แพลตฟอร์มถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

แพลตฟอร์มถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

การสร้างพื้นที่ที่ตอบโจทย์การแลกเปลี่ยนและความเชื่อมั่นจากกลุ่มเป้าหมายทั้งสองฝั่ง คือหัวใจหลักของแนวคิดการสร้างธุรกิจแพลตฟอร์ม เมื่อความต้องการซื้อกับความต้องการขายมาพบเจอกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย กลายเป็นอีกหนึ่งรูปแบบของการปรับตัวธุรกิจในยุคดิจิทัลที่ใคร ๆ ก็ไม่อาจปฏิเสธได้

แพลตฟอร์มถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียนหัวข้อ Business of Platforms สอนและออกแบบโดยคุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk

การทำธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม (The Business of Platforms)

คำว่า แพลตฟอร์ม (Platform) เริ่มต้นใช้กันมาตั้งแต่ในช่วงปลายของทศวรรษที่ 1990 หมายความถึงเว็บไซต์ยุคบุกเบิกอย่างวิกิพีเดีย (Wikipedia) อีเบย์ (eBay) และมายสเปซ (Myspace)

ซึ่งเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนระหว่างกันของผู้คนที่เข้าไปใช้งาน ไม่ว่าสิ่งที่แลกเปลี่ยนจะเป็นความรู้ ซื้อขายสิ่งของ ผลงานสร้างสรรค์ หรือแม้แต่เรื่องราวส่วนตัว

โดยทั่วไปแพลตฟอร์มหมายถึงรูปแบบของการเชื่อมต่อระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายที่อยู่คนละฝั่งเข้าหากัน แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาสูงขึ้นทำให้สามารถเชื่อมโยงผู้คนหลากหลายกลุ่มเข้าถึงกันได้อย่างเป็นระบบ ทําให้เกิดมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ได้จำกัดรูปแบบว่าจะต้องเป็นแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์เสมอไป เป็นได้ทั้งตลาดจริง (Physical) หรือร่วมกับตลาดในระบบออนไลน์ (Virtual) ก็ได้เช่นกัน

รูปแบบการคิด การทำงานของธุรกิจแพลตฟอร์ม จึงเหมาะสำหรับการปรับตัว ให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดการซื้อขายในยุคดิจิทัลเป็นอย่างยิ่ง

ประเภทของแพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์มถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง: เอกสารประกอบการเรียนหัวข้อ Business of Platforms สอนและออกแบบโดยคุณไผท ผดุงถิ่น ผู้ก่อตั้ง Builk

1. Marketplace Platform

รูปแบบของแพลตฟอร์มที่เปิดพื้นที่ให้ร้านค้ามารวมตัวกันในแพลตฟอร์มเดียว เป็นได้ทั้ง สำหรับสินค้า (Product Marketplace Platform) สำหรับบริการ (Service Marketplace Platform) สำหรับการใช้งานสินทรัพย์ (Asset-Sharing Marketplace Platform)

ผู้ให้บริการ Marketplace Platform จะไม่ได้เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง แต่เป็นผู้ออกแบบการใช้งาน ออกแบบระบบการเลือกซื้อไปจนถึงจ่ายเงินและการจัดส่งสินค้า นอกจากนี้ยังอาจมีการส่งเสริมการตลาดให้เจ้าของร้านขายดีขึ้น และมีการรับประกันให้ผู้ซื้ออุ่นใจว่าจะไม่ถูกโกง

2. Content Platform

รูปแบบของแพลตฟอร์มที่เปิดพื้นที่ให้ผู้ผลิตเนื้อหากับผู้รับเนื้อหาได้มาพบกัน โซเชียลมีเดียเปิดพรมแดนใหม่ ให้ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างง่ายดาย ผู้ให้บริการ Content Platform จะไม่ได้เป็นผู้ผลิตเนื้อหาด้วยตนเอง แต่เป็นผู้ออกแบบระบบให้ผู้ใช้งานสามารถเขียนบทความ ถ่ายวิดีโอ อัดเสียง โพสต์ภาพลงไปบนแพลตฟอร์มเพื่อเผยแพร่ออกไปได้ด้วยตนเอง ผู้ให้บริการอาจเก็บเงินจากโฆษณาในแพลตฟอร์ม หรือเก็บค่าบริการสำหรับการเข้าถึงผู้รับเนื้อหาที่มากขึ้น

3. Sharing Platform

รูปแบบของแพลตฟอร์มที่เปิดพื้นที่ให้ผู้เป็นเจ้าของสินทรัพย์ต่าง ๆ นำมาแบ่งปันให้ผู้ที่ต้องการใช้งานได้เช่านำไปใช้ในเวลาจำกัด ผู้ให้บริการ Sharing Platform จะไม่ได้เป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยตรง แต่สร้างพื้นที่ให้เจ้าของสินทรัพย์กับผู้ต้องการใช้งานได้มาเจอกัน ออกแบบระบบการจองวันเวลา กำหนดระเบียบข้อตกลงต่าง ๆ ในการใช้งาน ไปจนถึงการชดใช้เมื่อสิ่งของเสียหาย

เปลี่ยนธุรกิจดั้งเดิมสู่ธุรกิจแพลตฟอร์ม

แพลตฟอร์มถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

แหล่งอ้างอิง: https://platformbusinessmodel.com/platform-business-model-meaning/

ในกระบวนการสร้างธุรกิจแพลตฟอร์มนั้น ผู้เกี่ยวข้องของธุรกิจ (Stakeholders) จะค่อย ๆ เชื่อมโยงกันจนเกิดเป็น Platform Ecosystem แพลตฟอร์มที่มั่นคงยั่งยืนจึงจำเป็นต้องมีระบบงาน (Exchange Platform) เปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจได้มาพบเจอกัน นำไปสู่การซื้อขายแลกเปลี่ยน ต้องมีระบบรองรับการเกิดธุรกรรมทางธุรกิจ (Transaction Platform) มีระบบการซื้อขายสินค้าและบริการ การติดตามขั้นตอนการส่งสินค้า และต้องมีโปรแกรมหรือเครื่องมือที่ช่วยอํานวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและการซื้อขาย (Component and Tool-Rich Platform)

ธุรกิจแพลตฟอร์มที่ดีจำเป็นต้องลดต้นทุนของการซื้อขาย มอบความสะดวกสบายให้ผู้ขายและผู้ซื้อได้มากขึ้นตลอดกระบวนการตั้งแต่สนใจเลือกซื้อ การจ่ายเงิน ไปจนถึงบริการหลังการขาย นิยามความสําเร็จของธุรกิจแพลตฟอร์มจึงไม่ได้ขึ้นตรงต่อคุณภาพและราคาของสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มไปพร้อมกันด้วย

การจะเปลี่ยนจากธุรกิจดั้งเดิมไปสู่ธุรกิจแพลตฟอร์ม จึงจำเป็นต้องเข้าใจพื้นฐานของตนเองและเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของตลาดอย่างถ่องแท้ ก่อนจะเลือกว่าจะต่อยอดอย่างไร มีรูปแบบการปรับตัวไปสู่ธุรกิจแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

1) Enterprise Integration นำข้อมูลที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเข้าถึงผู้เกี่ยวข้องของธุรกิจส่วนต่าง ๆ ออกแบบวิธีการทำธุรกิจแบบใหม่บนแพลตฟอร์มที่มีพื้นฐานรองรับอยู่แล้ว

2) Openness เชื่อมโยงกับธุรกิจอื่น ๆ ที่อยู่ในระนาบเดียวกันเพื่อสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งขึ้น

3) Create Network Effect การสร้างเครือข่ายการเชื่อมโยงผู้เกี่ยวข้องของธุรกิจจำนวนมากด้วยเทคโนโลยีการจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

การทำธุรกิจแพลตฟอร์มเป็นหนึ่งในแนวคิดที่สร้างโอกาสใหม่ที่จะช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพในการซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน แต่นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหลักสูตรการบริหารธุรกิจในยุคดิจิทัล Digital Business Management เท่านั้น ติดตามรายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรได้ที่ https://www.neobycmmu.com/mini-mba-digital-business-4

แหล่งอ้างอิง:

https://zegal.com/blog/post/rise-of-digital-platforms-a-dominant-business-model-for-2021/

https://www.peterfisk.com/event/platform-economy-summit-2020/

https://www.set.or.th/dat/vdoArticle/attachFile/AttachFile_1616662873547.pdf

https://www.youtube.com/watch?v=8lQvo9z7Ooc

แพลตฟอร์ม แบ่งออกเป็นกี่ประเภท

รูปแบบของธุรกิจ Platform มีรูปแบบใดบ้าง?.
Services marketplace แพลตฟอร์มธุรกิจบริการตลาดการค้า.
Product marketplace แพลตฟอร์มธุรกิจการค้าสินค้า.
Payment platform แพลตฟอร์มธุรกิจการชำระเงิน (P2P หรือ B2C).
Investment platform แพลตฟอร์มธุรกิจการลงทุน หรือการแลกเปลี่ยนเงินตา ไม่ว่าจะเป็นตราสาร หรือเงินกู้ และอื่นๆ.

แพลตฟอร์ม คืออะไร มีอะไรบ้าง

14 ธ.ค. 2564. แพลตฟอร์ม (platform) ปกติแล้วหมายถึง แท่น , ฐาน แต่สำหรับความหมายทางคอมพิวเตอร์ แพลตฟอร์ม หมายถึง โครงสร้างพื้นฐานของสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าเป็นฐานบริการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน

ธุรกิจแบบแพลตฟอร์ม มีกี่รูปแบบ

โดยสรุป แล้วรูปแบบของ Platform business อาจแบ่งออกได้เป็น 9 รูปแบบ ได้แก่ ตลาดบริการ (Service marketplace) : บริการ ตลาดสินค้า (Product marketplace) : สินค้า แพลตฟอร์มชำระราคา (Payment platform) : P2P, B2C.

Integration Platform เป็นแพลตฟอร์มแบบใด

Integrated platforms. เป็นแพลตฟอร์มที่รวม Transaction และ Innovation platform เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น Apple, Google และ Alibaba ซึ่งการรวมแพลตฟอร์มหลายลักษณะนี้ จะช่วยบริการลูกค้าได้หลากหลายและเพิ่มมูลค่าธุรกิจมากขึ้น