เอกสาร อ้างอิง เทียนหอมไล่ยุง

��ͤ�������ҹ����ҹ �Դ�ҡ�����¹���Ҹ�ó�� ����觢����Ẻ�ѵ��ѵ� ��Ңͧ�к�����Ѻ�Դ�ͺ��͢�ͤ���������� �����������ö�к�������繤�����ԧ���� ���ͼ����¹�������繤�ͪ��ͨ�ԧ �����ҹ�֧������Ԩ�ó�ҳ㹡�á��蹡�ͧ ��ж�ҷ�ҹ����繢�ͤ���㴷��Ѵ��͡����������Ÿ��� ��س��� ����� ���������Ǻ����к���Һ��зӡ��ź��ͤ������ �͡�ҡ�к�����

ในการทำโครงงานเรื่อง เทียนหอมสมุนไพร ได้ทำการสำรวจเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการดำเนินการตามลำดับ ดังนี้

1.ความหมายของสมุนไพร

2. สาระสำคัญ

3. หลักเบื้องต้นในการใช้สมุนไพร

4. ข้อดีของการใช้สมุนไพร

5. ข้อเสียของการใช้สมุนไพร

6. สมุนไพรที่ใช้ทำ

7. ส่วนประกอบอื่นๆ

8. งานวิจัย

9.สถิติ



1.ความหมายของสมุนไพร

                สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ

เทียนหอมสมุนไพรไล่ยุง from BoomCNC

พืชล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าใต้ดิน ลำต้นตั้งตรง ออกเป็นกอ มี่กลิ่นหอม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปยาวแคบ โคนใบแผ่ออกเป็นกาบ มีลิ้นใหญ่ สีน้ำตาลแดง แทงออกจากกลางต้น ใบประดับลักษณะคล้ายกาบ  ดอกช่อเชิงลด แยกเป็นหลายแขนง ออกเป็นคู่ ช่อย่อยมีใบประดับที่โคน 2 ใบใบนอกมีหยัก ด้านนอกแบกขอบแผ่ออกเป็นปึกแคบๆและขอบด้านบนสาก ใบในรูปเรือ ใบแหลมมีเส้นตามยาว 1-3 เส้น ขอบมีขน แต่ละดอกย่อยมีใบประดับ    2 แผ่น เรียกกาบบนและกาบล่างกาบบนรูปขอบขนาน เนื้อบาง ขอบมีขน กาบร่างรูปยาว แคบ มีขนแข็งและปลายแหลม ผลเป็นผลแห้งเมล็ดเดียว 

สรรพคุณ

 ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ หัวเป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้  ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย  ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุง  ไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

 การปลูกและขยายพันธุ์

ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก ถ้าปลูกในกระถางใช้วิธีปักโคนลงในกระถางๆละ 2-3 ต้นก็ได้ แล้วหมั่นรดน้ำให้ชุ่มเช้าเย็น ตั้งไว้ให้โดนแดดตลอดวันจะทำให้โตได้เร็ว ตะไคร้ชอบดินร่วนซุย เป็นพืชที่ชอบน้ำ ชอบแดด ดูแลรดน้ำเสมอและโดนแดดได้ตลอดวัน เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด เวลาจะใช้ก็ให้ตัดที่โคนสุดส่วนรากเลย แล้วถอนออกมาทั้งต้นตามต้องการ ต้องคอยตรวจดูเมื่อตะไคร้มีกอเจริญเติบโตได้เต็มที่แล้ว ต้องถอนทิ้งหรือแยกออกไปปลูกใหม่บ้างหรือเอาไปใช้บ้าง จะนำมาหั่นเป็นฝอยๆ ตากลมไว้ให้แห้งสนิทแล้วแพ็คเก็บไว้ใช้ได้นานๆ เพื่อให้ต้นอ่อนโตขึ้นมาใหม่ ถ้าไม่แยกออกไปต้นจะเล็กและลีบลงเรื่อยๆ และบางที่ก็แคระแกร็น ต้นและกอก็จะโทรม ต้องล้างและปลูกใหม่ทั้งหมดเปลี่ยนเป็นการแตกหน่อทำให้การปลูกและการขยายพันธ์ได้ง่าย

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

  ฤทธิ์ในการไล่ยุงและแมลง

       น้ำมันตะไคร้หอม (citronella oil) ซึ่งเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัดจากต้นตะไคร้หอมสามารถใช้ไล่แมลงได้ สามารถป้องกันยุงลาย ยุงก้นป่องและยุงรำคาญกัดได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมร้อยละ 14 สามารถทาป้องกันยุงได้ป้องกันยุงรำคาญได้ในอาสาสมัคร 13 คน จากทั้งหมด 20 คน  และมีประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้นาน 2 ชั่วโมง ซึ่งใกล้เคียงกับครีมจากสารสังเคราะห์         ( dimethyl phatate ร้อยละ20 และ diethyl toluamideร้อยละ 5 )  ครีมที่มีน้ำมันจากใบตะไคร้หอม ความเข้มข้น ร้อยละ 1.25,2.5 และ 5 มี่ประสิทธิภาพในการป้องกันยุงก้นป่องได้นาน 2 ชั่วโมง และมีความเข้มข้น ร้อยละ 10จะป้องกันได้มากกว่า 4 ชั่วโมง ตำรับครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันข่า ร้อยละ 5 น้ำมันตะไคร้หอม ร้อยละ 2.5 และวานิลลิน ร้อยละ 0.5 มี่ประสิทธิภาพในการป้องกันยุงกัดได้นานกว่า 6 ชั่วโมง

        น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอม สามารถป้องกันยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรีย  ไข้เลือดออก และเท้าช้างได้นาน 8-10 ชั่วโมง ความเข้มข้นที่ให้ผลป้องกันยุงลาย ได้รัอยละ0.031 และ 5.259 ตามลำดับ น้ำมันหอมระเหยที่เข้มข้นร้อยละ 1 สามารถป้องกันยุงกัดได้ 75.19 

       สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 90 จากตะไคร้หอม และสารสกัดตะไคร้หอมที่ผสมกับน้ำมันมะกอกและน้ำมันหอมระเหยกลิ่นชะมดเช็ด เมื่อนำมาทดสอบกับยุงลายและยุงรำคาญตัวเมีย จะมีประสิทธิภาพในการไล่ยุงได้นานประมาณ 2 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังมีผลในการควบคุมและกำจัดลูกน้ำยุงได้ด้วย

         น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีความเข้มข้นร้อยละ 10 มีฤทธิ์ไล่ตัวอ่อนของเห็บได้นานถึง 8 ชั่วโมง และสามารถไล่ตัวอ่อนของเห็บพันธุ์ Ambiyomma cajennense ได้ด้วยค่า 0.089 และ 0.343

มิลลิกรัม/ตารางเซ็นติเมตร และที่ความเข้มข้น 1.1 มิลลิกรัม/ตาราง-เซ็นติเมตร ไล่ตัวอ่อนของเห็บร้อยละ 90 นาน 35 ชั่วโมงนอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ไล่แมลงที่ทำลายเมล็ดข้าวที่เก็บไว้ โดยไม่มีผลต่อคุณภาพของข้าว นอกจากตะไคร้หอมยังมีฤทธิ์ไล่แมลงวัน ผีเสื้อกลางคืน และพวกแมลงบินต่างๆได้ด้วย

 ฤทธิ์ฆ่าแมลง

       น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้หอมมีฤทธ์ฆ่าตัวอ่อนของยุงก้นป่องและยุงรำคาญได้ โดยระยะเวลาที่ตัวอ่อนตายครึ่งหนึ่งเท่ากับ 1.2 และ น้อยกว่า 0.2 นาที ตามลำดับ และมีฤทธิ์ป้องกันการวางไข่ด้วงถั่ว สามารถฆ่าด้วงถั่ว และแมลงวันได้

       สารสกัดตะไคร้หอมที่ความเข้มข้น 100 ส่วนในล้านส่วน จะให้ผลน้อยมากในการควบคุมแมลงศัตรูกะหล่ำ แต่จะมีผลทำให้ไรแดงกุหลาบตายร้อยละ 95 ภายใน 20.70ช่วโมง นอกจากนี้สารสกัดด้วยเอทานอลร้อยละ 10 จากต้นตะไคร้หอมแห้ง 50 กรัม/ลิตร จะมีผลดีในการลดปริมาณของหมัดกะโดด ซึ่งเป็นแมลงศัตรูคะน้า แต่มีแนวโน้มที่จะทำให้น้ำหนักของคะน้าลดลง

       แชมพูที่มีส่วนผสมของสารสกัดตะไคร้หอม สามารถฆ่าเห็บ  หมัดในสัตว์เลี้ยงได้ สารสกัดตะไคร้หอมผสมกับสารสกัดจากเมล็ดสะเดาและข่า ในสัดส่วน 10 มิลลิลิตร/น้ำ 1ลิตร มีผลลดการเข้าทำลายของเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักซึ่งเป็นแมลงศัตรูถั่วฝักยาว แต่ไม่สามารถควบคุมการเข้าทำลายของแมลงวันเจาะต้นถั่วได้

2. พาราฟีน

เอกสาร อ้างอิง เทียนหอมไล่ยุง

พาราฟิน หรือ เคโรซีน เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งกลั่นแยกออกจากน้ำมันดิบ จุดหลอมเหลวประมาณ 47-64 องศาเซลเซียส จุดเดือดประมาณ 150-275 องศาเซลเซียส ไม่ละลายในน้ำ สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย และ มีหลายสถานะด้วยกัน