กิจกรรม การพัฒนาเมือง ของ EEC

"อ่างศิลา" นอกจากจะเป็นศูนย์รวมธุรกิจการประมง หรือ แหล่งจำหน่ายอาหารทะเลสดขนาดใหญ่ ที่อยู่ในอันดับต้นๆของประเทศไทยแล้วนั้น ยังเป็นหนึ่งในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก EEC ( Eastern Economic Corridor) โดยรัฐบาลให้ความสำคัญและเดินหน้าขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อการพัฒนาพื้นที่ EEC นี้ให้กลายเป็นต้นแบบของเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City 

.

นั่นจึงทำให้ อ่างศิลา กลายเป็นทำเลที่ดึงดูดความสนใจนักลงทุน และชาวต่างชาติเพื่อเข้ามาลงทุนขยายธุรกิจในพื้นที่แห่งนี้ โดยเมืองอัจฉริยะนี้มีการพัฒนาอะไรบ้างนั้น ตามมาดูพร้อมกันเลยครับ

กิจกรรม การพัฒนาเมือง ของ EEC

🚄 รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

สะดวกสบาย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

 

สามารถเดินทางระหว่างเมืองได้อย่างรวดเร็ว ช่วยประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

จากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  ( ดอนเมือง , สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) 

เริ่มก่อสร้างในปี 2562 และคาดว่าแล้วเสร็จในปี 2567

ทั้งนี้มีแนวเส้นทางผ่าน 5 จังหวัดคือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมระยะทาง 220 กม. เท่ากับ 15 สถานี โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงคือ

   1. แอร์พอร์ตลิงก์พญาไท – สุวรรณภูมิ

   2. ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ( พญาไท - ดอนเมือง)

   3. กรุงเทพฯ - ระยอง ( สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา)

สำหรับเส้นทางการเดินรถ

   * สนามบินดอนเมือง – สุวรรณภูมิ = 160 กม. / ชม.

   * สถานีลาดกระบัง - ระยอง = 250 กม./ชม.

กิจกรรม การพัฒนาเมือง ของ EEC

🚙 ถนนมอเตอร์เวย์ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 

เชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้า

 

ด้วยถนนขนาดใหญ่ ที่มี 4-8 ช่องจราจร เริ่มต้นบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ไปสิ้นสุดบริเวณทางหลวงหมายเลข 359 รวมระยะทางประมาณ 125 กม. ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา 3 จังหวัด 10 อำเภอ จึงช่วยให้การเดินทางและขนส่งสินค้านั้นมีความสะดวกรวดเร็ว ลดอุบัติเหตุ และช่วยบรรเทาปัญหาจราจรคับคั่ง จากปริมาณการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นตามการเจริญเติบโตในพื้นที่ EEC ในอนาคต

 

กิจกรรม การพัฒนาเมือง ของ EEC

🌟 ทำเลธุรกิจแห่งอนาคต

พร้อมรับโอกาสความก้าวหน้าทางการงาน

.

เนื่องจากในพื้นที่ EEC นั้นมีการพัฒนาในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดชลบุรีนั้น เป็นจังหวัดเดียวของภาคตะวันออกที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวระดับแสนคนต่อเดือน สร้างรายได้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท  และแน่นอนว่าทำให้เศรษฐกิจในทำเลนี้คึกคักเป็นอย่างมาก

.

ซึ่งผู้ที่กำลังหางานจึงเลือกมาอยู่อาศัยในภูมิภาคนี้เป็นส่วนใหญ่ เพราะมีโอกาสที่จะเจริญก้าวหน้าในหน้าที่และการงาน พร้อมทั้งโอกาสที่จะเป็นเจ้าของบ้านที่มีพื้นกว้างในราคาที่ถูกกว่าบ้านในกรุงเทพนั่นเองครับ

กิจกรรม การพัฒนาเมือง ของ EEC

🏡 สาธารณูปโภคครบครัน 

รองรับการเติบโตของ Smart City

 

ด้วยพัฒนาเมืองให้ก้าวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงทำให้เกิดระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองในอนาคต อาทิ มหาวิทยาลัยบูรพา , รพ.เอกชล , เซ็นทรัลพลาซ่าชลบุรี , เทสโก้โลตัส และ ตลาดหนองมน เป็นต้น
.

 

ซึ่งทาง เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ โฮม เองได้เล็งเห็นถึงสุดยอดศักยภาพที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องของพื้นที่ EEC อ่างศิลา นี้ จึงได้เตรียมเปิดตัวโครงการใหม่ คือ โกลเด้น ทาวน์ อ่างศิลา - สุขุมวิท เพื่อรองรับดีมานด์และตอบโจทย์ของคนที่กำลังมองหาแหล่งที่อยู่อาศัยในทำเล Smart City แห่งนี้ นั่นเองครับ

กิจกรรมการพัฒนาเมืองของ EEC มีอะไรบ้าง

Q : ปัจจุบัน EEC ดำเนินโครงการรูปแบบการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน(PPP) กี่โครงการ มีโครงการอะไรบ้าง.
โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน.
โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก.
โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่3..
โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3..
โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา.

โครงการ EEC มีประเทศอะไรบ้าง

ญี่ปุ่น สัดส่วนการลงทุนคิดเป็น 49.65% หรือมีมูลค่า 365,923.65 ล้านบาท.
จีน สัดส่วนการลงทุนคิดเป็น 8.45% หรือมีมูลค่า 62,269.49 ล้านบาท.
สิงคโปร์ สัดส่วนการลงทุนคิดเป็น 5.72% หรือมีมูลค่า 42,140.08 ล้านบาท.
สหรัฐอเมริกา สัดส่วนการลงทุนคิดเป็น 3.78% หรือมีมูลค่า 27,827.61 ล้านบาท.

EEC อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับใด

EEC คือ โครงการภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่ประกาศเริ่มใช้ในปี 2561 ย่อมาจาก Eastern Economic Corridor ซึ่งมีอีกชื่อเป็นภาษาไทยว่า “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” โครงการนี้ส่งผลหลายประการต่อเศรษฐกิจในภาคตะวันออกของประเทศไทย แน่นอนว่าวงการอสังหาริมทรัพย์ก็เป็นส่วนหนึ่งในนั้น

EEC มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

EEC มุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคมขนส่งแบบไร้รอยต่อ (Seamless Operation) โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน จากการลดเวลาเดินทางและประหยัดค่าขนส่ง