โครงการทําน้ําหมักชีวภาพ

จัดทำโดย

เด็กหญิงอภิสรา พุทธประวัติ

เด็กหญิงสุทธิดา ยางสี

เด็กหญิงวิลาสินี พรมทองมี

­

คุณครูที่ปรึกษา 

นางธิดารัตน์ ประสมสุข

นางนภาพร ภูชำนิ

ระดับชั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6

สถานศึกษา โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

ปีการศึกษา 2555

­

ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

จากการสังเกตของสมาชิกในกลุ่มเห็นแม่ครัวและแม่ค้าในโรงเรียนนำไข่มาประกอบอาหารเกือบทุกวัน วันละประมาณ 300-500 ฟอง แล้วทิ้งเปลือกไข่ลงในถังขยะ ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงได้ไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของเปลือกไข่จากอินเทอร์เน็ต ทำให้ทราบว่าในเปลือกไข่มีสารประกอบอินทรีย์เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต 95 เปอร์เซ็นต์ อีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นแร่อื่นๆ ผสมกัน เช่น แคลเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมคาร์บอเนต และโปรตีน จึงได้ไปปรึกษาคุณครูเพื่อจะได้นำเอาเปลือกไข่ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป คุณครูได้พาพวกเราไปพบผู้รู้คือ นายสัตวแพทย์ปฏิวัติ คุณดิลกพจน์ ปศุสัตว์จังหวัดขอนแก่น นายบุญชู ชมภูสอ นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการ และเกษตรกร บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี ซึ่งเป็นบ้านของสมาชิกในกลุ่ม ผู้รู้ได้ให้คำแนะนำว่าเอาเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้แร่ธาตุ(แคลเซียม) ที่สามารถนำไปใช้กับพืช จะช่วยทำให้โครงสร้างของพืชแข็งแรง นำไปให้สัตว์กินเพื่อบำรุงกระดูก และเป็นการช่วยลดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน ทำให้สิ่งแวดล้อมสะอาดและอากาศบริสุทธิ์ เป็นการสร้างเสริมคุณภาพชีวิต ปลูกจิตรักษ์สิ่งแวดล้อม

­

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

เพื่อลดปัญหาเรื่องขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

เพื่อเป็นการนำขยะเปลือกไข่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชน

­

สมมุติฐานของการศึกษาค้นคว้า

นำเปลือกไข่ไปหมักกับน้ำซาวข้าวจะได้น้ำหมักเปลือกไข่ไปใช้กับพืชและสัตว์

­

ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

ตัวแปรต้น เปลือกไข่ น้ำซาวข้าว

ตัวแปรตาม น้ำหมักจากเปลือกไข่

ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาที่ใช้ในการหมักน้ำหมักจากเปลือกไข่

­

ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

1. โรงเรียนสนามบิน ถนนประชาสโมสร อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

2. บ้านโนนกู่ หมู่ที่ 24 ตำบลสาวะถี อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

3. บ้านบึงฉิม หมู่ที่ 4 ตำบลบึงเนียม อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น

4. ระยะเวลาที่ศึกษา มิถุนายน-สิงหาคม 2555

­

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ความรู้เกี่ยวกับสารประกอบของเปลือกไข่ ประโยชน์น้ำซาวข้าว

ได้ความรู้เรื่องการทำน้ำหมักเปลือกไข่

ลดปัญหาขยะเปลือกไข่ที่ก่อให้เกิดมลพิษและปัญหาภาวะโลกร้อน

­

อภิปรายผลการศึกษา

จากการทดลองพบว่า น้ำหมักจากเปลือกไข่และน้ำซาวข้าว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดปัญหาขยะจากเปลือกไข่และน้ำเสียที่เกิดจากน้ำซาวข้าวของโรงเรียนสนามบินและช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน หลังจากการทดลองนำน้ำหมักจากเปลือกไข่ไปทดลองใช้ในชุมชนพบว่า ประชาชนในชุมชนมีความสนใจในน้ำหมักจากเปลือกไข่เนื่องจากน้ำหมักจากเปลือกไข่มีคุณภาพในการเพิ่มปริมาณแคลเซียมให้กับสัตว์และรักษาความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง และเนื่องจากเปลือกไข่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น เป็นการลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในชุมชน และประเด็นสุดท้ายประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะที่ดีขึ้น

สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาการหมักเปลือกไข่ด้วยน้ำซาวข้าวและทดลองนำไปใช้ในชุมชนบริเวณใกล้เคียงโรงเรียนสนามบิน สรุปผลการศึกษา ดังนี้

น้ำหมักเปลือกไข่ที่มีคุณภาพสามารถใช้เลี้ยงสัตว์ รดพืชผักและทำความสะอาดโรงเรือนเลี้ยงสัตว์

ปริมาณขยะเปลือกไข่และน้ำซาวข้าวในโรงเรียนสนามบินลดลง

นำความรู้ไปเผยแพร่ในชุมชนและประชาชนในชุมชนให้ความสนใจ

­

โครงการทําน้ําหมักชีวภาพ

­

  1. หลักการและเหตุผล

คนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและประเทศไทยจะอาศัยการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตรเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะพืชผลทางการเกษตรเป็นสินค้าที่ส่งออกที่สำคัญนำรายได้เข้าประเทศได้ปีละมหาศาลและผลักดันประเทศไปเป็นศูนย์กลางการผลิตอาหารของโลกแต่ปัจจุบันการเกษตรได้รับผลกระทบจากการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากส่งผลกระทบต่อราคาต้นทุนการผลิตสูงขึ้นประกอบกับคนไทยนิยมทำการเกษตรเคมีมากกว่ายึดรูปแบบตามธรรมชาติ     การใช้ปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้นแต่กำลังความสามารถในการผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตรของประเทศไทยนั้นไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องนำปุ๋ยเคมีเข้าจากต่างประเทศทำให้ประเทศไทยเสียดุลการค้า   การใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณมากแทนธาตุอาหารที่เป็นอินทรียวัตถุและการใช้สารเคมีฆ่าแมลงแทนสมุนไพร เพื่อการกำจัดศัตรูพืช  ก่อให้เกิดปัญหาด้านต่าง ๆ เช่น

1.ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เกิดจากสารปนเปื้อนของสารเคมีในแหล่งน้ำและดินทำให้ระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตเสียไป

2.ปัญหาต่อความปลอดภัยสุขภาพของเกษตรกรซึ่งจะส่งผลให้สุขภาพชีวิตของเกษตรกรต่ำลงเนื่องจากได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ ตลอดจนปัญหาการตกค้างของสารเคมี ผลิตผลทางการเกษตร ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

ในขณะที่การใช้ปุ๋ยและสารเคมีส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นประจวบกับมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม คุณภาพของพืชผักและใส่ใจผู้บริโภคมากขึ้น ปัจจุบัน เกษตรกรมีความสนใจการเกษตรแบบธรรมชาติและหรือเกษตรยั่งยืนกันมากขึ้น จึงใช้สิ่งต่างๆในธรรมชาติที่อยู่ใกล้ตัว มาทดลองและประยุกต์ให้เป็นประโยชน์มากขึ้น การเกษตรแบบธรรมชาติโดยใช้เทคนิคทางด้านจุลินทรีย์ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นหรือในธรรมชาตินี้ เป็นภูมิปัญญาที่ได้พัฒนาในหลายประเทศ เช่น เกาหลี ไทย เป็นต้น จนได้น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง น้ำหมักชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ แล้วแต่จะเรียกซึ่งมีความหมายเหมือนกัน

ดังนั้นผู้จัดทำโครงงานจึงมีแนวความคิดที่จะนำวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตร เช่นผักต่าง ๆ  และผักสะเดา    จุรินทรีย์  EM    และกากน้ำตาล นำมาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ดังนั้นการเอา จุรินทรีย์ EM   มาช่วยในการเร่ง   ปฏิกิริยาการย่อยสลายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่เหลือใช้ให้เป็นปุ๋ยชีวภาพเพื่อทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีในการเกษตรเพื่อลดต้นทุนการผลิตการเกษตร   ลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศที่มีราคาสูง   ลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่อสุขภาพต่อเกษตรกรและผู้บริโภคด้วย

  1. ชื่อแผนงานน้ำหมักชีวภาพชีวภาพจากวัสดุที่เหลือจากเศษพืชผักทางการเกษตร
  2. วัตถุประสงค์

1.เพื่อเรียนรู้และศึกษาวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

2.เพื่อเป็นแนวทางในการแนะนำเกษตรกรให้หันมาใช้สารที่ผลิตจากธรรมชาติ

3.เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและชาวบ้านหันมาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชและผัก

  1. เป้าหมาย
  2. สามารถผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามกระบวนการและตามปริมาณที่ต้องการ
  3.  สามารถให้คำแนะนำเกษตรกรและผู้ที่สนใจจะทำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ 100%
  4.  เกษตรกรให้มาใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพจากเศษพืชและผักในท้องถิ่นหรือจากเศษพืชในสวนของเกษตรกรเอง 
  5. วิธีการดำเนินงาน

การทำน้ำหมักชีวภาพ EM

ก่อนที่จะลงมือทำ เราควรทราบหลักการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพกันก่อนคือ ประเด็นแรกคือ ความสะอาด  ไม่มีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ประเภททำลายหรือทำให้เกิดการบูดเน่า ซึ่งการใช้ภาชนะที่สะอาดและมีฝาดปิดมิดชิดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรละเลย ประการต่อมาคือ ขณะหมักจะต้องวางถังหมักไว้ในที่ร่มไม่ให้ถูกแสงแดดโดยตรง เพราะจะทำให้กลุ่มจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ตายและแสงแดดยังสลายสารอาหารที่เป็นประโยชน์ด้วย ประการต่อมาคือ ต้องให้เวลาในการหมักนานประมาณ 3 เดือนเพื่อให้กระบวนการย่อยสลายมีความสมบูรณ์ จึงสามารถนำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งานหรือทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพสำหรับยางพาราหรือพืชทั่ว ๆ ไป และประการสุดท้าย หากต้องการขยายหัวเชื้อ จะต้องทำการละลายน้ำตาลกับน้ำสะอาดก่อนที่จะใส่หัวเชื้อน้ำหมัก

วัสดุและอุปกรณ์ในการทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพในถังขนาด 60 ลิตร

  1. ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม เช่น ฟักทอง(เอาทั้งเมล็ด), กล้วยน้ำว้า, มะละกอ, สับปะรด(เอาทั้งเปลือก) ให้ทำการสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตามภาพ
  2. น้ำตาลธรรมชาติ เช่น น้ำตาลอ้อย, น้ำตาลมะพร้าว, น้ำตาลโตนดที่ไม่ผ่านการฟอกสีหรือเจือปนด้วยน้ำยากันเสีย หรือใช้กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม
  3. น้ำสะอาด 40 ลิตร ควรเป็นน้ำฝน หากจำเป็นต้องใช้น้ำประปาก็ควรใส่ตุ่มตากแดดเพื่อไล่คลอรีนให้หมดก่อน
  4. ภาชนะหมัก ควรเป็นภาชนะชนิดทึบแสงและมีฝาปิดสนิท ก่อนใช้ควรล้างให้สะอาดและถ้าตากแดดก่อนใช้ก็ยิ่งดี ไม่ควรใช้ภาชนะที่เป็นโลหะเนื่องจากเมื่อใช้ไปนาน ๆ จะถูกกัดจนทะลุได้
  5. ไม้พาย ควรเตรียมไว้ โดยล้างให้สะอาดพร้อมตากแดดก่อนใช้

วิธีทำน้ำหมัก

จุลินทรีย์ชีวภาพ

  1. ใส่น้ำสะอาด 40 ลิตร ลงในถังหมักขนาด 60 ลิตร
  2. ใส่กากน้ำตาล  จำนวน 4 กิโลกรัม ลงในถังหมัก แล้วใช้ไม้พายกวนให้เข้ากัน
  3. ใส่ผลไม้สุก 12  กิโลกรัม ลงในถังหมัก กวนให้พอเข้ากัน (หลักการผสมคือ ผลไม้สุก 3 กิโลกรัม : กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม : น้ำ 10 ลิตร)
  4. หลังจากใส่ส่วนผสมทั้งหมดแล้วควรมีพื้นที่ว่างเพื่อให้มีอากาศอยู่ประมาณ หนึ่งในห้า ของภาชนะ ทำการปิดฝาให้สนิท เขียนป้ายบอกวันที่ผลิต และถังหมักควรอยู่ในที่ร่ม
  5. เมื่อครบ 7 วันให้เปิดฝาถังหมักดู ถ้ามีราขาวเกิดขึ้น พร้อม ๆ กับมีกลิ่นส้มฉุน แสดงว่าการหมักของเราได้ผลดี  แต่ถ้ามีกลิ่นเหม็นบูด และน้ำเป็นสีดำ ให้ทำการเพิ่มน้ำตาลหรือกากน้ำตาลลงไปอีก แล้วปิดฝา (ถ้ามีหนอนเกิดขึ้น ก็ไม่เป็นไร เพราะอาจจะเกิดจากการปิดฝาไม่สนิท ต่อมาหนอนจะตายกลายเป็นอาหารพืชไปเอง)
  6. เมื่อครบกำหนด 3 เดือน ก็เป็นอันเสร็จ ให้กรองเอาเฉพาะน้ำใส ๆ ด้านบนหรือน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพไปใช้งาน โดยต้องผสมน้ำก่อน ตามอัตราส่วน ดังนี้

น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
น้ำหมัก : น้ำ 1: 200 เมื่อนำไปใช้ฉีดพ่นหน้ากรีดหรือหน้ายางเพื่อเพิ่มน้ำยาง(1-2 สัปดาห์ต่อครั้ง)
น้ำหมัก : น้ำ 1: 500 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกไม้ยืนต้น
น้ำหมัก : น้ำ 1:1000 เมื่อนำไปใช้กับจำพวกพืชผัก
น้ำหมัก : น้ำ 1:1 หรือใช้น้ำหมักอย่างเดียว(ให้ทดลองว่าแบบใดได้ผลดีกว่า) เพื่อฉีดพ่นกำจัดวัชพืช
นอกจากนี้ เมื่อหมักครบ 3 เดือนแล้ว ก็สามารถนำไปขยายหัวเชื้อต่อ ได้อีก