ตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ผ่าน

เผยขั้นตอนการตรวจสภาพรถยนต์และรถจักรยานยนต์ก่อนไปเสียภาษี มาดูกันว่าต้องตรวจอะไรบ้าง รวมถึงเอกสารและค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้

ตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ผ่าน

ใครที่มีรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ สิ่งแรกก่อนที่จะนำรถของท่านไปต่อภาษี 2566 คือการนำรถไปตรวจสภาพตามข้อบังคับกฎหมาย เพื่อให้ได้ใบรับรองการตรวจสภาพรถที่พร้อมใช้งาน ไม่เกิดปัญหาในระหว่างการขับขี่ สำหรับไปยื่นทำเรื่องต่อภาษีรถยนต์ประจำปี วันนี้เรารวบรวมข้อมูลสำหรับการตรวจสภาพรถ ว่าจะต้องตรวจเช็กอะไรบ้าง สามารถไปตรวจได้ที่ไหน และมีราคาเท่าไหร่ ไปดูกันเลย

การตรวจเช็กสภาพรถประจำปี เป็นการตรวจสอบสภาพของตัวรถให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่และผู้โดยสาร อีกทั้งยังจะช่วยลดความสูญเสียและอุบัติเหตุต่าง ๆ ทั้งที่จะเกิดกับเราและผู้ร่วมทางที่อยู่บนท้องถนน รวมถึงให้เป็นไปตามกฎของกระทรวงตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 ที่ว่าด้วยรถยนต์ที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก จะต้องได้รับการตรวจสภาพรถก่อนจะไปยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี 

อีกทั้งการตรวจสภาพรถประจำปียังได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการ เช่น การซื้อประกัน ไปจนถึงการรักษามูลค่าของตัวรถหากต้องนำไปขายทอดตลาดอีกด้วย

ตรวจสภาพรถ รถประเภทไหนบ้างที่ต้องตรวจ ?

รถกี่ปีต้องตรวจสภาพ รถที่เข้าข่ายต้องได้รับการตรวจสภาพ ต้องนับอายุการใช้งานของรถ โดยให้นับอายุทางทะเบียนตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก ถึงวันสิ้นสุดอายุภาษีประจำปี (วันครบกำหนดเสียภาษีประจำปี) และสามารถนำรถเข้าตรวจสภาพล่วงหน้าได้ 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

  • รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

  • รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปีขึ้นไป

  • รถจักรยานยนต์ ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปีขึ้นไป

เจ้าของรถสามารถนำรถไปตรวจสภาพประจำปีได้ 2 แห่งหลัก ๆ ได้แก่

  • กรมการขนส่งทางบก เจ้าของรถสามารถติดต่อขอตรวจสภาพรถประจำปีที่กรมการขนส่งทางบกได้โดยตรงภายในจังหวัดที่อยู่ใกล้ที่สุด แต่ส่วนมากจะนิยมตรวจสภาพรถยนต์ขนาดใหญ่มากกว่า รวมถึงรถที่มีการดัดแปลงสภาพ เปลี่ยนสีตัวถัง เปลี่ยนเครื่องยนต์ รถที่มีปัญหาเกี่ยวกับเลขตัวรถ หรือเลขเครื่องยนต์ รถที่ขาดต่ออายุทะเบียนเกิน 1 ปี เป็นต้น

  • สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. เป็นสถานตรวจสภาพรถที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก โดยสถานที่นี้จะรับตรวจเช็กสภาพรถให้ตรงตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก และสามารถออกเอกสารการันตีเพื่อใช้ในการต่อภาษีประจำปีได้ 

ตรวจสภาพรถ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

นอกจากต้องนำรถเข้าไปตรวจเช็กแล้ว อีกสิ่งที่ต้องเตรียมด้วยก็คือ ใบคู่มือจดทะเบียนรถ หรือสมุดทะเบียนรถ สามารถใช้ได้ทั้งฉบับจริงและฉบับสำเนา (รถยนต์ : เล่มสีฟ้า / จักรยานยนต์ : เล่มสีเขียว) สำคัญที่สุด เจ้าของต้องนำรถไปตรวจสภาพล่วงหน้าไม่เกิน 3 เดือน ก่อนถึงวันสิ้นอายุภาษีประจำปี

ตรวจสภาพรถมอเตอร์ไซค์ ไม่ผ่าน

ตรวจสภาพรถยนต์ ตรวจอะไรบ้าง ?

ในการตรวจสภาพรถประจำปีสำหรับรถยนต์ จะต้องตรวจสอบให้ตรงกับรายละเอียดที่อยู่ในคู่มือจดทะเบียนรถ รวมถึงความพร้อมของตัวรถ อาทิ

  • ตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลของรถ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นป้ายทะเบียนรถ ลักษณะรถ หมายเลขตัวถัง เลขเครื่องยนต์ 

  • ตรวจสภาพของตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นตัวถัง สี อุปกรณ์เกี่ยวกับความปลอดภัย พวงมาลัย ที่ปัดน้ำฝน ว่าพร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน

  • ตรวจสอบระบบบังคับเลี้ยว  ระบบเบรก ว่ายังใช้งานได้ปกติหรือไม่

  • ทดสอบประสิทธิภาพการเบรก โดยตรวจสอบอุปกรณ์ทุกชิ้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

  • ตรวจสอบวัดโคมไฟหน้า ทิศทางการเบี่ยงเบนของแสง และวัดค่าความเข้มของแสง

  • ตรวจสอบวัดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) ของรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง

  • รถยนต์เครื่องดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยระบบการกรองต้องไม่เกินร้อยละ 50 และระบบความทึบแสงต้องไม่เกินร้อยละ 45

  • การตรวจวัดเสียงรถ ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล

  • สำหรับรถใช้แก๊สนั้นจะต้องมีการตรวจเพิ่มเติม คือ การตรวจ ทดสอบ เช็กตามข้อต่อ ตลอดจนท่อและอุปกรณ์แก๊สทั้งระบบ ว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานหรือไม่ โดยถังแก๊สต้องมีอายุไม่เกิน 10 ปี 

  • รถที่ติดถังแก๊สที่มีอายุเกิน 10 ปี จะมีการตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ต่ออีกหรือไม่ โดยจะพิจารณาจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งว่ามีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานมากน้อยขนาดไหน ซึ่งถ้าตรวจสอบแล้วก็จะออกใบรับรองเพื่อยืดอายุการใช้งานต่อได้อีก 5 ปี ตามกฎหมาย

สำหรับรถยนต์ที่ตรวจสภาพประจำปีแล้ว ก็ต้องมี พ.ร.บ.รถยนต์ แต่ละประเภทควบคู่ไปด้วยสำหรับใช้ในการยื่นต่อภาษีประจำปี โดยราคาของ พ.ร.บ. นั้นก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประเภทของการใช้รถด้วย ถ้าหากเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล ค่า พ.ร.บ.รถยนต์ จะมีราคาดังนี้

  • รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 600 บาท

  • รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 1,100 บาท

  • รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 2,050 บาท

  • รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 3,200 บาท

  • รถส่วนบุคคลเกิน 40 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 3,740 บาท

ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ตรวจอะไรบ้าง ?

  • ตรวจสอบสภาพโดยรวมของรถ ชุดสี ชุดแฟริ่ง กระจกมองหลัง ว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ปกติหรือไม่

  • เช็กระบบไฟส่องสว่าง ทั้งไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรก และไฟเลี้ยว ต้องไม่มีหลอดไฟขาด สามารถส่องสว่างและใช้งานได้ทุกดวง

  • ระบบเสียงแตร เวลากดต้องมีเสียงแตรดังออกมา

  • ระบบเบรก ตรวจเช็กระบบเบรก สามารถหยุดหรือชะลอเบรกได้

  • ค่าไอเสียมลพิษทางอากาศที่ถูกปล่อยว่าเป็นไปตามข้อบังคับหรือไม่

ทั้งนี้ นอกจากตรวจสภาพรถจักรยานยนต์เพื่อต่อภาษีแล้ว เจ้าของรถจักรยานยนต์จำเป็นต้องซื้อ พ.ร.บ. คุ้มครองอุบัติเหตุอีกด้วย ซึ่งเป็นกฎหมายบังคับไว้ ถ้าหากไม่มี พ.ร.บ. ก็ไม่สามารถต่อทะเบียนประจำปีได้ ในส่วนราคาของ พ.ร.บ. จะขึ้นอยู่ตามขนาดเครื่องยนต์ ดังนี้

  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ราคาอยู่ที่ 161.57 บาท

  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 75-125 ซี.ซี ราคาอยู่ที่ 323.14 บาท

  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 125-150 ซี.ซี. ราคาอยู่ที่ 430.14 บาท

  • รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150 ซี.ซี. ขึ้นไป ราคาอยู่ที่ 645.21 บาท

  • รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ราคาอยู่ที่ 323.14 บาท

ตรวจสภาพรถ มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

แน่นอนว่าการตรวจสภาพรถประจำปีจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการตรวจสภาพด้วย โดยราคาตรวจสภาพรถจะแบ่งออกได้ดังนี้

  • รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 150 บาท

  • รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 1,600 กิโลกรัม คันละ 250 บาท

ถ้าหากตรวจสภาพแล้วไม่ผ่าน สามารถนำรถกลับไปแก้ไขให้ได้สภาพตามข้อกำหนด และนำกลับมาตรวจสอบที่เดิมได้ โดยจะเสียค่าใช้จ่ายเพียงครึ่งเดียวของอัตราที่กำหนดเอาไว้ แต่จะต้องนำกลับมาตรวจภายใน 15 วัน หากนำมาตรวจเกินเวลาที่กำหนดต้องชำระเต็มจำนวนอีกครั้งหนึ่ง

รถประเภทไหนที่ไม่สามารถเข้ารับการตรวจสภาพได้ ?

สำหรับรถที่จะไม่เข้าเกณฑ์ ไม่สามารถเข้ารับการตรวจสภาพรถประจำปีที่สถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) จะเป็นกลุ่มรถประเภทดัดแปลงสภาพผิดไปจากที่ได้จดทะเบียนไว้ เช่น เปลี่ยนชิ้นส่วนรถ เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ จนไม่เหลือสภาพเค้าเดิม, ตัวเลขรหัสรถหรือรหัสเครื่องยนต์ชำรุด หรือมีร่องรอยการแก้ไข ขูด ลบ หรือลบเลือนจนไม่สามารถตรวจสอบได้, รถที่ไม่สามารถใช้งานได้ชั่วคราว หรือใช้งานไม่ได้ถาวร, รถที่มีเลขทะเบียนรุ่นเก่า (เช่น กท-00001, กทจ-0001 เป็นต้น), รถที่ถูกโจรกรรมแล้วได้คืน และรถที่ขาดต่อทะเบียนเกิน 1 ปี ซึ่งรถที่เข้าข่ายลักษณะนี้จะต้องนำไปตรวจที่กรมการขนส่งทางบกเท่านั้น 

การตรวจสภาพรถเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อเราจะต้องไปยื่นภาษีรถยนต์ประจำปี ทั้งในแบบไปยื่นด้วยตนเอง หรือจะยื่นต่อภาษีแบบออนไลน์ เพราะถือว่าเป็นข้อบังคับสำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี นอกจากจะช่วยให้รู้ว่ารถของท่านนั้นมีอะไรเสื่อมสภาพบ้าง เพื่อที่จะได้แก้ไขให้กลับมาสมบูรณ์พร้อมใช้อยู่เสมอแล้ว ยังช่วยรักษามูลค่าของรถสำหรับการขายต่อมือสองได้อีกด้วย

ตรวจสภาพรถมอไซยังไงให้ผ่าน

ตรวจสภาพรถจักรยานยนต์ ตรวจอะไรบ้าง ?.
ตรวจสอบสภาพโดยรวมของรถ ชุดสี ชุดแฟริ่ง กระจกมองหลัง ว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ปกติหรือไม่.
เช็กระบบไฟส่องสว่าง ทั้งไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรก และไฟเลี้ยว ต้องไม่มีหลอดไฟขาด สามารถส่องสว่างและใช้งานได้ทุกดวง.
ระบบเสียงแตร เวลากดต้องมีเสียงแตรดังออกมา.

รถมอไซค์ ต้องตรวจสภาพไหม

สำหรับมอเตอร์ไซค์ หรือรถจักรยานยนต์ ถูกกำหนดให้มีการตรวจสภาพรถทุกๆ 5 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน จะต้องได้รับการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีทุกครั้ง โดยรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มีประเภทรถดังนี้ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป

ตรวจสภาพรถไม่ผ่านทำไงดี

หากตรวจสภาพไม่ผ่านต้องทำอย่างไร หลังจากที่บำรุงซ่อมแซมแล้วนำรถเข้าตรวจสภาพใหม่ได้ ควรทำการซ่อมให้เสร็จไม่เกิน 15 วัน หลังจากที่ไม่ผ่านการตรวจสภาพในครั้งแรก เพราะค่าบริการจะลดลงครึ่งหนึ่งจากราคาปกติ แต่ถ้าหากเกิน 15 วันไปแล้ว จะเสียค่าธรรมเนียมอัตราปกติ

ตรวจสภาพรถมอไซค์กี่ปี

สำหรับมอเตอร์ไซค์ หรือรถจักรยานยนต์ ถูกกำหนดให้มีการตรวจสภาพรถทุกๆ 5 ปี นับตั้งแต่วันจดทะเบียน จะต้องได้รับการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีทุกครั้ง โดยรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ มีประเภทรถดังนี้ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี ขึ้นไป