โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

ออกซิเจนในน้ำ

กฤษณา ชุติมา.สุญญากาศ.รู้ไว้ใช่ว่า ประสาวิทยาศาสตร์ เล่ม 2”.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2541.

ออกซิเจนในน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ และพืชในน้ำ ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำเป็นเครื่องบ่งบอกการชี้บอกคุณภาพของน้ำในแหล่งนั้น ถ้าหากปริมาณออกซิเจนน้อยผิดปกติ แสดงว่าน้ำเสีย ทำให้สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อยู่ไม่ได้ ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ มาจากอากาศเป็นแหล่งสำคัญ อากาศที่ละลายในน้ำให้ออกซิเจนราว 1 ลิตร ที่อุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียส และความดันอากาศ เท่ากับ 760 มิลลิเมตรปรอท หรือ101,300 พาสคัล ปริมาณการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความดันอากาศ อุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ออกซิเจนละลายได้น้อยลงแต่ถ้าความดันอากาศสูงขึ้นจะละลายได้มากขึ้น น้ำทะเลมีออกซิเจนละลายอยู่น้อยกว่าน้ำจืด เนื่องจากความเค็มของน้ำทะเล ออกซิเจนในน้ำส่วนหนึ่งได้มาจากการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชในน้ำ และในทางกลับกัน การหายใจของพืชก็จะทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง การกระจายของปริมาณออกซิเจนในระดับความลึกต่าง ๆ ของแหล่งน้ำย่อมแตกต่างกัน นอกจากนั้น ยังอยู่ที่ปริมาณธาตุอาหารมากน้อยในแหล่งน้ำนั้นด้วย น้ำโสโครกจากชุมชนทำให้น้ำในแหล่งน้ำเน่าเสีย เพราะสิ่งโสโครกมักมีสารอินทรีย์ ซึ่งจะมีการย่อยสลายโดยแบคทีเรีย จุลชีพเหล่านั้นต้องการออกซิเจนในการย่อยสลาย สารอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในน้ำ ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลง มลพิษทางน้ำอาจเกิดจากน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม และน้ำจากเกษตรกรรมด้วย ปลาหายใจในน้ำ มันรับออกซิเจนจากน้ำ ไม่ใช่จากอากาศ น้ำผ่านช่องปาก แล้วผ่านต่อไปเข้าช่องเหงือกเหงือกจะรับเอาออกซิเจนไว้ แล้วถ่ายคาร์บอนไดออกไซด์ให้กับน้ำที่ผ่านเข้าไป ปลาจึงมีน้ำผ่านเข้าไปในช่องเหงือกตลอดชีวิต ปลาบางชนิดมีวิวัฒนาการสูงขึ้นโดยมากมักเป็นปลาในเขตร้อน ซึ่งน้ำมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่น้อย ปลาเมืองร้อนบางชนิดพัฒนาอวัยวะบางอย่างขึ้นมา เอาไว้เก็บอากาศบนบกเพื่อใช้หายใจในน้ำได้ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน

โดย : นางสาว chaowanee thammakhankaew, สถาบันราชเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2545

ที่มา:https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/createweb/10000/science/10000-2705.html

มาตรวิทยา

ในธรรมชาติ การย่อยสลายทางชีวภาพด้วยวัสดุที่แตกต่างกัน จะใช้อัตราส่วนที่แตกต่างกันด้วย เพื่อให้สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจุลินทรีย์ต้องการแสง น้ำ และออกซิเจน ในการช่วยย่อยสลายทางชีวภาพ อุณหภูมิเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดอัตราการย่อยสลายทางชีวภาพ เนื่องจากในสภาพอากาศอบอุ่นทำให้จุลินทรีย์มีแนวโน้มทำงานซ้ำๆได้เร็วขึ้น

การย่อยสลายทางชีวภาพสามารถวัดเป็นจำนวนได้หลายวิธี นักวิทยาศาสตร์มักใช้การทดสอบการหายใจของจุลิทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน (Aerobe) ในการหายใจ โดยเก็บตัวอย่างที่เป็นของเสียในรูปของแข็ง ที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์และดิน ต่อมาผึ่งลมทิ้งไว้หลายวัน จุลินทรีย์จะทำการย่อยตัวอย่างทีละน้อย และผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะเป็นตัวบ่งชี้การย่อยสลาย การย่อยสลายทางชีวภาพสามารถวัดโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน (Anaerobic) และจำนวนมีเทน หรือ โลหะผสมที่สามารถผลิตได้ ในวรรณกรรมทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า กระบวนการการบำบัดสารมลพิษทางชีวภาพ[2]

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wikiการย่อยสลายทางชีวภาพ

ปุ๋ยหมัก

       ปุ๋ยหมัก  คือ ปุ๋ยที่ได้จากการหมักสารอินทรีย์ให้สลายตัวผุพังตามธรรมชาติ   โดยนำสิ่งเหล่านั้นมากองรวมกัน รดน้ำให้ชื้น แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เกิดการย่อยสลายตัวโดยกิจกรรมของจุลินทรีย์ จึงนำไปใช้ปรับปรุงดิน ในการเตรียมกองปุ๋ยหมัก อาจใส่ปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยเร่งกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน เป็นการเพิ่มคุณค่าด้านธาตุอาหารของปุ๋ยหมักด้วย

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู


ปัจจัยที่จำเป็นต่อการทำปุ๋ยหมัก

          1. การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการทำปุ๋ยหมัก

           - ควรเลือกบริเวณใกล้กับแหล่งซากสัตว์และซากพืช ให้มากที่สุด และสะดวกในการขนย้ายไปใช้
           - ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ แต่ควรอยู่ห่างจากแหล่งน้ำบริโภค

           - ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ำท่วมไม่ถึง

          2. แรงงาน เพื่อใช้ในการขนย้าย

การเตรียมวัสดุต่างๆเพื่อนำมาใช้ผลิตปุ๋ยหมัก


         - ซากพืช เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ้าย ซากพืชตระกูลถั่วต่างๆทั้งที่เป็นหญ้าสดและหญ้าแห้งใบไม้ทุกชนิดเป็นต้น

         - ซากสัตว์ หรือ ปุ๋ยคอก เป็นแหล่งของจุลินทรีย์ และอาหารของจุลินทรีย์ หรืออาจจะใช้สารเร่งที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย

         - อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการผลิตปุ๋ย

การดูแลรักษาปุ๋ยหมัก

          - ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ

          - ควรตรวจสอบความชื้นในกองปุ๋ย โดยการบีบเศษวัสดุจากกองปุ๋ย

          - การกองปุ๋ยปุ๋ยแบบชนิดกลับกอง จะมีการจัดวางกองเป็นชั้น แล้วมีการกลับกองทุก 10-15 วัน
          - การกองปุ๋ยแบบไม่กลับกอง จะทำแบบเดียวกับแบบชนิดกลับกอง แต่มีการทำช่องระบายอากาศไว้

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

ลักษณะปุ๋ยหมักที่นำไปใช้ได้แล้ว

          - อุณหภูมิในกองลดลงเท่ากับอุณหภูมิภายนอกรอบๆกองปุ๋ย

          - สีของเศษวัสดุเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ และมีลักษณะอ่อนนุ่มและเปื่อยยุ่ย

          - ไม่มีกลิ่นฉุนของก๊าซต่างๆ        

- อาจมีหญ้าหรือเห็ดขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้

การใช้ประโยชน์จากปุ๋ยหมัก

          - การใช้ปุ๋ยหมักในการเตรียมแปลงในการปลูกผักและพืชไร่และไม้ดอก

          - ใช้เป็นปุ๋ยแต่งหน้า

          - การใช้ปุ๋ยหมักกับการปลูกพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับในภาชนะปลูก

          - การใช้ปุ๋ยหมักกับไม้ผล

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีดังนี้

          1. นำฟางข้าวหรือใบไม้ เลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน วางเป็นชั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วยมูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ำ ทำเช่นนี้ จนเต็มวง รดน้ำแต่ละชั้นให้มีความชื้น ความสำคัญของการที่ต้องทำเป็นชั้นบางๆ เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอนที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ ซึ่งจะทำให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60–70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้

          ขั้นตอนที่ 1 รดน้ำภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ำไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึงข้างล่างแล้วกรอกน้ำลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทำขั้นตอนที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ำเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้สูญ เสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทำเพราะน้ำฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ำฝนไม่สามารถชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ ผู้ดูแลจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ในฤดูฝนได้ด้วย

ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็น เรื่องปกติสำหรับกองปุ๋ยที่ทำได้ถูกวิธี

ความร้อนสูง นี้เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์  (จุลินทรีย์มีมากมายและหลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย (จุลินทรีย์กลุ่ม Thermophiles และ Mesophiles) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงจนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน

3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะยุบตัวลงประมาณ 1 ส่วน 3 ของวงตาข่าย แล้วทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัว (Stabilization Period) และไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งอาจทำโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจายให้มีความหนาประมาณ 20 – 30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3–4 วัน สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนำปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาดเล็กสม่ำเสมอ สามารถเก็บได้นานหลายปี

กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาการย่อยสลายของจุลินทรีย์เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้วเมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทำให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเวียนเข้าไปในภายในกองปุ๋ย ซึ่งเกิดจากการพาความร้อน (Chimney Convection) อากาศภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทำให้เกิดสภาวะการย่อยสลายของจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) ทำให้ไม่ต้องมีการพลิกกลับกอง และช่วยให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ำเสียใดๆ

หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

หัวใจสำคัญของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ คือ ต้องรักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอตลอดเวลาทั้งภายในและภายนอกกองปุ๋ยด้วยวิธีการ 2 ขั้นตอนข้างต้น บริเวณใดที่แห้งเกินไปหรือแฉะเกินไปจุลินทรีย์จะไม่สามารถย่อยสลายได้ ทำให้วัสดุไม่ย่อยสลาย กระบวนการอาจใช้เวลานานถึง 6 เดือนถึง 1 ปีก็ได้

ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

ข้อห้ามของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีนี้คือ

1. ห้ามขึ้นเหยียบกองปุ๋ยให้แน่น หรือเอาผ้าคลุมกองปุ๋ย หรือเอาดินปกคลุมด้านบนกองปุ๋ย เพราะจะทำให้อากาศไม่สามารถไหลถ่ายเทได้

2. ห้ามละเลยการดูแลความชื้นทั้ง 2 ขั้นตอน เพราะถ้ากองปุ๋ยแห้งเกินไป จะทำให้ระยะเวลาแล้วเสร็จนานและปุ๋ยอินทรีย์มีคุณภาพต่ำ

3. ห้ามวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไป การวางเศษพืชเป็นชั้นหนาเกินไปจะทำให้จุลินทรีย์ที่มีในมูลสัตว์ไม่สามารถเข้าไปย่อยสลายเศษพืชได้

4. ห้ามทำกองปุ๋ยใต้ต้นไม้ เพราะความร้อนของกองปุ๋ยอาจทำให้ต้นไม้ตายได้

5. ห้ามระบายความร้อนออกจากกองปุ๋ย เพราะความร้อนสูงในกองปุ๋ยจะช่วยให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดีมากขึ้น และยังช่วยให้เกิดการไหลเวียนของอากาศผ่านกองปุ๋ยอีกด้วย

ใบไม้ / โครงเส้นใบของใบไม้

          ใบไม้ (leaf) เป็นส่วนที่สร้างอาหารโดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบไม้มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันหลายแบบแบ่งเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกัน

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

โครงงาน ปุ๋ยหมัก จากใบ ก้ามปู

ประเภทของใบไม้

ใบเดี่ยว

          ใบเดี่ยว  (simple leaf) หมายถึง ใบที่มีเพียงใบเดียวติดกับก้านที่แตกออกจากกิ่ง หรือลำต้น เช่น มะม่วง กล้วย แต่ยังมีใบเดี่ยวบางชนิดที่ขอบใบเว้าเข้าไปมากทำให้ดูคล้ายใบประกอบ เช่น มะละกอ มันสำปะหลัง เป็นต้น

ใบประกอบ

           ใบประกอบ (compound leaves) หมายถึง ใบที่มีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบอยู่ติดกับก้านใบ 1 ก้าน แต่ละใบของใบประกอบ เรียก ใบย่อย (leaflet หรือ Pina) ก้านใบย่อย เรียก เพทิโอลูล (petiolule หรือ petiolet) ส่วนก้านใบใหญ่ที่อยู่ระหว่างช่วงก้านใบย่อย เรียก ราคิส (rachis)

ใบประกอบแยกย่อยได้ 2 แบบ

          ใบประกอบแบบฝ่ามือหรือแบบนิ้วมือ (palmately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบจะแยกออกจากก้านใบที่จุดรวมเดียวกัน โดยจะมีใบย่อยตั้งแต่ 2 ใบเช่น มะขามเทศ ใบย่อย 3 ใบเช่น ยางพารา ถั่ว  ใบย่อย 4 ใบ เช่น ใบนุ่น หนวดปลาหมึก

          ใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) ใบประกอบแบบขนนกอาจแบ่งย่อยได้อีก คือ

          ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว  (unipinnate) เป็นใบประกอบที่มีใบย่อยแยกออกจากแกนกลางเพียงครั้งเดียว เช่น กุหลาบ มะขาม ขี้เหล็ก เป็นต้น

          ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น (bipinnate) เป็นใบประกอบแบบขนนกที่แยกออกจากก้านเป็นครั้งที่ 2 จึงมีใบย่อย เช่น จามจุรี หางนกยูง เป็นต้น

          ใบประกอบแบบขนนกสามชั้น  (tripinnate) เป็นใบประกอบแบบขนนกที่แตกแขนงออกจากก้านเป็นครั้งที่ 3 จึงมีใบย่อย เช่น ปีบ มะรุม เป็นต้น