ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดข้อเข่า

อาการปวดตามข้อในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งทำให้เกิดการติดขัดเคลื่อนไหวไม่สะดวก และมีอาการเจ็บปวดตามข้อต่างๆ ของร่างกาย

อาการปวดคอ

อาการปวดคอ หมายถึง อาการปวดล้าบริเวณคอ ซึ่งบางครั้งอาจปวดร้าว ชาไปที่ไหล่ แขนและมือด้วย

สาเหตุ

ที่พบบ่อย คือ การเปลี่ยนแปลงทางเสื่อมสภาพในกระดูกสันหลังส่วนคอ จะพบมากในผู้สูงอายุ นอกจากนี้อาจพบหลังจากภยันตรายของกระดูกสันหลังส่วนคอ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปทางเสื่อมสภาพได้เหมือนกัน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้มีอาการปวดคอ เกิดได้จากเป็นโรค บริเวณอวัยวะใกล้เคียงกัน โรคของหลอดอาหาร โรคของหลอดเลือดจากประสาท จากกระดู เป็นโรค

พยาธิวิทยา

ข้ออักเสบแบบเสื่อมสภาพ เกิดในกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 อันล่าง พบว่ามีการอักเสบบ่อยที่สุด การเปลี่ยนแปลงจะเริ่มที่หมอนรองกระดูก หรือข้อกลางระหว่างกระดูกสันหลัง ต่อมาจะเป็นส่วนประกอบของข้างด้านหลังที่ข้อกลางจะมีการเสื่อมสภาพ และแบนลงของกระดูก (Osteophyte) ขึ้นในข้อกระดูกสันหลังด้านหลังมีการอักเสบ นอกจากนี้มีการกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อและมีกระดูกงอกขึ้นที่ขอบของข้อ ผลที่ตามมาคือ กระดูกงอกขึ้นใหม่มักจะยื่นเข้าไปในช่องระหว่างกระดูกสันหลัง ทำให้ช่องที่เส้นประสาทส่วนคอผ่านอกแคบลง เมื่อมีอาการบวมจากภยันตรายของเนื้อเยื่ออ่อน จะทำให้มีอาการของการกดเบียดประสาทเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ไขสันหลังมีภยันตรายเกิดขึ้น

การประเมินสภาพผู้ป่วย

จากประวัติเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทั่วๆ ไป การตรวจสภาพร่างกายเกี่ยวกับลักษณะ รูปร่าง แนวของกระดูกสันหลัง ความสามารถในการเคลื่อนไหว เช่น ก้มหน้า เอียงหรือหันหน้า ขณะทำมีอาการปวดร้าวหรือชาไปที่ใดหรือไม่ คลำกล้ามเนื้อบริเวณคอว่ามีลักษณะแข็งตึง บวมที่ส่วนใดหรือไม่ ตรวจรีเฟล็กซ์ของกล้ามเนื้อของแขนด้วย ดูว่ามีอาการชาหรือไม่

อาการปวดหลัง

อาการปวดหลัง หมายถึง อาการปวดหลังส่วนล่าง คือ บริเวณกระดูกสันหลังส่วนเอว ท่อนที่ 1 ถึง กระดูกเซครั่ม อาการเริ่มตั้งแต่ปวดเล็กน้อยจนกระทั่งปวดมาก อาจมีอาการทางประสาทร่วมด้วย

สาเหตุ

1. รูปร่างท่าทางที่ไม่ถูกสุขลักษณะในชีวิตประจำวัน

2. กระดูกสันหลังเกิดภาวะเสื่อม

3. ภาวะการพร่องของเนื้อกระดูกหรือกระดูกพรุน

4. กระดูกสันหลังหัก

5. ภาวะเครียดด้านจิตใจ

พยาธิวิทยา

ลักษณะอาการปวดหลังลักษณะคล้ายกับอาการปวดคอ ที่กล่าวมาแล้ว

การประเมินสภาวะสุขภาพ

1. การซักประวัติ สอบถามถึงประวัติส่วนตัว การเจ็บป่วยทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมถึงลักษณะอาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวด ตำแหน่งที่ปวด ปวดเวลาใด ขณะทำอะไร ร้าวไปที่ใดหรือไม่

2. ตรวจรางกาย

ดู      ลักษณะรูปร่างของร่างกายทั่วไป เช่น อ้วนลงพุง ผอมหลังโกง หรือหลังแอ่น ตรวจดูแนวโค้งของกระดูกสันหลังในอิริยาบถต่างๆ เปรียบเทียบระดับกระดูกสะบัก และสันของกระดูกเชิงกรานว่าทั้งสองข้างอยู่ในระดับเดียวกันหรือไม่

คลำ  คลำบริเวณหลังว่ากล้ามเนื้อมีลักษณะแข็งตึงบวม หรือกดเจ็บที่กล้ามเนื้อส่วนใดหรือไม่ ตรวจการเคลื่อนไหวของข้อตะโพกในทิศทางต่างๆ ทดสอบการยกขา (Straight leg raisisng test) ปกติยกได้สูง 70-90 องศา โดยไม่เจ็บปวด ถ้ามีอาการเจ็บปวด แสดงว่ามีการกดของราก ประสาทหรือมีโรคของข้อตะโพก วัดความยาวของขาทั้งสองข้างด้วย เคาะ ตรวจสอบรีเฟล็กซ์ที่เอ็นร้อยหวายและกระดูกสะบ้า เพื่อเปรียบเทียบรีเฟล็กซ์ของขาทั้งสองข้างว่าแรงเป็นปกติเท่ากันหรือไม่

3. ตรวจทางห้องทดลอง

ถ่ายภาพรังสี จะแสดงถึงโครงสร้างของกระดูกสันหลังที่เปลี่ยนไปในภาวะต่างๆ จึงจะสนับสนุนการวินิจฉัยโรคได้ถูกต้อง

อาการปวดไหล่ ปวดแขน

สาเหตุ

พบได้หลายสาเหตุ อาการปวดอาจปวดจากไหล่แล้วร้าวมาที่แขนจากเส้นประสาทถูกกด ในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ พบว่ามีการปวดไหล่และปวดแขนบ่อย ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก

1. การอักเสบของเอ็น บริเวณเอ็นยึดข้อกระดูกสันหลัง เอ็นกล้ามเนื้อไบเซ็บส์ (biceps)

2. การอักเสบของถุงน้ำ (Bursitis)

3. การฉีกขาดของเอ็นและกล้ามเนื้อ (Tear of musculotendinous cuff)

4. จากโรคอื่นๆ เช่น กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อม โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคปอดช่องท้อง

พยาธิสรีรวิทยา

ข้อไหล่ เป็นข้อที่มีเยื่อบุซินโนทียม (Synovium) ประกอบเป็นหัวของกระดูกต้นแขน สวมอยู่ในเบ้าตื้นๆ ของกระดูกสบัก ระหว่างกระดูกทั้งสองมีเยื่อหุ้มข้อหรือแคปซูลที่หย่อนทำให้ข้อมีการเคลื่อนไหวได้มาก ความมั่นคงแข็งแรงของข้อไหล่อาศัยกล้ามเนื้อและเอ็นมาช่วยยึด

เมื่อมีภยันตรายเกิดขึ้นที่ข้อไหล่ ก็จะทำให้เกิดมีการอักเสบ ปวด และการเคลื่อนไหวจะลดน้อยลง จนกระทั่งเกิดอาการข้อไหล่ติด

การประเมินสภาวะสุขภาพ

1. ประวัติ จะเริ่มจากการซักประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บปวด ข้อไหล่ และแขนเป็นเมื่อไร เป็นนานเท่าไร ซึ่งประวัติจะเหมือนกับอาการปวดข้อทั่วไป

2. การตรวจร่างกาย

ดู      รูปร่างลักษณะของข้อไหล่ เปรียบเทียบแนวของกระดูกไหปลาร้า

กระดูกสบัก แนวของอะโครเมียนวางอยู่ในระดับที่เท่ากันหรือไม่ สังเกตลักษณะการอักเสบ บวม แดงบริเวณข้อไหล่และแขน

คลำ ดูข้อต่อของไหล่ ว่ากดเจ็บหรือไม่ ปมกระดูกการเคลื่อนไหวปกติ หรือไม่ ปวดหรือไม่

เคาะ เคาะบริเวณไหล่เบาๆ ว่าเจ็บหรือไม่ ขยับแล้วมีอาการเจ็บปวด หรือไม่

ฟัง ฟังเสียงการเสียดสีของกระดูก

การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดแขน

การรักษา จะมีแนวทางเดียวกันดังนี้ คือ

1. การรักษาโดยการใช้ยา ได้แก ยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น แอสไพริน ไมโด­คาล์ม (Mydocalm) อะแลคแซน (Alaxan)

2. การรักษาทางกายภาพบำบัด ได้แก่ การดึง การใช้เครื่องพยุง การนวดและการประคบด้วยความร้อน

3. การรักษาโดยการผาตัด ซึ่งจะมีจุดประสงค์แตกต่างกันตามสภาพของโรค และเหตุผลในการรักษา

ข้อวินจิฉัยทางการพยาบาล

1. ไม่สุขสบายจากอาการปวด

2. วิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และการรักษาพยาบาล

การวางแผนการพยาบาล

วินิจฉัยการพยาบาลข้อ 1

ผู้ป่วยไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการปวด

จุดประสงค์การพยาบาล

บรรเทาอาการปวด

เกณฑ์ในการพยาบาล

1. อาการปวดลดลง ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น

2. สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้โดยไม่มีอาการปวด

ปฏิบัติการพยาบาล

1. จัดให้ผู้ป่วยได้พักขณะที่มีอาการปวด โดยการนอนเป็นการพักที่ดีที่สุด ท่านอนควรถูกต้องเหมาะสม เช่น นอนหงาย ควรหนุนหมอน ที่ไม่สูงเกินไป มีหมอนรองรับบริเวณใต้เข่า เพื่อให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณหลังลดการเกร็งตัว นอนท่าตะแคงควรมีหมอนรองรับขาด้านบน ที่นอนไม่ควรนุ่มเกินไป ระยะเวลาการพักอาจใช้เวลาสั้นหรือยาว แล้วแต่ความรุนแรงมากน้อยเท่าไร ควรพักทันทีจะตัดปัญหาต่างๆ ได้มาก บางครั้งอาจหายปวดเลยก็ได้

2. ประคบบริเวณปวดด้วยความเย็น ในระยะแรก 2-3 วัน หลังจากได้รับบาดเจ็บ ความเย็นจะลดอาการบวมและลดภาวะเลือดออกใต้ผิวหนัง หลังจากนั้นประคบด้วยความร้อน เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

3. ให้ยาแก้ปวดหรือยาคลายกล้ามเนื้อตามแผนการรักษา และสังเกตฤทธิ์ข้างเคียงของยา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น จากยาได้

4. ดูแลให้ผู้ป่วยใช้เครื่องพยุงบริเวณที่ปวดให้พักและจัดให้ถูกต้อง

5. ให้ผู้ป่วยปฏิบัติกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง และคอยสังเกตอาการปวด

การประเมินผล

ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้โดยไม่มีอาการปวดและพักผ่อนได้

วินิจฉัยการพยาบาลข้อ 2

วิตกกังวล เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการรักษาพยาบาล

จุดประสงค์

1. เพื่อลดความวิตกกังวล

2. เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับโรค และการรักษาพยาบาล

เกณฑ์ในการพยาบาล

1. ผู้ป่วยหน้าตาแจ่มใส

2. ผู้ป่วยอธิบายเรื่องเกี่ยวกับโรคได้ และปฏิบัติตนได้ถูกต้อง

ปฏิบัติการพยาบาล

1. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจสภาพความเจ็บปวดของโรค และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ให้โอกาสผู้ป่วยซักถามและระบายความคับข้องใจ

2. ให้ผู้ป่วยใช้เครื่องพยุง ควรอธิบายวิธีการใช้เครื่องมือ และดูแลให้ผู้ป่วยใส่ให้ถูกต้อง

3. เมื่ออาการปวดทุเลาลง หรือหาย ควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวข้อที่มีอาการปวดเพื่อป้องกันข้อติดหรือผิดรูป

4. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจรักษา ก่อนที่จะทำการตรวจ และรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจและให้ความร่วมมือในการตรวจรักษา

5. แนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเมื่อกลับไปอยู่บ้าน เช่น การออกกำลังกาย หรือการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณที่เคยมีอาการปวด ซึ่งจะทำ ให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และป้องกันอาการปวด