประโยชน์ ไม่ได้คุณภาพชีวิตเท่าที่พึ่งจะได้

การฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายถึงอะไร

การฟื้นฟูสมรรถภาพ หมายถึง การเสริมสร้าง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความบกพร่องของ ร่างกายและจิตใจที่ยังไม่มี หรือสูญเสียไปให้เกิดมีขึ้น ให้สามารถเรียนรู้ ปฏิบัติงาน และด ารงชีวิต ในสังคมได้

การฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย มีอะไรบ้าง

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ มักประกอบด้วยกิจกรรมทางกายภาพบำาบัด กิจกรรมบำาบัด การทำากาย อุปกรณ์เสริม/เทียม การเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้บุคคลสามารถเพิ่มหรือคงระดับ ความสามารถได้

ระหว่างพักฟื้นควรออกกำลังกายแบบใด

นอกจากนี้เมื่อนักกีฬาเกิดการบาดเจ็บแล้วหยุดออกกำลังกาย ความสามารถ ความทนทานของหัวใจ / ปอด (Cardiovascular Fitness) จะลดลง ซึ่งในระหว่างพักฟื้นควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก เพื่อคงสภาพความทนทานระบบไหลเวียน / ปอด จะช่วยให้ไม่เหนื่อยง่ายเมื่อกลับไปเล่นกีฬาอีกครั้ง โดยออกกำลังกายในส่วนที่ไม่บาดเจ็บ หากบาดเจ็บที่ขา ควรออกกำลัง ...

การฟื้นตัวเพื่อชดเชยพลังงานหลังการออกกำลังกายทำได้อย่างไร

วิธีเริ่มกระบวนการฟื้นตัวให้ได้ผลดีวิธีหนึ่ง คือ การบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต ขนมขบเคี้ยวที่มีโปรตีนในระดับพอเหมาะ เสริมด้วยน้ำและโซเดียมภายใน 15-30 นาทีหลังการออกกำลังกาย หากไม่อยากอาหารหลังการออกกำลังกาย ให้ลองดื่มเครื่องดื่มชดเชยเกลือแร่แทน ตัวอย่างขนมที่เหมาะสำหรับรับประทานหลังการออกกำลังกาย 30 นาที