วิธีการบำรุงรักษาที่ใช้ประจำมีกี่วิธีอะไรบ้าง

มีความสําคัญตอการบริหารงานของหนวยงานทุกแหง เพราะการ บํารุงรักษามีผลเกี่ยวพันไปยังขั้นตอนต่าง ๆ ของการบริหารพัสดุอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ถ้า หน่วยงานใดไม่มีการบํารุงรักษาพัสดุหรืออุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ก็จะมีผลต่อการดําเนินงานด้านการจัดซื้อของหน่วยงานนั้น คือเมื่อพัสดุมีการเสียหาย เสื่อม สภาพเร็วกว่าปกติ ก็จะต้องมีการจัดซื้อหรือจัดหาของใหม่มาเพิ่มเติมทดแทนมากขึ้น และ เมื่องานด้านจัดซื้อมีมากขึ้น ก็มีผลกระทบถึงงานด้านการควบคุมเก็บรักษาและแจกจ่ายพัสดุ ด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดก็ตามจะให้ความสนใจในด้านการบํารุงรักษา เพราะ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในคาวัสดุและครุภัณฑ์นั้น ๆ

ความหมายของการบํารุงรักษา การบํารุงรักษา หมายถึง การกระทําใด ๆ ก็ตามที่มุ่งหมายจะรักษาพัสดุ เช่น เครื่องจักร ยานพาหนะ เครื่องใช้อุปกรณ์ต่างๆ ตลอดจนอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เพื่อประโยชน์ ในการบริหารงานของหน่วยงานให้อยู่ในสภาพที่ดี สามารถใช้การได้หรือพร้อมที่จะใช้การ ได้อยู่เสมอ หากเกิดสภาพชํารุด เสียหาย หรือขัดของก็รีบจัดการซ่อมแซมแก้ไขเพื่อให้กลับ คืนสภาพดีอย่างเดิมโดยเร็วที่สุด

คําว่า การกระทําใด ๆ” นั้นหมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ นับตั้งแต่ การออกแบบ และ การผลิต ซึ่งจะต้องคํานึงถึงสภาพความคงทน และความสะดวกในการซ่อมแซมและดูแล รักษา การควบคุมคุณภาพ รวมทั้งการวางมาตรฐานของพัสดุ เชน อะไหล รูปแบบ เครื่องมือช่าง ฯลฯ นอกจากนั้นยังหมายถึงการดูแลรักษา การทําความสะอาด การเช็ดถู การ ป้องกัน ด้วยการหอหุ้มด้วยภาชนะหรือวัตถุอื่น การถนอมรักษาคุณภาพด้วยวิธีการทาง วิทยาศาสตร์ และการใช้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่ผู้ผลิตแนะนํา ปรีชา จําปารัตน และไพศาล ชัยมงคล, การบริหารงานพัสดุ : ทฤษฎีและปฏิบัติ, กรุงเทพฯ ไทยวัฒนาพ เนช 2519

การบํารุงรักษา หมายถึง งานที่ต้องปฏิบัติเพื่อรักษาสภาพหรือยกสภาพของเครื่อง จักรอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ได้มาตรฐานที่กําหนดหรืออีกนัยหนึ่ง เป้าหมายของการบํารุงรักษา คือ การดูแลเครื่องจักรอุปกรณ์ และโรงงานให้มีประสิทธิภาพในการทํางาน และสามารถใช้งาน ได้ตามที่ฝ่ายผลิตต้องการ ซึ่งหมายถึงความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ คือ

1. เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้ เมื่อต้องการทําการผลิต

2. เครื่องจักรต้องไม่ชํารุดขณะทําการผลิตอยู่

3. เครื่องจักรต้องสามารถทําการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับการผลิตระดับหนึ่งที่ต้องการ

4. การหยุดเครื่องจักรเพื่อซ่อมแซมต้องไม่ขัดกับแผนการผลิต 

5. เวลาหยุดเครื่องจักร (down time) ต้องให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทําได้

จากความหมายดังกล่าวสรุปได้ว่าการบํารุงรักษาเป็นการกระทําต่าง ๆ ที่มุ่งหมายจะรักษาพัสดุอุปกรณให้อยู่ในสภาพดีสามารถใช้งานได้เลยหรือพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา

หากคุณเป็นผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงและทรัพยากร คุณคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “ ถ้ายังไม่พังอย่าพึ่งซ่อม” ความคิดนี้อาจใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่ การบำรุงรักษาเชิงรับ Reactive Maintenance นี้อาจทำให้สิ้นเปลืองเงินหลายแสนบาทในแต่ละปี เนื่องจากขาด การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน Preventive Maintenance อย่างสม่ำเสมอ ความเสียหายที่เกิดขึ้นจะทำให้คุณเครียดและต้องใช้เวลานานในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษาที่มากกว่าเดิมหลายเท่า

หากทีมของคุณยังคงใช้วิธีการบำรุงรักษาเชิงรับอยู่ ถึงเวลาสำหรับการเปลี่ยนแปลงแล้ว เพราะการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เข้มงวดนั้นถือเป็นกุญแจสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์ของคุณให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้ Good Material ได้เขียนถึงการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน วิธีการ ข้อดีข้อเสีย  ตัวอย่าง และ เครื่องมือที่จะเพื่อให้บริษัทและเครื่องจักรของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Table of Contents

  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : Preventive Maintenance คือ ?
  • ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?
  • ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง?
    • 1.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา
    • 2.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน
  • ข้อดี – ข้อเสีย ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
    • ข้อดีของ Preventive Maintenance
    • ข้อเสียของ PM
  • Reactive Maintenance VS Preventive Maintenance แตกต่างกันอย่างไร?
  • 4 กิจกรรมสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?
  • อะไรคือตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance
  • ตัวอย่างแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
  • วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน : Preventive Maintenance คือ ?

PM : Preventive Maintenance  คือ การคาดการณ์และป้องกันความเสียหายของอุปกรณ์ในอนาคต เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะทำการตรวจสอบ, บำรุงรักษาและซ่อมแซมอุปกรณ์หรือวัสดุอยู่ตลอดเพื่อให้แน่ใจว่าพวกมันสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการนี้ยังช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับรวมถึงยังมีเวลาเพิ่มในการทำงานด้านอื่นๆอีกด้วย

ตามหลักทั่วไป การป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นล่วงหน้านั้นถือว่าดีกว่าอยู่แล้ว การบำรุงรักษาเชิงป้องกันช่วยลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาที่ไม่คาดคิดโดยการส่งเสริมประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่ดีที่สุด รายการต่อไปนี้แสดงถึงวิธีการบางประการที่ทีมดูและทรัพย์สินและฝ่ายซ่อมบำรุงสามารถอยู่เหนือการบำรุงรักษาเชิงป้องกันในแผนกของตนได้:

  • กำหนดเวลาและดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ
  • ทำความเครื่องจักรและทรัพย์สินเป็นประจำ
  • หล่อลื่นชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวเพื่อลดการสึกหรอ
  • ปรับการควบคุมประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีที่สุด
  • ซ่อมแซมและเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่ชำรุด
  • ดูแลน้ำมันหล่อลื่นให้สะอาดอยู่เสมอ

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?

การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีเป้าหมายครอบคลุม 2 ประการ : เพื่อยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักร และเพิ่มผลผลิต และ เพื่อให้ผู้คนและทรัพย์สินปลอดภัยจากอันตรายจากอุปกรณ์ต่างๆ ผู้จัดการฝ่ายซ่อมบำรุงและทีมสามารถใช้หลักการของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

วิธีการบำรุงรักษาที่ใช้ประจำมีกี่วิธีอะไรบ้าง

  • ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
  • เพิ่มความปลอดภัยและลดโอกาสบาดเจ็บของพนักงาน
  • ลดค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆลง
  • ป้องกันอุปกรณ์หลักพังก่อนเวลาอันควร
  • ลดขั้นตอนการตรวจสอบและตรวจจับที่ไม่จำเป็นลง
  • พร้อมรับมือและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
  • ลดข้อผิดพลาดในการดำเนินงานประจำวันลง
  • ปรับปรุงความน่าเชื่อถือของอุปกรณ์ (Machine Reliability)

 

ประเภทของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง?

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันแบ่งออกเป็นการบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา, การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานหรือทั้ง 2 อย่างรวมกัน

1.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลา

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามระยะเวลาคือการตรวจสอบชิ้นส่วนอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการผลิตในกรณีที่พบความชำรุดหรือเสียหาย

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามเวลาเหมาะที่สุดสำหรับสินทรัพย์ที่มีขอบเขต (เช่นอุปกรณ์ดับเพลิง / รักษาปลอดภัย) และทรัพย์สินที่สำคัญ (เช่นระบบ HVAC และปั๊มต่างๆ) รวมถึงยังสามารถใช้แนวทางนี้สำหรับสินทรัพย์ใดๆที่ต้องการการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้อีกด้วย

2.การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งานคือแนวทางที่ทำให้เกิดการบำรุงรักษาหลังจากมีการใช้งานไปแล้วช่วงเวลาหนึ่ง (เช่นทุกๆ“ X” ของกิโลเมตร, ไมล์, ชั่วโมงหรือรอบการผลิต)

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันตามปริมาณการใช้งาน จะช่วยให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ยังคงทำงานได้ตามที่ผู้ผลิตต้องการ ไม่เหมือนกับการบำรุงรักษาตามระยะเวลาซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดที่เข้มงวดกว่า วิธีการนี้สามารถใช้ตรวจสอบได้ทุกเดือนหรือทุกหกเดือนก็ได้

 

ข้อดี – ข้อเสีย ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

ข้อดีของ Preventive Maintenance

  • เพิ่มความปลอดภัย การบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะเข้าไปตรวจสอบและป้องกันกันความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นการป้องกันการบาดเจ็บของพนักงาน ลดความเสี่ยงและความเสียหายจากการฟ้องร้องได้
  • อายุการใช้งานของอุปกรณ์ที่เพิ่มมากขึ้น  การเข้าไปตรวจสอบเชิงรุก และป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ เพื่อแน่ใจว่าเครื่องจักร และอุปกรณ์ยังสามารถทำงานได้อย่างราบลื่นลดโอกาสเสียหายครั้งใหญ่ เพราะถ้าปล่อยให้ชิ้นส่วนที่ล้มเหลวบางชิ้น จะส่งผลต่ออุปกรณ์โดยรวมส่งผลให้ต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนอะไหล่ที่มีราคาแพง
  • เพิ่มผลผลิต สถิติในหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบำรุงรักษาที่ไม่ดีลดกำลังการผลิตของเครื่องจักรและบริษัทได้ถึง 20% แต่หากคุณบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างสม่ำเสมอสามารถป้องกันการลดลงของประสิทธิภาพการผลิต  ลดเวลาหยุดงานของเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  • ต้นทุนลดลง ต้นทุนที่มองเห็น ไม่แพงเท่ากับ ต้นทุนที่มองไม่เห็น อาจะมากกว่าถึงสิบเท่าด้วยกัน ถ้าคุณสามารถหา รากของปัญหา Root Cause ในเครื่องจักรแล้วซ่อมบำรุงหรือรักษาสภาพได้ดี จะช่วยลดการบำรุงรักษาเชิงรับ ลดการหยุดงานของเครื่องจักร Machine Downtime และลดความเสียหายของเครื่องจักรโดยรวม ซึ่งเป็นการลดต้นทุนของบริษัทในที่สุด

 

ข้อเสียของ PM

แม้ว่าข้อดีของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะมีข้อดีที่ชัดเจน แต่ก็มีข้อจำกัดบางประการที่ต้องพูดถึง

  • ข้อจำกัดด้านงบประมาณ ในธุรกิจขนาดเล็กอาจะพบว่าการ เครื่องมือสำหรับบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ ซอฟต์แวร์บริหารจัดการมีราคาสูง และ ควรจ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกมาช่วบริหารจัดการ จึงมีปัญหาด้านงบประมาณได้
  • ต้องการทรัพยากรเพิ่ม การบำรุงรักษาเชิงป้องกันให้ประสบความสำเร็จอาจจะต้องใช้พนักงานที่มีความรู้ความเข้าใจ หรือมีประสบการณ์ทำให้อาจจะต้องจ้างบุคลากรเพิ่ม หรือ จ้างผู้เชี่ยวชาญภายนอกเข้ามาช่วยจัดการ

 

Reactive Maintenance VS Preventive Maintenance แตกต่างกันอย่างไร?

การบริหารจัดการทรัพยากรอาคารนั้นกล่าวได้ว่า การบำรุงรักษาแบบเชิงรับ (Reactive Maintenance) ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้  สิ่งของทุกชิ้นสามารถเสียหายได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตามเราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้ได้โดยการใช้การบำรุงแบบเชิงรุก และเราจะมาเปรียบเทียบระหว่างการบำรุงรักษาแบบเชิงรุกและเชิงรับกันดังต่อไปนี้

  • การบำรุงรักษาเชิงรับ : มุ่งเน้นไปที่การวินิจฉัยและแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดความเสียหายหรือทำงานผิดปกติแล้ว ช่างซ่อมบำรุงจะระบุปัญหาที่เกิดขึ้นและซ่อมแซมให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ.
  • การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน  : มุ่งเน้นไปที่การบำรุงรักษาตามกำหนดอย่างสม่ำเสมอ เป้าหมายของการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน คือ การดูแลอุปกรณ์ต่างๆที่ยังทำงานอยู่ให้ทำงานได้ตามปกติต่อไป วิธีนี้ช่วยลดค่าใช้จ่ายสูงและลดโอกาสการทำงานผิดปกติในอนาคตอีกด้วย

ความเข้าใจผิดทั่วไป คือ การบำรุงรักษาแบบเชิงรับนั้นไม่ดี ความจริงก็คือแผนกที่ดูแลบริหารทรัพยากรหรือฝ่ายซ่อมบำรุงส่วนใหญ่จะมีการบำรุงรักษาเชิงรับและการบำรุงรักษาเชิงป้องกันร่วมกันตลอด เนื่องจากการที่เราจะคาดการณ์และป้องกันการเสียหายของอุปกรณ์และสินทรัพย์ทั้งหมดถือเป็นเรื่องที่ยาก

 

4 กิจกรรมสำคัญของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?

4 ขั้นตอนสำคัญมีดังนี้: การตรวจสอบ, การตรวจจับ, การแก้ไข และการป้องกัน เรามาดูกันว่าแต่ละขั้นตอนทำงานกันแบบไหนกันบ้าง

1.การตรวจสอบ

การตรวจสอบเป็นส่วนที่จำเป็นของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการช่วยเหลือองค์กรใน 2 วิธี วิธีแรกการตรวจสอบเครื่องจักร สารหล่อลื่นเครื่องจักร รวมถึงสถานที่ เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจักร อุปกรณ์ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์และพร้อมใช้งาน การตรวจสอบเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเสียหายและช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจอีกด้วย อันดับที่สองคือการตรวจสอบเป็นประจำเพื่อปกป้องทรัพย์สินเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์ทั้งหมดทำงานได้ตามที่ผู้ผลิตต้องการ

2.การตรวจจับ

การใช้งานจนพังนั้นอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพจำนวนมากเลือกใช้การบำรุงรักษาเชิงป้องกันเพราะมันช่วยให้พบปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆโดยที่ปัญหายังค่อนข้างแก้ไขง่ายและใช้เงินไม่มากนัก

3.การแก้ไข

การบำรุงรักษาเชิงป้องกันสนับสนุนให้ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพใช้แนวทางเชิงรุกในการดูแลอุปกรณ์และแก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดขึ้น หากตรวจพบปัญหา (หรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้น)ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพจะเข้าแก้ไขปัญหาทันทีก่อนที่มันจะแย่ลงหรือไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป

4.การป้องกัน

ผู้จัดการทรัพยากรกายภาพสามารถรวบรวมบันทึกการตรวจสอบและการบำรุงรักษาเพื่อเรียนรู้จากข้อผิดพลาดในอดีตและแก้ไขปัญหาที่เกิดซ้ำกับอุปกรณ์ นั้นๆ วิธีนี้จะช่วยลดความเครียดและเพิ่มผลผลิตได้เมื่ออุปกรณ์ทำงานตามที่ควร เจ้าหน้าที่สามารถมุ่งเน้นไปที่งานบำรุงรักษาเชิงรุก (แทนที่จะเป็นเชิงรับ)

 

อะไรคือตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance

  • ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ถ้าการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของคุณมีประสิทธิภาพ คุณจะวัดผลได้โดยการตรวจวัดจากเวลาการหยุดงานของเครื่องจักร Machine Downtime จะลดลงอย่างมันัยสำคัญและผลผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น

 

  • ประหยัดต้นทุน : ค่าอุปกรณ์การซ่อมแซม ค่าแรงจะลดลง คุณจะสามารถลดการซ่อมบำรุงแบบตอบสนอง Reactive Maintenance ได้ช่วยในการลดเวลาการทำงานของพนักงานนอกเวลาที่ต้องคอยสแตนบายว่าเครื่องจักรอาจจะเสียหายได้ทุกเมื่อ ลดต้นทุนค่าอุปกรณ์และอะไหล่ได้ เพราะเมื่อคุณมีการกำหนดเวลาล่วงหน้าแล้ว การสั่งชิ้นส่วนและวัสดุต่างๆจะมีการจัดส่งในราคาที่ถูกที่สุด แต่ถ้าเกิดคุณไม่มีการวางแผน จนเกิดเหตุเครื่องจักรพังลงและคุณไม่มีอะไหล่ในการซ่อมบำรุงที่เหมาะสมในสินค้าคงคลังคุณจำเป็นจะต้องใช้การส่งด่วนที่สุดที่มีราคาแพง

 

ตัวอย่างแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ

1.ต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กร

ในการบริหารจัดการโรงงานและเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพด้วยการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หมายความ คุณต้องมีเป้าหมายเดียวกันทั้งเจ้าของบริษัท ผู้บริหารระดับสูง รวมถึงช่างซ่อมบำรุงของคุณ คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีเครื่องมือและกระบวนการที่จำเป็น รวมทั้งมีบุคลากรที่รับผิดชอบโปรแกรมการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

2.สร้างและจัดทำรายงานการตรวจสอบบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

การสร้างและทำรายงานการบำรุงรักษาเชิงป้องกันจะเป็นการทำความเข้าใจโครงการสร้างซ่อมบำรุงของเครื่องจักรทุกชนิด อาจจะเริ่มจากการทำ Preventive Maintenance Process Flow และค่อยทำเป็นลิสต์สำหรับการตรวจสอบการซ่อมบำรุง เพื่อที่จะสามารถมอบหมายและสรุปงานกับเจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงที่ต้องดำเนินการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงต่อไป

วิธีการบำรุงรักษาที่ใช้ประจำมีกี่วิธีอะไรบ้าง

ตัวอย่างของ PM process flow รูปจาก oracle

ถ้าคุณสามารถสร้างลิสต์รายการตรวจสอบที่ถูกออกแบบมาอย่างดีจะช่วยลดข้อผิดพลาดของมนุษย์และจะสามารถปรับปรุงความน่าเชื่อถือของเครื่องจักร Machine Reliability และอื่นๆอีกมามาย ในการสร้างรายการตรวจสอบการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน PM ให้ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้

  • สรุปเป้าหมายการบำรุงรักษาของคุณ
  • เลือกทรัพย์สินหรือเครื่องจักรที่จะซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน
  • ตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องจักร สถานที่ของคุณ
  • จดทุกคำแนะนำ มาตรฐานการซ่อมบำรุงและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร
  • สรุปงานที่ต้องบำรุงรักษาเชิงป้องกันในเครื่องจักรหรือทรัพย์สินแต่ละชิ้น
  • สร้างรายงานการตรวจสอบ
  • ฝึกอบรมบุคลากร
  • ติดตามผล เก็บสถิติและปรับเปลี่ยนให้ดียิ่งขึ้น

3.ค้นหาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ทรัพย์สินหรือเครื่องจักรพัง!!

ถ้าคุณสามารถค้นหาต้นเหตุจนเจอและสามารถระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้เครื่องจักรคุณพังได้ คุณจะสามารถสร้างโปรแกรมการบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เชื่อมโยงโดยตรงกับการลดโอกาสของความล้มเหลวนั้นๆ การพังของอุปกรณ์หรืออะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนบ่อยครั้งในเครื่องจักร ในหลายกรณีเกิดจากการสึกหรอของเครื่องจักร ปัญหาด้านอุณหภูมิ และ การหล่อลื่นในระบบ

**บทความนี้จะลงรายละเอียดเพิ่มเติมที่ด้านล่าง การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ!!

4.คุณต้องทำความคุ้นเคยกับเครื่องจักร

หากคุณกำลังจัดการเครื่องจักรใหม่แกะกล่อง สิ่งแรกที่จำเป็นคือการอ่านคู่มือและทำความรู้จักรคุ้นเคยกับอุปกรณ์ เครื่องมือ หรือ เครื่องจักรของคุณให้ดีที่สุด เมื่อนำไปใช้งานได้แล้วอย่าลืมส่งต่อความรู้เกี่ยวกับการใช้งาน อุปกรณ์สู่ช่างเทคนิก และฝ่ายที่ต้องอยู่หน้างาน

5.รวมทุกองค์ความรู้และอบรมพนักงานอย่างต่อเนื่อง

ในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของบริษัทคุณ พนักงานต้องเข้าใจวิธีการใช้อุปกรณ์อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนวิธีการดูแลเครื่องจักรของตน (มีความเป็นเจ้าของเครื่องจักร) นอกจากนี้หากผู้ปฎิบัติงานได้รับการฝึกฝนและถูกปฎิบติในฐานะสมาชิกที่มีคุณค่าของธุรกิจ พวกเขาจะมีแนวโน้มที่จะจับตาดูกิจกรรมอุปกรณ์ที่น่าสงสัย เช่น เครื่องสั่นผิดปกติ มีเสียงที่ผิดปกติ และแจ้งฝ่ายที่เกี่ยวข้องล่วงหน้า

6.เริ่มต้นตารางการบำรุงรักษาตามที่ผู้ผลิตเครื่องจักรแนะนำ

ในฐานะผู้ผลิตเครื่องจักรหนักพวกเขามักใช้เวลาส่วนใหญ่ในการทดสอบเครื่องจักร ่เช่น การกดดันในภาวะต่างๆ การใช้งานที่ผิดปกติ ทดสอบความสกปรกของน้ำมันหล่อลื่น ก่อนที่จะส่งไปให้ลูกค้าใช้งาน เพื่อที่เขาจะแนะนำได้ว่าคุณควรจะบำรุงรักษาอย่างไร เช่น ในเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันควรมีค่าไม่สูงกว่า ISO 13/10 หรือ มีน้ำเข้าไปผสมในน้ำมันไม่ควรเกิน 300 PPM เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเยี่ยมของแผนการซ่อมบำรุง อย่างไรก็ตามคุณควรพิจาณาถึงองค์ประกอบอื่นควรคู่ไปด้วย เช่น เครื่องจักรคุณทำงานในสภาพอางกาศท้องถิ่นหรือมีสภาพพื้นที่เฉพาะ อยู่ในพื้นที่ที่มีความชื้นและความร้อนเป็นจำนวนมาก อาจจะส่งผลให้ระยะเวลาบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่สั้นลง

7.ติดตามข้อมูลทั้งหมดและบันทึกทุกการเปลี่ยนแปลง

หลังจากเริ่มทำการบำรุงรักษาเชิงป้องกันสักระยะคุณจะสามารถสะสมข้อมูล เก็บสถิติ สามารถดูได้ว่ามีการดำเนินการบำรุงรักษาและซ่อมแซมเครื่องจักรใดไปบ้าง ณ เวลาใด คุณจะสามารถเทียบสถิติกับเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ที่คล้ายคลึกกันเพื่อหาว่าการบำรุงรักษาแบบใดให้ประสิทธิภาพดีกว่า รู้ถึงระยะเวลาที่คาดว่าจะต้องซ่อมบำรุง เปลี่ยนอะไหล่ มากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงต้นทุนจมในการสต็อกอะไหล่สำรองจะลดลง คุณภาพของข้อมูลจะช่วยให้ทีมผู้บริหารตัดสินได้อย่างชาญฉลาด

  • บทความที่เกี่ยวข้อง : CMMS คืออะไร และช่วยปรับปรุงคุณภาพการซ่อมบำรุงได้อย่างไร

 

วิธีเพิ่มประสิทธิภาพของ Preventive Maintenance 

เพียงคุณให้ความสำคัญมากขึ้น 20 % กับการดูแลรักษาเชิงป้องกัน จะสามารถลดต้นทุนและความเสียหายจากการบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) ลดถึง 80 % ทั้งลดอัตราการซ่อม ลดต้นทุนการสำรองอะไหล่ที่คุณต้องสำรองไว้สำหรับความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว

แต่ยังมีวิธีที่ช่วยคุณเพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาให้มากยิ่งขึ้น !! นั่นคือ. . .

การบำรุงรักษาที่ต้นเหตุของการพังของเครื่องจักร  (Root cause machine downtime) 

จากงานวิจัยของบริษัท Shell ที่ได้เก็บข้อมูลของลูกค้าในอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรไฮดรอลิก เพื่อหาว่า สาเหตุที่ทำให้เครื่องไฮดรอลิกต้องหยุดเดิน โดยสาเหตุต่างๆเกิดจาก…

  • 80% ของน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้มีสภาพไม่สมบูรณ์
  • 10% จากการวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้องรวมทั้งไม่มีความรู้ดีพอที่จะทำการแก้ไข
  • 10% เกิดจากการติดตั้งระบบไม่ดี เช่น ชิ้นส่วนต่างไม่ได้เข้ากันพอดี ซีลรั่ว

อีกทั้งทางเชลล์ได้ทำการศึกษาผลที่ได้จาก Shell e-quip (โปรแกรมการดูแลสภาพเครื่องจักรของเชลล์) โดยตรวจสอบน้ำมันตัวอย่างที่เอาออกมาจากเครื่องจักรโดยตรง  พบว่าการปนเปื้อนและการกรองน้ำมันที่ไม่ดีเป็นสาเหตุหลักถึง 60% ของปัญหา  การสึกหรออย่างผิดปกติ 22%  การเสื่อมของน้ำมัน 12% และคุณภาพของน้ำมันเองอีก 6%

จะเห็นว่า 80% ของการหยุดงานของเครื่องจักร มาจากน้ำมันไฮดรอลิกที่ใช้มีสภาพไม่สมบูรณ์คือ ปัญหาใหญ่อันดับหนึ่งของระบบไฮดรอลิก

นอกจากคุณจะต้องให้ความสำคัญกับการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันในเครื่องจักร อุปกรณ์ แล้ว ถ้าคุณให้ความสำคัญในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน โดยเล็งเห็นว่า “น้ำมันหล่อลื่น” ในเครื่องจักร ถือเป็นทรัพย์สินที่สามารถซ่อมบำรุงให้สะอาดอยู่ตลอดเวลาได้ จะเป็นการช่วยให้การซ่อมบำรุงเชิงป้องกันของคุณมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไปอีก