รายการในข้อใดไม่นับเป็นเงินสด

           มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 25 ได้ให้คำนิยามคำว่าเงินสดไว้ดังนี้
เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคารทุกประเภทแต่ไม่รวมเงินฝากประเภทที่ต้องจ่ายคืนเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้
รายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูง ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้และมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าน้อยหรือไม่มีนัยสำคัญ ดังนั้น สิ่งที่เป็นเงินสด จึงได้แก่1. เงินสด ธนบัตร + เหรียญ2. เงินฝากธนาคารที่ถอนได้เมื่อต้องการ เช่น เงินฝากกระแสรายวัน / ออมทรัพย์3. เช็ค ซึ่งลงวันที่ที่ถึงกำหนดแล้ว สามารถนำไปขึ้นเงินได้ เช่น เช็คของลูกค้า เช็คเดินทาง แคชเชียร์เช็ค เช็คไปรษณีย์4. ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ดร๊าฟธนาคาร5. ธนาณัติ

        รายการที่ไม่เป็นเงินสด

1. เช็คลงวันที่ล่วงหน้า2. ดวงตราไปรษณีย์3. เช็คลูกค้าที่ธนาคารคืนมาเนื่องจากหักบัญชีไม่ได้4. เงินมัดจำ5. เงินยืมพนักงาน หรือเงินทดรองจ่าย การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด1. การควบคุมเงินสดรับ- กำหนดระเบียบปฏิบัติภายในกำหนดให้เงินสดรับทุกรายการต้องนำฝากธนาคาร- กำหนดหน้าที่ของผู้ดูแลเงินสดไม่ให้เกี่ยวกับการบันทึกบัญชี
2. การควบคุมเงินสดจ่าย- กำหนดผู้มีอำนาจลงนามในเช็ค- ใช้ระบบเงินสดย่อยกรณีมีรายจ่ายย่อย
3. ตรวจสอบยอดเงินสดในมือกับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด เงินขาดและเกินบัญชี- เกิดจากการตรวจสอบยอดเงินสดคงเหลือในมือไม่เท่ากับยอดคงเหลือในบัญชีเงินสด อาจจะเป็นเงินขาดหรือเกินบัญชี

- เงินขาดบัญชี หมายถึง เงินสดในมือน้อยกว่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด- เงินเกินบัญชี หมายถึง เงินสดในมือมากกว่ายอดคงเหลือบัญชีเงินสด

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด (Internal Control for Cash)

       ในที่นี้จะแยกการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่

        1. การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

        2. การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดจ่าย

        การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดรับ (Internal Control over Cash Receipts)

                เงินสดรับของกิจการมาจากหลายแหล่ง เช่น ค่าขายเงินสด รับชำระเงินสดจากลูกหนี้ ดอกเบี้ยรับ ค่าเช่า

        รับ เงินปันผลรับ เงินลงทุนเพิ่มจากเจ้าของหรือเงินกู้ยืม เป็นต้น การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดรับมีหลักการ

        ปฏิบัติตามตัวอย่างต่อไปนี้

        หลักการ ตัวอย่างการปฏิบัติ

                การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ กำ หนดหน้าที่ของพนักงานในแผนกการเงินให้แน่นอน

โดยเฉพาะทางด้านการรับเงิน โดยแยกพนักงานเป็น 2 คน คือ คนหนึ่งทำหน้าที่รับเงิน ส่วนอีกคนหนึ่ง

ทำหน้าที่บันทึกบัญชี เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจะได้สอบสวนหาผู้รับผิดชอบได้ง่ายขึ้นการแบ่งแยกหน้าที่

ไม่ควรให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งทำหน้าที่เก็บเงินและลงบัญชีด้วย ควรแยกหน้าที่ของพนักงานเก็บเงินและ

        ลงบัญชีต่างหากจากกัน ควรแบ่งแยกหน้าที่การรับเงินและการจ่ายเงินออกจากกัน การบันทึกบัญชีควรแยก

        สมุดเงินสดรับและสมุดเงินสดจ่ายเป็นคนละเล่มกระบวนการใช้เอกสาร เมื่อมีการรับเงินสดต้องมีการออกใบเสร็จรับเงิน

 ซึ่งมีการพิมพ์เล่มที่และเลขที่กำหนดไว้ มีทะเบียนคุม เมื่อใช้ใบเสร็จหมดแล้วให้รวบรวมคืนผู้รับผิดชอบ การใช้

        เครื่องบันทึกเงินสดควรมีเทปบันทึกเงินสดรับจากการขายภายในเครื่องบันทึกเงินสด รายการเกี่ยวกับธนาคารควร

มีใบนำฝากธนาคาร ใบโอนเงินระหว่างธนาคาร และรายงานธนาคารเพื่อการตรวจสอบการใช้เครื่องมือเครื่องจักร

และอุปกรณ์ กิจการควรมีเครื่องบันทึกเงินสดและมีตู้นิรภัยเพื่อใส่เงินสด ในกรณีที่นำฝากธนาคารไม่ทัน มีเครื่องบันทึกเงินสด

        หลักการ ตัวอย่างการปฏิบัติ

                การสอบทานอย่างอิสระ ควรมีการตรวจนับใบเสร็จรับเงินตัวจริงว่าครบตามทะเบียนหรือไม่

การทุจริตมักจะเกิดจากการที่ผู้เบิกใบเสร็จรับเงินไปแล้วไม่นำมาส่งคืน ทำให้เก็บเงินสดจากลูกหนี้และ

นำไปใช้ส่วนตัว ควรมีฝ่ายตรวจสอบภายในของกิจการเป็นหน่วยอิสระขึ้นตรงต่อกรรมการผู้จัดการ

        การควบคุมภายในอื่นๆ พนักงานที่เกี่ยวข้องกับการเงินควรมีการวางเงินค้ำประกับไว้ที่กิจการจำนวนหนึ่ง

ควรมีการหมุนเวียนตำแหน่งพนักงานการเงิน ควรให้พนักงานการเงินหมุนเวียนลาพักร้อน เงินสดที่กิจการได้รับ

มาทุกวันให้นำฝากธนาคารและบันทึกบัญชีทุกวันหรืออย่างช้าในวันรุ่งขึ้น

        การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดที่ได้จากการขายและการรับชำระหนี้

       กิจการจะได้รับเงินสดจาก 2 แหล่งดังนี้

        1. เงินสดรับจากการขายหน้าร้าน (Over-the-Counter Receipts)

        2. เงินสดรับชำระหนี้จากลูกหนี้ (Cash received from Accounts Receivable)

        เงินสดรับจากการขายหน้าร้าน

            เมื่อกิจการเปิดร้านขายสินค้า กิจการได้รับเงินสดจากการขายทุกวัน ดังนั้นกิจการจึงจำเป็นต้องมีการ

        ควบคุมเงินสดจากการขายให้รัดกุม ดังนี้

            1. ควรใช้เครื่องบันทึกเงินสด (Cash Register) โดยกำหนดให้พนักงานนั่งอยู่ประจำเครื่องแต่ละเครื่อง

        เป็นผู้รับผิดชอบจำนวนเงินที่ได้รับแต่ละวันหรือแต่ละผลัด เครื่องบันทึกเงินสดควรแสดงตัวเลขจำนวนเงินให้

        ลูกค้ามองเห็นได้ชัดเจน

           2. เมื่อสิ้นวันหรือสิ้นผลัด (Shift) บุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลพนักงานเก็บเงินซึ่งอาจเป็นหัวหน้า

        ฝ่ายการเงินหรือสมุห์บัญชีจะเป็นผู้ไขกุญแจเปิดเครื่องและนับเงินแล้วทำรายงานเงินสดค่าขายประจำวัน (Dailycash sale report)

          3. บุคคลอีกคนหนึ่งจะนับตัวเงินสดว่าตรงกับตัวเลขในเครื่องบันทึกเงินสดหรือไม่ จากนั้นจะเขียนใบ

        นำฝากและนำเงินสดทั้งหมดที่ได้รับทั้งหมดในวันนั้นฝากธนาคาร พนักงานบัญชีจะใช้รายงานเงินสดค่าขาย

        และใบนำฝากธนาคารเป็นหลักฐานในการลงบัญชีกรณีที่กิจการใช้ใบเสร็จรับเงินหรือใบขาย (Sale Tickets)

โดยจะใช้เครื่องเก็บเงินหรือไม่ใช้ก็ตามตอนสิ้นวันหรือสิ้นผลัด

    การควบคุมควรทำดังนี้

        1. มีการแบ่งงานกันทำระหว่างบุคคล 2 คน ที่ต้องรับผิดชอบในการควบคุม คือ ให้คนหนึ่งนับตัวเงินสด

        ส่วนคนหนึ่งบวกยอดตามสำเนาใบขายหรือใบเสร็จรับเงินทั้งหมด โดยต่างคนต่างทำ เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาเทียบ

        กันว่าตรงกันหรือไม่ ผู้บวกใบขายหรือใบเสร็จรับเงินควรจะได้ทำรายงานการตรวจนับเงิน ถ้าใช้เครื่องเก็บเงินก็

        ต้องไขกุญแจเปิดดูตัวเลขในเครื่องว่าตรงกับยอดรวมในเครื่องเก็บเงินหรือไม่

        2. บุคคลอีกคนหนึ่งทำหน้าที่เขียนใบนำฝากเงินและนำเงินไปฝากธนาคารในวันนั้นหรืออย่างช้าในวันทำการถัดไป

        3. พนักงานบัญชีจะรวบรวมหลักฐาน เช่น รายงานเงินสด ค่าขาย และใบนำฝากเพื่อลงบัญชีต่อไปในทุกกรณี

ดังกล่าวข้างต้น เมื่อนำเงินไปฝากธนาคารแล้ว ควรส่งสำเนาใบนำฝากตามที่ธนาคารได้ประทับตราและลง

ชื่อผู้รับเงินแล้วกลับมาให้ผู้ที่ทำรายงานเงินสดค่าขายประจำวันและผู้ลงบัญชีเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้อง

ของบุคคลทั้ง 3 ฝ่ายว่าได้บันทึกตัวเลขไว้เป็นหลักฐานตรงกัน

เงินขาดหรือเกิน (Cash Short and Over)

            เมื่อจำนวนเงินสดที่ได้รับจากยอดขายเงินสดประจำวันไม่ตรงกับยอดตามที่บันทึกไว้ในเครื่องเก็บเงิน

        หรือตามรายงานการขายซึ่งเก็บยอดรวมจากใบขายทั้งหมด การค้นหาข้อผิดพลาดทำได้ยากมาก ส่วนใหญ่จะ

        สันนิษฐานเองว่าเกิดจาการทอนเงินให้แก่ลูกค้าผิดไป อาจจะผิดในทางที่มากหรือน้อยไปก็ได้ เงินขาดหรือเกิน

        นั้นถ้ากำหนดให้พนักงานเก็บเงินต้องชดใช้แล้วหรือคืนจะไม่มีการบันทึกทางการบัญชีเกิดขึ้น แต่ถ้ากิจการไม่

        ต้องการให้ภาระแก่พนักงานเก็บเงิน เมื่อเงินขาดและเกินเกิดขึ้นจะเปิดบัญชีขึ้นมาอีกบัญชีหนึ่งเรียกว่า

“บัญชีเงินขาดหรือเกิน” (Cash Short and Over Account)

        ตัวอย่างเช่นจากรูปที่1-1 รายงานเงินสดค่าขายที่บันทึกไว้ในเครื่องเก็บเงินมียอด7,456.25 บาทเงินสดที่นับได้

ทั้งหมด7,445.50 บาทการบันทึกรายการเกี่ยวกับเงินขาดหรือเกินในสมุดรายวันทั่วไปทำได้ดังนี้

                        เดบิต     

เงินสด                                 7,445.50

                                     เงินขาดหรือเกินบัญชี                    10.75

                                     เครดิต

ขาย                                                     7,456.25

                       บันทึกรายการขายเงินสดและเงินขาดหรือเกิน

        ในวันสิ้นงวดบัญชี บัญชีเงินสดขาดหรือเกินมียอดคงเหลือทางด้านเดบิต ให้ถือเป็นค่าใช้จ่าย โดยนำไป

        รวมไว้ในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ แสดงไว้ในบัญชีกำไรขาดทุน ถ้ามียอดคงเหลือทางด้านเครดิตให้ถือเป็น

        รายได้ โดยรวมไว้ในส่วนของรายดื่นๆ แสดงไว้ในบัญชีกำไรขาดทุน

        เงินสดรับจากการชำระหนี้ของลูกหนี้ (Cash Received from Accounts Receivable)

            เงินสดที่รับชำระหนี้อาจได้รับมา 3 วิธีด้วยกันคือ

        1. ลูกหนี้นำเงินสดมาชำระที่กิจการ

        2. ส่งพนักงานเก็บเงินไปเรียกเก็บเงินจากลูกหนี้

        3. ลูกหนี้ส่งเช็คธนาณัติชำระหนี้ทางไปรษณีย์

          เงินสดที่ได้รับชำระหนี้ทั้ง 2 วิธีแรกควบคุมได้โดยการแบ่งงานกันระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนหรือ

        มากกว่านั้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการยักยอกเงินของกิจการ ถ้าจะให้บุคคลคนเดียวทำ ตั้งแต่เป็นผู้เรียกเก็บเงิน นำเงิน

        ฝากธนาคารและเป็นผู้ลงบัญชีด้วย โอกาสที่จะทุจริตย่อมมีมาก

        เงินสดที่ลูกหนี้นำมาชำระที่กิจการและพนักงานเก็บเงินนำมาส่งไม่ควรจะรับชำระรวมกันกับค่าขายเงิน

        สดประจำวันในเครื่องบันทึกเงินสดควรจะกำหนดสาถนที่รับชำระหนี้จากลูกหนี้ต่างหาก

        การออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อลูกค้านำเงินสดมาชำระหนี้จะต้องออกใบเสร็จรับเงินให้ทันที แต่ถ้าได้รับ

        เป็นเช็คบางกิจการจะยังไม่ออกใบเสร็จรับเงินให้ จนกว่าจะเรียกเก็บเงินตามเช็คฉบับนั้นได้ แต่บางกิจการ

        อาจจะออกใบเสร็จรับเงินให้ทันทีโดยมีเงื่อนไขว่าใบเสร็จรับเงินฉบับนี้จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อบริษัทเรียกเก็บเงิน

        ตามเช็คฉบับนี้ได้เรียบร้อยแล้ว กรณีลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดส่งดร้าฟท์หรือธนาณัติมาชำระหนี้ กิจการจะยังไม่

        ออกใบเสร็จรับเงินให้จนกว่าจะได้นำไปขึ้นเงินได้แล้ว ใบเสร็จรับเงินที่ออกให้ลูกค้านั้นจะทำเป็น 3 ฉบับ ตัว

        จริงให้ลูกค้าไป สำเนาฉบับที่ 1 ส่งไปให้แผนกบัญชีเพื่อเป็นหลักฐานในการหักบัญชีลูกหนี้ สำเนาฉบับที่ 2 เก็บ

        ไว้เป็นหลักฐานที่แผนกการเงิน โดยจะนำส่งพร้อมกับรายงานการรับชำระหนี้แล้วแต่ไม่ต้องการใบเสร็จรับเงิน

        พนักงานเก็บเงินต้องออกใบเสร็จรบเงิน 3 ฉบับ เช่นกัน โดยเก็บตัวจริงไว้ต่างหากเผื่อลูกค้าต้องการมาของรับ

        ภายหลัง ส่วนที่เหลือจัดส่งไปตามลำดับดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

       การรับชำระหนี้จากลูกหนี้ทางไปรษณีย์

            เมื่อลูกหนี้ส่งเช็คหรือธนาณัติมาชำระหนี้ทางไปรษณีย์ การควบคุมภายในควรกำหนดเป็นขั้นตอน

        ดังต่อไปนี้

        1. กำหนดให้พนักงานที่ไว้วางใจได้เป็นผู้เปิดซองจดหมายแล้วทำรายงานตอนสิ้นวันเกี่ยวกับเช็คหรือ

        ธนาณัติที่ได้รับ บุคคลผู้นี้ควรจะเป็นบุคคลคนเดียวกับผู้ที่ทำหน้าที่จัดทำรายงานเงินสดที่ได้รับจากค่าขาย

        ประจำวันหรือทำหน้าที่รวมยอดจากใบขาย (Sales Ticket) และเป็นบุคคลที่ทำหน้าที่รวมยอดตามใบเสร็จรับเงิน

        ที่ออกให้แก่ลูกค้าที่นำเงินสดมาชำระที่สำนักงาน ทั้งนี้เพื่อให้บุคคลผู้นี้ทราบจำนวนเงินสดทั้งหมดที่ไดรับใน

        วันหนึ่งๆ ว่าประกอบด้วยเงินสดรับจากทางใดบ้าง รายงานจำนวนเงินที่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ทางไปรษณีย์

        ควรต้องทำขึ้นอย่างน้อย 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 ผู้ทำรายงานเก็บไว้เอง ฉบับที่ 2 ส่งไปให้แผนการเงินพร้อมทั้งซอง

        เงินซึ่งมีเช็คและธนาณัติเพื่อเขียนใบฝากและนำเงินฝากธนาคาร ฉบับที่ 3 ส่งไปให้แผนกบัญชี

        2. เมื่อฝ่ายการเงิน แคชเชียร์หรือสมุห์บัญชีได้นำเงินเข้าฝากธนาคารแล้วจะนำสำเนาใบนำฝากเงิน

        ธนาคารซึ่งมีตราของธนาคารประทับและลายเซ็นของเจ้าหน้าที่ธนาคารเซ็นกำกับไว้แล้ว กลับมาให้บุคคลผู้ทำ

        รายงานเกี่ยวกับเงินสดรับจาก 2 แหล่งดังกล่าวแล้ว มาเปรียบเทียบดูว่าเงินที่นำฝากธนาคารตรงกับรายงานทั้ง 3

        ฉบับ คือ รายงานเงินสดรับจากค่าขายประจำวัน รายงานเงินสดรับชำระหนี้จากลูกหนี้รายบุคคล รายงานเงินสด

        รับชำระหนี้จากลูกหนี้ทางไปรษณีย์ว่าตรงกันหรือไม่ ถ้าไม่ตรงกันจะต้องหาสาเหตุที่ทำให้ยอดไม่ตรงกัน

        ตามปกติจำนวนเงินที่ได้รับตามรายงานทั้ง 3 ฉบับ จำนวนเงินที่นำฝากธนาคารและจำนวนเงินที่ได้บันทึกไว้ใน

        บัญชีควรจะต้องตรงกัน เมื่อผู้ทำรายงานเห็นว่าตรงกันแล้วให้เซ็นชื่อไว้ในสำเนาใบนำฝากเงินด้วย

        ในกรณีที่ลูกหนี้ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต กิจการต้องตรวจสอบกับทางธนาคารว่าลูกค้ามีเงินในบัญชี

        ธนาคารเพียงพอหรือไม่ ถ้ามีเงินในบัญชีธนาคารเพียงพอกิจการจะตัดบัญชีลูกหนี้กับธนาคารโดยตรง

        3. พนักงานบัญชีจะลงบัญชีโดยใช้รายงานตามที่ฝ่ายต่างๆ ส่งมาเป็นหลักฐานประกอบกับสำเนาใบนำ

        ฝากเงินที่ฝ่ายการเงินส่งมาให้โดยจะบันทึกบัญชีเมื่อรายงานต่างๆ ที่มีอยู่ทั้งหมดตรงกัน

        การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดจ่าย (Internal Control over Cash Disbursements)

                รายการจ่ายเงินสดของกิจการจะมีเป็นจำนวนมาก หลักการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดจ่าย คือ รายจ่า่ย

        ทุกรายการควรจ่ายเป็นเช็คของธนาคาร ยกเว้นรายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ ให้จ่ายจากเงินสดย่อย การจ่ายเป็นเช็คจะ

        สามารถพิสูจน์ผู้รับเงินได้ว่าคือใคร การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสดจ่ายมีหลักการปฏิบัติตามตัวอย่าง

        ดังต่อไปนี้

        หลักการ ตัวอย่างการปฏิบัติ

            การกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ การลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็ค ควรให้เจ้าหน้าที่ระดับบริหารลง

        ลายมือชื่อร่วมกันอย่างน้อย 2 คน การอนุมัติการจ่ายเงิน ควรมีการตรวจสอบหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน

จำนวนเงิน และวงเงินในการอนุมัติการสั่งจ่ายการแบ่งแยกหน้าที่ มีการแบ่งแยกหน้าที่พนักงานจ่ายเงิน และ

พนักงานบันทึกบัญชีกระบวนการใช้เอกสาร การใช้เช็คทุกฉบับควรใช้เรียงตามลำดับ มีการใช้ใบสำคัญสั่งจ่าย

        ควบคุมการจ่ายเงิน มีทะเบียนใบสำคัญจ่ายและทะเบียนเช็คควบคุมใบสำคัญสั่งจ่ายและเช็คการใช้เครื่องมือ

เครื่องจักร

และอุปกรณ์สมุดเช็คควรเก็บในตู้นิรภัย ควรมีเครื่องพิมพ์ตัวเลขในเช็คเพื่อป้องกันการแก้ไข

การสอบทานอย่างอิสระ ก่อนลงลายมือชื่อจ่ายเงินตามเช็ค ควรจะได้ตรวจสอบหลักฐานประกอบการจ่ายเงินว่า

มีครบถ้วน ควรมีการจัดทำงบกระทบยอดทุกเดือนเพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินของกิจการการควบคุมอื่นๆ

 เอกสารฉบับใดที่กิจการจ่ายเงินแล้ว ควรใช้ตรายางประทับว่า “จ่ายแล้ว” พร้อมลงวันที่และเลขที่เช็คกำกับเพื่อ

ป้องกันการจ่ายเงินซ้ำการนำเงินฝากธนาคาร (Making Bank Deposit)หลักการที่สำคัญประการหนึ่งของ

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด คือ การนำเงินฝากธนาคารทุกวันและการจ่ายเงินทุกรายการของกิจการต้องจ่าย

เป็นเช็คของธนาคาร ยกเว้นรายจ่ายเล็กน้อยจะจ่ายจากเงินสดย่อยไม่ควรนำเงินสดที่ได้รับในแต่ละวันไปจ่ายเป็น

ค่าใช้จ่ายของกิจการ เพื่อป้องกันการทุจริตที่อาจเกิดขึ้นได้

        การนำเงินฝากธนาคารก่อให้เกิดผลดีแก่กิจการดังนี้

            1. ลดปัญหาเรื่องเงินสดถูกโจรกรรม

            2. สามารถตรวจสอบความถูกต้องของการบันทึกรายการระหว่างธนาคารและกิจการ โดยการจัด

ทำงบกระทบยอด (Bank Reconciliation)

            3. ลดปริมาณงานลงเกี่ยวกับการจ่ายเงินสด เนื่องจากกิจการใช้เช็คของธนาคาร

            4. ป้องกันการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นภายในกิจการเนื่องจากการถือเงินสดจำนวนมากของพนักงาน

        ประเภทของเงินฝากธนาคารมี 3 ประเภท ได้แก่

            1. เงินฝากประเภทออมทรัพย์หรือเผื่อเรียก (Saving Account)

            2. เงินฝากประเภทประจำ (Fixed Deposit Account)

            3. เงินฝากประเภทกระแสรายวัน (Current Account)

        กิจการโดยทั่วไปจะฝากเงินประเภทกระแสรายวันเพื่อหมุนเวียนเงินสดและใช้เช็คเป็นหลักฐานการจ่ายเงิน

        การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันและการใช้เช็ค

                การเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับธนาคารเริ่มด้วยผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจของกิจการไปติดต่อที่

        ธนาคาร ธนาคารจะขอเอกสารใบทะเบียนพาณิชย์ ใบจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือหนังสือบริคณห์สนธิ

        สำหรับบริษัทจำกัด หนังสือแต่งตั้งผู้มีอำนาจกระทำการแทนกิจการไว้เป็นหลักฐาน จากนั้นเจ้าหนี้ที่ธนาคารจะ

        นำบัตรตัวอย่างลายเซ็นให้ผู้มีอำนาจหนึ่งหรือสองคนของกิจการเซ็นชื่อ และประทับตรายางของกิจการถ้ามี

        ลายเซ็นและตราประทับจะเป็นการพิสูจน์เรื่องการสั่งจ่ายเช็คของกิจการต่อจากนั้นธนาคารจะนำใบนำฝาก (Pay-in Slip)

ซึ่งมีสำเนาอยู่ด้วยให้กับเจ้าหน้าที่ของกิจการเพื่อฝากเงินโดยการนำฝากครั้งแรกของบัญชีเงินฝากกระแส

รายวันเริ่มต้นด้วยจำนวนขั้นต่ำ 10,000 บาท และธนาคารจะมอบสมุดเช็คให้โดยกิจการจะต้องเสียค่าธรรมเนียม

เช็คฉบับละ 5 บาท โดยปกติเช็ค 1 เล่ม จะมีจำนวน 20 ฉบับเมื่อกิจการต้องการจ่ายเงินให้ผู้ใดก็เขียนเช็คสั่งจ่ายให้ผู้นั้น

รายการที่ไม่ใช่เงินสด มีอะไรบ้าง

รายการที่ไม่ใช่เงินสด (Noncash Transactions) o การซื้อสินทรัพย์โดยการก่อหนี้หรือการออกตราสารทุน o การแปลงหนี้หรือหุ้นบุริมสิทธิเป็นหุ้นสามัญ o การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่ไม่เป็นตัวเงิน (Non-Monetary Assets)

รายการในข้อใดถือเป็นเงินสด

1. เงินสด หมายถึง เงินสดในมือและเงินฝากธนาคาร โดยเงินสดในมือ ได้แก่ ธนบัตรและเหรียญ กษาปณ์ที่กิจการมีอยู่ รวมทั้งเงินสดย่อย ธนาณัติ ตั๋วแลกเงินไปรษณีย์ เช็คที่ถึงกำหนดชำระแต่ ยังมิได้นำฝาก เช็คเดินทาง และดราฟต์ของธนาคาร สำหรับเงินฝากธนาคาร ได้แก่ เงินฝากธนาคาร

การปฏิบัติในข้อใดถือเป็นการควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด

การควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินสด คือ การนำเงินฝากธนาคารทุกวันและการจ่ายเงินทุกรายการของกิจการต้องจ่าย เป็นเช็คของธนาคาร ยกเว้นรายจ่ายเล็กน้อยจะจ่ายจากเงินสดย่อยไม่ควรนำเงินสดที่ได้รับในแต่ละวันไปจ่ายเป็น

รายการเทียบเท่าเงินสด มีอะไรบ้าง

รายการเทียบเท่าเงินสด (Cash equivalents) หมายถึง เงินลงทุนที่มีสภาพคล่องสูง โดยมีวัน ครบก าหนดภายในระยะเวลา 3 เดือนหรือน้อยกว่านับจากวันที่กิจการได้มา ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงิน สดในจ านวนที่ทราบได้ และมีความเสี่ยงที่ไม่มีนัยส าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า เช่น เงินฝากประจ าที่ มีอายุไม่เกิน 3 เดือน เป็นต้น