ส่วนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว

ส่วนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว

กลายเป็นสัญญาณ “เตือนภัย” โอกาสต้องเผชิญ “ภัยพิบัติ” ใกล้เข้ามาทุกทีด้วยเหตุปัจจัย “เมืองไทย” ต่างมี “รอยเลื่อนแตกแขนง” กระจายอยู่ตามพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ มากมาย ทั้งยังล้อมรอบด้วย “แผ่นเปลือกโลก” ที่ได้สะสมพลังงานมานานพร้อมปลดปล่อยได้ทุกเมื่อเช่นกัน

ทำให้เหตุแผ่นดินไหวไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะเกิดขึ้นทีไรก่อความเสียหายเสมอ ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ให้ข้อมูลว่า ตามการศึกษา “รอยเลื่อนในประเทศไทย” ได้มีข้อมูลรอยเลื่อนเรียงตัวลักษณะใด และการเคลื่อนตัวก่อเกิดแผ่นดินไหวระดับใดได้บ้าง

แต่ว่า...“รอยเลื่อนมีศักยภาพเกิดแผ่นดินไหว” กระจายในหลายพื้นที่ ทั้งรอยเลื่อนมีบนแผนที่แล้ว และไม่ปรากฏร่องรอยบนผิวดินเลย โดยเฉพาะ “ภาคเหนือ” และ “ฝั่งด้านภาคตะวันตกของประเทศ” เช่น จ.กาญจนบุรี มักเคยเกิดแผ่นดินไหวขนาด 5 ที่ยังมีโอกาสเกิดขนาด 5.0-5.9 จัดให้เป็นแผ่นดินไหวอันตรายแล้วด้วยซ้ำ

อีกทั้ง จ.กาญจนบุรี ตั้งอยู่ใกล้ “รอยเลื่อนสะแก” ที่เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่มาก มีแนวยาวจากทางเหนือของเมียนมายาวไปทะเลอันดามัน จนถึงระดับละติจูดเดียวกับกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นรอยเลื่อนเกิดขึ้นบ่อยมาก และมีโอกาสก่อให้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ระดับขนาด 7-8 ได้ ในระยะห่างจาก “เมืองหลวง” ประมาณ 200 กม.

ทว่า...แนวอันตรายมากที่สุด คือ “แผ่นดินไหวในทะเลอันดามัน” ตามแนวรอยต่อของเปลือกโลก เป็นแนวเดียวกัน “การเกิดแผ่นดินไหวสึนามิ 2547” คราวนั้นมีขนาด 9.2 จากการไถลตัวรอยต่อแผ่นเปลือกโลก ระหว่างแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย ตั้งอยู่ฝั่งด้านประเทศไทย ชนปะทะแผ่นเปลือกโลกอินเดียออสเตรเลีย ฝั่งด้านประเทศอินเดีย

กรณีกังวลเกิดซ้ำอีก คือ รอยต่อแผ่นเปลือกโลกนี้เคลื่อนไถลตัวมาชนปะทะกันจากฝั่งทางเหนือลงฝั่งด้านใต้ของประเทศเมียนมา เริ่มการไถลตัวจากด้านฝั่งตะวันตกของเมียนมา ชนปะทะจุดเชื่อมต่อในบริเวณทะเลอันดามัน จะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 9 สามารถส่งผลกระทบต่อ “กรุงเทพฯและปริมณฑล” ได้แน่นอน

หนำซ้ำ...แนวลักษณะไถลเคลื่อนตัวจากเหนือลงใต้นี้ ไม่เคยระเบิดมาหลายร้อยปี ล่าสุดเกิดแผ่นดินไหวขึ้นราว 300 ปีก่อน ทำให้สะสมพลังงานอย่างมหาศาล เพื่อรอระเบิดเองได้ตลอดเวลา เพราะรอยต่อแผ่นเปลือกโลก มักก่อแผ่นดินไหวขนาด 9 ส่วนรอยเลื่อนในประเทศไทยสามารถเกิดระดับขนาด 6-7 ตามลำดับ...

ด้วยเหตุนี้ “กรุงเทพฯและปริมณฑล” ย่อมมีความเสี่ยงมากพิเศษ เพราะตั้งบน “พื้นที่ดินอ่อน” ลักษณะ “แอ่งกระทะขนาดยักษ์” ครอบคลุมกินพื้นที่ 14 จังหวัด คือ พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา นนทบุรี นครปฐม นครนายก เพชรบุรี ปราจีนบุรี ปทุมธานี ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ กรุงเทพฯ และชลบุรี

ลักษณะธรณีวิทยาแบบนี้มีคุณสมบัติขยายความรุนแรงแผ่นดินไหวได้ถึง 5.5 เท่า ในพื้นที่ดินอ่อนที่สุด เช่น ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม และสมุทรปราการ ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ มีกำลังขยายคลื่น 3-4 เท่า ในส่วน “พื้นดินแข็ง” เช่น จ.เพชรบุรี นครนายก และชลบุรี มีกำลังขยายคลื่นแผ่นดินไหวประมาณ 2-3 เท่า

ผลกระทบของ “แผ่นดินไหว” ส่งผลต่อพื้นที่ “แอ่งกระทะขนาดยักษ์” มีลักษณะเกิดคลื่นเคลื่อนตัวไปมาแบบช้าๆ ค่อนข้างเป็นจังหวะใช้เวลาครบรอบ 1-2 วินาที ทำให้มีการสั่นสะเทือนแบบช้าๆ ที่ดูเหมือนไม่รุนแรง แต่มีผลต่ออาคารสูงตั้งแต่ 20 ชั้นขึ้นไป แต่จะไม่ค่อยมีผลต่ออาคารขนาดเล็กเท่าไหร่

ส่วนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว

ทำให้ต้องมีกฎหมายควบคุมอาคารออกบังคับในพื้นที่เสี่ยง 20 จังหวัด เพื่อให้ออกแบบสิ่งก่อสร้างสามารถต้านทานแผ่นดินไหวได้ ในปี 2557 ก็ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหว อ.แม่ลาว จ.เชียงราย ขนาด 6.3 มีผลให้อาคารสูงในกรุงเทพฯ รับรู้สึกสั่นไหวหลายจุด เพราะ “ชั้นดินอ่อน” มีคุณลักษณะขยายแรงสั่นสะเทือนเพิ่มขึ้นถึง 3-4 เท่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ “ภาครัฐ” ได้ปรับปรุงร่างกฎหมายควบคุมอาคารฉบับใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงเกิดแผ่นดินไหว 40 จังหวัด เน้นกำหนดประเภทอาคารออกแบบ โครงสร้างอาคาร และปรับปรุงหลักเกณฑ์การรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทน ในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวให้มีความทันสมัยความปลอดภัย

ต้องเข้าใจว่า...“แผ่นดินไหวในโลก” มีปัจจัยจากการเคลื่อนตัวเปลือกโลก 95% ฉะนั้นแผ่นดินไหวทั้งหลาย มักเกิดบริเวณรอยต่อแผ่นเปลือกโลก อีกทั้งในแผ่นเปลือกโลกนี้ก็มีรอยแตกร้าว ที่เรียกว่า “รอยเลื่อน” แต่ประเทศที่ตั้งอยู่ตำแหน่งรอยต่อแผ่นเปลือกโลกนี้ คือ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวกันแบบเต็มๆ

ในส่วน “ประเทศไทย” ไม่ได้ตั้งอยู่จุดของรอยต่อแผ่นเปลือกโลก แต่ก็ตั้งอยู่ตำแหน่งที่มี “รอยเลื่อน” กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ภาคเหนือ ฝั่งตะวันตก และภาคใต้ ที่มีอัตราการเคลื่อนตัวต่างกันไป ถ้าหากเปรียบเทียบระดับความรุนแรงตามมาตรฐานสากล “รอยเลื่อนในไทย” ยังมีระดับการเกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างต่ำ

นั่นหมายความว่า “รอยเลื่อนในไทย” มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7 ขึ้นไปสักครั้ง อาจต้องรอหลายร้อยปี หรือบางรอยเลื่อนต้องรอนานหลายพันปีก็มี ที่มีรัศมีการทำลาย 30 กม. ส่วนความรุนแรงระดับขนาด 6 โอกาสเกิดได้ทุก 30-40 ปี รัศมีทำลาย 20 กม. เช่น ในปี 2557 แผ่นดินไหวขนาด 6.3 ศูนย์กลาง ต.ทรายขาว อ.พาน จ.เชียงราย ทำให้เกิดความเสียหายต่อบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างเป็นวงกว้างราว 1 หมื่นหลัง และอาคารอันตราย 400 หลัง

ระดับขนาด 5 ก็มีโอกาสเกิดได้ทุก 5 -10 ปีต่อครั้ง และในประเทศไทย มักเกิดอยู่บ่อยๆ มีรัศมีการทำลายประมาณ 10 กม. แต่การทำลายล้างของแผ่นดินไหวนี้ต้องขึ้นกับพื้นที่ด้วยเช่นกัน เพราะถ้าเกิดในป่าในเขาก็ไม่สามารถทำลายอะไรได้ ยกเว้นเกิดขึ้นบริเวณชุมนุมใหญ่ หรือหัวเมือง ย่อมทำลายอาคารบ้านเรือนได้แน่นอน

ตัวอย่างเช่น...ในปี 2537 เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 5.1 อ.พาน จ.เชียงราย ในปี 2538 ก็เกิดขึ้น อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ขนาด 5.0 และ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ขนาด 5.2 และปี 2549 เกิดขึ้นที่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ มีระดับขนาด 5.1 ถ้าเป็นแผ่นดินไหวขนาด 1-2 มักจะเกิดขึ้นถี่บ่อยประจำอยู่แล้ว

ส่วนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหว

จริงๆแล้ว...“คนไทย” กำลังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว มองว่า “จุดใดเกิดแผ่นดินไหวมักไม่เกิดซ้ำ” นับเป็นสิ่งเข้าใจผิดอย่างมาก เพราะ “แนวรอยเลื่อน” มักมีความยาวมาก ในตำแหน่งใดเคยเกิดแล้วก็คงต้องรอการสะสมพลังงานใหม่ แต่อย่าลืมว่ายังมีหลายจุดบริเวณที่ยังไม่ได้เกิดการระเบิดขึ้นตามแนวรอยเดิมนี้

โดยเฉพาะการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กระดับขนาด 1-2 ที่ไม่ได้เป็นอันตรายมาก แต่ก็ไม่ควรประมาท เพราะเป็นตัวชี้ว่า “แผ่นดินไหวขนาดเล็ก” กระจุกอยู่บริเวณจุดนั้น ย่อมมีโอกาสขยายตัวเป็นการเกิดแผ่นดินไหวในระดับขนาดกลางและขนาดใหญ่แฝงอยู่ตามแนวรอยเลื่อนนี้ก็ได้ กลายเป็นพื้นที่มีความอันตรายด้วยซ้ำ

ดังนั้น...“ประเทศไทย” มีโอกาสรับความเสี่ยงจากผลกระทบการเกิดแผ่นดินไหว แบ่งออกเป็น 3 กรณี คือ กรณีแรก...การเกิดแผ่นดินไหว ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี ระดับขนาด 7-8 มีระยะห่างจากกรุงเทพฯ 200 กม. เพราะหลายสิบปีก่อนก็เคยเกิดขนาด 5.9 มาแล้ว กรณีที่สอง...แผ่นดินไหวรอยเลื่อนสะแก สามารถเกิดระดับขนาด 7-8

เพราะเป็นรอยขนาดใหญ่ผ่ากลางเมียนมาต่อเนื่องมาทะเลอันดามัน อยู่ห่างกรุงเทพฯ 400 กม.มีประวัติเกิดบ่อยครั้งเช่นกัน กรณีที่สาม...การชนกันของแผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย และอินเดียออสเตรเลีย จากด้านเหนือลงมาฝั่งใต้เมียนมา มีจุดเชื่อมต่อในทะเลอันดามันนี้

อย่างไรก็ดี...“พื้นที่ที่มีความปลอดภัย” มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวน้อยมากๆ คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และฝั่งตะวันออก เพราะมีสภาพธรณีวิทยาค่อนข้างปกติ ที่ตั้งห่างแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวมากพอสมควร ส่วน “พื้นที่เสี่ยงสูง” ได้แก่ ภาคเหนือ และฝั่งตะวันตกของประเทศไทย รองลงมา ภาคกลาง กรุงเทพฯ และภาคใต้...

เรื่อง “แผ่นดินไหว” นับว่า “ยังมีความเสี่ยงต่ำ” ถ้าหากเกิดแต่ละครั้งย่อมทำลายล้างได้อย่างมหาศาล...ด้วยเหตุนี้ “อย่าประมาท” ต้องตระหนัก และเตรียมพร้อมรับมือไว้ตั้งแต่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นดีที่สุด...

ส่วนใดของประเทศไทยที่มีโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวได้ มากที่สุด

: จังหวัดใดในประเทศไทยที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด : จังหวัดกาญจนบุรี

ภูมิภาคใดของประเทศไทยที่เสี่ยงต่อการเกิดแผ่นดินไหว

แผนที่บริเวณเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย พ.ศ. 2548 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยออกเป็น 5 ระดับ พบว่าพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการเกิดแผ่นดินไหวสูงที่สุดของประเทศไทยคือพื้นที่บริเวณภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ รอยเลื่อนเมย และรอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน

ภาคใดในประเทศไทยมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหว เพราะเหตุใด

ผศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์ หัวหน้าโครงการวิจัย “โครงการปรับปรุงแผนที่ความเสี่ยงแผ่นดินไหวในประเทศไทยแบบบูรณาการข้อมูล” ระบุว่า แม้ประเทศไทยไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้ขอบแผ่นเปลือกโลก แต่จริงๆ แล้วเรามี “รอยเลื่อนมีพลัง” อยู่เป็นจำนวนมาก แผ่นดินไหวจึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้ โดยบริเวณที่มีความเสี่ยงส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือกับตะวันตก

บริเวณใดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวมากที่สุด

บริเวณที่เกิดแผ่นดินไหว 1. แนวรอยต่อล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิก จัดว่าเป็นบริเวณที่เกิดค่อนข้างรุนแรงและมากที่สุด (80 %ของการเกิดแผ่นดินไหนทั่วโลก) 2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและหิมาลัยในเอเชีย (15 %) 3. แนวรอยต่อบริเวณแนวสันกลางมหาสมุทรต่างๆ (5%) เช่น เทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย และ อาร์กติก