วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผ่นดินไหว

บริษัทได้จัดทำ “แผนรองรับต่อเนื่องสำหรับกรณีเกิดภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ (BCP) ฉบับที่ 1” ขึ้นในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2009 เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถทำหน้าที่ในฐานะเส้นทางการจราจรฉุกเฉิน และดำเนินการตามมาตรการป้องกันภัยพิบัติได้แม้ได้รับความเสียหายเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ในเดือนตุลาคม ปี ค.ศ. 2011 ได้จัดทำแผนฯ ฉบับที่ 2 ขึ้นมา โดยมีการเพิ่มมาตรการสำหรับรับมือกับปัญหาใหม่ที่ได้รับทราบจากการเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทางภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังได้จัดทำแผนฯ ฉบับที่ 3 ขึ้น เนื่องจากมีการแก้ไขกฎหมายพื้นฐานเพื่อรับมือกับภัยพิบัติในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2014 โดยมีการเพิ่มระเบียบว่าด้วยการเคลื่อนย้ายยานพาหนะที่จอดทิ้งไว้โดยผู้บริหารจัดการทาง

1. ข้อมูลพื้นฐาน

แผ่นดินไหวที่คาดการณ์ไว้

แผ่นดินไหวที่คาดการณ์ไว้ใน BCP ฉบับนี้ คือ แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวอยู่ใต้ใจกลางเมือง (M7.3) และมีความรุนแรงสูงสุดที่ระดับ 6 (ระดับ 7 บางส่วน)

แนวทางการปฏิบัติ

BCP คาดการณ์ถึงกรณีที่พนักงานไม่สามารถติดต่อกันได้เมื่อเกิดความวุ่นวายหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว หากเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไปภายในพื้นที่ควบคุมของ Metropolitan Expressway (Shutoko) ผู้บริหารและพนักงานสามารถกระทำการได้อย่างอิสระ

2. เนื้อหาหลัก

ระบบสำนักงานใหญ่

มีการกำหนดให้กรรมการที่รับผิดชอบด้านการป้องกันภัยพิบัติซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในนามผู้จัดการทั่วไป (ประธานบริษัท) หรือผู้จัดการฝ่ายการบำรุงรักษาและการจราจรพักอาศัยใกล้สำนักงานใหญ่ และให้รีบไปที่สำนักงานใหญ่ทันทีหากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่นอกเวลางาน

ระบบการรวมพล

มีการสร้างระบบรวมพลขึ้นเพื่อให้เกิดความราบรื่นในการรับมือกรณีเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไป โดยกำหนดให้พนักงานที่อาศัยอยู่ใกล้สำนักงาน (โดยทั่วไปภายในรัศมี 6 กม.) เป็นพนักงานรวมพลชุดแรกที่ทำการรวมพลเมื่อแผ่นดินไหวมีความรุนแรงระดับ 5 ขึ้นไป และให้พนักงานฝ่ายเทคนิคทุกคนเป็นพนักงานที่ต้องมารวมพล

การลาดตระเวนจราจรพิเศษ

การลาดตระเวนจราจรพิเศษหลังเกิดแผ่นดินไหว คือการปิดทางเข้าและเคลื่อนย้ายรถที่ติดค้างอยู่ภายในเวลา 3 ชั่วโมง และมีการจัดเตรียมวิธีการอพยพอย่างเป็นขั้นตอนไว้ที่ด่านเก็บค่าผ่านทางแต่ละแห่ง (เส้นทางสำหรับการจัดการจุดพักรถ, ทางออกที่ใกล้ที่สุด ฯลฯ)

การตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับ

มีการกำหนดเส้นทางสำคัญที่ต้องตรวจสอบก่อน (ประมาณ 88 กม. หรือประมาณ 30% ของเส้นทางทั้งหมด) โดยต้องตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับส่วนนี้ภายใน 3 ชั่วโมง และดำเนินการตรวจสอบโครงสร้างใต้ส่วนยกระดับในเส้นทางอื่น ๆ ต่อไปให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

มาตรการรับมือคลื่นยักษ์สึนามิ

มีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับคลื่นสึนามิจากกรมอุตุนิยมวิทยาและจากรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อทำความเข้าใจและระบุจุดที่จะได้รับ
ผลกระทบจากคลื่นยักษ์สึนามิ พร้อมทั้งกำหนดวิธีการรับมือ

การเตรียมสำนักงานสำรอง

มีการคาดการณ์ถึงกรณีที่ที่สำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขาอื่นไม่สามารถใช้การได้เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหว และทำการจัดเตรียมสำนักงานสำรองไว้

การรักษาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร

มีการจัดเตรียมอุปกรณ์สื่อสารและวิธีการสื่อสารไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้สามารถสื่อสารภายในองค์กรและสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แม้ตอนประสบภัยพิบัติ

การเคลื่อนย้ายสิ่งกีดขวางออกจากถนน

มีการกำหนดวิธีดำเนินการและการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งกีดกวาง รวมถึงรถที่ถูกจอดทิ้งไว้ออกจากถนน

*หัวข้อสำคัญในการดำเนินมาตรการป้องกันภัยพิบัติตาม BCP ถูกกำหนดตามที่ระบุไว้ในตาราง PDF(PDF/47KB)(ภาษาญี่ปุ่น)

การปฎิบัติและป้องกัน

ก่อนการเกิดแผ่นดินไหว

  1. ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน
  2. ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  3. ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น
  4. ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า
  5. อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้
  6. ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน
  7. ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมาย ในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้ง ในภายหลัง
  8. สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว
ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว
  1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบ ถ้าท่านอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้านถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน เพราะส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน
  2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่สามารถรับน้ำหนัก ได้มาก และให้อยู่ห่างจากประตู ระเบียง และหน้าต่าง
  3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็วหนีให้ห่างจากสิ่งที่จะล้มทับได้
  4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้า และสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่ปลอดภัยภายนอกคือที่โล่งแจ้ง
  5. อย่าใช้ เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น
  6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด
  7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
  8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง

หลังเกิดแผ่นดินไหว

  1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน
  2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้
  3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง
  4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟ หรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว
  5. ตรวจสอบว่า แก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน
  6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง
  7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ
  8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้
  9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง
  10. อย่าแพร่ข่าวลือ

แผ่นดินไหว สามารถป้องกันได้อย่างไร

- คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง - ถ้าอยู่ในตึกสูงให้อยู่ที่ชั้นเดิม อย่าใช้ลิฟต์ - เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัยและระบบดับเพลิง - หากขับขี่ยานพาหนะให้รีบจอดยานพาหนะ ในที่โล่งแจ้ง ห้ามหยุดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง และ ให้อยู่ภายในรถยนต์

ถ้าเกิดแผ่นดินไหวทำยังไง

1. ป้องกันศีรษะของคุณและไปหลบยังสถานที่ปลอดภัย เช่น ใต้โต๊ะที่แข็งแรง 2. ไม่ควรรีบออกไปข้างนอก หรือพยายามมากจนเกินไปในการปิดเตาประกอบอาหารหรือเครื่องใช้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับไฟ 3. เมื่ออยู่ภายในสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมากอยู่ร่วมกัน ไม่ควรรีบไปยังทางออก 4. ไม่ควรยืนใต้หลอดไฟแบบแขวนหรือวัตถุอื่น ๆ ที่อยู่เหนือศีรษะ

เราสามารถป้องกันตนเองและระวังภัยจากธรณีพิบัติได้อย่างไร

1. ฟังประกาศการเตือนภัย และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 2. ตรึงประตูหน้าต่างให้มั่นคง ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรขณะฝนตกฟ้าคะนอง 3. เตรียมอุปกรณ์จำเป็น เช่น เทียนไข ไฟฉาย ยาประจำตัวติดตัวตลอด 4. ขณะฝนตกฟ้าคะนอง ห้าม อยู่ใต้ต้นไม้ เสาไฟฟ้า และ ห้าม โทรศัพท์เด็ดขาด

สิ่งใดไม่ควรทำเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

* ไม่ ควรทำให้เกิดประกายไฟ เพราะหากมีการรั่วซึมของแก๊สหรือวัตถุไวไฟ อาจเกิดภัยพิบัติจากไฟไหม้ ไฟลวก ซ้ำซ้อนกับแผ่นดินไหวเพิ่มขึ้นอีก * เปิดวิทยุรับฟังสถานการณ์ คำแนะนำคำเตือนต่าง ๆ จากทางราชการอย่างต่อเนื่อง