วิธีเขียนข้อเสนอแนะ งานวิจัย ตัวอย่าง

วิธีเขียนข้อเสนอแนะ ในงานวิจัย

            ข้อเสนอแนะการวิจัย (recommendation) หมายถึง ประเด็นที่ผู้วิจัย เสนอแนะขึ้นมาจากผลการวิจัยหรือข้อค้นพบจากการวิจัย โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญ เพื่อให้ข้อมูล คําแนะนํา แนวทาง หรือวิธีการใดๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนํา ข้อเสนอแนะไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนา การปรับปรุง การ เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงาน หรือการบริหารจัดการ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ข้อเสนอแนะจึงเป็นส่วนที่สําคัญของการวิจัย เพราะเป็นส่วนที่ผู้อ่านหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องจะสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้

หลักสําคัญของข้อเสนอแนะ คือ ข้อเสนอแนะต้องมาจากผลการวิจัย และควร เป็นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถนําไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์ โดยข้อเสนอแนะอาจเป็นเชิงนโยบายหรือเชิงปฏิบัติก็ได้ และนิยมเขียน เป็นรายข้อ มากกว่าความเรียง

            แนวทางการเขียนข้อเสนอแนะ

            การเขียนข้อเสนอแนะสามารถเขียนได้เป็น 2 ประเด็น ดังนี้

            1. ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย

            เป็นข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยที่ผู้วิจัยต้องเขียนข้อเสนอแนะตาม ผลการวิจัยหรือข้อค้นพบที่ได้ โดยอาจนําเสนอข้อเสนอแนะได้ทั้งในเชิงนโยบาย หรือเชิงปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้ ประการสําคัญคือ ผู้วิจัยควรให้ข้อเสนอแนะในสิ่งที่เป็นไป ได้ ทั้งนี้เพื่อให้ข้อเสนอแนะมีความน่าเชื่อถือ ผู้วิจัยอาจนําข้อมูลจากวรรณกรรมมา อ้างอิงหรือสนับสนุนข้อเสนอแนะนั้นด้วยก็ได้

            การเขียนข้อเสนอแนะ ไม่ควรเขียนกว้างจนเกินไป โดยผู้วิจัยควรให้ ข้อเสนอแนะที่ให้คําตอบชัดเจนว่าผู้ที่เกี่ยวข้องควรทําอะไร ด้วยวิธีการหรือแนวทาง อย่างไร

            2. ข้อเสนอแนะสําหรับการวิจัยในครั้งต่อไป

            งานวิจัยส่วนใหญ่มักจะมีข้อจํากัดหรือข้อบกพร่องอยู่บ้าง เนื่องจากผู้วิจัย ไม่สามารถศึกษาวิจัยเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ครอบคลุมหรือมีความสมบูรณ์ได้ทุกด้าน เช่น ข้อจํากัดเรื่องขอบเขตเนื้อหาที่ศึกษา การเข้าถึงประชากรหรือการเลือก ตัวอย่าง ตลอดจนระยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรืองบประมาณ เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้งานวิจัยมีความสมบูรณ์หรือมีการพัฒนาต่อไป ผู้วิจัยอาจมี ข้อเสนอแนะในการทําวิจัยในครั้งต่อไป เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจในหัวข้อใกล้เคียงสามารถ นําประเด็นที่เสนอแนะไว้ไปศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในอนาคต เช่น การขยายขอบเขตการ วิจัย การเพิ่มตัวแปร การศึกษาประชากรกลุ่มอื่นๆ หรือการศึกษาเปรียบเทียบ เป็น ต้น


การเขียนข้อเสนอแนะ

โดยทั่วไปการเขียนข้อเสนอแนะมุ่งเสนอใน 3 ประเด็นหลัก คือ

1. เกี่ยวกับผลการวิจัยที่นำไปใช้ เป็นการเขียนให้ผู้อ่านทราบว่า จากผลการวิจัยที่ได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง โดยนิสิต นักศึกษาจะต้องเสนอแนะและให้ความละเอียดอย่างเพียงพอที่จะสามารถนำไปใช้ได้ทันที

2. เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย เป็นการเสนอแนะให้ผู้อ่านที่จะทำวิจัยในทำนองเดียวกันได้ทราบว่าควรทำอย่างไร ทำตามที่นิสิต นักศึกษาทำหรือควรใช้วิธีการอื่น ใช้วิธีการใด ควรเสนอแนะไว้อย่างชัดเจน และต้องเสนอแนะว่า ที่นิสิต นักศึกษาทำนั้นมีปัญหาอะไร และแก้ไขอย่างไรจึงจะได้ผลดี ตัวอย่างเช่น นิสิต นักศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูล พบว่ามีปัญหาเรื่องเวลา จำนวนข้อสอบที่มีมากเกินไป นักเรียนเกิดความเบื่อหน่าย การเสนอแนะ ต้องเสนอแนะครั้งต่อไปควรระมัดระวังเรื่องเวลา จำนวนข้อสอบ

3. เกี่ยวกับการทำวิจัยครั้งต่อไป เป็นการเสนอแนะให้ผู้อ่านที่จะทำวิจัยครั้งต่อไปในลักษณะเดียวกันให้ทราบว่า ควรจะทำวิจัยในประเด็นปัญหาอะไรอะไรบ้าง ควรศึกษาตัวแปรอะไรอีกบ้าง รวมทั้งการเปลี่ยนระเบียบวิธีวิจัยหรือไม่ จึงจะทำให้ได้ผลการวิจัยหรือข้อสรุปที่สมบูรณ์

หลักการเขียนข้อเสนอแนะ ควรยึดหลักดังต่อไปนี้

1. ข้อเสนอแนะนั้นจะต้องเป็นเนื้อหาสาระที่ได้จากผลการวิจัยเรื่องนั้น มิใช่จากความรู้สึกนึกคิดของตัวผู้วิจัยเอง

2. ต้องเป็นเรื่องที่ใหม่ ไม่ใช่เรื่องที่รู้ ๆ กันอยู่แล้ว กรณีเป็นเรื่องเดิม ต้องยืนยันให้เห็นความสำคัญ

3. ข้อเสนอแนะที่เสนอแนะไปต้องสามารถปฏิบัติได้หรือทำได้จริง ภายในขอบเขตของการวิจัย ระยะเวลาในการทำ

4. ข้อเสนอแนะทุกข้อต้องมีรายละเอียด มากพอที่ผู้อ่านหรือผู้ที่จะทำวิจัยในทำนองเดียวกันสามารถนำไปปฏิบัติได้ทันที