การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร

ตลอดสัปดาห์นี้ Voice News นำเสนอรายงานพิเศษ "แสวงบุญพุทธภูมิ" วันนี้(23ต.ค.)เป็นเรื่องราวก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์เคยศึกษาและบำเพ็ญเพียรมาหลายวิธี โดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกรกิริยา บนเขาดงคสิริ แต่สุดท้ายก็พบว่า ไม่ใช่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง 

เขาสูงชันแห่งนี้ มีชื่อว่า "ดงคสิริ" เป็นสถานที่บำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้า ก่อนที่จะทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ หรือโมกขธรรม หมายถึง หลักธรรมแห่งการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งมวล 

เขาดงคสิริ ตั้งอยู่ที่เมืองพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย หรือตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาล ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ประมาณ 16 กิโลเมตร โดยมีแม่น้ำเนรัญชราคั่นกลาง

ภายในถ้ำดงคสิริ ประดิษฐานพระพุทธรูปพระโพธิสัตว์ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา ประทับนั่งขัดสมาธิ  พระหัตถ์ทั้งสองซ้อนกันบนพระเพลา หรือ ตัก พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย  พระวรกายซูบผอมจนพระอัฐิ หรือ กระดูก และพระนหารุ หรือ เส้นเอ็น ปรากฏชัดเจน 

พระพุทธรูปนี้ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ตรงกลางถ้ำ เพราะมีผู้ศรัทธามาปิดทองด้วยความเชื่อที่ว่า จะเป็นสิริมงคลต่อตัวเอง  หากเจ็บป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บตรงไหนของร่างกาย ก็ให้ปิดทององค์พระตรงนั้นอาการป่วยจะหายเป็นปกติ

การเดินทางมากราบไหว้สักการะถ้ำดงคสิริ นอกจากจะเป็นสิริมงคลแก่พุทธศาสนิกชนแล้ว ยังเป็นการศึกษาพุทธประวัติก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าด้วย โดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกรกิริยา หรือการทำความเพียรทางกายด้วยการทรมานตนเอง กลั้นลมหายใจ และอดน้ำ-อดอาหาร 

6 ปี แห่งการศึกษาจากอาจารย์หลายสำนักและบำเพ็ญทุกรกิริยา ไม่ได้ทำให้พระพุทธเจ้า เข้าสู่หนทางแห่งการหลุดพ้นตามที่ตั้งใจไว้ จึงหันมาใช้วิธีเจริญจิตภาวนา หรือการบำเพ็ญทางจิต ทำให้พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่สุด ในเวลารุ่งสางของวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันวิสาขบูชาในปัจจุบัน

รูปปั้นนางสุชาดาน้อมถวายข้าวมธุปายาสแด่พระพุทธเจ้า ตั้งอยู่ภายในวัดนางสุชาดา ใกล้กับแม่น้ำเนรัญชรา เป็นเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่เกิดขึ้นก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 

นางสุชาดา เคยบวงสรวงขอบุตรชายต่อเทวดาประจำต้นไทร เมื่อได้บุตรชายตามต้องการแล้ว นางจึงให้คนรับใช้ทำข้าวมธุปายาสถวายเทวดา แต่เมื่อเห็นพระพุทธเจ้าประทับนั่งใต้ร่มไทร นางสุชาดาก็นึกว่าเป็นรุกขเทวดาที่แสดงตนมาเป็นนักบวช เพราะมีลักษณะงาม นางจึงน้อมข้าวมธุปายาสนั้นเข้าไปถวาย 

พระพุทธเจ้า ได้นำข้าวมธุปายาสมาแบ่งเป็น 49 ก้อน แล้วฉันจนหมด จากนั้นจึงนำถาดไปลอยในแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสามารถตรัสรู้ได้หรือไม่ ข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาจึง นับว่าเป็นอาหารมื้อสุดท้าย ก่อนที่พระพุทธเจ้าได้บรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ 

การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร
ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา
การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร

การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร

          ทรงเริ่มบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยา ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันว่าจะเป็นหนทางที่ทำให้
ตรัสรู้ โดยกดพระทนต์ด้วยพระทนต์,  กดพระตาลุ(เพดานปาก) ด้วยพระชิวหา(ลิ้น),
ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะ, ทรงอดพระกระยาหาร จนพระวรกายเหี่ยวแห้ง
พระฉวี(ผิวพรรณ)เศร้าหมอง  มีพระอาการประชวรอ่อนเพลียอิดโรย จนหมดสติล้มลง

          เมื่อฟื้นคืนสติ ทรงเห็นว่าผู้ที่ทำความเพียรด้วยการทรมานร่างกาย
ยิ่งกว่าเรานั้นไม่มี  เราปฏิบัติอุกฤษฏ์ถึงขนาดนี้แล้ว ยังไม่สามารถจะบรรลุ
พระโพธิญาณได้ ชะรอยหนทางแห่งการตรัสรู้คงจะเป็นหนทางอื่น มิใช่ทางนี้เป็นแน่

การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร


             ขณะนั้นพระอินทร์ทรงทราบความปริวิตกของพระมหาบุรุษ  จึงนำพิณทิพย์
สามสายมาดีดถวายให้พระโพธิสัตว์ได้สดับ

          เมื่อพระองค์ได้สดับเสียงพิณแล้วก็ทรงเปรียบเทียบการปฏิบัติกับพิณสามสายว่า
            “สายหนึ่งตึงนัก พอดีดไปหน่อยก็ขาด สายหนึ่งหย่อนนัก ดีดไม่มีเสียง
ส่วนอีกสายหนึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักพอปานกลาง จะมีเสียงดังไพเราะ”

          พระโพธิสัตว์ทรงถือเอาเสียงพิณนั้นเป็นนิมิตหมาย พิจารณาเห็นแจ้งว่า
           “มัชฌิมาปฏิปทา คือ การปฏิบัติเป็นกลางๆ ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก
คงจะเป็นหนทางแห่งการตรัสรู้แน่นอน”

            จึงตัดสินพระทัยที่จะบำเพ็ญเพียรทางจิตต่อไป และการบำเพ็ญเพียร
ทางจิตนั้น บุคคลที่มีร่างกายไม่แข็งแรงทุพพลภาพเช่นเรานี้ไม่สามารถจะเจริญสมาธิได้
จึงได้เสวยพระกระยาหารบำรุงร่างกายให้มีกำลังก่อนแล้วจึงบำเพ็ญเพียร
ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นจึงทรงถือบาตรเที่ยวบิณฑบาตมาเสวยพระกระยาหารตามเดิม

การบําเพ็ญทุกรกิริยาส่งผลต่อพระพุทธเจ้าอย่างไร

            ฝ่ายปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการปฏิบัติแบบทรมานร่างกาย
ครั้นเห็นพระองค์ทรงหันมาบริโภคอาหาร จึงเข้าใจว่า  พระองค์ทรงละความเพียร
เสียแล้ว จึงพากันหลีกหนีทิ้งพระองค์ให้ประทับอยู่ตามลำพัง

ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง

บทภาพยนตร์

บรรยาย
            พระมหาบุรุษต้องการแสวงหาหนทางตรัสรู้  จึงทรงทรมานตนเองตามคตินิยม
ของพวกนักบวช เป็น ๓ วาระ

            วาระที่ ๑ ทรงใช้ฟันกดฟัน  ใช้ลิ้นกดเพดานปากไว้แน่นจนเหงื่อไหลโซม
ได้รับทุกขเวทนาแสนสาหัส  เหมือนมีผู้มาบีบคอไว้แน่น  ครั้นเห็นว่าไม่ใช่หนทางตรัสรู้
จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๒ ทรงกลั้นลมหายใจเข้าออกให้เดินไม่สะดวกจนเกิดเสียงอู้
ในช่องหูทั้งสอง ปวดพระเศียร เสียดท้องและร้อนในพระวรกายอย่างยิ่ง
แม้จะทุกข์ทรมานอย่างหนัก แต่พระองค์ก็มิได้ย่อท้อ ครั้นเห็นว่านี่ก็ไม่ใช่
หนทางตรัสรู้จึงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

            วาระที่ ๓ ทรงอดอาหารจนซูบผอมเหี่ยวแห้งผิวพรรณเศร้าหมอง
กระดูกและเส้นเอ็นปรากฏที่พระวรกายมีพระกำลังถดถอย อิดโรยทนทุกข์ทรมาน
อย่างแรงกล้า พอลูบพระวรกายก็มีเส้นพระโลมาติดมาด้วย

(พระพุทธเจ้า) (เสียงก้องในความคิด)
            เรากระทำทุกรกิริยาทรมานร่างกาย   จนแม้ผู้อื่นก็ไม่สามารถทำได้
ยิ่งกว่านี้แล้ว เหตุใดจึงไม่บรรลุพระโพธิญาณ   หรือว่าหนทางนี้จะไม่ใช่ทางตรัสรู้


(พระอินทร์) (พูดกับตัวเอง)
            พระมหาบุรุษกำลังครุ่นคิดวิตกถึงหนทางตรัสรู้   เราจะช่วยยังไงดีนะ
...ฮ้า...ต้องใช้วิธีนี้

การบำเพ็ญทุกรกิริยาคืออะไรและมีผลอย่างไร

ทุกรกิริยา (บาลี: ทุกฺกรกิริยา; อังกฤษ: self-mortification/ mortification of the flesh) แปลว่า “การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก” ใช้ในบริบททางศาสนาและจิตวิญญาณ เพื่อหมายถึงการทรมานร่างกายตนเอง เพื่อชำระตนให้บริสุทธิ์จากบาป

การบําเพ็ญเพียรของพระพุทธเจ้าคืออะไร

เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช เมื่อพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ได้ศึกษาอยู่ในสำนักของอาจารย์อาฬารดาบส และอุททกดาบสจนสำเร็จ แต่ก็ยังไม่สามารถตรัสรู้ได้ จึงเปลี่ยนวิธีไปเป็น การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุก-กะ-ระ-กิ-ริ-ยา) คือ การทรมานร่างกายให้ลำบากด้วยวิธี ต่าง ๆ ดังนี้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเพื่อแสวงหาหนทางพ้นทุกข์

พระพุทธเจ้าบําเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลากี่ปี

การบำเพ็ญทุกรกิริยา เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัยที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เองแทนที่จะทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์แล้วพระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณแม่น้ำ เนรัญชรานั้น พระมหาบุรุษได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลาปี พระองค์ก็ยังคงมิได้ค้นหาทางหลุดพ้นจาก ...

การบําเพ็ญเพียรทางจิตของพระพุทธเจ้ามีอะไรบ้าง

พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญเพียร ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทรงเริ่มบำเพ็ญสมาธิให้เกิดในพระทัย เรียกว่าการเข้า “ฌาน” เพื่อให้บรรลุ “ญาณ” จนเวลาผ่านไปจนถึง ... ยามต้น : ทรงบรรลุ “ปุพเพนิวาสานุติญาณ” คือทรงระลึกชาติในอดีตทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง : ทรงบรรลุ “จุตูปปาตญาณ” คือการรู้แจ้งการเกิดและดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย