อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง หมายถึง

อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (อังกฤษ: Internet of Things) หรือ ไอโอที (IoT) หมายถึงเครือข่ายของวัตถุ อุปกรณ์ พาหนะ สิ่งปลูกสร้าง และสิ่งของอื่นๆ ที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ เซ็นเซอร์ และการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ฝังตัวอยู่ และทำให้วัตถุเหล่านั้นสามารถเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้[1] อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งทำให้วัตถุสามารถรับรู้สภาพแวดล้อมและถูกควบคุมได้จากระยะไกลผ่านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายที่มีอยู่แล้ว[2] ทำให้เราสามารถผสานโลกกายภาพกับระบบคอมพิวเตอร์ได้แนบแน่นมากขึ้น ผลที่ตามมาคือประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เพิ่มมากขึ้น[3][4][5][6][7][8] เมื่อ IoT ถูกเสริมด้วยเซ็นเซอร์และแอคชูเอเตอร์ซึ่งสามารถเปลี่ยนลักษณะทางกลได้ตามการกระตุ้น ก็จะกลายเป็นระบบที่ถูกจัดประเภทโดยทั่วไปว่าระบบไซเบอร์-กายภาพ (cyber-physical system) ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีอย่าง กริดไฟฟ้าอัจริยะ (สมาร์ตกริด) บ้านอัจฉริยะ (สมาร์ตโฮม) ระบบขนส่งอัจฉริยะ (อินเทลลิเจนต์ทรานสปอร์ต) และเมืองอัจฉริยะ (สมาร์ตซิตี้) วัตถุแต่ละชิ้นสามารถถูกระบุได้โดยไม่ซ้ำกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ฝังตัว และสามารถทำงานร่วมกันได้บนโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าเครือข่ายของสรรพสิ่งจะมีวัตถุเกือบ 50,000 ล้านชิ้นภายในปี 2020[9] มูลค่าตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 80 พันล้านเหรียญ[10]

อินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง หมายถึง
"อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง" เชื่อมต่ออุปกรณ์และพาหนะด้วยเซ็นเซอร์อิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ต

"สรรพสิ่ง" ในความหมายของ IoT สามารถหมายถึงอุปกรณ์ที่แตกต่างหลากหลาย เช่น อุปกรณ์วัดอัตราหัวใจแบบฝังในร่างกาย แท็กไบโอชิปที่ติดกับปศุสัตว์ ยานยนต์ที่มีเซ็นเซอร์ในตัว อุปกรณ์วิเคราะห์ดีเอ็นเอในสิ่งแวดล้อมหรืออาหาร[11] หรืออุปกรณ์ภาคสนามที่ช่วยในการทำงานของนักผจญเพลิงในภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ[12] อุปกรณ์เหล่านี้จะจัดเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้วยการใช้เทคโนโลยีหลากหลายชนิดและจากส่งต่อข้อมูลระหว่างอุปกรณ์อื่นๆ โดยอัตโนมัติ[13][14] ตัวอย่างในตลาดขณะนี้ เช่น เทอร์โมสตัตอัจฉริยะ และเครื่องซักผ้า-อบผ้าที่ต่อกับเครือข่ายไวไฟเพื่อให้สามารถดูสถานะจากระยะไกลได้

รายการต่อไปนี้แสดงรายชื่อประเทศตามจำนวนอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งที่ออนไลน์อยู่ ต่อประชากร 100 คน ตามที่เผยแพร่โดย OECD ในปี 2015[15]

คุณกำลังอ่านโพสต์นี้อย่างไร? คุณอาจจะอ่านมันผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือผ่านหน้าจอแท็บเล็ต แต่ไม่ว่าคุณจะใช้อุปกรณ์ชนิดใด อุปกรณ์นั้นๆส่วนใหญ่จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตนั้นถือว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์ ด้วยประโยชน์มากมายที่เราได้รับซึ่งเราต่างไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้มาก่อน ถ้าคุณอยู่ในช่วงวัยที่โตพอระดับหนึ่ง ลองย้อนกลับไปนึกถึง โทรศัพท์มือถือ ที่คุณเคยใช้ก่อนที่จะกลายเป็นมือถือแบบสมาร์ทโฟน แน่นอนว่าคุณสามารถโทรและส่งข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือได้ในยุคก่อนหน้านี้ แต่มาตอนนี้คุณสามารถอ่านหนังสือ ดูภาพยนตร์ หรือแม้กระทั่งฟังเพลงผ่านอุปกรณ์ที่คุณกำลังถืออยู่ และนั่นเป็นเพียงแค่บางส่วนที่โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสามารถทำได้

“อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” หรือ “Internet of Things (IoT)” ถือเป็นแนวคิดที่ค่อนข้างเรียบง่าย ซึ่งหมายถึงการรวบรวมทุกสรรพสิ่งในโลกมาเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต

ผมคิดว่าความสับสนที่มีเกี่ยวกับ IoT นั้น มิได้เกิดจากแนวคิดที่ค่อนข้างแคบและไม่อาจถูกตีความออกไปได้เป็นวงกว้าง แต่เกิดจากแนวคิดที่กว้างเกินไปต่างหาก ที่ถูกนำไปตีความจนเกินขอบเขตแนวคิด ฉะนั้นอาจจะเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับ IoT เพราะมีตัวอย่างและโอกาสมากมายที่สามารถดำเนินการผ่าน IoT ได้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น มันจึงสำคัญมากที่จะต้องทำความเข้าใจถึงคุณประโยชน์ในการเชื่อมต่อสรรพสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ตและเหตุผลที่เราต้องเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ต

ความสำคัญของ IoT ในอนาคต

เมื่ออุปกรณ์ใดๆถูกเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตแล้ว อุปกรณ์นั้นๆจะสามารถส่งหรือรับข้อมูลหรืออาจทำได้ทั้งสองอย่าง ด้วยความสามรถทั้งส่ง และ/หรือ รับข้อมูลต่างๆนั้นทำให้อุปกรณ์มีความอัจฉริยะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี

ลองมาเทียบกับสมาร์ทโฟนที่เราถืออยู่ตอนนี้อีกครั้ง ตอนนี้คุณสามารถฟังเพลงได้ทุกเพลงบนโลกใบนี้ แต่ไม่ได้หมายความว่าโทรศัพท์ของคุณจะบรรจุเพลงทุกเพลงบนโลกนี้เอาไว้ แน่นอนว่าเพลงพวกนั้นถูกจัดเก็บไว้ตามที่ต่างๆ แต่โทรศัพท์ของคุณมีหน้าที่เพียงส่งข้อมูล (เพื่อขอเพลง) และทำการรับข้อมูล (เล่นเพลงผ่านโทรศัพท์มือถือ)

ด้วยความอัจฉริยะของอุปกรณ์ที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน อุปกรณ์ของเราจึงไม่จำเป็นต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่หรือใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงในการจัดเก็บ สิ่งที่เราต้องทำคือ เชื่อมต่ออุปกรณ์ของเราเข้ากับอุปกรณ์จัดเก็บหรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงผ่านอินเตอร์เน็ต

IoT หมายถึงการเชื่อมต่อทุกสิ่งเข้ากับอินเตอร์เน็ต ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็นสามรูปแบบหลักๆ:

  1. สิ่งที่รวบรวมจัดเก็บข้อมูลและทำการส่งข้อมูลออกไป
  2. สิ่งที่รับข้อมูลและนำข้อมูลไปประเมินผล
  3. สิ่งที่ทำได้ทั้งสองอย่าง (รวบรวมจัดเก็บข้อมูล และ ประเมินผลข้อมูลเอง)

โดยทั้งสามรูปแบบนี้สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่กันได้อย่างมหาศาล

  1. จัดเก็บข้อมูลและส่งต่อข้อมูล

ในส่วนนี้หมายถึงอุปกรณ์ sensor โดยที่อาจจะเป็นได้ทั้ง sensor ตรวจวัดอุณหภูมิ sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหว sensor ตรวจวัดคุณภาพอากาศ sensor ตรวจวัดแสง และอื่นๆอีกมากมาย ซึ่ง sensor ดังกล่าวเมื่อถูกนำไปเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตแล้ว จะทำให้เราสามารถจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมได้อย่างอัตโนมัติและรวดเร็ว จึงทำให้เราตัดสินใจได้คล่องแคล่วว่องไวขึ้น

ในส่วนของการเกษตร 4.0 ข้อมูลเกี่ยวกับความชื้นในดินที่ได้รับมาอย่างอัตโนมัตินั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เกษตรกรได้ทราบถึงช่วงเวลาที่ต้องทำการรดน้ำผลผลิตของตน แทนที่จะสิ้นเปลืองน้ำในการรดน้ำเป็นปริมาณมากๆ (ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนทางชลประทานที่มากเกินควรและเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรทางธรรมชาติ) หรือแทนที่การรดน้ำในปริมาณที่น้อยจนเกินไป (ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียผลผลิตและรายได้เป็นจำนวนมาก) เมื่อนำเทคโนโลยี IoT และ sensor ตรวจวัดค่าเหล่านี้มาใช้ เกษตรกรจะสามารถมั่นใจได้ว่าผลผลิตของตนนั้นได้รับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

เปรียบเสมือนประสามสัมผัสของเรา ไม่ว่าจะเป็นทั้ง การมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส และการลิ้มรส ที่ทำให้มนุษย์ได้สัมผัสกับโลก อุปกรณ์ sensor IoTเองก็ทำให้เครื่องจักรสามารถสัมผัสกับโลกได้เช่นเดียวกัน

  1. รับข้อมูลและนำข้อมูลไปใช้

เราทุกคนต่างคุ้นชินกับการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรในการรับข้อมูลและนำเอาข้อมูลไปใช้ เช่นเครื่องพิมพ์เอกสารที่รับข้อมูลเอกสารจากคอมพิวเตอร์หรือมือถือของเราและทำการพิมพ์ออกมาบนกระดาษ รถยนต์ของคุณที่รับสัญญาณจากรีโมตกุญแจและปลดล็อคประตูรถยนต์ของเรา และตัวอย่างอื่นๆอีกมากมาย

ถึงแม้ว่ามันจะง่ายในการส่งข้อมูลคำสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆทำงาน หรือข้อมูลที่ซับซ้อนอย่างการสั่งพิมพ์แม่แบบ 3 มิติไปยังเครื่องพิมพ์ เราต่างรู้กันดีว่าเราสามารถสั่งให้เครื่องจักรทำงานได้ แม้จะอยู่ห่างออกไป

ไม่เพียงเท่านี้ประสิทธิภาพที่แท้จริงของ IoT จะเกิดขึ้นเมื่ออุปกรณ์สามารถรวบรวมข้อมูลที่ได้รับจาก sensor ต่างๆและนำเอาข้อมูลเหล่านี้ไปประเมินผล

  1. ดำเนินการได้ทั้งสองรูปแบบ (รวบรวมจัดเก็บข้อมูล และ ประเมินผลข้อมูลเอง)

ลองย้อนกลับไปดูตัวอย่างในภาคการเกษตร 4.0 ตัวอุปกรณ์ sensor ที่สามารถตรวจวัดค่าความชื้นในดินได้อย่างเดียวนั้น จะสามารถเตือนให้เกษตรกรทำการรดน้ำเมื่อความชื้นลดลง แต่เมื่ออุปกรณ์ IoT สามารถตรวจวัดค่าความชื้นใต้ดินไปพร้อมกับกับประเมินผลเองและส่งข้อมูลไปที่ระบบรดน้ำ IoT ระบบรดน้ำก็จะทำการรดน้ำโดยอัตโนมัติตามปริมาณความชื้นที่ต้องการโดยที่เกษตรกรไม่จำเป็นต้องออกไปทำการรดน้ำเอง ซึ่งเป็นการประหยัดทั้งค่าแรงและค่าน้ำ

นอกเหนือจากนี้ เรายังสามารถพัฒนาอุปกรณ์ให้ก้าวหน้าต่อไปได้ ยกตัวอย่างเช่น หากระบบรดน้ำ IoT ได้รับข้อมูลสภาพอากาศจากการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตและรับรู้ว่าภายในอีก 1 ชั่วโมงฝนจะตกหนัก ระบบรดน้ำ IoT ก็จะตัดสินใจได้ว่าไม่ต้องทำการรดน้ำผลผลิต เนื่องจากผลผลิตเหล่านั้นจะได้รับน้ำจากฝน ซึ่งจะสามารถป้องกันไม่ให้เกษตรกรสูญเสียผลผลิตจากปริมาณน้ำที่มากเกินไปอีกด้วย

ไม่เพียงเท่านี้ ข้อมูลทั้งหมดที่รวบรวมเกี่ยวกับความชื้นในดินและปริมาณน้ำที่ใช้ ก็สามารถนำมาเทียบกับอัตราการเติบโตของผลผลิตได้ โดยข้อมูลอาจถูกส่งไปในคอมพิวเตอร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลว่าความชื้นอยู่ระดับใดและปริมาณน้ำมากน้อยแค่ไหนที่จะส่งผลให้ได้รับผลผลิตมากที่สุด

ซึ่งสิ่งที่กล่าวมาก่อนหน้านี้เป็นเพียงตัวอย่างในการใช้งาน sensor ตรวจวัดความชื้นใต้ดินอย่างเดียว ยังไม่รวมถึง sensor ประเภทอื่นๆเช่น sensor ตรวจวัดแสง ตรวจคุณภาพอากาศ ตรวจวัดอุณหภูมิ และประเภทอื่นๆอีกมากมายที่เรายังไม่รับรู้ถึงความสามารถ

สรุปความหมายของ IoT

IoT คืออะไร: อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Thing) หรือคำย่อคือ IoT คือการเพิ่มประสิทธิภาพของอินเตอร์เน็ตที่เหนือกว่าการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สมาร์ทโฟนไปยังวัตถุอื่นๆและสิ่งแวดล้อม โดยที่การถูกเชื่อมต่อผ่านเทคโนโลยี IoT นั้นดำเนินการเพื่อรวบรวมจัดเก็บข้อมูล ส่งข้อมูลออกไป หรือทั้งสองรูปแบบ

เหตุใด IoT จึงสำคัญ: IoT จะช่วยให้ภาคธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปได้รับทราบข้อมูลเชิงลึกและสามารถควบคุมข้อมูลของวัตถุและสิ่งแวดล้อมได้ถึงร้อยละ 99 ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการเข้าถึงผ่านอินเตอร์เน็ต และนอกจากนั้น IoT ยังช่วยให้ภาคธุรกิจและผู้คนได้เชื่อมต่อเข้ากับโลกและสภาพแวดล้อมรอบตัว อีกทั้งยังสามารถทำงานหรือดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องแคล่วมากขึ้น