รายงานสถานการณ์โรค ncds 2563

  • รายงานสถานการณ์โรค ncds 2563

สถิติกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable diseases) 

สถิติโลก

  • องค์การอนามัยโลกได้ทำนายไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจโดยร้อยละ 85 อยู่ใน ประเทศกำลังพัฒนา
  • 17.5 ล้านคนของประชากรทั้งโลกในปี 2005 เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่ง 80% อยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและเป็นประชากรกลุ่ม วัยแรงงาน
  • ประชากรโลกเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 17 ล้านคน หรือ คิดเป็น 48% ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง 21% โรคถุงลมโป่งพอง รวมโรคปอดเรื้อรังและหอบหืด 12% (4.2 ล้านคน) และ โรคเบาหวาน 4% (1.3 ล้านคน)

สถิติประเทศไทย

  • ประเทศไทยมีภาระจากกลุ่มโรค NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตถึง 300,000 กว่ารายในปี พ.ศ. 2552 หรือ คิดเป็น 73% ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจาก กลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลก
  • ผลการสำรวจในปี พ.ศ. 2552 กับกลุ่มเป้าหมายประชากรไทยวัยผู้ใหญ่ พบว่า 21.4% เป็นโรคความดันโลหิตสูง และที่น่าเป็นห่วงคือ อัตราการรับรู้ว่า ตนเองเป็นโรคความดันโลหิตสูง อัตราการเข้าถึงบริการ และอัตราการควบคุม โรคความดันโลหิตสูงได้นั้นค่อนข้างต่ำ 6.9% (3.2 ล้านคน) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อัตราการควบคุมได้ในกลุ่ม ผู้ที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอยู่ในเกณฑ์ไม่น่าพอใจ โดยเฉพาะประชากร ชายที่มีน้ำตาลในเลือดสูง พบว่า 56.7% ที่รู้ตัว และมีเพียง 27.1% ที่สามารถ ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดได้ 19.4% หรือเกือบ 9 ล้านคน มีภาวะไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โดยผู้หญิงมี ความชุกมากกว่าผู้ชาย
  • ปี 2552 ประชากรไทยเกือบ 1 ใน 3 เข้าข่ายภาวะน้ำหนักเกิน ส่วนอีก 8.5% เข้าข่ายโรคอ้วน
  • ข้อมูลการสำรวจสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของคนไทยที่อายุ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วนในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ในชาย เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ปี 2535-2552) ถึง 4 เท่า

Page Content

รายงานสถานการณ์โรค ncds 2563

​สสส. ผนึกสำนักงานสถิติแห่งชาติ ลง​นามความร่วมมือทางวิชาการ
สำรวจพฤติกรรมสุขภาพคนไทย ปี 2564

​ปูพรมเอกซเรย์ 4 พฤติกรรมเสี่ยง “สูบบุหรี่-บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์-กินอาหารที่ไม่เหมาะสม-ขาดกิจกรรม
ทางกาย”ทุกจังหวัด หาต้นตอลดพฤติกรรมเสี่ยงสุขภาพ สู้ NCDs

          เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) และภาคีเครือข่าย ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือทางวิชาการ ข้อมูล และการสนับสนุนทางเทคนิค การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า การดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สสส. สสช.และภาคีเครือข่ายในการพัฒนาโครงการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของประชากร พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลที่จำเป็น สำหรับประเมินสถานการณ์กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases; NCDs) ของคนไทย โดยศึกษาความชุกจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม การขาดกิจกรรมทางกาย ร่วมกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทางเศรษฐกิจและสังคมในครัวเรือนจากกลุ่มตัวอย่าง ทุกจังหวัดของประเทศไทย โดย สสส. สนับสนุนด้านวิชาการ และงบประมาณในการดำเนินงานของโครงการ ซึ่งเป็น การดำเนินงานพัฒนาระบบฐานข้อมูลปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ภายใต้ยุทธศาสตร์การทำงานด้าน NCDs ของ สสส. “ฐานข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพ มีความสำคัญ และจำเป็นในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพ เพราะช่วยให้รู้สาเหตุพฤติกรรมของคนไทย เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อกลุ่มโรค NCDs ในทุกระดับ ทั้งระดับโลก ประเทศ และระดับพื้นที่ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา กลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของคนไทย จากรายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562 โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรค NCDs ราวปีละ 4 แสนราย หรือวันละไม่ต่ำกว่า 1,000 ราย คิดเป็น 3 ใน 4 ของการเสียชีวิต ของทั้งหมดของประเทศ และครึ่งหนึ่งเป็นการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร กลุ่มโรค NCDs ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงกว่า โควิด-19 หลายเท่า” ดร.สุปรีดา กล่าว นางสาววันเพ็ญ พูลวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวถึงสาระสำคัญของบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ว่า สสช. และ สสส. เห็นชอบตรงกันถึงประโยชน์ต่อการดำเนินการตามภารกิจทั้งสองหน่วยงาน จึงได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ข้อมูล และการสนับสนุนทางเทคนิคฉบับนี้ โดยสสช. รับผิดชอบบริหารจัดการ ในการดำเนินงานสำรวจทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ในการให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานภายในกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จบรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากนี้ สสช. ยังได้ตกลงให้ สสส. ใช้ข้อมูลจากสำมะโนและสำรวจที่จัดทำ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จัดเก็บและจัดทำในรูปแบบของข้อมูลที่ไม่เปิดเผยให้รู้ตัวบุคคลหรือข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์แก่ สสส. ในการวิเคราะห์และติดตามภาวะสังคมของประเทศ นางสาววันเพ็ญ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน​ สสช. สามารถใช้ข้อมูลของ สสส. และภาคีเครือข่ายตามที่ได้ตกลงร่วมกัน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ สสส. ได้จัดเก็บและจัดทำในรูปแบบของข้อมูลที่ไม่เปิดเผยให้รู้ตัวบุคคลหรือข้อมูลที่มิใช่ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงการให้บริการและการบริหารจัดการตามภารกิจของ สสช. ทั้งนี้ การนำข้อมูลไปใช้วิเคราะห์ อ้างอิง รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนในเชิงสถิติหรือเชิงวิชาการไม่ว่าจะอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง สสช. และ สสส. จะเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะภาพรวมเพื่อประโยชน์ทางด้านวิขาการเท่านั้น โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่สามารถระบุตัวบุคคล ทั้งนี้เพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และองค์กรต่างๆ ทั้งนี้ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชาชน จะนำเสนอสรุปผลสำคัญได้ภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564  

*********************************

รายงานสถานการณ์โรค ncds 2563