ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม
 

Show

โปรโมชันดอกเบี้ย หมายความว่าหลายธนาคารจะกำหนดดอกเบี้ยในช่วงนี้ไว้ต่ำ ทำให้เราผ่อนเงินต้นได้มาก ในขณะที่ผ่อนดอกเบี้ยน้อย แต่เมื่อช่วงดังกล่าวผ่านไป เข้าสู่ช่วงอัตราดอกเบี้ยลอยตัว เราจะเห็นบิลค่างวดของเรามีเงินที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยสูงขึ้นกว่าเงินต้นเสียด้วยซ้ำ

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม
 

จากสาเหตุดังกล่าวทำให้คนผ่อนบ้านต้องการรีไฟแนนซ์กับแหล่งเงินกู้ใหม่ๆ ที่มีดอกเบี้ยที่จูงใจให้เราอยากย้ายธนาคาร แต่เราจะรีไฟแนนซ์บ้านอย่างไรให้คุ้มค่ามากที่สุดมาดูกันดีกว่า

มองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม

การรีไฟแนนซ์ที่จะเห็นผลคุ้มค่าต่อการย้ายแหล่งกู้เงินใหม่ เราต้องมองหาดอกเบี้ยที่ต่ำลงกว่าเดิม ยิ่งมากยิ่งดี โดยเราสามารถเทียบจากอัตราดอกเบี้ยในการผ่อนชำระระหว่างวาระดอกเบี้ยโปรโมชันในช่วง 1-3 ปี ของที่ใหม่ กับอัตราดอกเบี้ยหลังจากวาระดอกเบี้ยโปรโมชันหมดลง เพราะหลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยจะเป็นไปในลักษณะลอยตัว หรือ MLR หรือ ลอยตัวแล้วมีตัวลบ คือ MLR- ซึ่งอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน
ดังนั้นผู้ต้องการรีไฟแนนซ์ก็ต้องตรวจสอบดูส่วนต่างดอกเบี้ย ระหว่างการใช้ดอกเบี้ยอยู่กับธนาคารเดิม กับ ค่าใช้จ่ายหลังรีไฟแนนซ์ไปยังธนาคารใหม่ว่ามีส่วนลดให้มากพอที่จะทำเรื่องไฟแนนซ์ไปหรือไม่ ซึ่งในทุกๆ ปี ธนาคารต่างๆ จะแข่งกันออกโปรโมชันใหม่ๆ อัตราดอกเบี้ยที่จูงใจมากขึ้นเพื่อดึงดูดลูกค้า หน้าที่ของเราคือต้องคอยตรวจสอบว่าอัตราดอกเบี้ยที่ไหนดีที่สุด โดยเทียบกับที่เราใช้บริการอยู่ ถ้าบวกลบแล้วคุ้มค่าก็ดำเนินการย้ายเลยได้ทันที

ศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์ก่อน

การรีไฟแนนซ์บ้านเราจะต้องรู้ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้งหมดเสียก่อน ควรคำนวณตัวเลขในอนาคตล่วงหน้าก่อนรีไฟแนนซ์ทุกครั้ง ยิ่งทำละเอียดเท่าไรก็ยิ่งดีต่อเราเท่านั้น แต่สิ่งที่เรามองข้ามไม่ได้เลย ก็คือ การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านดังต่อไปนี้
1. กรณีที่เรารีไฟแนนซ์บ้าน กับธนาคารเดิมโดยยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จะมีค่าปรับราวๆ 0-3% ของวงเงินกู้ ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคาร ดังนั้นเราไม่ควรรีบรีไฟแนนซ์ก่อนครบ 3 ปี จะช่วยลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลงไปได้มากทีเดียว อย่าลืมว่า 3% ของเงินหลักล้าน ค่อนข้างมากพอตัวอยู่
2. ในปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR ของแต่ละธนาคารจะไม่เกิน 7-8% ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจกับ MLR- หรือตัวลบ ที่ต่อท้ายอัตราดอกเบี้ยให้ดี ยิ่งลบมากยิ่งดี
3. ค่าใช้จ่ายในการประเมินราคาสินทรัพย์ใหม่ของแต่ละธนาคารจะไม่เท่ากัน โดยปกติแล้วจะอยู่ราวๆ 0.25-2% ของราคาสินทรัพย์ที่นำมาประเมิน แต่ในกรณีที่เราสามารถรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิมค่าใช้จ่ายในส่วนนี้อาจไม่มี ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกทาง
-ค่าธรรมเนียมในการปล่อยกู้ใหม่ ธนาคารส่วนใหญ่จะคิดประมาณ 0-3% ของวงเงินกู้ และเช่นเดียวกันหากเรารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้อาจไม่นำมาคิด
-ค่าอากรแสตมป์ คิดเท่ากันทุกธนาคารที่ 0.05% ของวงเงินกู้ใหม่
-ค่าจดจำนองที่ดิน คิดเป็น 1% ของวงเงินที่ขอกู้เท่ากันทุกธนาคาร โดยค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะจ่ายให้กับกรมที่ดิน แต่ไม่ต้องจ่ายหากเรารีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม เนื่องจากไม่ต้องไปจดจำนองใหม่นั่นเอง
-ค่าทำประกัน หรือค่าบริการอื่นๆ แล้วแต่นโยบายของแต่ละธนาคาร ส่วนใหญ่จะเป็นค่าประกันอัคคีภัย
สรุปง่ายๆ ว่า ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์บ้านใหม่ทั้งหมดจะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ราวๆ 2-3% ของวงเงินกู้ โดยค่าเฉลี่ยนี้อาจสูงได้ถึง 4.3% ของวงเงินรีไฟแนนซ์ ในบางกรณีเราสามารถประหยัดค่าธรรมเนียมในการจดจำนองใหม่ (1%) ได้ถ้าเราเลือกที่จะรีไฟแนนซ์กับธนาคารเดิม ค่าใช้จ่ายบางข้อเป็นค่าคงที่สำหรับทุกธนาคาร และบางข้อคิดเป็นมูลค่าน้อยมากเมื่อเทียบกับวงเงินกู้ เราไม่ควรเอามาใช้เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจรีไฟแนนซ์

กรณีรีไฟแนนซ์แล้วมีแถมพ่วงด้วยสินเชื่อส่วนบุคคล

บางกรณีเมื่อเราขอรีไฟแนนซ์ใหม่ ธนาคารจะเสนอสินเชื่อต่อเติมบ้านมาให้เราด้วย กรณีนี้เราต้องพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจรับเงินก้อนส่วนต่างจากวงเงินรีไฟแนนซ์เดิม เนื่องจากวงเงินก้อนใหม่ที่เติมเข้ามามักจะเป็นวงเงินในส่วนของสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย หากเราต้องการรีไฟแนนซ์เพื่อลดดอกเบี้ยจ่าย กรณีนี้อาจผิดวัตถุประสงค์ที่เราตั้งเอาไว้ตั้งแต่ต้น 

 อย่างไรก็ตามหากเรามีความจำเป็นจริงๆ เราก็สามารถตอบรับเงินก้อนที่เติมเข้ามาก้อนนี้เอาไว้ได้ แต่เราต้องพึงคิดอยู่เสมอว่าเราต้องนำเงินก้อนนี้ไปใช้เพราะจำเป็น และก่อให้เกิดประโยชน์จริงๆ จะทำให้เราใช้เงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับผู้ที่สนใจจะรีไฟแนนซ์ หรือขอสินเชื่อสำหรับที่อยู่อาศัย 

——————————————————-

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

สำหรับใครที่มีสินเชื่อบ้านครบ 3 ปีแล้วคงเกิดคำถามที่ว่า รีไฟแนนซ์บ้าน ดีไหม? เพื่อดอกเบี้ยที่ถูกกว่า ผ่อนหมดไว หรือเราจะลองขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมดี? คำถามเหล่านี้ บทความนี้มีคำตอบ

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักกับคำว่า รีไฟแนนซ์กันก่อน
โดย รีไฟแนนซ์ หรือ Refinance คือการที่เราขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือคอนโด และเมื่อเราผ่อนชำระครบ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยก็จะขยับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว ซึ่งทำให้เราต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น และผู้ขอสินเชื่อจึงต้องผ่อนชำระเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นนั่นเอง ทำให้การรีไฟแนนซ์บ้านจึงเป็นทางเลือกที่ยอดนิยมในการลดอัตราดอกเบี้ย โดยผู้ขอสินเชื่อจะผ่อนชำระกับธนาคารใหม่ และได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า รวมถึงค่าผ่อนบ้านต่อเดือนที่น้อยลงอีกด้วย

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

แล้วเราจะรีไฟแนนซ์บ้านอย่างไร?

หลัก ๆ แล้ววิธีรีไฟแนนซ์บ้าน แบ่งออกเป็น 7 ขั้นตอน

1. ตรวจสอบสัญญากู้

หากเรามั่นใจแล้วว่าต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน สิ่งต่อมาที่ต้องทำ คือ เราต้องตรวจสอบสัญญาว่า กำหนดการที่สามารถให้รีไฟแนนซ์ได้เมื่อไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วธนาคารจะอนุญาตให้รีไฟแนนซ์ได้หลังผ่อนชำระครบ 3 ปี แต่หากต้องการรีไฟแนนซ์ก่อน เราก็จะต้องชำระค่าปรับให้กับทางธนาคาร

2. ตรวจสอบข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ

เราต้องมาตรวจสอบข้อมูลยอดหนี้คงเหลือ โดยเราสามารถทำได้ผ่านการติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสรุปยอดหนี้สินที่ต้องการผ่อนชำระ โดยข้อมูลยอดคงเหลือ และข้อมูลการผ่อนชำระของเราจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยเราในการเลือกธนาคารใหม่ เพื่อทำการรีไฟแนนซ์บ้านผ่านการนำยอดหนี้ที่คงเหลือไปคำนวณกับข้อเสนอที่ธนาคารมอบให้

3. มองหาธนาคารที่เหมาะสม

และหลังจากที่เรามีข้อมูลอยู่ในมือแล้ว อีกหนึ่งขั้นตอนของวิธีรีไฟแนนซ์บ้านที่สำคัญต่อมาเลย คือ การมองหาธนาคารใหม่ที่เหมาะสมในการรีไฟแนนซ์บ้าน โดยเราอาจจะลองพิจารณาจากข้อเสนอดอกเบี้ยและระยะเวลาการผ่อน รวมไปถึงระยะเวลาในการชำระหนี้ ซึ่งแต่ละธนาคารจะมีโปรโมชั่นให้เลือกมากมาย และถ้าหากใครที่สนใจการรีไฟแนนซ์บ้าน เราขอแนะนำ สินเชื่อรีไฟแนนซ์จากธนาคารกรุงศรี เพื่อเป็นหนึ่งในตัวเลือกดี ๆ สำหรับคุณ

4. เตรียมเอกสารในการรีไฟแนนซ์บ้านให้พร้อม

โดยการรีไฟแนนซ์เราต้องมีการเตรียมเอกสารหลายส่วนเพื่อใช้ในการทำสัญญา เพราะการรีไฟแนนซ์จะคล้าย ๆ กับการยื่นกู้เพื่อซื้อบ้านใหม่อีกรอบ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ยกตัวอย่างเอกสารที่ธนาคารกรุงศรีให้เตรียมมีดังนี้

  1. เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล
    • สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของคู่สมรส (ถ้ามี)
    • สำเนาทะเบียนสมรส / หย่า / ใบเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
    • สำเนาใบมรณบัตรและทะเบียนสมรสของคู่สมรส (กรณีคู่สมรสเสียชีวิต)
  2. เอกสารแสดงรายได้
    กรณีบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ
    • หนังสือรับรองการทำงาน หรือสำเนาสลิปเงินเดือน (ฉบับล่าสุด) (สำเนาสลิปเงินเดือนย้อนหลัง 12 เดือน กรณีมีรายได้เป็น commission)
    • หนังสือรับรองโบนัสประจำ (ถ้ามี)
    • สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ย้อนหลัง 12 เดือน กรณีมีรายได้เป็น commission)
    • แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (50 ทวิ และ ภงด.90/91) พร้อมใบเสร็จการชำระภาษีย้อนหลัง 2 ปี
    กรณีบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว
    • สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน / ใบทะเบียนการค้า ไม่เกิน 3 เดือน
    • สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้ / ผู้กู้ร่วม ไม่เกิน 3 เดือน
    • สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ)
    • สำเนา ภ.พ.30 พร้อมใบเสร็จ (ถ้ามี)
    • สำเนา ภ.พ.20 (ถ้ามี)
    • สำเนาบริคณห์สนธิ ไม่เกิน 3 เดือน
  3. เอกสารด้านหลักประกัน
    • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน เช่น โฉนดที่ดิน หรือหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด (ขนาดเท่าตัวจริงทุกหน้า)
    • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่น สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ทด.13) หรือหนังสือสัญญาให้ที่ดิน (ทด.14)
    • สำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน (กรณีถ้ามีสัญญาเงินกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอื่นและอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ)
    • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
    • สำเนาสัญญากู้เงินกับสถาบันการเงินเดิม
    • สำเนาใบเสร็จเงินกู้เดือนล่าสุด

5. ยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรีไฟแนนซ์บ้าน

เอกสารพร้อมแล้ว เราก็ลุยขอสินเชื่อได้เลย โดยเราสามารถเข้าไปขอสินเชื่อกับทางธนาคารได้โดยตรง และเมื่อธนาคารรับเรื่องแล้ว ก็จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปประเมินราคาหลักประกันเพื่อประกอบการอนุมัติ โดยต่อมาเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วทางธนาคารใหม่ที่เรายื่นรีไฟแนนซ์บ้านไว้จะติดต่อกับธนาคารเดิมเพื่อสอบถามหนี้คงเหลือ และนัดวันไถ่ถอนต่อไป

6. เตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

ต่อมาเมื่อธนาคารใหม่อนุมัติสินเชื่อแล้ว สิ่งที่เราต้องเตรียม คือ การเตรียมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์จะน้อยกว่าการซื้อบ้านแบบปกติ

7. ทำสัญญาและจดจำนองที่กรมที่ดิน

เราก็มาถึงวิธีรีไฟแนนซ์บ้านขั้นตอนสุดท้ายกันแล้ว โดยทางธนาคารจะมีเจ้าหน้าที่ถือสัญญาไปให้เซ็นที่กรมที่ดิน พร้อมกับการทำสัญญาจดจำนองในวันเดียวกัน หลังทำสัญญาและจดจำนองเรียบร้อยแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นการรีไฟแนนซ์บ้าน

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

สำหรับใครที่ยังลังเลว่า รีไฟแนนซ์บ้าน ดีไหม? เราขอตอบเลยว่านอกจากการรีไฟแนนซ์แล้ว ยังมีอีกวิธีที่น่าสนใจไม่แพ้กันเลย คือ รีเทนชั่นบ้าน หรือที่เรียกว่า Retention

ดังนั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักกับการรีเทนชั่นบ้านกันก่อน
รีเทนชั่นบ้าน คือ การที่เราไปต่อลองขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม โดยหลัก ๆ แล้วรีเทนชั่นมีข้อดีอยู่ที่ความสะดวกสบาย เพราะเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิมที่มีเอกสารและข้อมูลของเราอยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มาก โดยเราจะเตรียมแค่เอกสาร สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของเราเท่านั้น ส่วนระยะเวลาในการพิจารณาก็ไม่นาน เพราะธนาคารมีประวัติการผ่อนชำระของเราอยู่แล้ว

ขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม

รีเทนชั่น VS รีไฟแนนซ์ แตกต่างกันอย่างไร?

รีเทนชั่นเป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่รีไฟแนนซ์เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ โดย วิธีรีไฟแนนซ์บ้าน มีหลายขั้นตอนกว่าการรีเทนชั่น แต่การรีไฟแนนซ์บ้านนั้นจะทำให้หนี้ของเรากับธนาคารเดิมนั้นสิ้นสุดลงพร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารใหม่ที่เราเลือกรีไฟแนนซ์

หรือถ้าหากเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายมากขึ้นคือ รีเทนชั่นเองมีความสะดวกในการขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากกว่า ส่วนการรีไฟแนนซ์จะทำให้เรามีโอกาสในการเลือกอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ได้หลากหลายกว่า โดยเราควรเลือกอัตราดอกเบี้ยต่ำที่สุดในเงื่อนไขที่ดีที่สุด

อ่านมาถึงตรงนี้เราคงได้รู้กันแล้วว่า การรีไฟแนนซ์อย่างเดียวไม่ใช่คำตอบ และถ้าหากคุณต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์มากขึ้น เราขอแนะนำ Krungsri The COACH “ดอกถูก ผ่อนบ้านหมดไว ๆ รีไฟแนนซ์คือคำตอบสุดท้ายจริงหรือ?” คลิกเลย

ท้ายที่สุดในความเป็นจริงแล้ว ใคร ๆ ก็ฝันอยากมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่การผ่อนบ้านนั้นกลับเป็นหนี้สินก้อนใหญ่ในระยะยาว และแผนการเงินระยะยาวของเราต่อจากนี้ต้องมีความหมาย รวมถึงความสบายในการผ่อนที่ทำให้ไม่เกิดผลกระทบกับการเงินของเราอีกด้วย เราเชื่อว่าไม่ว่าคุณจะเลือกจัดการกับสินเชื่อบ้านอย่างไร แต่ทุกการตัดสินใจของคุณมีค่าเสมอ เลือกทางเดินที่จะทำให้แผนการเงินระยะยาวของคุณมีความหมาย

ขอลดดอกเบี้ยบ้าน ทำยังไง

5 เทคนิคประหยัดดอกเบี้ยบ้าน ตัวช่วยหมดหนี้บ้านเร็ว.
เพิ่มเงินดาวน์.
เลือกดอกเบี้ยต่ำ ด้วยการทำประกัน MRTA..
โปะหนี้.
โปะเงินต้นด้วยเงินก้อน.
รีไฟแนนซ์ (Refinance).

ขอลดดอกเบี้ยบ้านใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้รีไฟแนนซ์บ้าน.
1. เอกสารประจำตัวบุคคล สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน ... .
2. เอกสารทางการเงิน สำหรับบุคคลที่มีรายได้ประจำ (มีเงินเดือน) สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 3-6 เดือน ... .
3. เอกสารหลักประกันการรีไฟแนนซ์บ้าน สำเนาโฉนดที่ดิน หนังสือกรรมสิทธิ์ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องที่บ่งชี้ถึงหลักประกัน.

ขอลดดอกเบี้ยบ้านเรียกว่าอะไร

รีเทนชั่นบ้าน คือ การที่เราไปต่อลองขอลดดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม โดยหลัก ๆ แล้วรีเทนชั่นมีข้อดีอยู่ที่ความสะดวกสบาย เพราะเป็นการดำเนินธุรกรรมกับธนาคารเดิมที่มีเอกสารและข้อมูลของเราอยู่แล้ว จึงทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมเอกสารต่าง ๆ มาก โดยเราจะเตรียมแค่เอกสาร สัญญาเงินกู้ ทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชนของเราเท่านั้น ส่วน ...

Retention ธอส เสียค่าอะไรบ้าง

Retention. มีค่าธรรมเนียมประมาณ 1-2% ของยอดวงเงินกู้เดิม หรือวงเงินที่เหลือแล้วแต่กำหนด Refinance. ค่าธรรมเนียมมากกว่า (มีค่าธรรมเนียมการจัดการสินเชื่อตามสัญญาใหม่ 0-3% ค่าธรรมเนียมในการจำนอง 1% ค่าประเมินราคาหลักประกัน 0.25-2% ค่าประกันอัคคีภัยประมาณ 2,000 บาทต่อมูลค่าบ้าน 1 ล้านบาท และค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้ ...