ขั้นตอนการทํางาน

ขั้นตอน การศึกษาวิธีการทำงาน จะประสบความสำเร็จได้ต้องอาศัยหลักการและแนวคิดต่างๆ ทางการเพิ่มผลผลิตเข้ามาประกอบในกิจกรรมการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการทำงาน ซึ่งพอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้

Show

การแบ่งแยกความสำคัญของงาน

ส่วนนี้เป็นส่วนที่ควรพิจารณาเป็นลำดับแรก ผู้ศึกษาจะต้องมีความรู้ และเข้าใจ ในธรรมชาติของงานที่จะทำการศึกษาว่า มีลักษณะความสำคัญตามเงื่อนไขที่ผูกพันในข้อใดบ้าง เช่น

  • เงื่อนไขของเวลา มีความผูกพันกับภาระงานในหลายรูปแบบ เช่น งานมีเงื่อนไขด้านเวลาการส่งมอบ, งานมีด้านลำดับการผลิตเป็นเงื่อนไขของเวลา เป็นต้น
  • เงื่อนไขของค่าใช้จ่าย เงื่อนไขข้อนี้ชัดเจน และได้รับความนิยมมาก โดยมักถูกนำมาพิจารณาเป็นลำดับต้นเสมอ เพราะเกี่ยวข้องกับต้นทุนการผลิตโดยตรง
  • เงื่อนไขของลักษณะงาน ได้แก่ความยาก-ง่ายของเนื้องาน หรือความหนัก – เบาในการดำเนินการ ผู้ศึกษาควรให้ความสำคัญในการปรับปรุงงานที่หนัก และยากให้ดีขึ้น
  • เงื่อนไขความผูกพันกับงานและบุคคลอื่น หากความสำเร็จของงานมีผลกระทบกับหน่วยงานอื่น และบุคคลอื่น หลายๆฝ่าย งานเหล่านี้ย่อมเป็นงานที่ควรนำมาพิจารณาก่อน
  • เงื่อนไขของความเสี่ยง งานที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสีย เสียหาย งานนั้นควรได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อขจัดหรือลดโอกาสในการสร้างความสูญเสียของงานนั้นๆ
  • เงื่อนไขของความลับทางการค้า การจะทำการศึกษาในงานประเภทนี้ จะต้องทำการศึกษาอย่างระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูล และต้องระมัดระวังในด้านความขัดแย้งภายในองค์กร เพราะจะทำให้เกิดผลเสียต่อระบบงานโดยรวมได้ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษางานในรูปแบบนี้จะต้องใช้ความรอบคอบ และจิตวิทยาในการทำงานอย่างสูง

การแบ่งแบกประเภทของงาน

การเข้าใจลักษณะของงานก่อน การศึกษาวิธีการทำงาน จะช่วยให้สามารถดำเนินการศึกษาปรับปรุงกระบวนวิธีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น การแบ่งแยกประเภทของงานในส่วนนี้ประกอบด้วยลุกษณะประเภทของงานดังต่อไปนี้

  • งานที่ต้องใช้ความชำนาญ/งานที่ไม่ต้องใช้ความชำนาญ จะช่วยให้เกิดการกระบวนการใช้คนให้ถูกกับงาน จะทำให้เกิดการลดความสูญเสียในการทำงาน
  • งานที่ต้องทำงานเป็นทีม/งานที่เป็นงานอิสระทำงานเป็นส่วนๆ เพื่อให้ได้งานที่มีมาตรฐาน มีอัตราการทำงานที่สม่ำเสมอ การแยกให้เป็นงานอิสระจะเห็นผลมากกว่า
  • งานใช้แรงงาน/งานใช้สมอง งานที่ต้องใช้สมองอย่างหนักจะทำให้พนักงานเกิดความเครียดสะสม อาจลดความเครียดเหล่านี้ได้โดยให้มีการทำงานเป็นทีมช่วยกันแก้ปัญหา ส่วนงานที่ใช้แรงงานจะทำให้พนักงานเกิดความล้าสะสม ผู้ศึกษาควรหาหนทางอออกแบบวิธีการทำงานที่ช่วยลดภาระของงานให้แก่พนักงาน
  • งานเกิดบ่อย/งานเกิดไม่บ่อย
  • งานควบคุมได้/งานควบคุมไม่ได้ พยายามลดปัจจัยที่ทำให้ไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ให้น้อยที่สุดด้วยหลักการของการศึกษาการทำงาน
  • งานเคลื่อนย้าย/งานอยู่กับที่ ศึกษาถึงองค์ประกอบว่าส่วนใดอยู่กับที่บ้าง และส่วนใดเคลื่อนที่ เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติในการทำงานมากขึ้น
  • งานที่มีขั้นตอนของงานไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง/งานที่มีการเปลี่ยนแปลง

การกำหนดความไม่แน่นอนของงาน

เป็นเรื่องยากที่เราจะเข้าใจว่าความไม่แน่นอนเป็นความสูญเสีย ทั้งที่เราเกิดความสูญเสียจากความไม่แน่นอนมาโดยตลอด เช่น

ความไม่แน่นอนของการจัดส่งวัตถุดิบ ทำให้เราต้องมีสินค้าคงคลัง

ความไม่แน่นอนทางการผลิต ทำให้เกิดความขัดข้องทางการผลิต

ดังนั้นเราจะต้องพยายามศึกษาปัจจัยที่มีความไม่แน่นอน และส่งผลกระทบกับการดำเนินการ หลังจากนั้นจะต้องพยายามควบคุมหรือลดความไม่แน่นอนของปัจจัยเหล่านั้น เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกระบวนการดำเนินการ

การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิต          

แนวทางคือการค้นหาความสูญเสียจากการสูญเปล่าของการทำงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิต และการลดต้นทุนการผลิต เพื่อเร่งเร้าให้เกิดจิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตให้แก่พนักงานในทุกๆระดับ มีขั้นตอนในการดำเนินการดังต่อไปนี้

  • เผยแพร่เป้าหมายการเพิ่มผลผลิตโดยจดหมายเวียน หรือสื่ออื่นๆ
  • จัดคณะเพื่อเพิ่มผลผลิต
  • กำหนดระบบการวัดผลการดำเนินงาน และการรายงานผล
  • จัดระบบการจูงใจส่งเสริมในการเพิ่มผลผลิต
  • จัดตั้งหน่วยงานวิจัย หรือข่ายงานแลกเปลี่ยนข้อมูลความสำเร็จของการเพิ่มผลผลิตภายในและภายนอกบริษัท รวมทั้งการจัดการประชุมด้านการเพิ่มผลผลิต

การตรวจสอบและการขนย้าย

     การขนย้าย และการตรวจสอบ ถือได้ว่าเป็นการสูญเสีย เราจะต้องพยายามลดการดำเนินการในขั้นตอนเหล่านี้ เพื่อให้เกิด การตรวจสอบและการขนย้ายน้อยที่สุด

เวลาส่วนเกิน และเวลาไร้ประสิทธิภาพ    

เราพบว่าเราสามารถแบ่งประเภทเวลาออกได้เป็น 3 ประเภทได้แก่

  • เวลาที่ใช้ในการผลิตจริง
  • เวลาที่เป็นเวลาส่วนเกิน คือเวลาที่ใช้ไปในการดำเนินการแต่ไม่เกิดผลงานอะไร ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก 2 ประการที่สำคัญ คือ การออกแบบกระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์, วิธีการทำงาน
  • เวลาไร้ประสิทธิภาพ คือ เวลาที่ไม่ได้ทำอะไรเลย และไม่เกิดผลผลิตใดๆ ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก ความบกพร่องของฝ่ายจัดการ และความบกพร่องของฝ่ายแรงงาน

แหล่งที่ตั้งและรูปแบบความสูญเสีย

การที่เราจะขจัดความสูญเสียให้หมดไปได้นั้น ในลำดับแรกเราจะต้องค้นหาความสูญเสียให้พบเสียก่อน คำถามคือเราจะสามารถค้นหาความสูญเสียได้จากที่ไหน คำตอบคือเราสามารถค้นหาความสูญเสียได้จากแหล่งที่ตั้งของความสูญเสีย นั่นคือทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตนั่นเอง

หลักการของ 4 ศูนย์

เป็นหลักพื้นฐานซึ่งผู้บริหารการผลิตทุกคนต้องท่องจำขึ้นใจ หลักการดังกล่าว คือ หลักของการ “ไม่ให้มี” และ”ไม่ให้เกิด” ซึ่ง 0 แปลว่าไม่ต้องการให้เกิดหรือมี อันได้แก่

  • ของเสียเป็นศูนย์ (Zero Defect)
  • รอเป็นศูนย์ (Zero Delay)
  • พัสดุคงคลังเป็นศูนย์ (Zero Inventory)
  • อุบัติเหตุเป็นศูนย์ (Zero Accident)

กิจกรรมกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับ การศึกษาวิธีการทำงาน

การศึกษาวิธีการทำงาน เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลอย่างสูงสำหรับกิจกรรมกลุ่มต่างๆต่อไปนี้

  • กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ (QCC)
  • กิจกรรมกลุ่ม 5 ส
  • กิจกรรมกลุ่มการเสนอแนะ
  • กิจกรรมกลุ่มการเพิ่มผลผลิต
  • กิจกรรมกลุ่มการลดต้นทุน

ขั้นตอนของการศึกษาวิธีการทำงาน

  • การเลือกงาน
  • การเก็บข้อมูลวิธีการทำงาน
  • การวิเคราะห์วิธีการทำงาน
  • การปรับปรุงวิธีการทำงาน
  • การเปรียบเทียบวัดผลวิธีการทำงาน
  • การพัฒนามาตรฐานวิธีการทำงาน
  • การส่งเสริมใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว
  • การติดตามการใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว

การเลือกงาน

เป็นขั้นตอนแรกที่มีความสำคัญ เพราะหากเราเลือกงานผิดย่อมเป็นการเสียโอกาส งานบางอย่างถ้าเลือกทำก่อนจะใช้ประโยชน์ต่อเนื่องไปถึงงานอื่นได้ ถ้าเลือกทำทีหลังจะไม่มีผลดีต่องานอื่นๆ ทำให้เสียเวลาในการศึกษางานอื่น

การเก็บข้อมูลวิธีการทำงาน

การเก็บข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำครบถ้วนตามความเป็นจริงเท่านั้น จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์ในการวิเคราะห์และพัฒนาวิธีการทำงานที่ดีขึ้นได้ ในการบันทึกวิธีการทำงานจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ศึกษาขั้นตอนวิธีการทำงานให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
  • กำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้สุดของงานให้แน่ชัด
  • เริ่มบันทึกตั้งแต่จุดเริ่มต้น โดยการใช้สัญลักษณ์สำหรับทีละขั้นตอนของงานจนถึงจุดสุดท้าย
  • กำหนดข้อความบรรยายกิจกรรมตามสัญลักษณ์ที่บันทึกมา
  • ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกกับขั้นตอนการทำงานจริง
  • ให้บุคคลที่สามอ่านข้อมูลการบันทึก เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของข้อมูลที่บันทึก
  • บันทึกรายละเอียดอื่นๆให้ครบถ้วน

การวิเคราะห์วิธีการทำงาน

เราจะใช้เทคนิคในการตั้งคำถามเพื่อช่วยให้สามารถกำหนดแนวทางในการปรับปรุงวิธีการทำงาน โดยเทคนิคนี้เรียกโดยย่อว่า 6W-1H โดยคำถามจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • คำถามสำหรับตรวจสอบ

          What = อะไร => ทำงานอะไร?   จุดประสงค์ของการทำงานนี้คืออะไร?

          Who = ใคร => ใครเป็นคนทำงานนี้?

          When =เมื่อไร => ทำงานนี้เมื่อไร?

          Where =ที่ไหน => งานนี้ทำที่ไหน? ตรงไหน?

          How =  อย่างไร => ทำงานนี้อย่างไร?

  • คำถามเพื่อพัฒนาแนวทางการปรับปรุงวิธีการทำงานโดยจะตรวจสอบหาเหตุผล ความเหมาะสมของวิธีการทำงาน และเปิดโอกาสในการเสนอทางเลือกอื่น

Why =ทำไม => เหตุใดต้องทำงานนี้?

How = อย่างไร => มีอย่างอื่นที่ทำได้ไหม?

การปรับปรุงวิธีการทำงาน

      จากการตรวจตราและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้บันทึกมาโดยใช้เทคนิค 6W-1H ทำให้เกือบจะได้แนวทางคำตอบการปรับปรุงการทำงานที่ครบถ้วน ขั้นตอนนี้จึงเป็นเพียงการเลือกใช้เทคนิคการปรับปรุงงาน ตามหลักการ ECRS เท่านั้น

  • E=Eliminate all unnecessary work ขจัดงานที่ไม่จำเป็นออกให้หมด
  • C= Combine operation or element รวมการทำงานหรืองานย่อยเข้าด้วยกัน
  • C= Change the sequence of operation ลำดับขั้นการทำงานใหม่
  • S=Simplify the necessary operation ทำงานที่จำเป็นให้ง่ายขึ้น

การเปรียบเทียบวัดผลวิธีการทำงาน

ในขั้นตอนนี้ดำเนินการเพื่อจะตอบคำถามที่ว่า การทำงานที่ปรับปรุงใหม่ดีกว่าการทำงานเดิมจริงหรือไม่ โดยเกณฑ์ที่ใช้วัดมีมากมาย เช่น เวลา, ค่าใช้จ่าย , ระยะทาง และจำนวนทรัพยากรที่ใช้ในการทำงาน เป็นต้น

การพัฒนามาตรฐานวิธีการทำงาน

ใช้เป็นแนวทาง และเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อใช้เป็นเครื่องมือควบคุมการทำงาน และเป็นเครื่องมือในการอบรมพัฒนาบุคลากรในด้านมาตรฐานวิธีการทำงาน

การส่งเสริมใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว

ผู้ศึกษาจะต้องพยายามชี้ให้เห็นว่า คนงานไม่ได้เสียผลประโยชน์อะไรเลย แต่จะทำให้งานง่ายขึ้น เบาลง ผลงานดีขึ้น เป็นต้น ขั้นตอนการส่งเสริมใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้วมีดังต่อไปนี้

  • ขออนุมัติส่งเสริมการใช้วิธีการทำงาน
  • ทำความเข้าใจกับระดับคุมงานของโรงงาน เพื่อการยอมรับในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน
  • สร้างการยอมรับจากคนงานในการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน
  • ฝึกอบรมคนงานให้สามารถทำงานได้ตามวิธีทำงานใหม่
  • ควบคุมดูแลจนกว่าคนงานจะมีการทำงานโดยวิธีการทำงานใหม่หมดทุกคนและสามารถทำงานได้ตามเป้าหมาย

การติดตามการใช้วิธีการทำงานที่ปรับปรุงแล้ว

เพื่อการรักษาวิธีการทำงานใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงแล้วให้มีการใช้งานอย่างต่อเนื่องและคงอยู่จนกว่าจะพัฒนาวิธีการทำงานให้ดีขึ้นไปอีก จะต้องมีการติดตามการทำงานของคนงานโดยห้ามไม่ให้คนงานใช้ส่วนหนึ่งส่วนใดของวิธีการเก่า หรือใช้วิธีการอื่นที่ไม่ใช่วิธีการใหม่ นอกเสียจากว่าคนงานจะสามารถหาเหตุผล และพิสูจน์ได้ว่าวิธีการเหล่านี้เหมาะสมกว่า

เทคนิคการตรวจตราข้อมูลวิธีการทำงานด้วยคำถามสำเร็จรูป (Check List)

เทคนิคการตรวจตราข้อมูลที่บันทึกไว้โดยการตั้งคำถามนั้น เพื่อความละเอียดครบถ้วนจึงมักใช้ในรูปแบบคำถามสำเร็จรูป (Check List) ที่มีการตั้งไว้อย่างเป็นระบบ และต่อเนื่องกัน ดังตัวอย่าง Check List ต่อไปนี้

คำถามสำหรับตรวจสอบวิธีการทำงาน

1.การปฏิบัติการ

1.1 จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติการคืออะไร

1.2 ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติการนี่จำเป็นหรือไม่ ถ้าจำเป็น อะไรเป็นเหตุให้จำเป็น

1.3 การปฏิบัติการนี้จำเป็น เพราะการปฏิบัติการก่อนหน้านี้ไม่ได้กระทำอย่างถูกต้องใช่หรือไม่

1.4 การปฏิบัตินี้จัดให้มีขึ้นเพื่อแก้ไขสภาพเงื่อนไขซึ่งปัจจุบันได้แก้ไขไปเรียบร้อยแล้วใช่หรือไม่

1.5 ถ้าการปฏิบัติการที่กำลังดำเนินอยู่นี้ เป็นไปเพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ภายนอกให้ดูดีขึ้น ต้นทุนที่เพิ่ม

ขึ้นนั้นช่วยให้ขายได้เพิ่มขึ้นหรือไม่

1.6 จุดมุ่งหมายของปฏิบัติการนี้ จะสามารถบรรลุได้โดยวิธีการอื่นหรือไม่

1.7 บริษัทผู้จัดหาวัสดุให้สามารถดำเนินการปฏิบัติการปฏิบัติการนี้ได้โดยประหยัดกว่าหรือไม่

1.8 การปฏิบัติการนี้ ทำเพื่อสนองตามความต้องการของลูกค้าเพียงรายหรือสองรายเท่านั้น

1.9 ปฏิบัติการที่ต่อเนื่องจากปฏิบัติการนี้จะขจัดความจำเป็นที่จะต้องทำปฏิบัติการนี้หรือไม่

1.10 ปฏิบัติการนี้ดำเนินการเพราะผลสืบเนื่องจากความเคยชินที่เป็นนิสัยหรือเปล่า

1.11 ปฏิบัติการนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อลดต้นทุนของปฏิบัติการก่อนหน้าหรือปฏิบัติการที่ตามมาใช่หรือไม่

1.12 ปฏิบัติการนี้เพิ่มขึ้นจากข้อเสนอของแผนกขายเพื่อให้มีลักษณะพิเศษใช่หรือไม่

1.13 สามารถซื้อชิ้นส่วนได้ด้วยต้นทุนต่ำกว่าหรือไม่

1.14 การเพิ่มปฏิบัติการจะทำให้ปฏิบัติการอื่นทำได้ง่ายขึ้น ใช่หรือไม่

1.15 มีวิธีการอื่นอีกไหมที่ได้ผลเหมือนกับปฏิบัติการนี้

1.16 ถ้าปฏิบัติการนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อจะแก้ไขความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้น จะเป็นไปได้ไหมว่าปฏิบัติการแก้ไขนี้

แพงกว่าอุปสรรคนั้นเอง

1.17 การเพิ่มปฏิบัติการนี้เข้ามาในกรรมวิธี จะทำให้สภาพเงื่อนไขเปลี่ยนไปหรือไม่

2.การออกแบบ

2.1 การออกแบบจะถูกเปลี่ยนเพื่อทำให้ปฏิบัติการง่ายขึ้นหรือขจัดทิ้งได้หรือไม่

2.2 การออกแบบชิ้นส่วนจะเหมาะแก่วิธีการผลิตที่ดีหรือไม่

2.3 ผลลัพธ์อย่างเดียวกันจะบรรลุได้โดยการเปลี่ยนการออกแบบ ซึ่งเป็นผลให้ลดต้นทุนได้ไหม

2.4 จะใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานมาแทนชิ้นส่วนที่ใช้อยู่ได้ไหม

2.5 การเปลี่ยนแปลงการออกแบบจะทำให้เพิ่มสมรรถนะทางการขาย และขยายตลาดได้หรือไม่

2.6 ชิ้นส่วนมาตรฐานจะถูกดัดแปลงมาเพื่อใช้ในการทำงานได้ไหม

2.7 เป็นไปได้ไหม ที่จะปรับปรุงลักษณะภายนอกของสิ่งของโดยไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพใช้สอย

2.8 ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการปรับรูปลักษณ์ภายนอกและคุณภาพการใช้สอยที่ดีขึ้นจะแลกด้วยยอดขาย

ที่เพิ่มขึ้นได้หรือไม่

2.9 สิ่งของนี้มีรูปลักษณ์ภายนอกและคุณภาพการใช้สอยที่ดีที่สุด เหมาะสมกับราคาในตลาดหรือไม่

3.ความต้องการการตรวจสอบ

3.1 มีความต้องการการตรวจสอบอะไรบ้างสำหรับปฏิบัติการนี้

3.2 ทุกคนที่เกี่ยวข้องทราบหรือไม่ว่า มีความต้องการอะไรบ้าง

3.3 อะไรคือรายละเอียดการตรวจสอบก่อนและหลังการปฏิบัติการ

3.4 การเปลี่ยนความต้องการของปฏิบัติการนี้ จะทำให้การปฏิบัติการนี้ง่ายขึ้นหรือไม่

3.5 การเปลี่ยนความต้องการของปฏิบัติการก่อนหน้านี้ จะทำให้ปฏิบัติการนี้ง่ายขึ้นหรือไม่

3.6 เกณฑ์การคลาดเคลื่อน (tolerance) การเผื่อ(allowance) การปรับสำเร็จของงาน(finish)

และมาตรฐานอื่นๆ จำเป็นจริงๆ หรือไม่

3.7 จะสามารถปรับเพิ่มมาตรฐานเพื่อปรับปรุงคุณภาพโดยไม่ต้องมีต้นทุนที่ไม่จำเป็นได้หรือไม่

3.8 การลดมาตรฐานให้ต่ำลงจะลดต้นทุนลงได้มากหรือไม่

3.9 คุณภาพของผลิตภัณฑ์จะปรับปรุงให้ดีขึ้นในทางใดทางหนึ่งให้สูงกว่ามาตรฐานปัจจุบันได้ไหม

3.10 มาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์และปฏิบัติการนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์

และปฏิบัติการที่คล้ายๆ กัน แล้วเป็นอย่างไร

3.11 จะปรับปรุงคุณภาพโดยใช้กระบวนวิธีใหม่ๆ ได้หรือไม่

3.12 มาตรฐานเดียวกันนี้จำเป็นต่อลูกค้าทุกรายหรือไม่

3.13 การเปลี่ยนแปลงมาตรฐานและความต้องการการตรวจสอบจะเพิ่มหรือลดของเสียค่าใช้จ่าย

ในการปฏิบัติการ ในโรงงาน หรือภาคสนามหรือไม่

3.14 เกณฑ์การคลาดเคลื่อนที่ใช้ในการปฏิบัติจริงๆ นั้น เป็นค่าเดียวกับที่แสดงไว้ในแบบเขียนหรือไม่

3.15 ได้ตกลงกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า อะไรบ้างเป็นสิ่งประกอบเพื่อคุณภาพที่ยอมรับได้

3.16 อะไรเป็นเหตุสำคัญของการคัดออกของชิ้นส่วนในการตรวจสอบ

3.17 มาตรฐานคุณภาพ ถูกกำหนดไว้แน่นอนหรือว่าเป็นเรื่องของการตัดสินใจของแต่ละคน

4.การขนย้ายวัสดุ

4.1 เวลาที่ใช้ในการนำวัสดุเข้ามาที่สถานีทำงาน และในการเคลื่อนย้ายวัสดุออกไป คิดเป็นสัดส่วนของ

เวลามากหรือไม่  เมื่อเทียบกับการใช้เวลากับวัสดุนั้นที่สถานีทำงาน

4.2 ถ้าใช้เวลาไม่มากงานการขนย้ายวัสดุจะทำโดยผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้ได้พักจากการเปลี่ยนงานได้หรือไม่

4.3 จะใช้รถเข็นด้วยมือ รถยกไฟฟ้า หรือรถยก ได้หรือไม่

4.4 จะใช้ชั้นเป็นหิ้งพิเศษ ภาชนะบรรจุ หรือไม่พัลเลตเพื่อให้การขนย้ายวัสดุทำได้ง่ายและไม่เกิด

การเสียหายขึ้นได้หรือไม่

4.5 วัสดุขาเข้าและขาออกควรตั้งอยู่ในบริเวณบริเวณใดของที่ทำงาน

4.6 การใช้สายพานลำเลียงเหมาะสมหรือไม่ และถ้าเหมาะสม ชนิดใดดีที่สุด

4.7 สถานีทำงานสำหรับขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ต่อเนื่องกัน จะขยับให้ใกล้กันได้หรือไม่ และปัญหา

ทางการขนย้ายวัสดุจะแก้ไขด้วยการใช้หลักแรงโน้มถ่วง ของโลกได้หรือไม่

4.8 วัสดุจะถูกผลักเคลื่อนย้ายจากผู้ปฏิบัติงานหนึ่ง ไปสู่ผู้ปฏิบัติงานต่อไประหว่างกันบนโต๊ะทำงาน

ได้หรือไม่

4.9 วัสดุจะจัดจ่ายจากจุดศูนย์วัสดุโดยใช้สายลำเลียงได้หรือไม่

4.10 ขนาดของภาชนะพอเหมาะกับปริมาณวัสดุที่ขนย้ายหรือไม่

4.11 วัสดุจะถูกนำไปยังจุดศูนย์ตรวจสอบโดยอาศัยสายพานลำเลียงได้หรือไม่

4.12 ภาชนะบรรจุจะถูกออกแบบเพื่อให้การเข้าถึงวัสดุได้สะดวกขึ้นได้ไหม

4.13 จะจัดภาชนะบรรจุไว้ ณ สถานีทำงาน โดยไม่ต้องมีการเคลื่อนย้ายวัสดุออกได้หรือไม่

4.14 จะใช้รอกไฟฟ้า รอกลม หรืออุปกรณ์การยกอื่นๆ ได้อย่างมีประโยชน์คุ้มค่า หรือไม่

4.15 ถ้ามีการใช้รถเครนเคลื่อนที่เหนือศีรษะ การบริการจะทันใจและแม่นยำหรือไม่

4.16 จะใช้รถไฟแบบหัวรถจักร รถลากจูงได้ไหม รถไฟแบบนี้หรือรถรางจะแทนการ

ใช้สายพานลำเลียงได้หรือไม่

4.17 จะใช้แรงโน้มถ่วงของโลก โดยเริ่มต้นจากการปฏิบัติการขั้นตอนแรกที่ระดับสูง ได้หรือไม่

4.18 จะใช้ช่องทิ้งวัสดุเพื่อรองรับวัสดุและส่งต่อไปสู่ภาชนะบรรจุได้หรือไม่

4.19 แผนภูมิกระบวนการผลิต จะช่วยในการแก้ไขปัญหาด้านการเคลื่อนที่และขนย้ายได้หรือไม่

4.20 ห้องเก็บของถูกต้องขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

4.21 สถานีขนถ่ายของรถบรรทุกตั้งอยู่ในที่ศูนย์กลางหรือไม่

4.22 จะใช้สายพานลำเลียงสำหรับการขนส่งของจากชั้นหนึ่งอีกชั้นหนึ่งได้หรือไม่

4.23 จะใช้ภาชนะบรรจุวัสดุชนิดติดตัวซึ่งสูงกว่าระดับเอว ในสถานีทำงานต่างๆได้หรือไม่

4.24 ชิ้นส่วนที่เสร็จแล้วส่งย้ายออกได้ง่ายหรือไม่

4.25 โต๊ะหมุนจะช่วยขจัดกิจกรรมการเดินทางได้หรือไม่

4.26 วัตถุดิบขาเข้าจะรับเข้าที่สถานีทำงานโดยไม่ต้องมีการขนย้ายซ้ำสองได้หรือไม่

4.27 การปฏิบัติงานต่างๆ จะรวมกันในสถานีทำงานแห่งเดียว เพื่อลดการขนย้ายซ้ำ สองได้หรือไม่

4.28 ภาชนะบรรจุมาตรฐานจะช่วยขจัดกิจกรรมการชั่งได้หรือไม่

4.29 เครื่องยกไฮโดรลิกจะขจัดการใช้เครนได้หรือไม่

4.30 ผู้ปฏิบัติงานจะสามารถส่งมอบชิ้นส่วนให้สถานีทำงานต่อไป เมื่อส่งต่อชิ้นงาน ได้หรือไม่

4.31 ภาชนะบรรจุ จะมีขนาดรูปร่างคงที่เพื่อสามารถวางซ้อนกันได้และขจัดการใช้พื้นที่

มากเกินไปได้หรือไม่

4.32 วัสดุจะซื้อมาเป็นขนาดที่สะดวกมากขึ้นในการขนย้ายได้หรือไม่

4.33 สัญญาณต่างๆ เช่น  แสงไฟ กระดิ่ง ฯลฯ จะช่วยให้คนรู้ว่า มีความต้องการวัสดุเพิ่มขึ้น

เป็นการลดการเสียเวลาหรือไม่

4.34 การกำหนดการทางผลิตที่ดีจะช่วยขจัดกรณีคอคอดได้หรือไม่

4.35 การวางแผนที่ดีจะช่วยขจัดกรณีคอคอดของการใช้เครนได้หรือไม่

4.36 จะเปลี่ยนที่ตั้งของห้องเก็บของและกองวัสดุเพื่อลดการขนย้ายและขนส่ง ได้ หรือไม่

5.การวิเคราะห์กระบวนการ

5.1 ปฏิบัติการที่กำลังวิเคราะห์อยู่นี้จะรวมเข้ากับอีกปฏิบัติการหนึ่งได้หรือไม่ จะขจัดปฏิบัติการนี้ได้ไหม

5.2 จะแยกย่อยปฏิบัติการนี้และรวมส่วนต่างๆ ของปฏิบัติการนี้ ให้เข้ากับปฏิบัติการอื่นๆ ได้หรือไม่

5.3 ปฏิบัติการที่กำลังทำอยู่นี้ จะทำสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพว่าโดยเป็นปฏิบัติการแยกออกต่างหาก

ได้หรือไม่

5.4 ลำดับขั้นตอนของปฏิบัติการต่างๆ เป็นลำดับที่ดีที่สุดที่เป็นไปได้แล้วหรือยัง การเปลี่ยนลำดับ

ขั้นตอนจะทำให้การปฏิบัติการนั้นดีหรือไม่

5.5 เพื่อเป็นการตัดต้นทุนการขนย้ายปฏิบัติการนั้นจะทำให้แผนกอื่นได้หรือไม่

5.6 ควรจะต้องทำการศึกษาการปฏิบัติการอย่างรวบรัด โดยอาศัยแผนภูมิกระบวนการผลิตหรือไม่

5.7 ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงปฏิบัติการ จะมีผลอะไรต่อปฏิบัติการอื่นและต่อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

5.8 ถ้าสามารถใช้วิธีการที่แตกต่างออกไปในการผลิตชิ้นส่วน จะเป็นการคุ้มกับงานและกิจกรรม

ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องหรือไม่

5.9 จะรวมปฏิบัติการและการตรวจสอบเข้าด้วยกันได้หรือไม่

5.10 การตรวจสอบงานกระทำ ณ จุดวิกฤติหรือเมื่อชิ้นงานเสร็จสมบูรณ์แล้ว

5.11 การตรวจสอบด้วยการเดินยามตรวจ จะขจัดของสิ้นเปลือง ของเสีย และค่าใช้จ่ายหรือไม่

6.วัสดุ

6.1 วัสดุที่ใช้แท้จริงแล้วเหมาะสมกับงานหรือไม่

6.2 จะสามารถใช้วัสดุที่ราคาถูกว่าทดแทนและยังคงใช้งานได้หรือไม่

6.3 จะใช้วัสดุที่ด้อยกว่าได้หรือไม่

6.4 วัสดุที่จัดซื้อมาอยู่ในสภาพเหมาะสำหรับการใช้งานหรือไม่

6.5 ผู้จัดส่งวัสดุจะเพิ่มงานกับวัสดุซึ่งจะปรับปรุงการใช้งานวัสดุได้ดีขึ้น และลดของสูญเสียให้น้อยลง

ได้หรือไม่

6.6 วัสดุสะอาดเพียงพอหรือไม่

6.7 วัสดุจัดซื้อมาในปริมาณและขนาดซึ่งทำให้เกิดการใช้งานได้สูงสุด และจำกัดของเสียที่เกิดจาก

ของเหลือจากการตัดและปลายที่สั้นเกินไปหรือไม่

6.8 วัสดุได้รับการใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในระหว่างการตัดและระหว่างดำเนิน

กระบวนผลิตหรือไม่

6.9 วัสดุที่ใช้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตมีความเหมาะสมหรือไม่ เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำ น้ำกรด สี

แก๊ส ลมอัด ไฟฟ้า และมีการควบคุมการใช้อย่างประหยัดหรือไม่

6.10 ต้นทุนวัสดุเทียบกับต้นทุนแรงงานแล้วเป็นอย่างไร

6.11 การออกแบบจะปรับเปลี่ยนเพื่อขจัดการสูญเสียและวัสดุเสียได้หรือไม่

6.12 จะลดจำนวนประเภทของวัสดุลงด้วยการกำหนดใช้วัสดุมาตรฐานได้หรือไม่

6.13 ชิ้นส่วนจะทำจากวัสดุเสียได้หรือไม่

6.14 จะสามารถใช้วัสดุที่พัฒนาขึ้นใหม่ เช่น พลาสติก ฮาร์ดบอร์ด ได้หรือไม่

6.15 ผู้จัดส่งวัสดุมีการปฏิบัติการกับวัสดุซึ่งไม่จำเป็นต่อกระบวนการผลิตหรือไม่

6.16 จะใช้วัสดุที่ได้จากการเอกซ์ทรูดได้หรือไม่

6.17 ถ้ามีการใช้วัสดุเกรดที่คุณภาพคงที่กว่า จะสามารถควบคุมกระบวนการผลิตได้ดีขึ้นหรือไม่

6.18 จะใช้ชิ้นส่วนที่เชื่อมประกอบแทนที่ชิ้นงานจากงานหล่อ เพื่อประหยัดต้นทุนค่าแบบได้หรือไม่

6.19 มีกิจกรรมน้อยเพียงพอที่จะทำเช่นนี้ได้หรือไม่

6.20 วัสดุนั้นปราศจากขอบคมและเศษแตกหักหรือไม่

6.21 การเก็บรักษามีผลกระทบอะไรต่อวัสดุ

6.22 การตรวจสอบวัสดุขาเข้าอย่างระมัดระวังขึ้น จะลดอุปสรรคที่พบในปัจจุบันได้หรือไม่

7.การวางผังสถานที่ทำงาน

7.1 งานถูกมอบหมายให้ผู้ปฏิบัติงานอย่างไร

7.2 การควบคุมทำได้ดีจนผู้ปฏิบัติงานไม่เคยที่จะไม่มีงานทำหรือไม่

7.3 ผู้ปฏิบัติงานได้รับคำสั่งอย่างไร

7.4 วัสดุได้รับมาอย่างไร

7.5 มีการจ่ายแบบเขียนและเครื่องมืออย่างไร

7.6 มีการควบคุมเวลาหรือไม่ ถ้ามี จะตรวจสอบเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของงานอย่างไร

7.7 มีความเป็นไปในการเกิดความล่าช้าที่ห้องเขียนแบบ ห้องเครื่องมือ ห้องเก็บของ

และในสำนักงานหรือไม่

7.8 ผังสถานที่ทำงานมีประสิทธิภาพดีหรือไม่ และจะปรับปรุงอีกได้หรือไม่

7.9 วัสดุอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะแล้วหรือไม่

7.10 ถ้ามีการปฏิบัติการตลอดเวลา จะมีเวลาเสียไปเท่าไรในกิจกรรมการเริ่มต้น และ ทำความสะอาด

เมื่อเริ่มกะและสิ้นสุดกะ

7.11 มีการเตรียมตำแหน่งเครื่องมือเพื่อลดเวลารอคอยหรือไม่

7.12 การจัดเพิ่มเติมวัสดุทำอย่างไร

7.13 จะสามารถใช้มือหรือขา ในการสนับสนุนการใช้ปืนลมให้เกิดประโยชน์ช่วยได้หรือไม่

7.14 จะใช้จิ๊กได้หรือไม่

7.15 จะใช้การนำร่องหรือหมุดลูกปืนช่วยในการกำหนดตำแหน่งงานได้หรือไม่

7.16 จะต้องทำอะไรในการดำเนินการปฏิบัติการให้สำเร็จและเก็บเครื่องมือทั้งหมด

7.17 จะทำความสะอาดสถานที่อย่างทั่วถึงได้อย่าง

 

8. เครื่องมือและอุปกรณ์

8.1 จะออกแบบจิ๊กให้ใช้กับงานมากกว่าหนึ่งงานได้หรือไม่

8.2 ปริมาณงานมีมากเพียงพอสำหรับการใช้เครื่องมือ จิ๊ก และฟิกซ์เจอร์ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นโดยพิเศษหรือไม่

8.3 จะใช้เครื่องป้อนเป็นชุดแบบแมกกาซีนได้หรือไม่

8.4 จิ๊กจะทำจะวัสดุชนิดเบาหรือถูกออกแบบด้านวัสดุอย่างประหยัดเพื่อให้การขนย้ายง่ายขึ้นได้หรือไม่

8.5 มีฟิกซ์เจอร์อื่นที่ดัดแปลงเข้ากับงานนี้ได้อีกหรือไม่

8.6 การออกแบบจิ๊กถูกต้องหรือไม่

8.7 การใช้เครื่องมือราคาถูกจะลดคุณภาพหรือไม่

8.8 การออกแบบจิ๊ก  ช่วยให้การเคลื่อนที่ตามหลักการประหยัดของการเคลื่อนที่หรือไม่

8.9 จะสามารถใส่และถอดชิ้นส่วนจากจิ๊กได้อย่างรวดเร็วหรือไม่

8.10 กลไกการกระทำที่เร็วหรือเคลื่อนที่ด้วยลูกเบี้ยว จะเหมาะสำหรับการยึดแน่น ของจิ๊ก แคลมป์               หรือปากกาได้หรือไม่

8.11 จะติดตั้งเครื่องดีดไว้ที่ฟิกซ์เจอร์เพื่อผลักชิ้นงานออกโดยอัตโนมัติ เมื่อฟิกซ์เจอร์เปิดได้หรือไม่

8.12 มีการจัดเครื่องมืออย่างเดียวกันแก่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนใช่หรือไม่

8.13 ถ้าความแม่นยำของงานเป็นสิ่งจำเป็น มีการจัดหาเกจวัด เครื่องวัดอื่นๆ ที่ เหมาะสมไว้หรือไม่

8.14 อุปกรณ์ทำด้วยไม้ที่ใช้อยู่ในสภาพดีหรือไม่ และโต๊ะงานปราศจากเสี้ยนหรือไม่

8.15 โต๊ะพิเศษถูกออกแบบเพื่อขจัดการล้ม การก้มเงย และการเอื้อม  ซึ่งจะลดความเมื่อยล้าหรือไม่

9.สภาพการทำงาน

9.1 แสงสว่างสม่ำเสมอและเพียงพอตลอดเวลาหรือไม่

9.2 มีการขจัดแสงจ้าออกไปจากสถานที่ทำงานหรือยัง

9.3 มีการปรับอุณหภูมิที่เหมาะสมเพื่อความสะดวกสบายไว้ตลอดหรือไม่ ถ้าไม่จะใช้พัดลม

หรือเครื่องทำความอุ่นได้หรือไม่

9.4 การติดตั้งอุปกรณ์ปรับอากาศจะคุ้มค่าหรือไม่

9.5 ระดับเสียงจะลดลงได้ไหม

9.6 จะขับ  ไอระเหย  ควัน  และฝุ่น  ออกโดยใช้ระบบการดูดอากาศได้หรือไม่

9.7 มีเครื่องทำน้ำดื่มเย็นให้หรือไม่ และตั้งอยู่ใกล้ที่ทำงานหรือเปล่า

9.8 มีการพิจารณาปัจจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือไม่

9.9 พื้นมีความปลอดภัย  เรียบ  แต่ไม่ลื่นหรือไม่

9.10 ผู้ปฏิบัติงานได้รับการฝึกสอนให้ทำงานอย่างปลอดภัยหรือไม่

9.11 เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเหมาะสมในด้านความปลอดภัยหรือไม่

9.12 โรงงานมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดอยู่ตลอดเวลาหรือไม่

9.13 จะนับปริมาณวัสดุสำเร็จรูปได้อย่างไร

9.14 มีการตรวจสอบจำนวนที่บันทึกกับจำนวนที่จ่ายจริงหรือไม่

9.15 จะใช้เครื่องนับอัตโนมัติได้หรือไม่

9.16 มีงานธุรการอะไรบ้างที่ผู้ปฏิบัติต้องบันทึกลงในใบลงเวลาใบแจ้งความต้องการใช้วัสดุและอื่นๆ

9.17 จะจัดการกับของเสียอย่างไร

9.18 ปริมาณการสั่งซื้อทีประหยัดของงานที่กำลังวิเคราะห์อยู่คือเท่าไร

9.19 มีการเก็บข้อมูลผลงานของผู้ปฏิบัติการเพียงพอหรือไม่

9.20 ผู้ร่วมงานใหม่ ได้รับการแนะนำในสภาพแวดล้อมการทำงานและข้อแนะนำเพียงพอหรือไม่

9.21 เมื่อคนงานไม่สามารถทำงานได้ตามมาตรฐานของงาน ได้มีการศึกษาในรายละเอียดหรือไม่

9.22 มีการสนับสนุนข้อเสนอของคนงานหรือไม่

9.23 คนงานเข้าใจเกี่ยวกับแผนการจ่ายเงินจูงซึ่งใช้กับงานที่เขาทำหรือไม่

9.24 มีการพัฒนาความสนใจของคนงานอย่างจริงใจต่อผลิตภัณฑ์หรือไม่

9.25 งานได้ถูกทำด้วยคนงานที่เหมาะสมหรือไม่

9.26 คนงานมีสภาพร่างกายที่เหมาะกับงานหรือไม่

9.27 สภาพอุณหภูมิในโรงงานหนาวในหน้าหนาว ร้อนในหน้าร้อน โดยเฉพาะในเช้าวันแรกของ

การทำงานหรือไม่

เทคนิคการตรวจตราข้อมูลวิธีการทำงานด้วย การตั้งคำถามแบบต่อเนื่อง (6W-1H)

หากในบางครั้งเราไม่ต้องการใช้คำถามสำเร็จรูป เราอาจใช้การตั้งคำถามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ขั้นตอนการทํางาน

ieProsoft โซลูชั่นครบวงจรด้านการบริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

บริษัท ไออี บิสซิเนส โซลูชั่น จำกัด (IEBS) เป็นผู้ให้บริการระบบซอฟแวร์ทางด้านการจัดการอุตสาหกรรม การวางแผนการผลิตโดยลงลึกไปจนถึงการจัดตารางการผลิต มาตรฐานการการทำงาน การจัดสมดุลการผลิต รวมไปถึงการบริหารจัดการคลังสินค้า ครอบคุลมการบริการในด้านต่างๆที่สำคัญต่อการนำระบบไปใช้ในภาคธุรกิจ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ดูแลตั้งแต่การติดตั้ง การให้ปรึกษา การนำไปใช้งานจริง (Implementation) รวมถึงการวิเคราะห์ผลลัพธ์ต่างๆ เราสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้าสู่ยุค ดิจิทัล ด้วยเครื่องมือในกลุ่ม ieProsoft อาทิเช่น ieSmart WI, ieLineBalancing, ieInventory และ ieInventory ซึ่งซอฟแวร์ทั้งหมดนี้ เป็นตัวช่วยให้สามารถบริหารการจัดการผลิตได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่มกำไรให้บริษัทได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน IEBS มีการให้บริการซอฟแวร์ทั้งแบบบริการผ่านซอฟต์แวร์แบบ สแตนด์อโลน (Stand-alone Software) ไปจนถึงชุดซอฟต์แวร์เต็มรูปแบบ (Full-Blown) แบบคลาวด์โซลูชั่น (Cloud Solution) ได้แก่

กระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

5 วิธีในการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น.
1. เริ่มวางแผนตารางเวลา.
การจัดลำดับความสำคัญ.
การแบ่งงาน.
2. เรียนรู้ 'ตัวเอง'.
3. สภาพแวดล้อมการทำงาน.
4. สมาธิและโฟกัส.
5. ติดต่อสื่อสาร.

กระบวนการทํางาน หมายถึงอะไร

กระบวนการทำงาน หมายถึง กระบวนการสร้างคุณค่าที่สำคัญที่สุดภายในองค์กรซึ่งอาจรวมถึง การ ออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต และการส่งมอบ การสนับสนุนผู้รับบริการ การจัดการเครือข่ายอุปทาน กระบวนการทางธุรกิจ และกระบวนการสนับสนุน กระบวนการทำงานเป็นกระบวนการทำงานที่สำคัญของ องค์การมักเกี่ยวข้องกับสรรมถนะหลักขององค์การ ปัจจัยที่กำหนดความ ...

ขั้นตอนในการทํางานด้วยกระบวนการกลุ่มมีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

ขั้นตอนที่ 1 การเลือกหัวหน้ากลุ่ม.
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดเป้าหมาย.
ขั้นตอนที่ 3 การวางแผนในการทำงาน.
ขั้นตอนท่ 4 การแบ่งงานตามความสามารถ.
ขั้นตอนที่ 5 การปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่.
ขั้นตอนที่ 6 การประเมินผลและปรับปรุงงาน.

กระบวนการมีความสำคัญอย่างไร

กระบวนการ หมายถึงแนวทางการดำเนินงานเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีขั้นตอน ซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบแล้วเสร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ ขั้นตอนดังกล่าวช่วยให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพนำไปสู่ความสำเร็จตามจุดประสงค์และเป้าหมายได้ โดยใช้เวลาและทรัพยากรน้อยที่สุด