Geocentric Orientation คือ

  • Marketing

Marketing dictionary

Geocentric Orientation

A management orientation based upon the assumption that there are similarities and differences in the world that can be understood and recognized in an integrated world strategy. The geocentric orientation or world orientation is a synthesis of the ethnocentric orientation (home country) and polycentric orientation (host country).

Back to previous

Browse A-Z

Select a letter to find terms listed alphabetically.

  • Aa
  • Bb
  • Cc
  • Dd
  • Ee
  • Ff
  • Gg
  • Hh
  • Ii
  • Jj
  • Kk
  • Ll
  • Mm
  • Nn
  • Oo
  • Pp
  • Qq
  • Rr
  • Ss
  • Tt
  • Uu
  • Vv
  • Ww
  • Xx
  • Yy
  • Zz

Geocentric คือ นโยบายการบริหารบรรษัทข้ามชาติที่มุ่งเน้นความเป็นสากลด้วยการบริหารด้วยนโยบายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันในทุกบริษัทสาขาทั่วโลก แต่ยังคงมุ่งเน้นความเป็นสากลเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั่วโลกด้วยการตัดสินใจร่วมกันระหว่างบริษัทแม่กับบริษัทลูกเพื่อหาทางเลือกที่ดีที่สุด

โดยการใช้นโยบาย Geocentric บรรษัทข้ามชาติต้องทำความเข้าใจส่วนที่เหมือนและแตกต่างในแต่ละประเทศ เพื่อสร้างนโยบายใหม่ขึ้นมาให้สอดคล้องกับทุกประเทศ เพื่อที่จะใช้ประเด็นดังกล่าวตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่นทั่วโลก

เรียกได้ว่าแนวคิดการบริหารบรรษัทข้ามชาติแบบ Geocentric คือการผสมผสาน 2 แนวคิด ระหว่างแนวคิดแบบ Ethnocentric และแนวคิดแบบ Polycentric มารวมกัน พูดให้ง่ายกว่านั้นคือ ต้องการความเป็นมาตรฐานเดียวกันที่ใช้กับสากลได้

การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบ Geocentric

การจัดการทรัพยากรมนุษย์แบบ Geocentric จะใช้ผู้บริหารระดับสูงและระดับกลางที่มีความสามารถตรงความต้องการมากที่สุด โดยไม่ให้ความสนใจว่าผู้บริหารนั้นมาจากประเทศใด ซึ่งอาจจะไม่ใช่บุคลากรจากประเทศแม่ (Home Country) หรือจากประเทศลูก (Host Country) แต่เป็นผู้บริหารที่มาจากประเทศที่ 3 (Third Country) ก็ได้

ซึ่งใช้ประโยชน์ของการใช้ผู้บริหารที่มาจากประเทศที่ 3 ตามแนวคิด Geocentric มีข้อได้เปรียบ ดังนี้

ได้ผู้บริหารที่มีความสามารถตรงความต้องการที่สุด โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะต้องเป็นผู้บริหารจากประเทศแม่ (Home Country) หรือจากประเทศลูก (Host Country) แต่จะเป็นผู้บริหารจากประเทศแม่หรือประเทศลูกก็ได้

เป็นผู้บริหารที่มีวิธีดำเนินงานโดยไม่ยึดติดกับวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง อีกทั้งยังมีมุมมองในการวิเคราะห์ปัญหาที่แตกต่างจากการที่ไม่ เพราะเป็นผู้บริหารที่บริษัทสรรหามาจากประเทศที่ 3

ในส่วนของผู้บริหารระดับล่างในบริษัทที่ใช้นโยบานแบบ Geocentric จะใช้ผู้บริหารที่มาจากประเทศสาขาประเทศนั้น ๆ เหมือนกับนโยบายอื่น เนื่องจากผู้บริหารระดับล่างมีจำนวนมากยากที่จะใช้เงินทุนไปกับการสรรหาผู้บริหารระดับล่างจากทั่วโลกนั่นเอง

ธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศสามรถแบ่งออกได้เป็น  3 ประเภท ได้แก่ การแบ่งจากรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ การแบ่งตามขอบเขตการดำเนินธุรกิจ และการแบ่งตามแนวคิดปรัชญาในการดำเนินการตลาดระหว่างประเทศ ดังต่อไปนี้

1.การแบ่งประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจากรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

1.1 บริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้า (Import & Export Company)

1.2 บริษัทแฟรนไชน์ (Franchise) ในตลาดระหว่างประเทศ

1.3 สิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ (Licensing) ในตลาดระหว่างประเทศ

1.4 บริษัทร่วมทุน (Joint Venture)

1.5 บริษัทลงทุนตั้งธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ (wholly owned subsidiaries)

1.6 การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliance or Strategic Partnership)

2. การแบ่งประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจากขอบเขตการดำเนินธุรกิจ

2.1 บริษัทภายในประเทศ (Domestic or National Companies)

บริษัทภายในประเทศ คือ บริษัทที่ดำเนินธุรกิจโดยมีเป้าหมายเพียงแค่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศที่บริษัทตั้งอยู่บริษัทภายในประเทศจะใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในประเทศมาผลิตหรือเพิ่มมูลค่าเพิ่มมูลค่าให้เป็นสินค้าและบริการ เพื่อตอบสนองลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น ซึ่งบริษัทในตลาดระหว่างประเทศโดยส่วนใหญ่ จะเริ่มด้วยการเป็นบริษัทภายในประเทศก่อนแล้วจึงพัฒนาไปเป็นบริษัทระหว่างประเทศ ตัวอย่างเช่น บริษัทโคคา โคลา สหรัฐอเมริกา

2.2 บริษัทระหว่างประเทศ (Intertional Companies)

บริษัทระหว่างประเทศ คือ บริษัทภายในประเทศที่ดำเนินธุรกิจในตลาดภายในประเทศได้ระยะหนึ่ง ธุรกิจก็ตัดสินใจที่จะก้าวข้ามพรมแดน ขยายตลาดไปดำเนินธุรกิจยังตลาดต่างประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ต่างประเทศ โดยการใช้ประสบการณ์ ทรัพยากร กลยุทธ์ทางการตลาดละสินค้าเดิมๆ เหมือนที่ธุรกิจเคยใช้และประสบความสำเร็จในตลาดภายในประเทศ

2.3 บริษัทนานาชาติ (Multinational Companies)

บริษัทนานาชาติ คือ บริษัทนานาชาติ คือ บริษัทที่มีวิวัฒนาการจากบริษัท ระหว่างประเทศ บริษัทนานาชาติจะเกิดขึ้นหลังจากที่บริษัทระหว่างประเทศได้ดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศได้ระยะหนึ่ง บริษัทระหว่างประเทศจะเข้าใจถึงความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ตลอดจนบริษัทจะเรียนรู้ถึงวิธีที่จะเรียนรู้ถึงวิธีปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ทางการตลาดหรือปรับปรุงสินค้าเพื่อความสำเร็จและเมื่อบริษัทระหว่างประเทศสามารถเรียนรู้ปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง บริษัทระหว่างประเทศก็จะวิวัฒนาการสู่การเป็นนานาชาติ

บริษัทนานาชาติจะดำเนินการในตลาดระหว่างประเทศหลายๆ ตลาดด้วยการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดที่แตกต่างกันไปในตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง เพื่อความเหมาะสมและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละตลาดได้อย่างถูกต้อง

2.4 บริษัทระดับโลก (Global Companies)

บริษัทระดับโลก คือ บริษัทที่มีวิวัฒนาการพัฒนามาจากบริษัทนานาชาติ บริษัทระดับโลก

จะเป็นบริษัทที่สามารถสร้างข้อได้เปรียบจากต้นทุนในการแข่งขันในตลาดระหว่างประเทศ บริษัทระดับโลกจะมีรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์กลางหรือจากบริษัทแม่ ตั้งแต่การวางกลยุทธ์การบริหารทรัพยากร ตลอดจนการตัดสินใจเชิงนโยบายต่างๆ จะถูกกำหนดมาโดยบริษัทแม่ ซึ่งเรียกว่า การบริหารแบบการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง (Head Quarter) โดยบริษัทระดับโลกจะเลือกทำเลการผลิตสินค้าในประเทศที่มีความเหมาะสม โดยทำเลที่ตั้งที่บริษัทระดับโลกนั้นต้องสามารถสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับบริษัทในด้านต่างๆ เช่น ประโยชน์ด้านต้นทุน ประโยชน์ด้านการขนส่ง ประโยชน์ด้านทรัพยากรและวัตถุดิบ ประโยชน์จากากรเป็นศูนย์กลาง (Hub) หรือประโยชน์จาการเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีศักยภาพเป็นต้น

ข้อได้เปรียบของตลาดระดับโลก คือ บริษัทระดับโลกจะเป็นธุรกิจระหว่างประเทศที่เล็งเห็นและมีความเข้าใจถึงความสำคัญของลักษณะความเหมือน (Similarities) และลักษณะความแตกต่าง (Differences) ของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นหัวใจของการสร้างคุณค่าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในตลาดโลก

2.5 บริษัทข้ามชาติ (Transnational Companies)

บริษัทข้ามชาติ คือ รูปแบบบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในตลาดระดับโลก โดยบริษัทข้ามชาติจะ

พยายามใช้ทรัพยากรส่วนต่างๆ ของโลกอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างคุณค่าและส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้าทั่วโลก โดยบริษัทข้ามชาติจะพยายามมองหาวิธีที่เหมาะสมที่สุด วิธีที่ได้ประโยชน์สูงสุดหรือวิธีที่ได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด บริษัทข้ามชาติจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและนวัฒกรรมใหม่ช่วยในการดำเนินงานและบริหารจัดการองค์กร โดยบริษัทข้ามชาติจะสร้างโรงงานผลิตหรือคลังสินค้าในประเทศใดประเทศหนึ่งที่เป็นศูนย์กลางที่เหมาะสมทั้งด้านปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ มีแรงงานที่มีคุณภาพ ค่าแรงงานถูก มีทรัพยากรที่เป็นวัตถุดิบเพียงพอ ตลอดจนระบบการขนส่งที่สะดวกเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของบริษัท โดยเมื่อบริษัทข้ามชาติเลือกทำเลที่ตั้งโรงงานผลิตหรือคลังสินค้าแล้ว บริษัทข้ามชาติจะใช้ระบบเทคโนโลยีเครือข่าย (Technology Network) สำหรับการบริหารจัดการ การสั่งการ การควบคุม การประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุป ตลอดจนใช้เครือข่ายในการให้การติดต่อสื่อสั่งซื้อสินค้าจากบริษัทภายในประเทศที่ลูกค้าอยู่ แต่แท้จริงแล้วคำสั่งซื้อดังกล่าวอาจจะถูกส่งไปยังโรงงานผลิต คลังสินค้า ศูนย์กระจายสินค้า หรือศูนย์กลางของบริษัทข้ามชาติที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถตอบสนองความต้องการลูกค้ารายนั้นๆ ได้ดีที่สุด นอกจากนี้บริษัทข้ามชาติยังมีจุดเด่นตรงที่การจัดทรัพยากรในด้านต่างๆ รวมถึงการจัดการทรัพยากรมนุษย์ข้ามชาติ

3. แบ่งประเภทของธุรกิจระหว่างประเทศ ตามแนวความคิดทางการตลาดระหว่างประเทศ

แนวความคิดของการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศมีอยู่ 4 แนวคิด ดังนี้

1.1 แนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติ (Ethnocentric)

แนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติเป็นลักษณะการดำเนินธุรกิจของบริษัทใน

ตลาดระหว่างประเทศที่มีความเป็นชาตินิยมสูง โดยบริษัทจะมีความเชื่อมั่นว่าประเทศของตนมีความสำคัญและอยู่เหนือกว่าประเทศอื่น ทำให้ธุรกิจที่ยึดถือแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาตินี้มทัศนคติที่ภาคภูมิในความเป็นชาติของตนเอง โดยธุรกิจจะมองความสำเร็จของตลาดภายในประเทศแล้วสรุปว่าสินค้าและวิธีการดำเนินธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในตลาดภายในประเทศจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศทุก ๆ แห่ง ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิใจในความเป็นชาติจะมีความเชื่อมั่นที่สูงกว่า ถ้าตลาดภายในประเทศยอมรับสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว ตลาดทั่วโลกก็จะยอมรับด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติจึงจะไม่ให้ความสำคัญกับรายละเอียดและลักษณะความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่ง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบภาคภูมิในความเป็นชาติจะพัฒนาและผลิตสินค้าให้มีคุณภาพที่จะตอบสนองความต้องการและสามารถสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้าภายในประเทศเท่านั้น ธุรกิจจะไม่มีการทำวิจัยหรือพัฒนาเพื่อตอบสนองตลาดต่างประเทศ ธุรกิจไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงใดๆ เพื่อตลาดระหว่างประเทศ ดังนั้นความต้องการของลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศจะไม่ถูกตอบสนองจากบริษัทที่มีแนวความคิดแบบภาคภูมิในความเป็นชาติ

1.2 แนวความคิดแบบหลากหลายนิยม (Polycentric)

แนวความคิดแบบหลากหลายนิยมเป็นแนวความคิดที่มีลักษณะตรงข้ามกับแนวความคิด

แบบชาตินิยมอย่างสิ้นเชิง ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยมจะเชื่อว่าตลาดระหว่างประเทศแต่ละแห่งจะต้องมีความแตกต่างและมีความไม่เหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยม มีรูปแบบการดำเนินธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดที่แตกต่างกันไป ธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบลากหลายนิยมจะต้องพยายามค้นหาความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดให้พบและทำความเข้าใจถึงความแตกต่างนั้น เพื่อให้สามารถตอบสนองความแตกต่างในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดให้ได้ ดังนั้นธุรกิจที่มีแนวความคิดแบบหลากหลายนิยมจะเปิดโอกาสให้กับสาขาของธุรกิจแต่ละแห่งในตลาดระหว่างประเทศมีอิสระในการบริหารจัดการ โดยแต่ละสาขาสามารถวางกลยุทธ์และแผนการตลาดได้อย่างอิสระเพื่อตอบสนองความแตกต่างของตลาดแต่ละแห่ง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบหลากหลายนิยมจะกระจายอำนาจการบริหารให้สาขาในแต่ละประเทศดำเนินกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในแต่ละตลาดธุรกิจที่มีความเชื่อแบบหลากหลายนิยม คือ บริษัทนานาชาติ

1.3 แนวคิดแบบภูมิภาคนิยม (Regiocentric)

แนวคิดแบบภูมิภาคนิยมเป็นแนวความคิดที่ธุรกิจ เชื่อว่าตลาดระหว่างประเทศทั่ว

โลกสามารถจะแบ่งกลุ่มทางการตลาดออกเป็นหมวดหมู่ได้ตามภูมิภาค โดยธุรกิจที่มีแนวคิดแบบภูมิภาคนิยมจะแบ่งตลาดระหว่างประเทศออกเป็นส่วนๆ หรือออกเป็นภูมิภาคโดยอาศัยความคล้ายคลึงแบบใดแบบหนึ่งในการจัดกลุ่ม เช่น การใช้สภาพทางภูมิศาสตร์เป็นตัวแบ่ง ได้แก่ แบ่งเป็นกลุ่มตลาดทวีปยุโรป กลุ่มตลาดทวีปอเมริกาเหนือ กลุ่มตลาดทวีปเอเชีย เป็นต้น ซึ่งแต่ละภูมิภาคจะมีลักษณะความคล้ายคลึงและมีความเหมือนกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ธุรกิจที่มีแนวคิดแบภูมิภาคนิยมจะใช้กลยุทธ์ และแผนการตลาดแบบเดียวกันในแต่ละภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละภูมิภาค

1.4 แนวคิดแบบโลกานิยม (Geocentric)

แนวคิดแบบโลกานิยมเป็นแนวความคิดของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศที่มีความเชื่อว่า

ในตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาดจะมีทั้งลักษณะความแตกต่าง แนวคิดแบบโลกานิยมจะให้ความสำคัญกับลูกค้าทั่วโลกโดยธุรกิจจะพยายามตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งโลกให้ได้ไม่ว่าลูกค้านั้นจะอยู่ที่ใด แนวคิดแบบโลกานิยมเป็นแนวคิดที่รวมข้อดีของแนวคิดแบบชาตินิยมและแนวคิดแบบหลากหลายนิยมข้ไว้ด้วยกัน ดังนั้นธุรกิจระหว่างประเทศที่มีแนวคิดแบบโลกานิยมจึงพยายามทำความเข้าใจในลักษณะความเหมือนและลักษณะความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ละตลาด ธุรกิจที่มีแนวคิดแบบแนวคิดโลกานิยมจะสร้างกลยุทธ์ระดับโลก เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดระหว่างประเทศได้ทุกๆ ตลาดอย่างทั่วถึง ธุรกิจที่มีความเชื่อแบบโลกานิยมได้แก่ บริษัทระดับโลก และบริษัทข้ามชาติ

ที่มา :

www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc

An Orthnocentric Orientation ต่างจาก A Polycentric Orientation อย่างไร

1. Ethnocentric Orientation (แนวคิดมองประเทศแม่เป็นหลัก) 2. Polycentric Orientation (แนวคิดที่สอดคล้องในแต่ละประเทศ) 3. Geocentric Orientation (แนวคิดที่มองโลกเป็นตลาดเดียว)

Regiocentric คืออะไร

Regiocentric คือ รูปแบบการบริหารบรรษัทข้ามชาติโดยกระจายอำนาจตัดสินใจและการจัดหากำลังคนโดยแบ่งเป็นภูมิภาค เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกันในแต่ละภูมิภาค เนื่องจาก กลยุทธ์ Regiocentric เชื่อว่าประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกันมักจะมีวัฒนธรรมและแนวคิดที่ใกล้เคียงกัน

Ethnocentric Approach หมายถึงอะไร

Ethnocentric คือ แนวคิดของการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศของบริษัทข้ามชาติ โดย Ethnocentric คือ การบริหารบริษัทลูกในต่างประเทศ (บริษัทสาขาต่างประเทศ) โดยยึดนโยบายของบริษัทแม่เป็นหลัก ทำให้การดำเนินงานของบริษัทลูกในต่างประเทศจะเป็นไปในรูปแบบเดียวกับบริษัทแม่เกือบทั้งหมด

Polycentric Attitude เป็นแนวความคิดทางด้านใด

แนวคิดแบบ Polycentric คือแนวคิดที่เชื่อว่าในประเทศที่แตกต่างกันมีวัฒนธรรมที่ต่างกัน จึงควรจะบริหารด้วยรูปแบบที่เหมาะสมต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่น เพราะไม่มีวิธีใดที่จะสามารถใช้ได้กับทุกประเทศทั่วโลกได้ โดยนโยบาย Polycentric ถือเป็นแนวคิดที่ตรงข้ามกับ Ethnocentric อย่างสิ้นเชิง และมีแนวคิดคล้ายกับด้าน Particularism ของ ...