สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย

แบบทดสอบเรื่องสิทธิผู้บริโภคและสื่อโฆษณา
ให้นักเรียนตอบคำถามให้ถูกต้องเพียงข้อเดียว
 ID: 2309270
Language: Thai
School subject: สุขศึกษา
Grade/level: 5-6
Age: 17-18
Main content: สิทธิผู้บริโภคและสื่อโฆษณา
Other contents: -

สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Add to my workbooks (0)
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Download file pdf
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Embed in my website or blog
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Add to Google Classroom
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Add to Microsoft Teams
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย

philaiwan


สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย

What do you want to do?

สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
สุขศึกษา ม.5 สิทธิผู้บริโภค เฉลย
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

ผู้บริโภคหมายถึง ผู้ซื้อหรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจ หรือผู้ซึ่งได้รับการเสนอ หรือการชักชวน จากผู้ประกอบธุรกิจ เพื่อให้ซื้อสินค้าหรือรับ บริการ  และหมายความรวมถึงผู้ใช้สินค้า หรือผู้ได้รับบริการจากผู้ประกอบธุรกิจโดยชอบ แม้มิได้เป็นผู้เสียค่าตอบแทนก็ตาม

 

สถานการณ์ปัญหาของผู้บริโภค

ปัจจุบันนี้จะเห็นได้ว่ารัฐบาลและเอกชน ได้ให้ความสำคัญและส่งเสริมให้ประชาชน ในฐานะผู้บริโภค ได้รู้จักคุ้มตรองสิทธิของตนเอง โดยไม่ตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องทนอยู่ในภาวะจำยอมไปโดยตลอด อย่างไรก็ตาม รัฐบาลหรือเอกชนฝ่ายเดียวย่อมไม่อาจดำเนินการ ให้สำเร็จไปได้ด้วยดี ผู้บริโภคเป็นกลุ่มคนที่สำคัญ ในการที่จะคุ้มตรองสิทธิของตนเอง อย่างไรก็ตามเราพบว่ามีผู้บริโภคจำนวนมากที่ละเลย เพิกเฉยที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเอง แม้ว่าจะถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้า ในลักษณะและรูปแบบต่างๆ ที่มักเป็นปัญหาของผู้บริโภค

 

 

สิทธิผู้บริโภค

ผู้บริโภคต้องมีความรอบคอบฉลาดในการตรวจสอบแสดงสินค้า คุณภาพปริมาณ และราคาว่ายุติธรรม สมควรซื้อมาบริโภคหรือไม่ อาจสำรวจสินค้าชนิดเดียวกันจากหลายๆร้าน  โดยไม่เชื่อข้อความโฆษณาทันที แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ว่าจริงตามที่โฆษณาไว้หรือไม่

–         สิทธิจะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนา คุณภาพที่ถูกต้องเพียงพอกับสินคและบริการ

–         สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ

–         สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการ

–         สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมทางสัญญา

–         สิทธิที่จะได้รับความพิจารณา และชดเชยความเสียหาย

สิทธิผู้บริโภคสากล ถูกกำหนดขึ้นโดยสหพันธุ์ผู้บริโภคซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.. 2503 ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์มี 8 ประการดังนี้

–         สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัย

–         สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร

–         สิทธิที่จะได้รับเครื่องมืออุปโภคบริโภคในราคายุติธรรม

–         สิทธิที่จะร้องเรียนเพื่อความเป็นธรรม

–         สิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยความเสียหาย

–         สิทธิที่จะได้รับบริโภคศึกษา

–         สิทธิที่จะได้รับความจำขั้นพื้นฐาน

–         สิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สะอาด

 

แนวทางการเลือกบริโภคอย่างฉลาดและปลอดภัย

1.ก่อนจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้า  และบริการสุขภาพ  ผู้บริโภคต้องสามารถแยกความต้องการของตัวเองได้  ว่าเป็นความต้องการแท้  อะไรเป็นความต้องการเทียม  แล้วพิจารณาในการเลือกซื้อให้ดีเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าและใช้ชีวิตอย่างพอเพียง

2.สิ่งที่ควรคำนึงก่อนเลือกซื้อและบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพทุกชนิด ควรศึกษาฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง  อย่างน้อยต้องมีฉลากภาษาไทย  ชื่อของผลิตภัณฑ์และที่ตั้งของผู้ผลิต  หรือ  ผู้แทนจำหน่าย  วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ  สำหรับผลิตภัณฑ์บางชนิดจะมีการแสดงส่วนประกอบหรือตำหรับ  วิธีบริโภค  ข้อควรระวังในการใช้หรือข้อจำเพราะอื่นๆ  ของแต่ผลิตภัณฑ์เพิ่มด้วย  หากเราอ่านฉลากจะมีประโยชน์ช่วยให้เราทราบผลิตภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องสามารถหลีกเลียงสารบางชนิดที่ทำให้เกิดการแพ้เกิดปัญหาในการบริโภค  เลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติให้ตรงตามความต้องการได้  นอกจากนั้นในกรณีที่เกิดปัญหาหรือข้อบกพร่องจากผลิตภัณฑ์สามารถร้องเรียนให้มีการดำเนินต่อผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายได้ตามชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏในฉลากด้วยหลังซื้อสินค้าหรือบริการเราจะต้องเก็บรักษาหลักฐานต่างๆ  เช่น  เอกสารโฆษณา  บิลเงินสด  สำเนาใบเสร็จรับเงิน  สัญญาซื้อขายเพื่อไว้ทำการเรียกร้องสิทธิของตนและควรจดชื่อสถานที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นไว้เพื่อประกอบการร้องเรียนในกรณีถูกละเมิดสิทธิ

3.ในการซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือบริการสุขภาพจะต้องมีความระเอียดในความพิจารณาถึงประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับจากสินค้าและบริการให้ดีเสียก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ  อย่าให้เสียเปรียบผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการ

4.ถ้าพบว่ามีผลิตภัณฑ์  สินค้าหรือบริการสุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน ควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที่  เพื่อจะได้ดำเนินการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

5.เลือกซื้อผลิตภัณฑ์  สินค้าและบริการที่สุขภาพได้มาตรฐาน  หรือมีการรับรองคุณภาพกล่าว  คือ  มีเครื่องหมาย มอก. หรือมี  อย. เป็นต้น

6.ถ้าได้รับความไม่เป็นธรรม  ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบการให้ร้องเรียนได้ที่หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภค

การปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภค

     ผู้บริโภคควรคำนึงถึงบทบาท  หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนตามสิทธิผู้บริโภคที่พึงกระทำด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้ผู้บริโภคจะได้มีส่วนได้รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิของตนเอง  โดยมีการปฏิบัติดังนี้

1.การรวมกลุ่มหรือการรวมตัวกันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อนหรือถูกเอารัดเอาเปรียบ  หรือประสบปัญหาจากการบริโภค จึงทำไห้ผู้บริโภครวมตัวกันก่อไห้เกิดพลังของผู้บริโภคขึ้นในการเคลื่อนไหวหรือต่อรอง  ซึ้งพลังของผู้บริโภคนี้จะทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวในการใช้สิทธิและการรักษาผลประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับ

2.ศึกษาหาความรู้จากอินเตอร์เน็ต  วิทยุ  โทรทัศน์  วารสารหรือหนังสืออื่นๆ  เกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคเพื่อให้มีความรู้และความรอบคอบในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ

3.มีส่วนในการเผยแพร่ความรู้และรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสามารถทำได้หลายรู้แบบ  เช่น  การพูดคุย  การชี้แจง  ประชาสัมพันธ์  การใช้เสียงตามสายหอกระจายข่าว  ประชาชนผู้บริโภคหรือเด็กนักเรียน  เยาวชนผู้บริโภคทุกคนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ความรู้ได้ในการจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้  เลือกซื้อสินค้าและบริการอย่าปรอดภัย  เป็นธรรมและประหยัด  เช่น  กิจกรรม  อย.น้อย  เป็นกิจกรรมที่ทำไห้นักเรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงและช่วยเหลือผู้อื่น  เช่น  เพื่อน  ครอบครัว  ชุมชน  ด้วยการไห้ความรู้ทางด้านบริโภคอย่างเหมาะสม

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค

1.สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค  สำนักงานนายกรัฐมนตรี  มีอำนาจหน้าที่รับแของผู้บริโภค  ที่ไห้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากผู้ประกอบการธุรกิจ  สอดส่องพฤติการณ์  และดำเนินคดีต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค  แจ้งหรือโฆษณาข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับสิทธิผู้บริโภคไห้ผู้บริโภค

2.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  กระทรวงสาธารณสุขมีหน้าที่กำกับดูแลการผลิต  การจำหน่ายและโฆษณาต่างๆ ได้แก่  อาหาร  เครื่องสำอาง  วัตถุอันตราย  ยา  เรื่องมือแพทย์  และวัตถุเสพติดไห้โทษ  ไห้เป็นไปตากฎหมาย

3.กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข  โดยกองโภชนาการมีหน้าที่จัดทำเกณฑ์มาตรฐานด้านโภชนาการและไห้คำปรึกษาแนะนำวิชาการด้านโภชนาการ

4.กรมการค้าภายใน  กระทรวงพาณิชย์มีหน้าที่ควบคุมสินค้าไห้เป็นไปตามกฎหมายกำหนดและไม่ไห้ผู้บริโภคเสียเปรียบ

5.กรมทะเบียนการค้า  กระทรวงพาณิชย์  มีหน้าที่ควบคุมปริมาณ การชั่ง  ตวง  และวัดสินค้า

6.กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการทำสัญญาซื้อขายที่ดิน

7.สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม  กระทรวงอุตสาหกรรม  มีหน้าที่กำหนดและติดตามตรวดสอบมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม

8.กรมวิชาการเกษตร  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  มีหน้าที่ควบคุมวัตถุมีพิษทางการเกษตร

9.คณะอนุกรมการคุมครองผู้บริโภคประจำจังหวัด  มีหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์หรือร้องเรียนจากผู้บริโภค

ถ้าผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรม  ได้รับความเดือดร้อนเสียหาย  อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบการ  ผู้บริโภคสามารถไปแจ้งตามหน่วยงานต่างๆ  ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องนั้นๆทั้งนี้  เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตนที่พึงมีตามกฎหมาย