การบริหารแบบมีส่วนร่วม 2563

การพัฒนาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

THE DEVELOPMENT OF GUIDELINES FOR THE MANAGEMENT WITH THE TEACHERS' PARTICIPATION IN THE SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE MAHASARAKHAM

  • สุรภพ นาคนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ณภัสวรรณ ธนาพงษ์อนันท์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Abstract

            บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2)เพื่อเสนอแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 318 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมของครู สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ตามขอบข่ายงาน 4 ฝ่าย ได้แก่ การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป สรุปได้ดังนี้ 1)การมีส่วนร่วมในการวางแผน 1.1)ครู มีส่วนร่วมในการรับรู้และเข้าถึงข้อมูลของกิจกรรม 1.2)ครูมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดสรรงบประมาณและทรัพยากร 1.3)ครูมีส่วนร่วมในการแบ่งบทบาทหน้าที่ ภาระงานและมอบหมายผู้รับผิดชอบ 2)การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2.1)ครูได้ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ตามที่ ได้รับมอบหมาย 2.2)ครู มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมด้วยความเต็มใจและเต็มความสามารถ 2.3)ครู มีการบูรณาการการทำงานในทิศทางเดียวกันและมีความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจกรรม 3)การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ 3.1)ครู มีส่วนร่วมการให้ความเห็นชอบโครงการและกิจกรรม 3.2)ครู มีความพึงพอใจในประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน 4)การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและประเมินผล 4.1)ครู มีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน 4.2)ครู มีส่วนร่วมในการสะท้อนผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2543). กรมวิชาการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). กฎกระทรวงกำหนดจำนวนกรรมการคุณสมบัติหลักเกณฑ์และวิธีสรรหาการเลือกประธานกรรมการและกรรมการวาระการดำรงตำแหน่งและการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการในคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทรานี สงวนนาม. (2551). ทฤษฎีและแนวทางในการปฏิบัติการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

นิรุทธ์ นันทมาศวังนรา, ปิย สุดิสุสดี, โนรีณี เบ็ญจวงศ์ และณพัฐธิกา ปิติเลิศศิริกุล. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนกลุ่มเขื่อนบางลางสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 2. วารสารรัชต์ภาคย์. 15(40). 239-248.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

เมตต์ เมตต์การุณจิต. (2553). การบริหารจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วม : ประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.

ศิริรัตน์ ทับเจริญ และพรเทพ รู้แผน. (2554). การนำเสนอแนวทางการริหารแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสวรรค์. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 1(1).49-58.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณพ.ศ.2564. มหาสารคาม : หยกศึกษาภัณฑ์และการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2547).แผนการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : คุรุสภา.

สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4. วารสาร มจร. พุทธปัญญาปริทรรศน์. 5(3). 28-40.

อนุวัฒน์ ติ้งโหยบ และอุไร สุทธิแย้ม. (2564). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนในสหวิทยาเขตเสรีไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วารสารบัณฑิตวิจัย. 12(1). 1-14.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2543). รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาแนวทางการบริหารและจัดการของสถานศึกษาในรูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Main Article Content

ชัยอนันต์ มั่นคง

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 และ 2) ศึกษาแนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 จำนวน 285 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เนื้อหา ได้แก่ ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10 พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และการตั้งเป้าหมาย มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด โดยมีแนวทางดังต่อไปนี้ คือ ผู้บริหารควรมีความพร้อมให้คำปรึกษา ยอมรับฟังความคิดเห็น ของผู้ใต้บังคับบัญชาเสมอ ผู้ใต้บังคับบัญชาควรมีส่วนร่วมในการปรับปรุง พัฒนาเป้าหมายของสถานศึกษา ผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาควรร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานของสถานศึกษาไปในทิศทางทิศทางเดียวกัน เพื่อขจัดความขัดแย้ง  ผู้ใต้บังคับบัญชาควรมีส่วนร่วมในการวางแผนงาน การกำหนดวัตถุประสงค์ การกำหนดเป้าหมาย กลยุทธ์ ของสถานศึกษา

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

แจ่มจำรัส อ., & มั่นคง ช. . (2022). แนวทางการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. วารสารวิจยวิชาการ, 5(3), 205–214. https://doi.org/10.14456/jra.2022.69

การบริหารแบบมีส่วนร่วม 2563

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

1. เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงพิมพ์กับวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นข้อคิดเห็น และความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ

2. บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิจยวิชาการ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิจยวิชาการ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่ง ส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อการกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารวิจยวิชาการก่อนเท่านั้น

References

กัญญาพัชร พงษ์ดี, ไพรภ รัตนชูวงศ์, สุชาติ ลี้ตระกูล, ประเวศ เวชชะ. (2559). กลยุทธ์การบริหารแบบมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการยกระดับคุณภาพผู้เรียนไปโรงเรียนพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(1), 162-179.

ทับทิม แสงอินทร์. (2559). การบริหารแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสรวงสุทธาวิทยา จังหวัดสุพรรณบุรี. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ฤทัยรัตน์ ปัญญาสิมและดวงใจ ชนะสิทธิ์. (2560). การบริหารรวมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9(1), 229-313.

โศภิดา คล้ายหนองสรวง. (2558). การบริหารแบบมีส่วนร่วมทีส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สันติ บุญภิรมย์. (2552). นวัตกรรมการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊ค พอยท์.

สิทธิชัย อุตทาสา และพิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2563). การมีส่วนร่วมของครูในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(3), 30-42.

Cohen, J. M and Uphoff, T. N. (1977). Rural development participation: concepts and measures for project design, implementation and evaluation. New York: Cornell University.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.