การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง

��ѡ����Ӥѭ㹡���֡��
@ �����繡�ä鹤�������Ǣ���Ԩ����� �ջ���繻ѭ�����÷���Ҩй����繻ѭ��(��觼���Ԩ���ѧ����Һ��Ҩз�����ͧ����)
@ �����֡����������ͧ������Ԩ�¨з��Ԩ�¹�� �����·�����ͧ����Һ�ҧ ��ҷ������ռ����ҧ�� �е�ͧ������ش�˹����ѧ���Ѵਹ (����ʴ��������ͧ���з��Ԩ�� �ѧ���Ѵਹ�֧��Ҵ����繪�������ͧ��)

�ش�������㹡���֡�Ҥ鹤����͡��üŧҹ�Ԩ�·������Ǣ�ͧ�Ѻ�ѭ��
1. �������͡�ѭ�ҷ��з��Ԩ�� : �繡�����Ǩ���������ͧ�����͹�仡�˹��ͺࢵ����֡�� ������͡�ѭ�����ç�ش�ҡ���
2. ��������Դ������Ш�ҧ㹻ѭ�ҷ��з��Ԩ�� : �繡�õѴ�Թ���Ҥ�èзӡ���Ԩ������ǡѺ�ѭ�ҹ�鹵��� ���ͤ������¹�ѭ�ҷ��з��Ԩ������
3. ������ա����§��÷��Ԩ�«�ӡѺ������ : �ҡ������ռ�����������÷��Ԩ�«�� �͡�ҡ�ըش���ʧ�����͵�Ǩ�ͺ�š���Ԩ�� ��ѧ�ҡ��������¹�ŧ���Ҽš���Ԩ���ѧ����͹����������
4. ���ͤ���෤�Ԥ����Ըա��㹡�÷��Ԩ�� : ��������Դ�Ǥ����Դ㹡�õѴ�Թ���Ҩ���෤�Ԥ�
5. ���ͪ���㹡���Ť������¢����� : �¡����ҧ�ԧ�ŧҹ�Ԩ�·���ռ��������� �з�����դ���������Ͷ����й��ʹ��ҡ��觢��
6. ���ͪ���㹡����ػ��й��ʹͼš��������������� : ����Ť������¨��դ�������ó���觢�� ����շ�ɮ� ���ͼŧҹ�������Ǣ�ͧ�Ѻ�ҹ�Ԩ��ʹѺʹع
7. �����������¹��§ҹ����Ԩ�� : �繡���֡���ٻẺ �к�����ǡ����¹��§ҹ�ͧ������ ��������Դ�Ǥ����Դ���оѲ�ҡ����¹��§ҹ����ջ���Է���Ҿ��觢��

��鹵͹�Ըա���֡���͡�����Чҹ�Ԩ�·������Ǣ�ͧ
1. ��˹���ͺ�����ҷ���ͧ����֡��
2. ���Ң����ŷ���ͧ����֡��
3. ��ҹ��Ш��ѹ�֡
4. �����żš���֡��
5. ��¹��§ҹ�š���֡�Ҥ鹤���

1. ��˹���ͺ�����ҷ���ͧ����֡��
�繡��������鹵դ������������з���ͧ����֡�� �¡����������ش���������ҵ�ͧ����֡�����ú�ҧ ��ͧ����������ͧ���� ����ǡѺ....
- �����
- ��ɮ�
- ��ѡ���
- �ǤԴ
- ��������´�ͧ������

2.���Ң����ŷ���ͧ����֡��
ʶҹ��� : ��ͧ��ش, ����ش, ����������
�Ըդ��� : ���ѡ���������ͧ��ҧ�

3. ��ҹ��Ш��ѹ�֡ ���觷���� : ���ͼ���Ԩ�� ��������ͧ�Ԩ�� �շ���Ԩ�� �����Ӥѭ : �ش������� ���ص԰ҹ �Ըմ��Թ����Ԩ�� : �����������ҧ ����ͧ��� ������Ǻ��������� ����������� �š���Ԩ��

4.�����żš���֡�� : �Ǻ��� �������� �ѧ������ �Ѵ��Ǵ����������������

5.��¹��§ҹ�š���֡�Ҥ鹤��� : �繡���ʹ��ǤԴ�ҡ������ ��ɮշ������Ǣ�ͧ �������ѹ��Ѻ�ѭ�� �����������ҹ��������ͧ����Ԩ�����

���觷���Ңͧ�͡��üŧҹ�Ԩ�� ������Ӥѭ����þԨ�ó��֡��
@ ������ : ��������Ǣ�ͧ �š���Ԩ�� ����� �����ػ
@ �ٻẺ����Ԩ�� : �ǤԴ ��ɮ� ����� ������Ǻ��������� ���������������� ���ѡɳ����ҧ��
@ �ӡ�����Ǩ����ͧ�������ػ�ó���ؤ�������㹡���Ԩ�� : ����ѡ��� ��ɮ� �Ǥ����Դ㹡�����ҧ��оѲ�����ҧ��

��ѡ��õ�Ǩ�͡�����Чҹ�Ԩ�·������Ǣ�ͧ
1. ���͡���Ǩ��Ǣ�����ҧ���ҧ� �����ͧ�Ҿ�������ͧ�ѭ��
2. ����������� ������������´�������Ǣ�ͧ�µç �蹡���֡�ҵ���� ��ɮ� ��ѡ��� �����������ҧ����͹�ѹ ���������§�ѹ

���觤鹤��� ��Чҹ�Ԩ���͡��÷������ҧ�ԧ �ҡ��ͧ��ش�ͧʶҹ�֡�� ����˹��§ҹ�Ҥ�Ѱ����͡��
1. �͡��� : ˹ѧ��� ���� ������ ���ҹء�� ���ҹء�� ��§ҹ��û�Ъ��������
2.�ҹ�Ԩ�� : ��§ҹ�������ó� �ҹ�Ԩ�ºؤ�� ����ʶҺѹ �ŧҹ�ͧ���Ե�ѡ�֡���дѺ��ԭ��� �͡ ˹ѧ����Ǻ����ҹ�Ԩ�� �������ػ�ͧ�ҹ�Ԩ��������Ѵ��ͧ͢�ҹ�Ԩ��

��ѡ��õ�Ǩ����ԹԨ����͡��÷��й�������ҧ�ԧ
1. ������ҡ�����������������ش �µ�Ǩ�ͺ��͹��ѧ 5-10 �� ���ͪ�������Һ�֧��������˹�ҷҧ�Ԫҡ�âͧ��Ǣ���Ԩ�¹���
2. �Ѵ�ӴѺ�����Ӥѭ�ͧ�͡��� ��������������� ��������ͧ 㨤������ �������Ǣ�ͧ �ç�Ѻ��Ǣ�����ͻ���繷���Ԩ���ҡ����ش

��ѡ��÷���Ӥѭ㹡����¹�͡�����ҧ�ԧ�͡�����мŧҹ�������Ǣ�ͧ
1. ���������ͧ�������Ǣ�ͧ�µç
2. ��੾����ǹ����Ӥѭ�������Ǣ�ͧ��ҹ��
3. ����ػ�����Ңͧ�ҹ�Ԩ�·���������ҧ�ԧ
4. ��ҧ�ԧ�ҡ�ǤԴ ��ɮըҡ�͡��÷��鹤��� ��Ҽš���Ԩ���դ����ʹ���ͧ ���͢Ѵ��駡Ѻ�š���Ԩ�¢ͧ�ú�ҧ ���ҧ��

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง
การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีผลต่อการวิจัยอย่างไรบ้าง

ความสำคัญ;เอกสาร วรรณกรรมและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์

ในการทำการวิจัยไม่ว่าเรื่องใดต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเอกสารจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น ตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและบทความรวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่มีอยู่ทั้งในอินเทอร์เน็ตและในรูปแบบเอกสาร เพื่อหาข้อมูลมาเป็นแนวทางในการวิจัยซึ่งจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่าและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น(๑)

ความหมายของคำว่า เอกสาร

เอกสาร หมายถึง แหล่งที่มาของข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ สิ่งพิมพ์ และบันทึกหรือ

ข้อความใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง รวมทั้งแผนภูมิประเภทต่าง ๆ อาทิ กราฟ ภาพวาด ภาพระบายสี

แผนที่ ตลอดจนสัญลักษณ์หรือเครื่องแบบแสดงความนึกคิดของมนุษย์ที่ยังมีเหลืออยู่ อาทิ หลักศิลาจารึก

ศิลปะ โบราณวัตถุ เหรียญ อนุสาวรีย์ และสถาปัตยกรรม เป็นต้น(Best,1986 : 107)

(๒)

นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543: 419-420) ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัย หมายถึง ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปสิ่งพิมพ์ หรือ การบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ ตัวอย่างของ

เอกสารได้แก่ หนังสือ ตำรา จุลสาร บทความทางวิชาการ สารานุกรมวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ของทางราชการ จดหมายเหตุ คู่มือ รายงานประจำปี บทปริทัศน์ และบทสรุปส่วนตัว ในส่วนของงานวิจัย ได้แก่

วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยบทคัดย่องานวิจัย และรายงาน

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:64)ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึง เอกสารและงานวิจัยที่มีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับ หัวข้อเรื่องหรือประเด็นของปัญหาการวิจัยและประเภทของเอกสารยังแบ่งเป็นปฐมภูมิ หมายถึง เอกสารที่ผู้เขียนเป็นผู้ทำงานวิจัยนั้น เป็นเจ้าของความคิดนั้น เช่นรายงานการวิจัยและเอกสารทุติยภูมิ หมายถึง เอกสารที่ผู้เขียนนานาสาระ ข้อมูลมาจากแหล่งอื่นแล้วนำมาเขียนประมวล อีกทีหนึ่ง เช่นหนังสือ(๓)

Neuman (1997,67) ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัยหมายถึง เอกสาร/ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ หนังสือ ตำรา วารสาร สารานุกรม หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย จดหมายเหตุและรายงานประจำปี เป็นต้น หรือมีการบันทึกไว้ในลักษณะของสื่อทัศนูปกรณ์ อาทิ เทปบันทึกเสียง วีดีทัศน์ วีซีดีและดีวีดี เป็นต้น หรือมีการบันทึกในลักษณะของเอกสารอีเล็กทรอนิกส์ อาทิ ฐานข้อมูลซีดีรอม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ E-book E-research เป็นต้น(๔)

สรุปคำว่าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ (วรรณกรรม related literature)หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจเป็น เอกสาร/ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ มีการบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ เช่น เป็นตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยบทคัดย่องานวิจัย และรายงาน สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสารเอกสารรวมถึงสิ่งพิมพ์ของทางราชการเช่น จดหมายเหตุ คู่มือ รายงานประจำปี บทปริทัศน์แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องมีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ดังนั้น ผู้วิจัยต้องมีทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ(๕)

ความหมายของวรรณกรรมวรรณกรรม

-วรรณกรรม(literature)เป็นปัจจัยป้อนกระบวนการวิจัยที่สำคัญไม่ว่าใครจะทำวิจัยเรื่องใด ต้องศึกษาวรรณกรรมหรือมีการทบทวนวรรณกรรม(review of literature)ให้มากๆการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญต่อการกำหนดเรื่องหรือปัญหาการวิจัยเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างแนวคิดทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับกำหนดเรื่องวิจัย(Punch ๑๙๙๘;๔๔)

-วรรณกรรม(literature)เป็นกรอบสำหรับกำหนดสิ่งที่จะศึกษาและเป็นเสมือนเกณฑ์ฐาน(benchmark)ไว้เปรียบเทียบกับผลการวิจัย(Creswell ๑๙๙๔;๒๑)(๖)

สรุป ความหมายของวรรณกรรมวรรณกรรมการวิจัย (research literature) คือผลงานวิชาการที่นักวิจัยสามารถนำความรู้จากสาระไปใช้ประโยชน์ในการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศสาหรับการสร้างกรอบ แนวคิด การวิจัย และกำหนดสมมติฐานซึ่งวรรณกรรมที่พบส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเอกสารที่ไม่มีการเผยแพร่ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และจารึกในถาวรวัตถุ(๗)

แหล่งที่มา;เอกสาร วรรณกรรมและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของเอกสารวรรณกรรมเป็นสิ่งที่นักวิจัยทุกคนต้องทราบเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพราะว่าในการทำวิจัยทุกเรื่อง ข้อมูลที่ได้มาจะทำให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดทิศทางการวิจัยได้อย่างถูกต้องทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ เอกสาร วรรณกรรมและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้

. ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ ได้แก่

.๑ หนังสือ ตำราวิชาการทั่วไป (Books General Science) หมายถึง เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือเป็นชุดก็ได้ โดยเอกสารเหล่านี้จะมีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเนื้อหาทางวิชาการ ความรู้ต่างๆ ในแต่ละสาขาวิชา เช่น หนังสือ หรือตำราเรียนของนักเรียน นักศึกษาในแต่ละระดับ หนังสือหรือตาราเหล่านี้จะมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎีแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้าหาแนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานให้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยมีความสนใจได้จากตาราทางวิชาการเหล่านี้

.๒ วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ (Periodicals and Technical Journals) เป็นหนังสือชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยบทความทางวิชาการที่นำมารวบรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โดยมีการจัดพิมพ์ตามกำหนดวาระ เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน หรือทุก ๓ เดือน ๖ เดือน แล้วแต่วาระ วารสารเป็นหนังสือที่รวบรวมสรุปผลงานทางวิชาการ ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาปัจจุบัน และมีลักษณะเป็นวารสารเฉพาะสาขาวิชา เช่น วารสารพุทธจักร, วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ฯลฯ

.๓ รายงานผลการวิจัย (Research Report) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการรายงานผลการวิจัยในสาขาต่างๆ หลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว รายงานการวิจัยประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระในส่วนที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดสมมติฐาน ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสามารถค้นหารายงานการวิจัยได้จากหน่วยงานที่ทำการวิจัยหรือสถาบันที่สนับสนุนทุนวิจัย หรือห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น

.๔ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis & Dissertation) เป็นรายงานการวิจัยของนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มคล้ายหนังสือแต่ไม่มีการจัดจำหน่ายและถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วนทั้งบทคัดย่อ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งมีเอกสารอ้างอิงท้ายเล่มซึ่งผู้วิจัยสามารถนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก

.๕ รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ (Annual Seminar) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะรวบรวมเนื้อหาสาระที่นำเสนอในที่ประชุมสัมมนา

.๖ วารสารปริทัศน์ (Review Journals) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานปฐมภูมิมาอยู่ในที่เดียวกัน โดยจะแสดงให้เห็นความเป็นมาและแนวโน้มของเรื่องต่างๆ วารสารประเภทนี้จะเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาซึ่งเป็นที่ยอมรับและมักจะเน้นที่ความเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก

.๗ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ รายวัน เช่น ไทยรัฐ

มติชน เดลินิวส์ Bangkok Post, The Nation, Newsweek เป็นต้น ผู้วิจัยอาจอาจจะให้ความสนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะนามาใช้อ้างอิง

.๘ เอกสารทางราชการ ได้แก่ ประกาศ คำสั่ง จดหมายเหตุ ใช้ค้นคว้าหัวข้อเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

.๙ หนังสืออ้างอิง (Reference books) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการรวบรวมขึ้นเป็นพิเศษ สาหรับให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงบางตอนในเล่มเท่านั้น มิใช่

หนังสือที่ต้องการอ่านทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิงมีประโยชน์ในการใช้ประกอบการค้นคว้าวิจัย หนังสืออ้างอิงมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้แตกต่างกัน ดังนั้น จะกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้

) พจนานุกรม (Dictionary) เป็นหนังสือที่อธิบายความหมายของคำศัพท์ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ผู้ใช้จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการสะกดคำความหมาย คุณสมบัติทางไวยากรณ์ ตัวอย่างประโยค การออกเสียง ประวัติคำ หรือคุณลักษณะอื่นๆ เป็นต้น

) สารานุกรม (Encyclopedia) เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ทุกแขนงโดยให้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานกว้างๆ การเรียงลำดับเนื้อเรื่องอาจเรียงลำดับตามตัวอักษรหรือหมวดหมู่มีดรรชนี ตัวอย่างสารานุกรม เช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน

) หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่เสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา หรือเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบัน

) หนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา เป็นหนังสืออ้างอิงต่างๆ เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ

) นามานุกรม (Directories) เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่างๆ เช่น นามานุกรมท้องถิ่น

) อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) เป็นหนังสือที่มีการรวบรวมชีวประวัติของบุคคลหลายคนไว้ในเล่มเดียวกันหรือในชุดเดียวกัน

.๑๐ ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes) เป็นหนังสือคู่มือการค้นหาบทความและวารสารซึ่งระบุถึงแหล่งที่มีหนังสือวารสารนั้น

.๑๑ หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสือที่รวมรายชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ในช่วงเวลาหนึ่ง ได้แก่ บรรณานุกรมของสถาบัน บรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา

. ประเภทโสตทัศนวัสดุเป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ได้แก่

.๑ ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้รับต้องใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องฉายช่วยขยายภาพ เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ วัสดุกราฟิก หรือวัสดุลายเส้น ลูกโลก หุ่นจาลอง เกม ภาพนิ่งหรือแผ่นชุดการสอน เป็นต้น

.๒ โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศ ได้แก่ แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง แผ่นดิสก์ เป็นต้น

.๓ โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ ประกอบเสียง หรือสไลด์มัลติวิชั่น เป็นต้น

. ประเภทฐานข้อมูล (Database) เป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสะดวกในการสืบค้น ซึ่งการสืบค้นอาจทาโดยผ่านแหล่งผลิตฐานข้อมูลหรือผ่านระบบเครือข่าย หรือสืบค้นด้วย CD – ROM ก็ได้ ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

.๑ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic databases) เป็นการเก็บข้อมูลของหนังสือ วารสาร เอกสาร รายงานการประชุมต่างๆ ในลักษณะข้อมูลบรรณานุกรม

.๒ ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric databases) เป็นการเก็บข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับการลงทุน ตลาดหุ้น ธุรกิจ อุตสาหกรรม ทฤษฎีและสูตรสมการต่างๆ

.๓ ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text databases) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูลประเภทใดและเรื่องใด สามารถค้นหาได้จากฐานข้อมูลที่ห้องสมุด ที่มีการจัดทาระบบนี้ไว้หรือองค์การต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการจัดทำไว้

. ประเภทอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่ทาได้รวดเร็ว และได้ข้อมูลมาก ทันสมัย การสืบค้นต้องผ่าน Search Engine ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่นิยมกันแพร่หลาย เช่น Google, Yahoo เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ดังนี้

www.nrct.go.th สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาตินำเสนอข่าว แหล่งทุนการวิจัย และข้อมูลข่าวสารการวิจัยของประเทศ
www.trf.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะมีข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและแหล่งทุนการวิจัย
www.tdri.or.th สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จะมีข้อมูลข่าวสารการวิจัย
www.thailis.or.th แหล่งค้นคว้าข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย จะมีข้อมูลวิทยานิพนธ์และทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ

www.nso.go.th สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นแหล่งข้อมูล สถิติที่สำคัญในด้านต่างๆ ของประเทศไทย

ห้องสมุด/สำนักวิทยบริการ หรือสำนักวิจัยของสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น

www.stou.ac.th มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
www.tu.ac.th มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
www.nida.ac.th สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

www.chula.ac.th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.cmu.ac.th มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
www.bbu.ac.th มหาวิทยาลัยบูรพา

นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่ทำการวิจัยเกี่ยวข้องกับอะไร ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ในเรื่องนั้น ๆ ได้โดยตรง ทั้งนี้บางเว็บไซต์จะมีข้อมูลหนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูล สถิติ ฯลฯ ในรูปของเอกสารฉบับเต็ม (full text) ทำให้นักวิจัยสะดวกในการค้นคว้าเนื่องจากสามารถค้นคว้าได้ตลอด ๒๔ชั่วโมงและสามารถพิมพ์ข้อความออกมาอ่านได้โดยตรง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปค้นคว้ายังสถานที่เก็บเอกสาร จึงทำให้มีความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลสะดวกมากขึ้นในปัจจุบันแต่ ข้อพึงระวังใน การค้นคว้าผ่านเว็บไซต์ก็มีคือ ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้นๆ เนื่องจากบางเว็บไซต์ไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของข้อมูลที่เผยแพร่(๘)

สรุปผู้วิจัยสามารถค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเป็นการทำวิจัยได้จาก๑.ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ได้แก่๑.๑หนังสือ ตำราวิชาการทั่วไป (Books General Science)๑.๒วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ (Periodicals and Technical Journals)๑.๓รายงานผลการวิจัย (Research Report)๑.๔วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis & Dissertation)๑.๕รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ (Annual Seminar)๑.๖วารสารปริทัศน์ (Review Journals)๑.๗ หนังสือพิมพ์ (Newspaper)๑.๘อกสารทางราชการ๑.๙หนังสืออ้างอิงซึ่งสามารถค้นหาได้จากห้องสมุดต่างๆ ๒.ประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ได้แก่(Reference books)๒.๑ ทัศนวัสดุ (Visual Materials)๒.๒ โสตวัสดุ (Audio Materials)๒.๓ โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials)๓. ประเภทฐานข้อมูล (Database) เป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสะดวกในการสืบค้นได้แก่ ๓.๑ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic databases)๓.๒ ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric databases)๓.๓ ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text databases)๔.ประเภทอินเทอร์เน็ต (Internet)ซึ่งปัจจุบันมีเว็ปไซด์ของสถาบันศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากกว่าตำรา ทำให้วิจัยสามารถหาแหล่งข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น(๙)

ความสำคัญของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๑.ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสถาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย ว่า ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง เพื่อทำการจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปและ การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น หรือจะเป็นความรู้ใหม่มีความสำคัญอย่างไรและตัวผู้วิจัยจะต้องเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างเหมาะสมมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผลงานวิจัยสมบูรณ์ที่สุด

๒.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่นการที่นักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัยและการทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างละเอียด รอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่นๆที่ผู้วิจัยมีความสนใจและยังไม่มีใครศึกษาค้นคว้าไว้

๓. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ เพราะว่าได้ศึกษาค้นคว้าจนมีความรู้เพียงพอในการเขียนกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theritical หรือConceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการวิจัยต้องเขียนชัดเจนเพื่อช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัย สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

๔. ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตนเอ จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไร แล้วมีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนเพียงใด คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่ เอกสารเชิงทฤษฎีต่างๆได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้ ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น

๕. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ

๖. ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัยหรือเค้าโครงร่างของการวิจัย (Research proposal) การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จึงจะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง(๑o)

สรุปความสำคัญของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อจะให้ผู้วิจัยสามารถเลือกและกำหนดปัญหาการวิจัยได้และยังทราบว่ามีปัญหาอะไรที่น่าสนใจมีผู้ทำการศึกษาแล้วหรือยังไม่มีใครเคยศึกษาวิจัยไว้ ทำให้หลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่ซ้ำซ้อนได้และได้ทราบแหล่งที่มาการหาข้อมูล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ จนทำให้สามารถเลือกการกำหนดตัวแปร ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์และการจัดทำรายงานการวิจัยและสามารถนำผลการวิจัยของตนมาเปรียบเทียบอ้างอิงกับวรรณกรรมที่ทบทวนเพื่อสรุปในรายงานวิจัยทั้งนี้ไม่ว่าการเปรียบเทียบผลนั้นจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งอาจทำให้งานวิจัยมีคุณค่ามากขึ้นหรือข้อค้นพบใหม่ๆที่ น่าสนใจทำให้งานวิจัยความน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักเชิงวิชาการมีความ สมบูรณ์ถูกต้องที่สุด๑๑

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ขอบคุณแหล่งที่มาคะ

(๑.รองศาสตราจารย์ดร.ชมบุญ ศรีสะอาด การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่๙ แก้ไขเพิ่มเติม สุวีริยาสาส์น,๒๕๕๔,๒oหน้า๒๑)

๒. http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/01/04.pd)

(๓.รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

http://www.phd.ru.ac.th/newszian/files/20110722_09...)

๔.http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearnin...)


(๕.เอกสารคำสอนวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยโดย ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ http://netra.lpru.ac.th/)

(๖.เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.สิน พันธุ์พินิจ สำนักพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง จำกัด๒๕๔๗หน้า๗๑)

(๗.เทคนิคการสืบค้น การสังเคราะห์ และการจัดทาบรรณานุกรม เกี่ยวกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในงานวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์โดย ดร. นลินี ณ นคร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๕๖)

(๘ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา ผลประเสริฐจุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สุขภาพออนไลน์ ฉบับที่๔ ปี๒๕๕๔)

(ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และคณะ (๒๕๕๑) เอกสารศึกษาการวิจัยและการเขียนบทความ เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง พิมพ์ครั้งที่ ๓, ม.ป.ท)

(http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book๕๔๔/research.html)

(๙.การทบทวน วรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (วังน้อย) นวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์-๒๕๕๗หน้า๔-๗)

(เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.สิน พันธุ์พินิจ สำนักพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง จำกัด๒๕๔๗หน้า๗๒)

๑o..เอกสารคำสอนวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยโดย ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ http://netra.lpru.ac.th/)

(๑๑.การทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (วังน้อย) นวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์-๒๕๕๗หหน้า๑o)

(บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์,พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๓ – ๑๐๙.)

(มนัส สุวรรณ, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๔๔), หน้า ๒๙ – ๓๐).

.

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีประโยชน์อย่างไร

2.3 การศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง.
ช่วยให้ไม่เกิดการซ้ำซ้อนในการวิจัย.
ช่วยให้กำหนดขอบเขตของการทำวิจัยได้ถูกต้องชัดเจน (กรอบแนวคิด).
ได้แนวทางในการกำหนดสมมุติฐาน (กรณีที่มีสมมุติฐาน).
ได้แนวทางในการสร้างเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูล.
ได้แนวทางในการสุ่มตัวอย่าง.

เพราะเหตุใดก่อนทำวิจัยเราจึงต้องศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อน

วัตถุประสงค์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการวิจัยใด ๆ วัตถุประสงค์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ การสร้าง ความมั่นใจให้แก่ผู้วิจัยและผู้ศึกษางานวิจัยว่าผู้วิจัยมีความรู้รอบรู้ในประเด็นการวิจัย และมีความรู้ ที่เพียงพอจะทาการวิจัยได้อย่างมีคุณภาพ และเป็นส่วนที่นามาพิจารณาว่าประเด็นการวิจัย ...

ความมุ่งหมายหลักของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คืออะไร

สรุปได้ว่าจุดมุ่งหมายในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อหาข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนด วางแผนกรอบงานวิจัยของตนเอง โดยมุ่งศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์งานวิจัยของตนเอง 3.2 แหล่งของเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกระทําในช่วงใดของการวิจัย

ในการวิจัยใด ๆ นั้น การทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะเป็นขั้นตอนก่อน-หลัง จากผู้วิจัยได้กาหนดปัญหาของการวิจัยอย่างชัดเจนแล้ว ที่จ าเป็นจะต้องมีการศึกษา แนวคิด ทฤษฏีหรือ กฎเกณฑ์ว่าจะใช้แนวทาง/ระเบียบวิธีการใดในการศึกษาปัญหาหรือวิธีการแก้ไขปัญหาการวิจัยนั้น ๆ รวมทั้งมีการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่าง ...

การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีประโยชน์อย่างไร เพราะเหตุใดก่อนทำวิจัยเราจึงต้องศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก่อน ความมุ่งหมายหลักของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องก็คืออะไร การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกระทําในช่วงใดของการวิจัย ประโยชน์ของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีอะไรบ้าง หลักการในการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีอะไรบ้าง นักวิจัยควรจะศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเมื่อไร อย่างไร การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คือ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โครงงาน การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง คือ