สินเชื่อ ธอส ข้าราชการ 2565

การคำนวณเงินงวดผ่อนชำระและเงินงวดกำหนดวงเงินให้กู้ให้ใช้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จริง บวกร้อยละ 1.00 ต่อปี

หมายเหตุ

  • กรณีผู้กู้ถึงแก่ความตาย ให้ยกเว้นการคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ นับแต่วันที่ธนาคารทราบข้อมูลการตายของผู้กู้จากระบบบำเหน็จค้ำประกัน
  • จนถึงวันที่กรมบัญชีกลางนำส่งเงินบำเหน็จตกทอดชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร (วันที่ตามรอบปฏิทินที่กรมบัญชีกลางกำหนด)

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงตลอดอายุสัญญา (EIR)
- กรณีลูกค้าสวัสดิการ    = 3.90%
-  กรณีซื้ออุปกรณ์ฯ    = 3.90%

หมายเหตุ

อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ระบุเป็นเพียงตัวอย่างที่คำนวณตามเงื่อนไขที่ใช้ในฉบับนี้เท่านั้น ซึ่งอาจมีความแตกต่างกันตามเงื่อนไขการกู้ยืมของลูกค้าแต่ละราย โดยคำนวณจากสมมติฐานวงเงินกู้ 1 ล้านบาท ระยะเวลากู้ 20 ปี ผ่อนชำระตามเงินงวดของผลิตภัณฑ์

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

เป็นผู้รับบำนาญหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงานคลังจังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิให้นำบำเหน็จตกทอดมาเป็นหลักประกันเงินกู้

เอกสาร

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการบำนาญ
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • ทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร (ถ้ามี)
  • ใบเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล (ถ้ามี)

เอกสารแสดงทางการเงิน

สมุดบัญชีเงินฝากแสดงรายรับเงินบำนาญรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือน (ฉบับจริงพร้อมสำเนา)

เอกสารหลักประกัน

  • หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงิน(ฉบับจริง)
  • กรณีซื้อที่ดินพร้อมอาคาร ซื้อห้องชุด ซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญามัดจำ(สำเนา)
  • กรณีสร้าง/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
  • ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร(สำเนา)
  • แบบก่อสร้าง/ต่อเติม/ขยาย/ซ่อมแซมอาคาร
  • กรณีไถ่ถอนจำนอง
  • สัญญากู้
  • สัญญาจำนอง
  • ใบเสร็จการผ่อนชำระย้อนหลัง 12 เดือน
  • กรณีซื้ออุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสพดวกเพื่อที่อยู่อาศัย
  • ใบเสร็จรับเงิน/หลักฐานแสดงการซื้อหรือรายการอุปกรณ์ที่ประสงค์จะซื้อพร้อมราคาโดยประมาณ

หมายเหตุ

ในกรณีกู้ร่วม ขอให้ผู้กู้ร่วมมายื่นคำขอกู้พร้อมเอกสารของแต่ละท่าน
ในกรณีจำเป็น ธนาคารขอหลักฐานอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณา

กรมบัญชีกลางทำบันทึกข้อตกลงกับธนาคารและทำหน้าที่หักเงินบำนาญรายเดือนหรือผู้รับบำเหน็จรายเดือนของผู้กู้นำส่งชำระหนี้เงินกู้ให้กับธนาคาร

From: ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ [mailto:[email protected]] Sent: Tuesday, December 20, 2022 5:35 PM To: ฉัตรชัย โชติทิฆัมพร Cc: ทอปัด หรรษพงศธร; วราภรณ์ ภูษณรัตน์; พงษ์ศักดิ์ วนานุภัณฑ์; วรพงษ์ นิลวัชราภรณ์; ธิดา จิรไพศาลกุล; เลขาผอ.นส.; เลขาผอ.บสส; ฝ่ายนส-สบป; ฝ่ายนส-สนท Subject: (ตอบกลับ) RE: ขออนุเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดระเวลา (สิ้นเดือนธันวาคม 2565) ในเว็บไซต์ธนาคาร เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสำนักงานและกิจการสาขา ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดอายุสิ้นเดือน ธันวาคม 2565 ดังนี้ ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 31 มกราคม 2566 o โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2565 o โครงการบ้าน ธอส เพื่อคุณ ปี 2565 o โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2565 ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 29 ธันวาคม 2566

From: ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ [mailto:[email protected]] Sent: Tuesday, December 20, 2022 5:35 PM To: ฉัตรชัย โชติทิฆัมพร Cc: ทอปัด หรรษพงศธร; วราภรณ์ ภูษณรัตน์; พงษ์ศักดิ์ วนานุภัณฑ์; วรพงษ์ นิลวัชราภรณ์; ธิดา จิรไพศาลกุล; เลขาผอ.นส.; เลขาผอ.บสส; ฝ่ายนส-สบป; ฝ่ายนส-สนท Subject: (ตอบกลับ) RE: ขออนุเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดระเวลา (สิ้นเดือนธันวาคม 2565) ในเว็บไซต์ธนาคาร เรียน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสำนักงานและกิจการสาขา ฝ่ายนโยบายสินเชื่อธุรกิจและภาครัฐ ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่จะหมดอายุสิ้นเดือน ธันวาคม 2565 ดังนี้ ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 31 มกราคม 2566 o โครงการบ้าน ธอส. เพื่อสานรัก ปี 2565 o โครงการบ้าน ธอส เพื่อคุณ ปี 2565 o โครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อบุคลากรภาครัฐ ปี 2565 ระยะเวลาดำเนินการ ถึง 29 ธันวาคม 2566

กรณีที่มีปัญหาข้อมูลเครดิตและต้องการขอสินเชื่อกับธนาคารนั้น ปัจจุบันสถานะบัญชีต้องปกติ ไม่อยู่ระหว่างถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรืออยู่ระหว่างประนอมหนี้ แนะนำให้ผู้กู้ไปตรวจสอบเครดิตกับบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ก่อน จากนั้นนำเอกสารดังกล่าวพร้อมเอกสารการปิดบัญชีเข้าไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่สินเชื่อของธนาคารต่อไป

a

กรณีที่มีอาชีพประจำ แต่ไม่มีสลิบเงินเดือนหรือหนังสือรับรองเงินเดือน ต้องทำอย่างไร

กรณีไม่มีหนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิบเงินเดือน ให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร ดังนี้
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-เอกสารการรับเงินเดือน หนังสือหักภาษี ณ ที่จ่าย (50ทวิ)
-เอกสารนำส่งเงินประกันสังคม ย้อนหลัง 12 เดือน

a

จะทราบวงเงินกู้ที่สามารถกู้ได้อย่างไร

แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสาร

-สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานอื่น อาทิค่าผ่อนรถ ค่าบัตรเครดิต
เข้ามาติดต่อสาขาที่สะดวก เพื่อขอคำปรึกษาและให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้น จากนั้นจึงมองหาบ้านในราคาที่สามารถเป็นเจ้าของได้ก่อนยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารอีกครั้ง

a

ในการยื่นกู้สามารถติดต่อได้ที่สาขาใดบ้าง

สามารถติดต่อได้ที่ธอส.ทุกสาขา หรือ www.ghbanksmart.com

a

กรณีหลักประกันไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของตนเอง แต่เป็นของบิดา/มารดา ต้องทำอย่างไร

ผู้กู้ทำการเพิ่มชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมในโฉนดก่อนทำการยื่นขอสินเชื่อหรือให้เจ้าของโฉนดมาเป็นผู้กู้ร่วมด้วย (ก่อนโอนกรรมสิทธิ์หรือเพิ่มชื่อฯ แนะนำให้ลูกค้าเตรียมเอกสารส่วนตัวและเอกสารแสดงรายได้มาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อทำการประเมินวงเงินกู้เบื้องต้นก่อนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการหากกู้ไม่ได้ ลูกค้าจะได้ไม่เสียเงินฟรี)

a

คุณสมบัติหลักประกันกรณีขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคาร หรือปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง

หลักประกันที่จะซื้อหรือปลูกสร้างต้องมีลักษณะเป็น โฉนดที่ดิน(นส.4จ) หรือ นส.3ก หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด(อช.2) ธนาคารไม่รับพิจารณาหลักประกันเป็นที่ดิน สปก. และที่ดินเขตป่าสงวน

กรณีกู้ปลูกสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองผู้กู้จะต้องมีกรรมสิทธิ์ในหลักประกันของบ้านที่จะทำ ทั้งนี้หลักประกันต้องมีศักยภาพในการใช้เป็นที่อยู่อาศัย คือมีทางสาธารณะตัดผ่าน สาธารณูปโภคครบเช่นไฟฟ้าและน้ำประปาเข้าถึง

a

เอกสารประกอบการขอสินเชื่อมีอะไรบ้าง

เอกสารส่วนตัว

– บัตรประจำตัวประชาชน/บัตรข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
– ทะเบียนบ้าน
– สำเนาทะเบียนสมรส/ใบหย่า/ใบมรณะบัตร/ใบแจ้งความแยกกันอยู่ (หากมี)
– สำเนาใบเปลี่ยนแปลงชื่อ – สกุล (หากมี)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส(หากมี)

เอกสารแสดงรายได้

กรณีอาชีพประจำ

– หนังสือรับรองเงินเดือน/หนังสือรับรองสิทธิสวัสดิการ
– สลิบเงินเดือน หรือหลักฐานการรับเงินเดือน ย้อนหลัง 3 เดือน
– Statement เงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน
– หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

กรณีอาชีพอิสระ

-Statement เงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)
-สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนพาณิชย์/ทะเบียนบริษัท/ทะเบียนนิติบุคคล
-หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
-ภาพถ่ายกิจการ 3-4 ใบ
-สำเนาใบประกอบวิชาชีพ
-สำเนาใบเสร็จรับเงินค่าสั่งซื้อสินค้า
-หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมตัวจริง)

เอกสารหลักประกัน

– สำเนาหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย/สัญญาวางมัดจำ/สัญญาเช่าซื้อการเคหะแห่งชาติ และหนังสือรับรองยอดคงเหลือ (กรณีกู้ซื้อ)
– สำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน และสำเนาสัญญาจำนองกับสถาบันการเงินเดิม (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– ใบเสร็จการผ่อนชำระ หรือบัญชีหมุนเวียน ย้อนหลัง 1 หรือ 2 ปี (กรณีไถ่ถอนจำนองย้ายฯ)
– หลักฐานการเป็นเจ้าของอาคาร
– สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดินฉบับกรมที่ดิน
– สำเนาโฉนดที่ดิน/นส.3ก./หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (อช.2) ทุกหน้า (กรณีซื้อทรัพย์มือสองต้องรับรองสำเนาโดยเจ้าพนักงานที่ดิน)
– ใบอนุญาตปลูกสร้าง/ต่อเติม
– แบบแปลน/พิมพ์เขียว
– ใบประมาณการปลูกสร้าง/สัญญาว่าจ้างก่อสร้าง

a

การขอสินเชื่อมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการยื่นกู้ มีรายละเอียดดังนี้

ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ กู้ใหม่และกู้เพิ่ม
– วงเงินกู้ไม่เกิน 500,000 บาท ไม่เก็บค่าธรรมเนียม
– วงเงินกู้เกิน 500,000 บาท คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 0.1 ของวงเงินทำนิติกรรม

ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาหลักประกัน
– วงเงินขอกู้ไม่เกิน 500,000.- ค่าธรรมเนียม 1,900.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้ 500,001-3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 2,800.- / แห่ง
– วงเงินขอกู้เกิน 3,000,000.- ค่าธรรมเนียม 3,100.- / แห่ง

ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (คิดเหมา) ค่าธรรมเนียม 1,000.- / ราย

ค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน ค่าจดจำนอง ร้อยละ 1 ของวงเงินกู้

ค่าโอนกรรมสิทธิ์ ร้อยละ 2.5 ของราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย โดยใช้ราคาที่สูงกว่าเป็นเกณฑ์ ค่าอากร ร้อยละ 0.5 ตามราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมิน

a

ธนาคารพิจารณาวงเงินกู้จากอะไร

ธนาคารจะพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ หลักประกัน LTV ภาระหนี้สินที่มี รวมถึงประวัติข้อมูลเครดิตต้องปกติ

a

ระยะเวลาการกู้สูงสุดกี่ปี

40 ปี แต่ระยะเวลาการกู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้ต้องไม่เกิน 70 ปี

a

ธนาคารพิจารณาวงเงินให้กู้อย่างไร (ก่อนมาตรการธปท.)

-กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไปพิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 85% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

-กรณีลูกค้าสวัสดิการ พิจารณาวงเงินให้กู้ไม่เกิน 90-100% ของราคาประเมิน และราคาซื้อขาย

a

ผู้กู้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร

  • อายุ 20 ปี ขึ้นไป
  • อายุงาน 1 ปี ขึ้นไป
  • มีรายได้แน่นอนเพียงพอต่อการผ่อนชำระเงินกู้
  • เงินงวดผ่อนชำระไม่เกิน 1 ใน 3 ของรายได้สุทธิ
  • มีหลักฐานแสดงรายได้ที่น่าเชื่อถือ
  • ผู้กู้ร่วมได้แก่ บิดา-มารดา คู่สมรส บุตร พี่-น้อง และ/หรือบุคคลอื่นได้ไม่เกิน 1 คน
  • ต้องมีรายได้เพียงพอในการผ่อนชำระ และร่วมพักอาศัยจริง
  • ประวัติข้อมูลเครดิต ต้องเป็นสถานะปกติ

a

ต้องการกู้เพื่อซื้อที่ดินเปล่า สามารถทำได้หรือไม่

ไม่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินเปล่าได้ แต่สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อที่ดินพร้อมปลูกสร้างอาคารในคราวเดียวกันได้

a

ธอส.มีวัตถุประสงค์การกู้เพื่ออะไรบ้าง

ธอส. ให้สินเชื่อเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

  • เพื่อซื้อบ้านพร้อมที่ดิน หรือห้องชุด
  • ซื้อที่ดินเปล่าพร้อมปลูกสร้างอาคาร
  • เพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตนเอง
  • เพื่อต่อเติม ขยาย ซ่อมแซมอาคาร
  • เพื่อชำระหนี้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
  • เพื่อไถ่ถอนจำนองจากสถาบันการเงินอื่น
  • เพื่อซื้ออุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวเนื่องในการอยู่อาศัย
  • สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ
  • สินเชื่อเพื่อคนไทยในต่างประเทศ

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPL หรือลูกหนี้ ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (M 21) (8)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND และ Line GHB Buddy

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้นๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติ จะขอเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL

a

ลูกค้าที่เข้าร่วมมาตรการเดิมอยู่ สามารถเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้หรือไม่ อย่างไร?

ลูกค้าที่อยู่ระหว่างการประนอมหนี้และยังมีสถานะเป็น NPL สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ M21 ได้ 

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ (M21)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ (M21) ผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

มาตรการ M21 สามารถลงทะเบียนผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND ได้ช่องทางเดียว

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการ (M21)ได้?

ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี (นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรก จนถึงวันที่ยื่นคำร้องเข้าร่วมมาตรการ)

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร (M17 และ M22) (7)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะโทรศัพท์แจ้งผลการอนุมัติ ตามเบอร์โทรศัพท์ที่ลูกค้าลงทะเบียนเข้ามา

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่ ?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารสำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้น ๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติจะขอเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารสำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL และลงทะเบียนผ่านช่องทางที่กำหนดเท่านั้น

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22) ผ่านช่องทางใดได้บ้าง?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ทาง www.bot.or.th/debtfair ของธปท. หรือลงทะเบียนใน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร” เท่านั้น

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะ NPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร สำหรับลูกหนี้ “ มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน (M17 และ M22)ได้?

มาตรการ M17 ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) หรือเป็นลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้มาตรการ / หรือปรับโครงสร้างหนื้กับธนาคาร

มาตรการ M22 ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี (นับตั้งแต่วันที่ทำสัญญาครั้งแรก จนถึงวันที่ยื่นคำร้องเข้าร่วมมาตรการ)

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สถานะNPLหรือลูกหนี้ที่ยังมีสถานะเป็น NPL ที่อยู่ระหว่างการใช้ มาตรการ/ปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร ปี 2565 (M20) (7)

a

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่านช่องทางใด?

ธนาคารจะแจ้งผลการอนุมัติผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND และ Line GHB Buddy

a

ลูกค้าสามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้หรือไม่?

สามารถชำระเงินงวดมากกว่าที่กำหนดไว้ได้ โดยธนาคารจะนำเงินที่ชำระเกินไว้ไปตัดดอกเบี้ยค้างชำระของลูกค้า (ถ้ามี)

a

หากมีบัญชีเงินกู้หลายบัญชี สามารถเข้าร่วมมาตรการ (M20) ได้ทุกบัญชีหรือไม่?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนร่วมมาตรการได้ทุกบัญชีตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของมาตรการนั้นๆ

a

ลูกค้าสถานะปกติจะขอเข้าร่วมมาตรการ(M20)ได้หรือไม่?

มาตรการนี้ธนาคารให้สิทธิเฉพาะลูกค้าที่มีสถานะเป็น NPL เท่านั้น

a

ลูกค้าต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในการลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ (M20)?

เอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน ภาพถ่ายกิจการ หรือ Statement เป็นต้น 

a

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนเพื่อขอเข้ามาตรการ (M20)?

ลูกค้าสามารถลงทะเบียนผ่าน  Application GHB ALL BFRIEND ได้ช่องทางเดียวเท่านั้น

a

ลูกค้ากลุ่มไหนบ้างที่สามารถเข้ามาตรการ (M20)ได้?

ลูกหนี้ที่มีสถานะเป็น NPL (DPD มากกว่า 90 วันขึ้นไป) และลูกหนี้ต้องกู้เงินจากธนาคารมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2  ปี (ทำสัญญากู้เงินก่อนปี 2564)

สินเชื่อ (6)

a

ธนาคารมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร

ธนาคารใช้วิธีการคำนวณจากยอดเงินต้นคงเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้(%) คูณจำนวนวันในเดือน (30 หรือ 31 วัน) หารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี (365 หรือ 366 วัน)

a

ลูกค้าเดิมต้องการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยต้องทำอย่างไร

ลูกค้ารายย่อยสามารถขอลดอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระได้ หลังจากผ่อนชำระครบกำหนดระยะเวลา 3 ปี โดยต้องมีประวัติการผ่อนชำระสม่ำเสมออย่างน้อย 24 เดือน และไม่อยู่ระหว่างประนอมหนี้

ลูกค้าสวัสดิการ สามารถขอเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยได้หลังจากครบกำหนดการใช้ดอกเบี้ยปีที่ 2

แต่ต้องตรวจสอบจากบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินอีกครั้ง เนื่องจากบางโครงการจะกำหนดข้อห้ามเช่น ห้ามปิดบัญชี หรือเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยภายในระยะเวลากี่ปี

a

อัตราดอกเบี้ยระหว่างบ้านใหม่ และบ้านมือสองแตกต่างกันหรือไม่

ไม่แตกต่าง อัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับโครงการที่ลูกค้าเลือกใช้

a

การรับเงินงวดค่าปลูกสร้างงวดสุดท้ายต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

กรณีขอเลขที่บ้านใหม่

-ใบคำขอเลขที่บ้าน
-ใบอนุญาตปลูกสร้าง
-เอกสารการขอใช้น้ำ-ไฟฟ้า

กรณีปลูกสร้างอาคารทดแทนหลังเดิมแต่ไม่ต้องการเปลี่ยนเลขที่บ้าน(กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดินเป็นของบุคคลอื่นและไม่ได้กู้ร่วม)

-ใบรับรองอนุญาตปลูกสร้าง ทด.13 หรือ ทด.14 (ต้องได้รับการรับรองจากสำนักงานเขตหรืออบต.ในพื้นที่ ไม่สามารถใช้เฉพาะเอกสารขออนุญาตรื้อถอนได้)

a

หากผู้กู้ไม่มีเงินทุนสำรองในการปลูกสร้างธนาคารจะมีวิธีการช่วยเหลืออย่างไร

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ลูกค้าก่อนมีผลงานการก่อสร้าง แต่ธนาคารจะบวกดอกเบี้ยเพิ่มร้อยละ 0.50 ต่อปี จนกว่าจะรับเงินงวดสุดท้ายแล้วเสร็จ

a

การจ่ายเงินงวดค่าผลงานการก่อสร้าง ธนาคารจ่ายเงินอย่างไร

ธนาคารจะจ่ายเงินงวดให้แก่ผู้กู้ โดยต้องมีผลงานการก่อสร้างอย่างน้อย 20%

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข (6)

a

สามารถขอกู้ตามโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตนได้กี่หลักประกัน

ลูกค้าสามารถใช้สิทธิยื่นกู้ตามโครงการนี้ได้เพียง 1 หลักประกันเท่านั้น ยกเว้นกรณีผู้ประกันตนใช้สิทธิกู้ร่วมกัน และมีการถอนชื่อออกจากการกู้ร่วมและกรรมสิทธิ์ร่วม สามารถใช้สิทธิยื่นคำขอกู้เงินตามโครงการนี้ในหลักประกันถัดไปได้ (โดยต้องยื่นกู้ และทำนิติกรรมได้ตามกำหนดระยะเวลาโครงการ)

a

เอกสารประกอบการยื่นกู้ตามโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน

1.รหัสเข้าร่วมโครงการที่ได้รับทาง Line GHB Buddy
2.หนังสือรับรองสถานะความเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 แบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกจาก www.sso.go.th
3.เอกสารประกอบการยื่นกู้เป็นไปตามเกณฑ์ธนาคารกำหนด เอกสารส่วนตัว / เอกสารรายได้ / เอกสารหลักประกัน

a

ระยะเวลาโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพื่อผู้ประกันตน

สามารถยื่นกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 19 ธันวาคม 2566 หรือจนกว่าจะเต็มกรอบวงเงิน และสามารถนิติกรรมได้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2567