ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน

ก่อนตัดสินใจกู้เงิน นอกจากต้องดูคุณสมบัติต่างๆ ของเราเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถกู้ผ่านแล้ว ประเด็นสำคัญหนึ่งที่ต้องถามตัวเอง คือ จ่ายไหวหรือเปล่า เพราะเมื่อกู้เงินแล้วก็ต้องอยู่ในฐานะ “ลูกหนี้” และต้องจ่ายหนี้ ซึ่งเป็นกฏเหล็กของลูกหนี้ที่ต้องปฏิบัติ แต่เมื่อถึงเวลาจ่ายหนี้แล้ว ลูกหนี้กลับไม่ยอมจ่าย เจ้าหนี้ก็มีสิทธิที่จะทวงเงินคืนหรือจ้างตัวแทนที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงหนี้


แน่นอนว่าไม่มีลูกหนี้คนไหนที่อยากเบี้ยวหนี้ เพราะนอกจากจะเสียประวัติเรื่องเครดิต อาจจะโดนตามทวงหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างไรก็ตาม หากเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แม้ว่าจะเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ ก็มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม เช่น เจ้าหนี้ต้องทวงหนี้เฉพาะเวลาที่กำหนด คือ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลาแปดโมงเช้าถึงสองทุ่มเท่านั้น


นอกจากนี้ ผู้ที่มีหน้าที่ทวงหนี้ต้องใช้วิธีการและพูดด้วยคำสุภาพ แสดงตัวเมื่อติดตามทวงถามหนี้ ห้ามใช้คำข่มขู่ ใช้กำลัง หรือทวงหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม เช่น เรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายเกินกว่าอัตราที่กำหนด เป็นต้น


สำหรับฝ่ายลูกหนี้ ถ้ารู้ตัวว่ากำลังเริ่มจ่ายหนี้ไม่ไหวและมีโอกาสโดนทวงหนี้ ก่อนอื่นต้องตั้งสติ และท่องให้ขึ้นใจว่า “ต้องเป็นลูกหนี้ที่ดี” 

ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน

1. อย่ากลัวการทวงหนี้

เมื่อฝ่ายติดตามทวงถามหนี้โทรศัพท์มาทวงหนี้ ฝ่ายลูกหนี้อย่าพูดคุยด้วยเสียงสั่นเครือ หรือใช้น้ำเสียงจนทำให้อีกฝ่ายรู้สึกว่ากำลังหวาดกลัว แต่ต้องกล้าคุย เพื่อแสดงความมั่นใจ พร้อมรับมือ เพราะอย่าลืมว่าการเป็นหนี้เป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา


ถ้าลูกหนี้ถูกฝ่ายติดตามทวงหนี้ข่มขู่ว่า “ถ้าไม่จ่ายหนี้จะจับเข้าคุก” ก็ให้ตอบกลับไปว่า “หนี้สินเป็นคดีแพ่ง ไม่ใช่คดีอาญา” นั่นหมายความว่า ฝ่ายเจ้าหนี้ไม่สามารถพาตำรวจมาจับได้ แสดงให้ฝ่ายติดตามหนี้เข้าใจว่าฝ่ายลูกหนี้รู้กฎหมายดี ทำให้เวลาจะพูดอะไรต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย


2. ถามให้ชัดเจน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเมื่อลูกหนี้ได้รับโทรศัพท์จากฝ่ายติดตามทวงหนี้ก็จะรอตอบคำถาม แต่ความจริงแล้วลูกหนี้ต้องเป็นฝ่ายตั้งคำถามก่อน เริ่มจากถามชื่อนามสกุล สถานที่ทำงานและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ติดตามทวงหนี้


จากนั้นให้ตั้งคำถามลึกลงไป เช่น ตอนนี้ทราบหรือไม่ว่าลูกหนี้ได้จ่ายหนี้ไปแล้วเท่าไหร่ ยังมีหนี้คงเหลืออยู่เท่าไหร่ คิดดอกเบี้ยอย่างไร ถ้าจ่ายตอนนี้จะโดนปรับดอกเบี้ยร้อยเท่าไรต่อปี เป็นต้น


การตั้งคำถามลักษณะนี้จะทำให้ฝ่ายติดตามทวงหนี้รู้สึกว่าลูกหนี้รู้ลึกรู้จริงและเข้าใจกฎกติกามารยาทในการทวงหนี้ ที่สำคัญไม่ทำให้เกิดการข่มขู่หรือใช้ถ้อยคำรุนแรงในการทวงหนี้ 

ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน

3. บันทึกเสียง

ก่อนลูกหนี้จะตอบคำถามฝ่ายติดตามทวงหนี้ อย่าลืมขออนุญาตบันทึกเสียงด้วยคำพูดสุภาพ เพราะหากมีปัญหา เช่น โดนข่มขู่ก็สามารถใช้เสียงที่บันทึกให้เป็นประโยชน์ในการตรวจสอบได้


4. รับโทรศัพท์ทุกครั้ง

 เป็นเรื่องปกติที่ลูกหนี้มักไม่ชอบให้ฝ่ายเจ้าหนี้โทรศัพท์มาทวงถามหนี้ หรือเมื่อเจ้าหนี้โทรมาก็ไม่รับหรือรับแล้วก็บอกว่ายังไม่สะดวก เดี๋ยวโทรกลับ แต่สุดท้ายก็เงียบหาย


ความจริงแล้ว ถ้าลูกหนี้ต้องการแสดงความจริงใจ ควรรับโทรศัพท์ฝ่ายเจ้าหนี้ทุกครั้ง ขณะเดียวกันต้องอธิบายด้วยเหตุผลและบอกความจริงถึงปัญหาที่ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด หากทำแบบนี้จะนำไปสู่การหาทางออกร่วมกันได้    


5. ชิงโทรศัพท์ไปหาเจ้าหนี้ก่อน

เมื่อมีสัญญาณว่าจะไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามกำหนด เพื่อแสดงความจริงใจก็ควรติดต่อไปหาเจ้าหนี้พร้อมอธิบายเหตุผลและสัญญาว่าจะจ่ายหนี้วันไหน วิธีการนี้นอกจากจะแสดงออกถึงความรับผิดชอบแล้วยังเป็นการสร้างสัมพันธ์ที่ดี อาจทำให้เจ้าหนี้ผ่อนผันการชำระหนี้ได้อีกด้วย

ในสถานการณ์วิกฤตอย่างกรณีโควิด-19 หลายคนอาจมีปัญหาการเงินแบบชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะรายได้ลดลง บางคนอาจถึงขั้นขาดรายได้ไปเลย ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และประหยัดกันให้มากขึ้น สำหรับใครที่มีหนี้ต้องจ่าย ก็อย่าเพิ่งหมดหวัง เพราะสามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ การคิดว่า ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย อาจทำให้เรื่องบานปลายจนถึงขั้นถูกยึดทรัพย์สิน และเสียประวัติเครดิตไปเลยก็เป็นได้

การขอปรับโครงสร้างหนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ไม่ผิดนัดชำระ และรักษาทรัพย์สินไว้ได้ โดยในเว็บไซต์ของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แนะนำการปรับโครงสร้างหนี้ไว้ 4 แบบ แต่ละแบบก็เหมาะกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป

ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน

1. จ่ายไหว แต่อยากประหยัดรายจ่ายที่เป็นดอกเบี้ยลง

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เปลี่ยนประเภทหนี้ จากสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงเป็นสินเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำลง โดยการเปลี่ยนประเภทหนี้ในลักษณะนี้ ต้องมั่นใจว่าจะสามารถชำระคืนตามงวดที่กำหนดได้ ซึ่งบางกรณีอาจต้องจ่ายหนี้แต่ละงวดมากขึ้น หรือน้อยกว่าขั้นต่ำที่เคยจ่าย ขึ้นอยู่กับยอดค้างจ่าย และระยะเวลาการชำระคืนที่ได้รับอนุมัติมาใหม่
     
  • รีไฟแนนซ์ โดยการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้รายเดิมแล้วย้ายไปขอกู้กับเจ้าหนี้รายใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งหนี้บ้าน หนี้บัตรเครดิต หนี้บัตรกดเงินสด แต่การรีไฟแนนซ์จะมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนเจ้าหนี้ด้วย เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าทำประกันใหม่ ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้รายเดิมตามสัญญา ซึ่งต้องคำนวณให้ดีว่าเปลี่ยนแล้วคุ้มกับอัตราดอกเบี้ยใหม่ที่ลดลงหรือไม่

 

2. จ่ายได้ไม่เต็มจำนวนที่ถูกเรียกเก็บ หรือจ่ายไม่ได้ตามสัญญา

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • ขอลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่จ่าย เหมาะกับคนที่รายรับลดลงชั่วคราว เช่น 3 - 6 เดือน  เพราะสถาบันการเงินมักลดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรือ 6 เดือน

  • ขอพักชำระเงินต้น เหมาะสำหรับคนที่รายรับลดลงชั่วคราวเช่นเดียวกัน ซึ่งสถาบันการเงินมักจะพักชำระเงินต้นให้ประมาณ 3 – 12 เดือน โดยลูกหนี้จ่ายเฉพาะส่วนที่เป็นดอกเบี้ย แต่การพักชำระเงินต้นอาจทำให้ภาระหนี้ช่วงหลังจากพักชำระเพิ่มขึ้น หรืออาจต้องขยายเวลาการชำระหนี้ เนื่องจากต้องนำเงินต้นที่พักชำระไปจ่ายในช่วงหลังการพักชำระเงินต้นด้วย ทำให้อาจจะมีภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากยอดเงินต้นไม่ได้ลดลงตามกำหนดเวลาเดิม ดังนั้นต้องตกลงกับสถาบันการเงินหรือดูเงื่อนไขด้วยว่า หลังสิ้นสุดการพักชำระเงินต้นแล้ว จะต้องจ่ายคืนอย่างไร โดยต้องดูความสามารถในการชำระคืนของตัวเราประกอบด้วย

  • ขอลดอัตราผ่อนและขยายเวลาชำระหนี้ เหมาะกับคนที่รายรับลดลงในระยะยาว เช่น เปลี่ยนงานใหม่ที่รายรับน้อยกว่าเดิม ทำให้ไม่สามารถจ่ายหนี้ในจำนวนเท่าเดิมได้ ยิ่งขยายเวลานาน ยิ่งต้องจ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น แม้จำนวนผ่อนต่อเดือนจะลดลงก็ตาม ดังนั้นควรขอขยายเท่าที่จ่ายไหวและใช้เวลาน้อยจะดีกว่า

ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน

3. มีเงินก้อนแต่ไม่พอปิดหนี้ทั้งหมด

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ ดังนี้

  • เจรจาขอส่วนลด เพื่อจ่ายทั้งหมดแบบปิดบัญชีด้วยเงินก้อน เช่น มียอดหนี้คงค้าง 120,000 บาท ขอลดเหลือ 100,000 บาท  หากตกลงกันได้ด้วยวิธีนี้ ก็จะทำให้หมดหนี้ทันที แต่การปิดจบด้วยเงินก้อน มักมีเงื่อนไขว่าจะต้องจ่ายให้ครบภายในเวลาที่กำหนด เช่น 1 – 6 งวด หากไม่มั่นใจว่าจะจ่ายได้ทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด ให้พิจารณาทางเลือกอื่นแทน

 

4. จ่ายไม่ไหวเลย

สามารถขอปรับโครงสร้างหนี้ด้วยการ

  • ขอพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น 3 เดือน หรือ 6 เดือน เมื่อครบกำหนดแล้ว ค่อยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยในช่วงที่พักไป (ดอกเบี้ยยังคงเดินอยู่ตลอดเวลาที่พักชำระ) ซึ่งอาจจะขอเจรจาเป็นการขยายเวลาการชำระหนี้ เฉลี่ยผ่อนชำระตามงวดที่เหลือ หรือชำระคืนเงินต้นที่พักชำระทั้งหมดคราวเดียวในงวดสุดท้ายก็ได้


การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นการเปลี่ยนเงื่อนไขการจ่ายหนี้เพื่อให้ยังสามารถจ่ายหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ จึงต้องดูความสามารถในการชำระคืนประกอบด้วย หากเงื่อนไขใหม่ที่ได้มาก็ยังเกินความสามารถในการจ่ายคืน ให้เลือกเจรจากับสถาบันการเงินอีกครั้ง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจ่ายหนี้ไม่ได้อีก และการปรับโครงสร้างหนี้อีกครั้งอาจทำได้ยากขึ้น ทั้งนี้การปรับโครงสร้างหนี้แต่ละแบบที่กล่าวมาข้างต้น ก็มีผลแตกต่างกันต่อประวัติในเครดิตบูโร จึงต้องสอบถามสถาบันการเงินในประเด็นนี้ด้วย ก่อนตัดสินใจ


ที่มา: ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย

ค้าง จ่าย สินเชื่อ ส่วน บุคคล 3 เดือน