งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง น้ำยา ทำความ สะอาด

ในการศึกษาวิจัยเรื่อง การพัฒนาสูตรน้ำยาล้างจาน จากวัตวัตถุดิบในครัว ด้วยการร่วมมือของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ผู้จัดทำโครงการได้เรียบเรียงเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย ตามลำดับหัวข้อดังต่อไปนี้

1.  ที่มาของคราบสกปก

2.  วิธีกำจัดคราบ

3.  ผลกระทบที่มาจากคราบสกปก

4.  วัตถุดิบที่ใช้

5.  ขั้นตอนการทำ

6.  สื่อที่ใช้ในการนำเสนอโครงการ

7.  โครงการที่เกี่ยวข้อง

8.  เศรษฐกิจพอเพียง

2.1 ที่มาของน้ำยาล้างจาน

       2.1.1 ความหมายผลมะกรูด

มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อยใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนามีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่ายมีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้วยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)

2.2 วิธีใช้การใช้น้ำยาล้างจานมะกรูด

    2.2.1 วิธีใช้ผลมะกรูด

1.ตัดจุกผลมะกรูด คว้านไส้กลางออก เอามหาหิงส์ใส่แล้วปิดจุก นำไปเผาไฟจนดำเกรียม บดเป็นผงละลายกับน้ำผึ้งรับประทาน จะช่วยขับลม แก้ปวดท้องหรือป้ายลิ้นเด็กอ่อน เป็นยาขับขี้เทาได้

2.น้ำมะกรูดใช้ถูกฟัน แก้เลือดออกตามไรฟัน

3.เอาผลมะกรูดมาดอง เป็นยาดองเปรี้ยวรับประทานขับลมขับระดู

4.เปลือกผลฝานบาง ๆ ชงน้ำเดือดใส่กระบูรเล็กน้อย รับประทานแก้ลมวิงเวียน

5.เปลือกฝนใช้ผสมในเครื่องสำอางบางชนิด เช่น แชมพู สบู่

    2.2.2 ลักษณะทั่วไปของพฤกษศาสตร์

ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 2-8 เมตร เปลือกต้นเรียบ สีน้ำตาล มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ปลายใบและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม มีต่อมน้ำมันอยู่ตามผิวใบ มีกลิ่นหอมเฉพาะ ก้านใบมีปีกดูคล้ายใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน ผล เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง มีรสเปรี้ยว เมล็ดกลมรี สีขาว มีหลายเมล็ด

    2.2.3 คุณสมบัติผลมะกรูด

1.ใช้เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ คือ น้ำในผลแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร น้ำมะกรูดใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน2.ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางค์ต่าง ๆ

3.กรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม

4.ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ

    2.2.4 การใช้ประโยชน์ของมะกรูด

1. ใช้ส่วนต่าง ๆ ของมะกรูด เป็นยาหรือส่วนผสมของยาต่าง ๆ
        1. 1 ใบมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน ดับกลิ่นคาว
        1.2. ผลลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว กัดเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กัดเถาดานในท้อง แก้ระดูเสีย ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
        1.3 ผิวลูกมะกรูด มีรสปร่า กลิ่นหอมร้อน ขับลมในลำไส้ ขับระดู ขับผายลม
        1.4 น้ำในลูกมะกรูด มีรสเปรี้ยว แก้ไอเสมหะ ฟอกโลหิต ขับระดู ขับลมในลำไส้
        1.5 ราก มีรสจืดเย็น แก้ไข้ ถอนพิษสำแดง แก้ลมจุกเสียด กระทุ้งพิษไข้ แก้พิษฝีภายใน
แก้ เสมหะ

2. ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางต่าง ๆ

3. กรดซิตริกที่อยู่ในมะกรูด ช่วยขจัดคราบสบู่ที่หลงเหลืออยู่ ทำให้ผมหวีเรียบง่าย น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม

4. ใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ

2.3 ผลกระทบการใช้น้ำยาล้างจานมะกรูด

ฟองของน้ำยาล้างจานเป็นสิ่งปิดกั้นบนผิวน้ำ ทำให้ออกซิเจนในอากาศละลายน้ำไม่ได้ และกั้นไม่ให้แสงอาทิตย์ส่องลงไปใต้ผิวน้ำ พืชน้ำก็จะไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ เมื่อสิ่งมีชีวิตในน้ำขาดออกซิเจนก็จะตายลง และเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลงจะส่งผลทำให้น้ำเน่าเสีย นอกจากนั้น สารเคมีบางชนิดในน้ำยาล้างจานอาจเป็นอันตรายกับทั้งพืชน้ำและสัตว์น้ำ และยังอาจทำให้ผิวของเราระคายเคืองบ้างเล็กน้อยค่ะ

2.4 วัตถุดิบที่ใช้

2.4.1 มะกรูด  เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อยใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนามีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่ายมีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้วยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย

        2.4.2 น้ำสารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนและเป็นสารประกอบเคมีชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ

2.4.3 เกลือ เป็นแร่ธาตุส่วนใหญ่ประกอบด้วยโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) สารประกอบในระดับสูงกว่าเกลือชนิดต่าง ๆ เกลือในธรรมชาติก่อตัวเป็นแร่ผลึกรู้จักกันว่า เกลือหิน หรือแฮไลต์ เกลือพบได้ในปริมาณมหาศาลในทะเลซึ่งเป็นองค์ประกอบของแร่ที่สำคัญ ในมหาสมุทรมีแร่ธาตุ 35 กรัมต่อลิตร ความเค็ม 3.5% เกลือเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตสัตว์ ความเค็มเป็นรสชาติพื้นฐานของมนุษย์ เนื้อเยื่อสัตว์บรรจุเกลือปริมาณมากกว่าเนื้อเยื่อพืช ดังนั้นอาหารของชนเผ่าเร่ร่อนที่ดำรงชีวิตในฝูงต้องการเกลือเพียงเล็กน้อย หรือไม่ต้องการเกลือเลย ขณะอาหารประเภทซีเรียลจำเป็นต้องเพิ่มเกลือ เกลือเป็นหนึ่งในเครื่องปรุงรสที่เก่าแก่ที่สุดและหาได้ง่ายที่สุด และการดองเค็มก็เป็นวิธีการถนอมอาหารที่สำคัญวิธีหนึ่ง

2.4.4 หัวแชมพู จะมีลักษณะเป็นของเหลวใสๆ ค่ะ  มีคุณสมบัติในการชำระล้าง และก็ขจัดคราบมัน เวลาเราไปซื้อ ต้องซื้ออย่างน้อย 1 กิโล เพราะเค้าจะบรรจุใส่ถุงเอาไว้แล้ว

2.4.5 ผงฟอง ก็จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนไข่ปลา และก็มีสีขาวขุ่น (ขาวเหมือนเม็ดโฟม) ค่ะ คุณสมบัติของผงฟองก็ คือ ทำให้เกิดฟองนั่นเองค่ะ   ใส่มากก็จะมีฟองมาก ใส่น้อยก็จะมีฟองน้อยนะค่ะ

2.4.6 ผงข้น  ผงข้นจะมีลักษณะคล้ายผงแป้งที่ละเอียด ๆ ค่ะ และก็มีสีขาว คุณสมบัติก็ตรงตามชื่อเลยค่ะ นั่นก็คือ เพิ่มความข้นและความหนืด

2.4.7 สีเหลือง  เอาไว้ใช้ในการแต่งสีให้สวยงาม แลดูน่าใช้  ซึ่งถ้าใครไม่ชอบสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นสีอื่น เช่น เขียว แดง ฟ้า ม่วง ชมพู ส้ม อะไรก็ได้ค่ะตามชอบ  แต่ว่าเอาในแมทซ์กับกลิ่นที่ใช้หน่อยก็ดีนะคะ  (เช่นถ้าใส่กลิ่นตะไคร้ แอ๊ปเปิ้ล หรือมะกรูด ก็อาจจะใช้สีเขียว  / ถ้าใส่กลิ่นสตรอเบอรี่ก็อาจจะใช้สีแดงหรือชมพูค่ะ)

 2.5 ขั้นตอนการทำ

2.5.1 ขั้นตอนการทำน้ำยาล้างจานมะกรูด

ส่วนผสม

- หัวแชมพู 1 กิโล

- ผงฟอง 1 ขีด

- ผงข้น 1 ขีด

- กลิ่นมะกรูด 1/2 ออนซ์

- สีผสมอาหารสีเหลือง หรือสีอื่นตามชอบ  (ชนิดผงหรือน้ำก็ได้)

- น้ำสะอาด 3.5 - 4 กิโลกรัม

    วิธีทำน้ำยาล้างจานมะกรูด

        1.อันดับแรก ก็มาทำความรู้จักกับส่วนผสมแต่ละอย่างกันก่อนนะคะ เริ่มต้นด้วย "หัวแชมพู" สำหรับ "หัวแชมพู" เนี่ย จะมีลักษณะเป็นของเหลวใสๆ ค่ะ  มีคุณสมบัติในการชำระล้าง และก็ขจัดคราบมัน เวลาเราไปซื้อ ต้องซื้ออย่างน้อย 1 กิโล เพราะเค้าจะบรรจุใส่ถุงเอาไว้แล้ว ถุงละ 1 กิโลค่ะ

          2.ต่อมา  ก็เป็น "ผงฟอง" นะคะ  สำหรับผงฟองเนี่ย ก็จะมีลักษณะเป็นเม็ดเล็กๆ เหมือนไข่ปลา และก็มีสีขาวขุ่น (ขาวเหมือนเม็ดโฟม) ค่ะ คุณสมบัติของผงฟองก็ คือ ทำให้เกิดฟองนั่นเองค่ะ   ใส่มากก็จะมีฟองมาก ใส่น้อยก็จะมีฟองน้อยนะค่ะ

          3.ต่อไป "ผงข้น" ผงข้นจะมีลักษณะคล้ายผงแป้งที่ละเอียด ๆ ค่ะ และก็มีสีขาว คุณสมบัติก็ตรงตามชื่อเลยค่ะ นั่นก็คือ เพิ่มความข้นและความหนืด

          4. "กลิ่นมะกรูด" อันนี้ใช้สำหรับเพิ่มกลิ่นหอมให้กับน้ำยาล้างจานของเราค่ะ  ซึ่งถ้าไม่ชอบกลิ่นมะกรูด จะเปลี่ยนเป็นกลิ่นอื่นที่ชอบ เช่น กุหลาบ มะนาวตะไคร้  มะลิ ลีลาวดี กล้วยไม้ พวกนี้ก็ได้ค่ะ   ตามชอบเลย   (อันนี้เวลาซื้อ ต้องซื้อทีละ 1 ออนซ์นะคะ  1 ออนซ์ = 1 ขวด) ไม่แนะนำให้ใช้กลิ่นที่ใช้สำหรับในการทำขนมนะคะ  เพราะว่ามันเป็นกลิ่นที่อยู่ไม่ทนอ่ะค่ะ

          5. "สีเหลือง"  เอาไว้ใช้ในการแต่งสีให้สวยงาม แลดูน่าใช้  ซึ่งถ้าใครไม่ชอบสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นสีอื่น เช่น เขียว แดง ฟ้า ม่วง ชมพู ส้ม อะไรก็ได้ค่ะตามชอบ  แต่ว่าเอาในแมทซ์กับกลิ่นที่ใช้หน่อยก็ดีนะคะ ^^   (เช่นถ้าใส่กลิ่นตะไคร้ แอ๊ปเปิ้ล หรือมะกรูด ก็อาจจะใช้สีเขียว  / ถ้าใส่กลิ่นสตรอเบอรี่ก็อาจจะใช้สีแดง

          6.สุดท้ายก็เป็นน้ำสะอาดนะคะ  จะใช้น้ำกินที่ซื้อมาเป็นขวดลิตรก็ได้ค่ะ แต่มันแพงอ่ะ  เลยใช้น้ำประปารองใส่ถังหรือโอ่ง  แล้วทิ้งเอาไว้อย่างน้อย 4-5 วันก่อนจะนำมาใช้  ก็ใช้ได้เหมือนกัน ไม่มีปัญหาอะไรค่ะ   (น้ำประปาแบบเปิดจากก๊อกแล้วเอามาใช้เลย  อันนี้ใช้ไม่ได้นะคะ เพราะว่าเวลาเอาผงข้นลงไปกวน มันจะไม่ค่อยข้นเท่าที่ควรอ่ะค่ะ) จากนั้นเมื่อเราเตรียมทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มาลงมือทำกันดีกว่าค่ะ เริ่มต้นด้วยการเทน้ำสะอาด 1.5 ลิตร  (หรือ 1500 กรัม) ใส่ลงไปในกาละมังใบโต ๆ ก้นลึกสักใบ

7.แล้วก็ค่อย ๆ เทผงฟองใส่ลงไป  คนด้วยไม้พายจนกระทั่งผงฟองละลายหมดค่ะ  (ถ้าไม่มีไม้พายอันใหญ่ๆจะใช้อย่างอื่นคนก็ได้นะคะเช่นทัพพีอันโตๆ  แต่ว่าใช้ไม้พายจะง่ายกว่า)

         8.พอผงฟองละลายหมดดีแล้ว ก็เทหัวแชมพูทั้งหมดใส่ลงไป  (เทพรวดเดียวได้เลยค่ะ ไม่ต้องค่อย ๆ เท) คนให้เข้ากันดี

9.จากนั้นก็ใส่ผงข้นลงไปค่ะ แล้วก็คนให้เข้ากัน ซึ่งขอบอกนิดค่ะว่า  ตอนแรกที่คนเนี่ยมันจะมีความหนืดนิด ๆ ข้นเล็กน้อย  (เพราะว่าผงข้นเพิ่งละลายบางส่วน)  แต่ยิ่งคน ยิ่งกวนมากขึ้น ความหนืด เหนียว ข้น จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น   ดังนั้นแล้วสำหรับการใส่ผงข้นเนี่ย จริง ๆ จะใส่รวดเดียวทั้งหมด แล้วค่อยคนให้เข้ากันก็ได้ แต่วิธีนั้นเมื่อยมือมาก และคนให้เข้ากันยากค่ะ เลยขอแนะนำว่าให้ทยอยใส่ทีละ 1/3  (หรือทีละประมาณ 330 กรัม)  แล้วคนให้เข้ากันดี รอบนึงก่อน  จึงค่อยทยอยใส่ผงข้นที่เหลือค่ะ จะดีกว่า และเมื่อยมือน้อยกว่า

2.6 สื่อที่ใช้ในการนำเสนอโครงการ

ในตระกูล Microsoft office 2013 โปรแกรม Publisher 2013 ถือว่าเป็นโปรแกรมออกแบบโบชัวร์ การทำแผ่นพับ ได้อย่างสะดวกรวดเร็วอีกโปรแกรมหนึ่ง สามารถจัดการส่วนประกอบต่างๆเช่น ข้อความ หรือ ภาพได้อย่างง่ายดาย แถมยังเป็นโปรแกรมสามัญประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องหามาติดตั้งเพิ่มเติมแต่อย่างใด อีกทั้งหน้าตาก็คล้ายคลึงกับโปรแกรม MS word 2013 ที่เราๆท่านใช้กันแทบทุกวัน

เริ่มต้นด้วยการปรับแต่งโปรแกรม Publisher 2013 ให้เรามีหน่วยวัดแบบเดียวกันคือเซนติเมตร ถ้าหน่วยตรงกันแล้วสามารถข้ามขั้นตอนนี้ไปได้ โดยกดที่ File >> Options >> Advanced >> Show measurements in units of >> Centimeters

1.ขั้นตอนแรก เริ่มสร้างไฟล์งานใหม่ โบชัวร์ การทำแผ่นพับ โดยกดที่ File >> New >> เลือกtemplate โดยโปรแกรม Publisher มี template ให้เลือกมากมายและสามารถค้นเพิ่มเติมonlineได้ในช่อง

ค้นหา  ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง

หลังจากเราสร้างไฟล์งานใหม่แล้ว เราก็ต้องปรับขนาด template ให้มีขนาดเท่ากับขนาดโบชัวร์ หรือ ขนาดแผ่นพับที่เราต้องการ ในโพสนี้เราจะทำโบชัวร์ขนาดA4 มีขนาดสำเร็จแล้วที่ 21 x 29.7 cm แต่ในการพิมพ์โบชัวร์ จะพิมพ์บนกระดาษที่ใหญ่กว่า แล้วตัดให้ได้ขนาดโบชัวร์ที่ต้องการ โดยเราจำเป็นเผื่อระยะตัดด้านละ 0.3 cm ขนาดไฟล์จึงใหญ่กว่าของจริงเล็กน้อยคือ 21.3 x 30 cm โดยระยะตัดที่เราเผื่อไว้นี้จะถูกตัดออกหลังพิมพ์ลงกระดาษแล้ว เพื่อจะได้ขนาดเท่ากับขนาดA4ปกติ หลังผลิตสำเร็จ เริ่มการปรับขนาดหน้ากระดาษ โดยกดที่ Page Design >> Size >> Page Setup >> Width 21.3 cm  >> Height 30 cm  ต่อด้วยการปรับ Margin >> Top = 0 >> Left = 0 >> Bottom = 0 >> Right = 0 ดังภาพด้านล่างนี้ (สำหรับบางท่านที่ใช้เครื่องปริ๊นทั่วไป ให้ใช้ขนาดA4 สำเร็จเลยคือ 21 x 29.7 cm)

เราจะได้ไฟล์งานใหม่ ที่พร้อมจะใส่ข้อความ เพิ่มรูปภาพ เพิ่มแบ๊คกราวน์ ย้ายส่วนประกอบต่างๆแล้วค่ะดังภาพด้านล่างนี้ โดยเราทำโบชัวร์ก็สามารถเริ่มขั้นตอนต่อไปได้เลยค่ะ แต่ถ้าต้องการทำแผ่นพับให้ดูในส่วนการทำแผ่นพับด้านล่างจ้า มีในส่วนการแบ่งส่วนระยะพับที่จำเป็นต้องคำนึงถึง ในการทำแผ่นพับด้วย

2.ขั้นตอนต่อไปคือการจัดวางข้อความที่เราต้องการ หรือรูปภาพสินค้า โดยข้อความ และสินค้าต่างๆควรอยู่ห่างจากขอบด้านละ 1cm จากที่ผลิตงานโบชัวร์มา พบว่าการจัดข้อความให้ห่างจากขอบด้านละ 1cm นี้เป็นระยะที่พอเหมาะไม่ใกล้ขอบเกินไป และห่างจนเกินไป แบบว่ากำลังสวยค่ะ ถ้าใส่ข้อความชิดขอบ จะทำให้โบชัวร์และแผ่นพับ ดู ขาดๆ เกินๆ ค่ะ ส่วนภาพพื้นหลังที่จะทำให้โบชัวร์ แผ่นพับ ควรว่างเต็มไฟล์งาน ไม่ต้องเว้นระยะตัด โดยพื้นหลังจะถูกตัดออกเล็กน้อย ที่ระยะตัด เพื่อไม่เห็นขอบขาว สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม Publisher เริ่มต้นด้วยการใส่ข้อความที่เมนู Insert >> Draw Text Box สามารถกดที่เพจเพื่อวางตัวอักษร และสามารถสร้างรูปภาพที่เมนู Insert >> Pictures ดังตัวอย่างด้านล่างนี้

การเพิ่มภาพที่เราต้องการบางครั้งหายากเหลือเกิน แต่ในโปรแกรม Publisher 2013 ช่วยทำให้เป็นเรื่องง่ายๆ โดยเราสามารถค้นหาแบบ online ได้เลย สะดวกมากๆ โดยกดที่ Insert >> Online Pictures >> Search Bing >>ใส่ประเภทของภาพที่เราต้องการค้นหา ดังภาพด้านล่างนี้ ในตัวอย่างนี้ต้องการหารูปธงชาติค่ะ ได้ภาพธงชาติมากมาย สะดวกมากมาย

การเพิ่มเส้น เพื่อแบบสัดส่วน หรือ รวดลาย สามารถใส่เส้นใส่ตาราง ลูกศรชี้ซ้ายขวา หรือรูปทรงเลขาคณิต ก็มีให้เลือก

 มากมายที่ Insert >> Shapes >>เลือกแบบที่ต้องการ   ด้งภาพด้างล่างนี้

และอีกส่วนที่อยากแนะนำเพื่อทำให้โบชัวร์ของเราสวยขึ้นผิดหูผิดตาเลยคือการใช้ Insert >> Page Parts  >> Sidebars / Stories ทำออกมาได้ดีค่ะ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถตกแต่งโบชัวร์ และแผ่นพับได้อย่างง่ายดาย โดยจะมีภาพพื้นหลังให้และแบ่งสัดส่วนให้ เหลือเพียงใส่ข้อความ ชื่อร้าน รายละเอียด และภาพ ก็จะได้ไฟล์งานที่เราต้องการ

ได้อธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆเป็นโปรแกรม Publisher 2013 ที่สำคัญไปแล้ว เราก็จะได้โบชัวร์ ดังตัวอย่างภาพด้านล่างนี้ จะแสดงเส้นสีเขียวที่เว้นจากขอบทุกด้าน 1 cm และกำหนดเป็นระยะปลอดภัยที่สามารถวางโลโก้ ข้อความตามๆ ออกแบบเสร็จแล้วก็ลบเส้นสีเขียวนี้ออกค่ะ โดยเมื่อพิมพ์สำเร็จจะมีความสวยงามสมส่วนค่ะสังเกตว่าสีพื้นสีม่วงดิฉันวางเต็มพื้นที่โบชัวร์ จะไม่มีปัญหาในการตัดแล้วจะเห็นขอบขาว

การทำแผ่นพับด้วยโปรแกรม Publisher 2013ก็มีหลักการสร้างไฟล์และการเว้นขอบเหมือนกับโบชัวร์ เพียงต้องคำนึงถึงระยะพับด้วยเช่นตัวอย่างด้านล่างเป็น แผ่นพับ สองพับสามตอน จะมีระยะพับด้านหน้าอยู่ที่ 97mm/100mm/100mm ไม่รวมระยะตัดอีกด้านละ 1.5mm หรือเส้นกรอบนอกสีดำ โดยให้วางข้อความห่างจากระยะพับอีกด้านละ 0.5 cm เพื่อความสวยงาม ดังตัวอย่างภาพด้านล่าง ทั้งนี้ตัวอย่างด้านล่างเป็นรูปแบบการพับทั่วไป แบบ 2พับ 3ตอน สามารถใช้งานง่ายสะดวกในการใช้งาน และการแจกด้วย นิยมมากๆค่ะ การพับแบบนี้ หน้าแรกจะอยู่ที่ด้านซ้ายหรือตรงที่มีรูปโลโก้ร้าน และด้านหลังจะอยู่ที่หน้ากลางหรือ instructions นั้นเองค่ะ

ส่วนด้านหลังจะมีระยะพับที่สลับกันกับด้านหน้าคือ 100mm/100mm/97mm ส่วนระยะขอบคือด้านละ 1.5 mm ดังภาพด้านล่าง

3.ขั้นตอนสุดท้ายสำคัญสุด คือบันทึกไฟล์

ถ้าโบชัวร์และแผ่นพับที่เราทำเสร็จแล้ว ไม่สามารถไปใช้ที่อื่นได้ หรือไม่คมชัด เท่าที่เครื่องเรา มีความผิดเพี้ยนของหน้าจอ ย่อหน้าผิด คงทำให้เราเสียอารมณ์มากๆ แล้วทำอย่างไรถึงจะถูกต้อง เริ่มกันเลยค่ะ

โดยเราควรบันทึกไฟล์ต้นฉบับในเครื่องเราเป็นไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆเอง1ไฟล์ เพื่อความสะดวกในการแก้ไขในอนาคต แต่โดยส่วนใหญ่ไฟล์ที่บันทึกเป็นไฟล์ของโปรแกรมนั้นๆ จะไม่สามารถใช้งานบนเครื่องอื่นได้ หรือผิดเพี้ยนไป ดังนั้นอีกไฟล์ที่ควรเซฟเก็บไว้ เพื่อไว้ใช้เปิดบนเครื่องอื่นได้อย่างไม่มีปัญหา เปิดบนมือถือ แท๊บเล็ตต่างๆ ก็สามารถทำได้นั้นคือ เซฟเป็นไฟล์PDF โดยกดที่ File >> Save as >> Browse >> File name >> ใส่ชื่อไฟล์ >> Save as type >> PDF


โดยเจ้าไฟล์ PDF นี้เราสามารถปรับให้มีความคมชัดมากกว่าปกติ เพื่อการนำไฟล์โบชัวร์และแผ่นพับนั้นไปจัดพิมพ์โบชัวร์ หรือนำไปพรีเซนต์ก็ไม่ต้องคมชัดมากนัก ซึ่งเราสามารถเลือกปรับได้ โดยให้เลือกที่ Options สังเกตุว่าเราสามารถกำหนดความคมชัดของไฟล์ได้ โดยในการผลิตพิมพ์โบชัวร์นั้น ไฟล์ที่ใช่ควรมีความคมชัดมากกว่า 300 dpi ขึ้นไปโดยยิ่งความคมชัดสูงขึ้น ก็จะทำให้ขนาดของไฟล์ใหญ่มากขึ้นด้วย ซึ่งอาจไม่สะดวกกับการถ่ายโอนข้อมูลผ่านอีเมล์ ดังนั้นเลือกให้เหมาะสมกับงานที่เราต้องการใช้ค่ะ

หลังจากเซฟไฟล์เสร็จแล้วเราจะได้ไฟล์ PDF ดังภาพด้านล่างนี้ ที่สามารถเปิดได้ทุกเครื่อง แม้มือถือ แท๊ปเล็ตFrontข้อความ การเว้นวรรคถูกต้อง ใช้ได้กับทุกเครื่องไม่ว่าจะเป็น windows หรือ MAC OS ก็ตาม ถึงตรงนี้หวังว่าบนความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่ทางใด ก็ทางหนึ่งค่ะ ขอบคุณค่ะ

สรุปการทำโบชัวร์ การทำแผ่นพับด้วยโปรแกรม Publisher 2013 นั้นสามารถออกแบบได้ง่าย ไม่ต้องหาโปรแกรมเสริม มีเครื่องมือเบื้องต้นให้ใช้งาน สามารถทำโบชัวร์และการทำแผ่นพับได้อย่างสวยงาม ซึ่งความสวยงามนี้ต้องเกิดจากไอเดียผู้ออกแบบ80% ค่ะ ความสามารถของโปรแกรมเป็นส่วนเสริมที่ทำให้ไอเดียของผู้ใช้งาน ปรากฏเป็นผลงานได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ถือว่า Publisher 2013 ทำได้อย่างดีทีเดียว สำหรับผู้เริ่มต้น ไม่ต้องใช้เวลาศึกษามากเนื่องทุกคนมักคุ้นเคยกับการใช้งาน Office อยู่แล้ว เป็นโปรแกรมเริ่มต้น ที่เป็นพื้นฐานการใช้โปรแกรมขั้นสูงต่อไป

2.7 โครงการที่เกี่ยวข้อง

2.7.1 โครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง น้ำยาล้างจานสูตรมะกรูด

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

         น้ำยาล้างจาน คือสารชำระล้าง (detergent) ที่ใช้ช่วยในการล้างจาน มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิว (surfactant) ที่มีการระคายเคืองต่ำ ประโยชน์หลักของน้ำยาล้างจานคือใช้ล้างภาชนะและเครื่องครัวด้วยมือหลังจากประกอบหรือรับประทานอาหารแล้ว น้ำยาล้างจานทำให้สิ่งสกปรกและไขมันหลุดจากภาชนะและรวมตัวเป็นอีมัลชัน (emulsion) อยู่ในน้ำหรือฟอง (foam) เนื่องจากโมเลกุลของน้ำยาล้างจานประกอบด้วยส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้วเช่นเดียวกับผงซักฟอก ส่วนที่มีขั้วจะจับกับโมเลกุลของน้ำ และส่วนที่ไม่มีขั้วจะจับกับสิ่งสกปรกให้หลุดออก ในสมัยก่อนมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น สบู่ล้างจาน หรือ ครีมล้างจานเนื่องจากเคยผลิตในรูปของสบู่และครีมมาก่อน ปัจจุบันน้ำยาล้างจานมีส่วนผสมอื่นรวมอยู่ด้วย เช่น น้ำมะนาวหรือชา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการช่วยให้ภาชนะสะอาดมากขึ้นและถนอมมือมากกว่าเดิม  ปัญหาที่พบได้บ่อยที่เกิดจากการล้างจานไม่สะอาด ทำให่มีเศษอาหารหลงเหลือติดอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของจานเมื่อเวลาผ่านไปเศษอาหารที่เหลือเหล่านั้นอาจเน่าเสียได้เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ได้ สาเหตุที่เกิดจากการเน่าเสียของอาหารได้แก่

แบคทีเรีย

            จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็ก มีรูปร่างต่างๆ กัน เช่น เกลียว กระบอกหรือท่อน กลมซึ่งอาจเกาะเรียงตัวกันเป็นสายหรือกลุ่ม แบคทีเรียมีการเจริญเพิ่มจำนวนโดยการแบ่งเซลล์ โดยเฉลี่ยที่สภาว้เหมาะสม จะเพิ่มจำนวนเป็น 2 เท่าทุก 20-30 นาที ดังนั้นหากในอาหารมีแบคทีเรียปนเปื้อนเพียง 1 เซลล์ ภายใน 10 ชั่วโมง จะมีจำนวนแบคทีเรียมากกว่า 1 ล้านเซลล์ อาหารที่มีแบคทีเรียปนเปื้อนอยู่ในระดับนี้ จะเกิดการเน่าเสียเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ตัวอย่างแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Pseudomonas Acinetobacter, Moraxella, Flavobacterium เป็นต้น แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเกิดการเน่าเสียอาจแบ่งเป็นกลุ่มๆได้ โดยอาจพิจารณาจากความสามารถในการย่อยสลายประเภทอาหาร และผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้น

ยีสต์

           จุลินทรีย์ที่มีขนาดใหญ่กว่าแบคทีเรีย เซลล์มีรูปร่างหลายลักณะ เช่น กลม รี เป็นต้น ส่วนใหญ่เพิ่มจำนวนโดยการแตกหน่อ ยีสต์เจริญได้ดีในอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำผลไม้ แยม ผลไม้แช่อิ่มหรือแห้ง รวมทั้งอาหารที่มีปริมาณเกลือมาก เช่น ผักดอง แฮม เบคอน และเนื้อเค็ม สปอร์ของยีสต์ไม่ทนความร้อนเหมือนกับสปอร์ของแบคทีเรีย นอกจากนี้ ยีสต์ยังมีเอนไซม์ที่ย่อยสลายกรดอินทรีย์ต่างๆที่ใช้ในการถนอมอาหาร เช่น กรดแล็กติก กรดแอซีติกได้ ทำให้กรดมีความเข้มข้นลดลง ทำให้อาหารมีสภาวะเหมาะสมต่อการเจริญของแบคทีเรียได้

อาหารที่เกิดการเน่าเสียจากยีสต์มักเกิดกลิ่นหมัก เมือก หรือฝ้าบริเวณผิวหน้า รวมทั้งเกิดความขุ่นและแก๊สได้ ตัวอย่างยีสต์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย เช่น Saccharomyces, Pichia, Torulopsis เป็นต้น

รา

          จุลินทรีย์ที่พบอยู่ทั่วไป มีรูปร่างลักษณะ และสีต่างๆกัน ราเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผัก ผลไม้ และอาหารแห้ง ผลิตภัณฑ์ขนมอบ เกิดการเน่าเสีย มีสี กลิ่น ที่ผิดปกติ และราบางชนิดเช่น Aspergillus flavus ยังสามารถสร้างสารพิษอะฟลาทอกซินขึ้นในอาหารได้ โดยทั่วไปราเจริญได้ช้ากว่าแบคทีเรียและยีสต์ แต่เมื่อราเจริญได้สักระยะหนึ่ง ก็จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว ราสามารถทนต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น มีความชื้นน้อย ความเป็นกรด จึงเป็นปัญหาในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารมาก ตัวอย่างราที่ทำให้เกิดการเน่าเสียของอาหาร เช่น Aspergillus, Penicillium, Rhizopus เป็นต้น

แหล่งของจุลินทรีย์

            จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติในสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมสำหรับการเจริญของจุลินทรีย์แต่ละชนิด แหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของจุลินทรีย์สามารถจัดแบ่งเป็น แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติทางกายภาพและทางชีวภาพ ซึ่งการทราบถึงแหล่งที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์จะช่วยทำให้ทราบถึงการแพร่กระจายหรือการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์สู่วัตถุดิบทางการเกษตรหรืออาหาร 

(ที่มา:http://ajarncharoen.wordpress.com/2012/02/02/food-degrad/)

วัตถุประสงค์

            การศึกษาการนำสมุนไพรมาทำน้ำยาล้างครั้งนี้ กำหนดวัตถุประสงค์ไว้ดังนี้

1.เพื่อทราบค่าคุณภาพของกรดจากมะนาว ที่นำมาทำเป็นน้ำยาล้างจาน

ขอบเขตของการศึกษา

ด้านระยะเวลา

        1 ธันวาคม – 30 ธันวาคม 2559 รวมระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และทดลองทั้งหมด 30 วัน

ด้านเนื้อหา

         ในการศึกษาทดลองโครงงานนี้มุ่งศึกษาการทำน้ำยาจากสมุนไพรที่ใช้ส่วนผสมที่มีความแตกต่างกัน เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาค้นคว้าต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

            1.  สามารถสร้างน้ำยาล้างจานจากกรดจากมะนาวที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับน้ำยาล้างจานได้มากขึ้น

            2.  สามารถรู้ได้ว่าการใช้กรดจากมะนาวทำให้ล้างจานได้สะอาดขึ้น 

บทนำ

ที่มาและความสำคัญ

               จากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เราได้ประสบปัญหากันนั้น หลายท่านคงทราบว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ดิ่งตัวลงอย่างน่าตกใจนั้นได้ส่งผลต่อราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคในตลาดได้ปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้เหล่าพ่อค้าและประชาชนต้องประสบปัญหาสินค้าแพง และสินค้าขายไม่ได้ แถมยังต้องประสบกับปัญหาสินค้าขาดตลาดซึ่งก็คือ น้ำมันปาล์มอีกด้วย ทำให้ราคาสินค้ายิ่งขยับตัวแพงขึ้นไปอีก ซึ่งท่านพ่อบ้านแม่บ้านอาจจะกำลังกลุ้มใจกับรายจ่ายภายในครัวเรือนที่ต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น แต่รายรับยังมีเท่าเดิม ดังนั้นพวกเราจึงได้ปรึกษาและหาทางออกเพื่อช่วยท่านพ่อบ้านและแม่บ้านทั้งหลาย ให้มีรายจ่ายภายในครัวเรือนลดน้อยลงบ้าง ซึ่งต้องเริ่มจากสิ่งที่เราใช้ทุกวัน และสิ้นเปลืองอย่างมาก เช่น น้ำยาล้างจาน ที่ได้ขยับราคาขึ้นสูงอีกเหมือนกันเราจึงได้คิดค้นวิธีศึกษา และวิธีทำน้ำยาล้างจานใช้เองซึ่งจะทำให้ได้ลดรายจ่ายภายในครัวเรือนได้อีกนิดนึงก็ยังดี น้ำยาล้างจานที่เราได้ศึกษาและนำมาเสนอนี้ ล้วนมีวัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติหาได้ภายในครัวเรือนและท้องถิ่น ไม่อันตราย แถมยังไม่ต้องซื้อหา ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกมากมาย วิธีการทำน้ำยาล้างจานก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ท่านพ่อบ้านแม่บ้าน หรือผู้ที่สนใจจะศึกษา และน้ำไปทำก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง แถมเมื่อเรามีความรู้ความสามารถทำได้สำเร็จแล้วนั้นเราอาจจะแบ่งปันความรู้ให้กับผู้ที่สนใจแต่ไม่ค่อยมีเวลาศึกษาเอกสารเองก็ได้ หรืออาจจะต่อยอดความรู้ให้เป็นธุรกิจเสริม หรือ ธุรกิจหลักทำรายได้ให้ครอบครัวและชุมชนของตัวเองก็ได้

จุดมุ่งหมายการศึกษา

1. เพื่อศึกษาวิธีการทำน้ำยาล้างจาน

2. เพื่อศึกษาว่าน้ำยาล้างจานจากน้ำมะกรูดจะล้างสิ่งสกปรก และคราบมัน กลิ่นคาวได้หรือไม่

ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า

ศึกษาน้ำยาล้างจานจากธรรมชาติ      คือ     น้ำยาล้างจานจากมะกรูด

นิยามเชิงปฎิบัติการ

        หัวเชื้อ N70 หมายถึง N70 มาจาก Texapon N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium Laurylether Sulfate เป็นสารประเภท สารลดแรงตึงผิวประจุลบ มีคุณสมบัติในการทำความสะอาดได้ดีทำให้เกิดฟองได้เร็ว ลักษณะทางกายภาพของสารนี้เป็นลักษณะคล้าย Gel ข้นๆครับมีความหนาแน่นค่อนข้างมากสีขุ่นขาวใส(คล้ายครีมนวดผม) จากการตรวจสอบแล้วมันสามารถละลายไขมันได้อย่างดีเยี่ยม

บทนำ

ที่มาและความสำคัญในการทำโครงงาน

ภายในชุมชนต่างๆมีการใช้น้ำยาล้างจานที่แตกต่างกันไปมากมายทั้งขนาด ยี่ห้อ และประสิทธิภาพในการทำความสะอาด ซึ่งคณะผู้จัดทำได้พบว่าน้ำยาทำความสะอาดภาชนะนั้นมีราคาสูง จึงได้คิดค้นหาความรู้จากเเหล่งต่างๆ ว่าการผลิตน้ำยาล้างจานนั้นจะต้องทำอย่างไร พอได้รู้วิธีการทำ คณะผู้จัดทำจึงได้ร่วมกันพิจารณาว่าควรจะนำผลไม้ใดที่จะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างจาน คณะผู้จัดทำจึงได้พิจารณากันว่าควรที่จะนำผลของมะละกอมาทำ เพราะเป็นผลไม้ที่หาง่าย ไม่แพง และผลใหญ่ เหมาะที่นำมาทำน้ำยาล้างจาน โดยเมื่อนำน้ำยาล้างจานจากมะละกอมาทดลองการใช้ สามารถใช้งานในการล้างภาชนะได้เทียบเท่ากับน้ำยาล้างจานตามท้องตลาด ราคาไม่แพง สามารถทำเองได้ เมื่อสำรวจความพึงพอใจในการใช้งานพบว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจระดับดี

จุดประสงค์ของโครงงาน

1.เพื่อผลิตน้ำยาล้างจานอย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ

2.เพื่อให้ประชาชนสามารถผลิตใช้เองได้

สมมติฐานของการทำโครงงาน

การทำน้ำยาล้างจานจากมะละกอมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับท้องตลาด

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น           มะละกอ หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน

ตัวแปรตาม         น้ำยาล้างจานที่ทำจากมะละกอ

ตัวแปรควบคุม   ปริมาณเกลือ ปริมาณน้ำมะละกอ

ขอบเขตของการทำโครงงาน

ศึกษาว่าผลไม้ชนิดใดสามารถน้ำมาทำน้ำยาทำน้ำยาล้างจานได้ประสิทธิภาพดีกว่ากัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.  การเพิ่มคุณค่าให้กับมะละกอที่เหลือใช้

2.  การลดค่าใช้จ่าย

3.  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์

นิยามเชิงปฏิบัติการ

หัวเชื้อน้ำยาล้างจาน หมายถึง หัวเชื้อที่ทำให้เกิดฟองและสามารถทำความสะอาดคราบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การทดสอบคุณภาพ หมายถึง การนำน้ำยาล้างจานจากมะละกอมาทดสอบโดยการทดลองใช้

2.8 เศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

จากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช (รัชกาลที่ 9) ที่ทรงให้แนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยตลอดนานกว่า 30 ปี คือ ใช้จ่าย 3 ส่วน และเก็บออม 1 ส่วน ฉันและครอบครัวได้นำมาปฏิบัติทำให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ

การนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

ครอบครัวของฉันอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ดังนี้

       1.พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน แบ่งให้เพื่อนบ้านบ้าง เหลือจึงขายไป

       2.พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) คุณพ่อของฉันและฉันมักเน้นเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าและน้ำประปา ท่านให้พวกเราช่วยกันประหยัด ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือโรงเรียน ก็ควรปิดน้ำ ปิดไฟ เมื่อเลิกใช้งานทุกครั้ง

       3.พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ชีวิต โดยจะอยู่ในกิจกรรม “ออมวันนี้ เศรษฐีวันหน้า”

       4.เมื่อมีรายได้แต่ละเดือน จะแบ่งไว้ใช้จ่าย 3 ส่วน เป็นค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าจิปาถะ ที่ใช้ในครัวเรือน รวมทั้งค่าเสื้อผ้า เครื่องใช้บางอย่างที่ชำรุด เป็นต้น

       5.ฉันจะยึดความประหยัด ตัดทอนรายจ่ายในทุกๆ วันที่ไม่จำเป็น ลดละควาฟุ่มเฟือย

การปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้

ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือย ในการดำรงชีพ

“ความเป็นอยู่ที่ต้องไม่ฟุ้งเฟ้อต้องประหยัดไปในทางที่ถูกต้อง”

ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต

“ความเจริญของคนทั้งหลายย่อมเกิดมาจากการประพฤติชอบ และการหาเลี้ยงชีพชอบเป็นสำคัญ”

ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย ประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง

“ความสุขความเจริญอันแท้จริง หมายถึง ความสุข ความเจริญ ที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรมทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญหรือด้วยการแก่งแย่งเบียดบังจากผู้อื่น”

มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง

ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย

ภูมิปัญญาชาวบ้านและที่ดินทำกิน คือทุนทางสังคม

ตั้งสติที่มั่นคง ร่างกายที่แข็งแรงปัญญาที่เฉียบแหลม

2.8 เศรษฐกิจพอเพียง

       เศรษฐกิจพอเพียงจะดำเนินไปได้ดี ด้วยการ ประชาสัมพันธ์ให้ทุกคนปฏิบัติตาม ที่ขอให้อย่าลืมที่จะปฏิบัติในเรื่อง ความขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน ปฏิบัติตนเป็นคนดี ดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายให้พอเพียง พอกิน และพอใช้ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       ถึงเวลาแล้วที่พวกเราทุกคนควรร่วมมือ ร่วมใจ กันปฏิบัติตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงตั้งแต่ยังเด็ก แล้วจะติดเป็นนิสัยความพอเพียงไปตลอดชีวิต สามารถนำไปพัฒนาตน พัฒนาประเทศชาติให้เจริญ ก้าวหน้า เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ เป็นคนดีของสังคม

การประยุกต์ปลูกฝังใช้เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน

                   เริ่มต้นจากการเสริมสร้างคนให้มีการเรียนรู้ วิชาการและทักษะต่างๆ ที่จำเป็น เพื่อให้สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ พร้อมทั้งเสริมสร้างคุณธรรม จนมีความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม และอยู่ร่วมกับระบบนิเวศน์วิทยาอย่างสมดุล เพื่อจะได้มีความเกรงกลัวและละอายต่อการประพฤติผิดมิชอบ ไม่ตระหนี่ เป็นผู้ให้ เกื้อกูล แบ่งปัน มีสติยั้งคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะตัดสินใจ หรือกระทำการใดๆ จนกระทั่งเกิดเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในการดำรงชีวิต โดยสามารถคิดและกระทำบนพื้นฐานของความมีเหตุมีผล พอเหมาะ พอประมาณกับสถานภาพ บทบาทและหน้าที่ของแต่ละบุคคล ในแต่ละสถานการณ์ แล้วเพียรฝึกปฏิบัติเช่นนี้ จนตนสามารถทำตนให้เป็นพึ่งของตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ในที่สุด

เศรษฐกิจพื้นฐาน ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือ

•  เป็นเศรษฐกิจ   ของคนทั้งมวล

•  มีชุมชนที่เข้มแข็งเป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจ

•  มีความเป็นบูรณาการเข้มแข็งไปพร้อม ๆ กันหมด ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ  สังคม สิ่งแวดล้อม และ วัฒนธรรม

•  เติบโตบนพื้นฐานที่เข้มแข็งของเราเอง เช่น ด้านเกษตร หัตถกรรม อุตสาหกรรม สมุนไพร อาหาร การท่องเที่ยว เป็นต้น

•  มีการจัดการที่ดีเป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการเกิดนวัตกรรมต่าง ๆ ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง

การพัฒนาประเทศตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

การพัฒนาประเทศ มิได้มีแบบอย่างตายตัวตามตำรา หากแต่ต้องเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ สังคมวิทยา วัฒนธรรมชุมชน ที่มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันเราก็ต้องเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตามอิทธิพลของกระแสโลกาภิวัฒน์ ควบคู่ไปกับการพยายามหาแนวทางหรือวิธีการที่จะดำรงชีวิตตามหลักการพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง ให้ดำเนินไปได้อย่างสมดุลและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในยุคโลกาภิวัฒน์ โดยอาศัยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบที่ชุมชนอาจจะได้รับ ไม่ให้กระแสเหล่านั้นมาทำลายเอกลักษณ์และวัฒนธรรมชุมชนจนต้องล่มสลายไป

             จากแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางที่ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพ

ที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งก็คือ วิถีชีวิตไทย ที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี ในหลักของการพึ่งพาตนเอง 5 ประการ คือ

•  ความพอดีด้านจิตใจ : เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร ประณีประนอม คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

•  ความพอดีด้านสังคม : มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน รู้จักผนึกกำลัง และที่สำคัญมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากฐานรากที่มั่นคงและแข็งแรง

•  ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดและรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในประเทศ เพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงเป็นขั้นเป็นตอนไป

•  ความพอดีด้านเทคโนโลยี : รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับความต้องการและควร

พัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง และสอดคล้องเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง

•  ความพอดีด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอสมควร พออยู่ พอกินตามอัตภาพ และฐานะของตนเอง

จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเริ่มจาก การสร้างพื้นฐาน ความพอกินพอใช้ ของประชาชนในชาติเป็นส่วนใหญ่ก่อน แล้วจึงค่อยเสริมสร้างความเจริญและฐานะทางเศรษฐกิจ . ตามลำดับ เพื่อจะได้เกิดสมดุลทางด้านต่าง ๆ หรือ เป็นการดำเนินการไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน จากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง โดยสร้างความพร้อมทางด้านต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ที่ไม่ใช่เป็นการ “ ก้าวกระโดด ” ที่ต้องใช้ปัจจัยภายนอกต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น เพียงเพื่อให้เกิดความทันกันในชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งในที่สุดประชาชนไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับความต้องการและการแข่งขันดังกล่าวได้ ก็จะเกิดปัญหาตามมา ดังที่ประเทศไทยได้ประสบปัญหาเศรษฐกิจ