การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิจัย

Delvelopment of Health Promotion Model among Elderly though Community Participation in Bang Nok Khwaek sub - district Municipality, Bang Khonthi, Samut Songkram

  • ศรายุทธ ชูสุทน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พัดชา หิรัญวัฒนกุล คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุมัทนา กลางคาร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords: การพัฒนารูปแบบ, ผู้สูงอายุ, การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, Model development, Elderly, Elderly health promotion

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลตำบลบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่าง
แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือผู้สูงอายุ จำนวน 161 คน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 45 คน และผู้ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน
45 คน ซึ่งกิจกรรมการพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล
เชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการดำเนินงานตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและวิเคราะห์บริบทพื้นที่ 2) จัดประชุมวางแผนเชิงปฏิบัติการ 3) กำหนดแผนปฏิบัติการ 4) ปฏิบัติตามแผน 5) นิเทศ สอบถาม ผลการดำเนินงาน และ
6) ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน พบว่า รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน ได้แก่ 1) โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 2) โครงการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน และ 3) โครงการสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ ผลการประเมินการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า มีระดับการมีส่วนร่วมในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.13,
SD = 0.81) ระดับความรู้ของผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลังดำเนินการ พบว่า มีระดับความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 1.76, SD = 0.58) ระดับคุณภาพชีวิตทั่วไปของผู้สูงอายุ หลังดำเนินการ พบว่า คุณภาพชีวิตทั่วไปในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 76.30, SD = 10.18) ระดับคุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุ หลังดำเนินการ พบว่า คุณภาพชีวิตสำหรับผู้สูงอายุในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 83.60, SD = 8.99) ระดับความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.27, SD = 0.61) และระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.35, SD = 0.56) โดยสรุปสำหรับปัจจัยแห่งความสำเร็จของการศึกษาครั้งนี้ คือ การสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในทุกขั้นตอน และดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ        เกิดความมั่นคงและยั่งยืน

This research was done in the form of action research. The purpose of this research is to develop a health promotion model for the elderly. The research process included participation from the community of Bang Nok Khwaek Municipality, Bang Khonthi District, Samut Songkhram Province. The group which was used as a model for this study was further divided into three sub groups. The sub groups comprised of 161 elderly people, 45 people who had involvement, and
45 people who provided care to the elderly. The activities that were used to develop a health promotion model for the elderly followed the technique of participative planning process and AIC to analyze the data. This was done using descriptive statistics, consisting of frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, and analyzing qualitative data with content analysis.
The results of the research revealed that the operation process according to the health promotion model of the elderly, including community participation, consisted of six steps. The steps are:
1) studying the basic information and analyzing the area context 2) organizing workshops and planning meetings 3) formulating an action plan 4) implementing the plan 5) supervising and asking for results 6) meeting to summarize the results of the operations It was found from the study that the health promotion model of the elderly in the community consisted of three activities, namely: 1) Health promotion activities for the elderly 2) activities to transfer knowledge to the community  3) morale building activities for the elderly. The results of the assessment included the factors
of the involvement of stakeholders, the general quality of life, and the quality of life of the elderly. Following the research operation, it was found at the level of involvement of the involved parties was at a moderate level (Mean = 3.13, SD = 0.81). The level of knowledge of those giving care to the elderly after carrying out the activities was at a good level (Mean = 1.76, SD = 0.58). The results for the overall quality of life of the elderly after carrying out the activities was also found to be moderate (Mean = 76.30, SD = 10.18). The quality of life for the elderly after participating
in the activities was also found to be moderate (Mean = 83.60, SD = 8.99). Finally, the overall level of satisfaction of the participants was moderate (Mean = 3.27, SD = 0.61), and for the elderly participants was also moderate (Mean = 3.35, SD = 0.56). In summary, the main success factors
of this study were the participation and involvement of all partners in every step of the process, and continuous work by those involved to ensure the development of a stable and sustainable health promotion model for the elderly.

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิจัย

  • PDF

Published

2022-06-28

Issue

Vol 7 No 1 (2022): วารสารสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University