สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนานิสัย developing habits คืออะไร

สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนานิสัย developing habits คืออะไร

สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนานิสัย developing habits คืออะไร

วันนี้ก็มาถึงอุปนิสัยที่ 6 ใน 7 อุปนิสัยของคนที่มีประสิทธิผลสูงกันแล้วนะครับ นิสัยที่ 6 นี้ถือเป็นอุปนิสัยสุดท้ายของการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น ถ้ายังจำกันได้ อุปนิสัย 1-3 เป็นเรื่องของการพัฒนาตนเอง การสร้างวินัยในตนเอง การสร้างเป้าหมาย และการบริหารเวลาให้ทำในสิ่งที่สอดคล้องกับเป้าหมายที่เราต้องการ และเมื่อเข้าสู่อุปนิสัยที่ 4-6 ก็จะเป็นเรื่องการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น เนื่องจากการที่เป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงนั้น นอกจากพัฒนาตนเองแล้ว ยังต้องมีการพัฒนาแนวทางในการสร้างสัมพันธ์กับคนอื่นด้วย และนิสัยที่ 6 นี้ก็คือ Synergize ก็คือ การสร้างผลลัพธ์แบบทวีคูณจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น

อุปนิสัยที่ 6 นี้จะเป็นเรื่องของการสร้างทีมงาน และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดผลแบบทวีคูณ แบบที่เรียกว่า 1+1 ต้องได้มากกว่า 2 โดยต้องอาศัยการคิดแบบ Win-win เข้ามาประกอบ และก็ต้องอาศัยเรื่องของการเข้าใจผู้อื่นก่อน เข้ามาช่วย พูดง่ายๆ ก็คือ ต้องนำเอาอุปนิสัยที่ 4 และ 5 เข้ามาประกอบด้วย จากนั้น ก็คือ เราจะต้องคิดต่อยอดออกไปให้ได้ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์แบบที่ไม่เหมือนเดิม

การที่เราทำงานเป็นทีม แต่ผลที่ออกมาไม่ต่างกับการที่เราทำงานคนเดียว นั่นแปลว่า ไม่เกิด Synergy กรณีแบบนี้มักเกิดขึ้นบ่อยๆ กับ หัวหน้าทีมที่พยายามจะให้ลูกน้องคิดเหมือนตนเอง ทำในแบบที่ตนเองต้องการ และเมื่อทั้งทีมเชื่อฟังเราในฐานะหัวหน้า เราก็รู้สึกว่านี่แหละคือ การผสานพลังเพื่อให้เกิด Synergy แต่จริงๆ ตามหลักการของ 7 habits แล้วไม่ใช่เลยครับ เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้น ก็เหมือนกับการที่หัวหน้าคิดคนเดียว ทำคนเดียว คนอื่นเป็นเพียงผู้ติดตาม และคอยทำตามคำสั่งเท่านั้น

ดังนั้นคำว่า Synergy ก็คือ การที่ทุกคนในทีมจะต้องสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ช่วยกันคิด ต่อยอดจากสิ่งที่เคยทำๆ กันมา เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือเพื่อให้เกิดผลงานแบบทวีคูณได้ นี่คือทีมงานที่มี Synergy จริงๆ

ดังนั้นคนที่มีประสิทธิผลสูง ก็คือ คนที่สามารถดึงเอาความสามารถของคนอื่นออกมาใช้ และยังต้องสามารถผสมผสานความสามารถของแค่ละคนที่มีความแตกต่างกัน ให้เข้ามาเอื้อต่อผลสำเร็จตามเป้าหมายได้อีกด้วย ดังนั้นคนที่จะสามารถสร้าง Synergy ได้จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • Communication คือ การสื่อสาร จะต้องเป็นคนที่คุยกับคนอื่นรู้เรื่อง สามารถที่จะสื่อภาษายากๆ ให้เป็นภาษาเข้าใจง่ายๆ ได้ เพื่อที่จะทำให้คนอื่นเห็นภาพเป้าหมาย เพื่อที่จะได้ช่วยกันสรรหาวิธีการไปสู่เป้าหมายแบบใหม่ๆ ได้นั่นเอง หลายๆ คนที่ไม่สามารถสร้าง Synergy ได้สาเหตุก็มาจากการที่เขาพูดไม่รู้เรื่อง พูดโดยใช้แต่คำศัพท์ที่เลิศหรู ภาษาเทพ ซึ่งทำให้ทีมงานงงเป็นไก่ตาแตก แล้วแบบนี้ใครจะมาช่วยคิดอะไรใหม่ๆ ได้ เพราะแค่เป้าหมายยังมองไม่เห็นเลย แล้วจะไปหาวิธีการไปสู่เป้าหมายได้อย่างไร
  • Cooperation คือ การประสานและร่วมมือกัน การที่จะสร้าง Synergy ได้ คนที่เป็นผู้นำ หรือหัวหน้าทีม จะต้องมองเห็นจุดเด่นของทุกคนในทีม และสามารถที่จะดึงเอาจุดเด่นของแต่ละคนเข้ามาประสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ผิดกับหัวหน้างานบางคนที่พอเห็นลูกน้องบางคนบริหารยาก เป็นคนที่นิสัยไม่ค่อยดี ก็จะพยายามไม่ให้ลูกน้องคนนี้เข้ามามีส่วนร่วมกับงาน ทั้งๆที่เขาอาจจะมีอะไรดีๆ ก็ได้ ดังนั้นคนที่จะสร้าง Synergy ได้ก็คือ จะต้องไม่มองคนแบบฉาบฉวย แต่ต้องมองให้ลึกลงไป หาต้องหาจุดดีของแต่ละคนให้เจอ หรือบางคนคิดแค่เพียงว่า ถ้าใครคิดไม่เหมือนกับเรา ก็ไม่ต้องมาทำงานร่วมกัน แบบนี้ไม่ใช่คนที่จะสร้าง Synergy ได้เลยครับ

6 อุปนิสัยผ่านไป จะเห็นว่า การที่เราต้องการที่จะเป็นคนที่มีประสิทธิผลสูงตามแนวทางของ 7 Habits แล้ว ไม่ใช่แค่การสร้างตัวเองเท่านั้น จะไม่เหมือนกับตำราในการพัฒนาตนเองให้ไปสู่ความสำเร็จ ที่ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่ตัวเราเองมาก แต่ 7 Habits นั้น นอกจากสร้างตัวเองแล้ว เรายังต้องไปสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่นด้วย เพราะในการทำงานของเรานั้น เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้อย่างแน่นอน จะต้องมีเพื่อน มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นด้วย เพราะคนเราเป็นสัตว์สังคมนั่นเองครับ และที่สำคัญเราจะประสบความสำเร็จไม่ได้เลย ถ้าไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

วันนี้คุณมองเห็นจุดดี ในตัวของคนอื่นหรือยัง และพร้อมที่จะผสานพลังจากคนเหล่านี้หรือเปล่าครับ

คำสอนคำแนะนำ เช่น สามัคคี มีวินัย ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน คำนึงถึงการได้ประโยชน์ร่วมกัน ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา ล้วนแต่เป็นสิ่งที่คุ้นเคย ที่เราได้ยินจากคำสอนของครูในโรงเรียน เห็นตามป้ายในห้องเรียนห้องประชุม พบได้ในคำขวัญวันเด็ก คำสอนเชยๆ ที่เราอาจละเลยปล่อยผ่านไปนี้ ปรากฏอยู่ในหนังสือ The 7 Habits of Highly Effective People: Powerful Lessons in Personal Change หนังสือที่ขายดีสุดๆ เขียนโดย Stephen R. Covey

ถึงแม้ว่าชื่อหนังสือจะทำให้เราเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกับลักษณะนิสัยของคนที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ลักษณะนิสัยที่ผู้เขียนอธิบายไว้ในหนังสือ แท้จริงแล้วเป็นเหมือนทัศนคติหรือกรอบความคิด ที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จหรือทำให้เรามีความสุขในชีวิตได้

ลักษณะนิสัย 7 อย่าง ในหนังสือได้แก่

  1. Be Proactive
  2. Begin with the End in Mind
  3. Put First Things First
  4. Think Win-Win
  5. Seek First to Understand, Then to Be Understood
  6. Synergize
  7. Sharpen the Saw

Be Proactive

คนประเภท Proactive คือคนที่ทำงานเชิงรุก ตรงข้ามกับ Reactive หรือคนที่ทำงานแบบเชิงรับ

คนประเภท Proactive จะไม่รอให้สิ่งต่างๆ เกิดขึ้นแล้วค่อยพยายามหาทางปรับแก้ให้เหมาะสมกับตัวเอง แต่คนเหล่านี้มีพฤติกรรมมุ่งมั่นที่จะค้นคว้าหรือค้นหาโอกาส และลงมือทำเพื่อป้องกันปัญหาก่อนที่มันจะเกิดขึ้น ในขณะที่คนประเภท Reactive จะรอตอบโต้หรือแก้ไขปัญหาหลังจากที่มันเกิดขึ้นแล้ว

คนประเภท Proactive จะจดบันทึกสิ่งที่ครูสอนในห้องเรียน เพราะไม่แน่ว่าอาจได้ใช้ในภายหลัง เช่น ทำการบ้านหรือแบบทดสอบ

คนประเภท Proactive จะไม่ร้องโวยวาย หรือกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของใคร หากมีสิ่งแย่ๆ เกิดขึ้น แต่คนเหล่านี้มีพลัง มีกำลังใจ มีใจรัก ที่จะมองหาโอกาสเริ่มต้นลงมือทำ ไม่รอให้คนอื่นมาช่วยแก้ไขปัญหาให้ คนเหล่านี้รู้จักมองและประเมินสถานการณ์ แล้วลงมือทำ

แทนที่จะโทษว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดี เป็นเพราะรัฐบาล คนประเภท Proactive จะไม่สนใจสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของตนเอง จะสนใจแต่สิ่งที่ควบคุมได้เท่านั้น

คนประเภท Proactive รู้ดีว่าตนเองไม่ได้สมบูรณ์แบบ แต่จะต้องพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองตามแต่ละสถานการณ์ เพื่อให้เหมาะและทำให้สามารถจูงใจคนอื่นๆ ทำให้เกิดสภาวะที่ตัวเองต้องการขึ้นได้ คนเหล่านี้รู้ดีว่าตนเองเก่งขึ้น เรียนรู้ทักษะได้มากขึ้น แข็งแกร่งและฉลาดขึ้นได้

I am who I am today because of the choices I made yesterday.—Eleanor Roosevelt

วิธีที่จะฝึกฝนตนเองเพื่อให้เป็นคน Proactive มากขึ้นคือ

  • รู้จักรับผิดชอบตนเองและเชื่อในความสามารถของตนเอง
  • รู้จักเตรียมตัวและประเมินตนเองเพื่อที่จะหาจุดที่จะเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาตนเอง
  • รู้จักบริหารเวลาและวางแผน

Begin with the End in Mind

การเริ่มต้นจากบทสรุป คือการใช้จินตนาการ นึกถึงวันสุดท้ายของเรา หากเราต้องเป็นคนกล่าวไว้อาลัยให้กับตัวเอง หรือหากมีคนเขียนหนังสือชีวประวัติของเรา เราอยากให้คนอื่นๆ จดจำเราอย่างไร อยากให้ภาพที่คนอื่นๆ มองเราเป็นอย่างไร

อยากให้คนอื่นมองว่าเราเป็นคนรักครอบครัวหรือเปล่า? หรืออยากเป็นคนที่ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม? คำถามเหล่านี้จะทำให้เราต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงตัวเอง

ย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ดูว่ามันสอดคล้องกับภาพที่ต้องการให้คนอื่นจดจำหรือเปล่า

จินตนาการจะทำให้เห็นจุดมุ่งหมาย และจะเป็นแนวทางให้คิดกลยุทธ์ที่จะนำไปสู่จุดหมายนั้น เป็นเข็มทิศ เป็นสัญลักษณ์ที่จะช่วยให้รู้ว่ากำลังเดินไปถูกทาง ให้รู้ว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง ทำให้การเลือกและทำให้มุ่งหน้าไปยังจุดหมายได้เร็วขึ้น

บางคนใช้เวลาทั้งชีวิต ดั้นด้น ปีนป่ายภูเขา ปีนขึ้นไปเพียงเพื่อที่จะพบว่า แท้จริงแล้ว การยืนอยู่บนจุดสูงสุดไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง บางคนปีนขึ้นไปแล้วพบว่าความสุขไม่ได้อยู่บนที่สูง แต่มองลงไปกลับพบว่าความสุขที่ตามหานั้นอยู่บนที่ราบ

Put First Things First

หลังจากที่นึกถึงและมีจุดหมายในใจแล้ว ย้อนกลับไปคิดถึงสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ เราใช้เวลาทำสิ่งที่มันจะนำเราไปสู่จุดหมายนั้นหรือเปล่า

หากสิ่งที่ต้องการคือการมีสุขภาพดี สิ่งที่เรากำลังทำอยู่คือการนั่งสบายๆ กินมันฝรั่งทอด ดื่มน้ำอัดลม ดูโทรทัศน์อยู่หรือเปล่า

การบริหารเวลา ความสำคัญของงานและลำดับก่อนหลังเป็นคนละอย่างกัน บางครั้งเราพบว่าเรื่องสำคัญล้วนแต่เป็นเรื่องที่ไม่เร่งด่วน แต่เรื่องเร่งด่วนกลับมีแต่เรื่องที่ไม่สำคัญ และที่แย่มากกว่าคือการค้นพบว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้นเป็นเรื่องที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน

ในแต่ละวันงานที่เร่งด่วนหรือกดดันอาจไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับแรก

รู้จักการจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยใช้แนวคิดของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ โดยประเมินตามความสำคัญ-ไม่สำคัญ เร่งด่วน-ไม่เร่งด่วน ทำให้สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

  1. Urgent and important งานที่สำคัญ และเร่งด่วน เป็นงานที่เราต้องรีบทำ และเป็นงานที่ต้องทำให้ดี
  2. Urgent but not important เป็นงานที่เร่งด่วน แต่ไม่สำคัญ เป็นงานขัดจังหวะ ควรลดให้น้อยลงหรือมอบหมายให้คนอื่นทำ
  3. Important but not urgent เป็นงานที่สำคัญ แต่ไม่เร่งด่วน ควรจะเป็นงานที่เราต้องใช้เวลาทำให้มาก
  4. Not important and not urgent เป็นงานที่ไม่สำคัญ และไม่เร่งด่วน ควรงด เลิกทำ ไม่ควรมี

พยายามหลีกเลี่ยงงานในส่วนที่ 2 และ 4 และถ้าเป็นไปได้ให้ลดงานในส่วนที่ 1 ลงด้วย แล้วให้ความสนใจและใช้เวลาในส่วนที่ 3 ให้มากขึ้น

การที่จะทำให้ทำงานในส่วนที่ 3 ได้มากขึ้น สามารถทำได้โดยการปฏิเสธงานที่ไม่สำคัญในส่วนที่ 2 และ 4 และลดงานในส่วนที่ 1 ให้น้อยลง โดยการหาทางป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติ ซึ่งก็คืองานที่อยู่ในส่วนที่ 3 นั่นเอง

Think Win-Win

Zero-sum game คือสถานการณ์แข่งขันที่ผู้ชนะจะได้ และผู้แพ้ที่จะเสีย  การบวกเพิ่มและหักลบผลประโยชน์ ทำให้ผลรวมกลายเป็น 0

คนทั่วไปมองว่าผลประโยชน์มีอยู่จำกัด และทำให้ต้องแย่งชิงกันเพื่อเป็นผู้ชนะที่จะได้ผลประโยชน์ ทำให้เกิดความคิดที่ต้องรีบไขว่คว้าก่อนที่คนอื่นจะเอาไป

รู้จักคำนึงถึงการได้ประโยชน์ร่วมกัน บางคนมองว่าการจะประสบความสำเร็จได้ จะต้องแย่งชิง ต้องมีคนชนะที่จะได้ทุกสิ่ง และคนแพ้ที่สูญเสีย หลายครั้งที่เกิดสถานการณ์ที่ทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็แพ้และสูญเสีย จนทำให้เกิดมือที่ 3 ที่จะฉวยโอกาสและรับผลประโยชน์ไป

หลีกเลี่ยงการแย่งชิงหรือการต่อสู้เพื่อเอาชนะกัน และเปลี่ยนไปร่วมมือกัน

หากมองว่าทรัพยากรหรือผลประโยชน์มีอยู่จำกัด ก็จะทำให้เกิดการแย่งชิงเกิดขึ้น แต่ถ้ามองว่าทรัพยากรหรือผลประโยชน์มีมากมายและเพียงพอสำหรับทุกคน ก็จะทำให้ค้นหาวิธีที่จะช่วยให้แต่ละฝ่ายต่างได้รับประโยชน์ ทำให้สามารถสร้างโอกาส ทำให้เกิดความเป็นไปได้มากขึ้น ทำให้มีทางเลือกใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เป็นเรื่องง่ายที่จะประสบความสำเร็จไปด้วยกัน แบ่งปันผลประโยชน์และโตไปด้วยกัน

ก่อนที่จะเริ่มแย่งชิงกัน ให้ลองคิดและประเมินสิ่งเหล่านี้ก่อน ดูว่ามันมีความเป็นไปได้หรือเปล่าที่จะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน

  • ความต้องการของแต่ละฝ่าย
  • วิธีการที่จะทำให้ได้ผลลัพธ์
  • ทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้
  • ประสิทธิภาพของการทำงาน
  • ผลที่ตามมาทั้งในด้านดีและไม่ดี

Seek First to Understand, Then to Be Understood

เข้าใจคนอื่น ก่อนที่จะให้คนอื่นเข้าใจเรา รู้จักรับฟังความเห็นของคนอื่น พยายามเข้าใจความต้องการของคนอื่นๆ

ทักษะการสื่อสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะการฟังเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมาก ในการที่จะเข้าใจความต้องการของคนอื่น หรือเข้าใจสิ่งที่คนอื่นๆ กำลังจะบอกเรา

สิ่งที่เรามองอาจไม่ใช่ความจริง ตาเรามีจุดบอดและนั่นทำให้สมองต้องเติมเต็มสิ่งที่หายไป ด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมาของแต่ละคน ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ผลที่เกิดขึ้นคือบางคนพยายามทำให้คนอื่นเข้าใจตนเองให้มากขึ้นและป้องกันไม่ให้คนอื่นเข้าใจผิด

แต่สิ่งที่เราต้องทำอันดับแรกไม่ใช่การทำให้คนอื่นๆ เข้าใจตัวเราหรือความต้องการของเรา แต่เป็นการทำความเข้าใจความต้องการของคนอื่นๆ และถ้าตั้งใจฟังอย่างดี ก็จะทำให้ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับฟังความเห็นหรือคำวิจารณ์จากลูกค้าเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับการขายหรือการตลาด เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจความต้องการ ความกังวลและสถานการณ์ที่ลูกค้ากำลังประสบ จะทำให้สามารถนำเอาสินค้าและบริการไปใช้ตอบสนองความจำเป็นหรือใช้แก้ปัญหาของลูกค้าได้

การรับฟังและเข้าใจลูกค้าทำให้สื่อสารและสามารถนำเอาสินค้าและบริการไปตอบสนองความต้องการได้ตรงใจของลูกค้า

Synergize

สามัคคีคือพลัง ฟังดูเป็นแค่คำเชยๆ

Synergy คือร่วมแรงร่วมใจกันทำงานเป็นทีม สองหัวดีกว่าหัวเดียว นำเอาความแตกต่างมารวมกันไม่ใช่หักล้างกัน

Synergy คือการเปิดใจยอมรับความแตกต่างทางความคิด มุมมองและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมใจเป็นหนึ่งเดียวและทำงานร่วมกันเป็นทีมที่มีประสิทธิภาพ เชื่อว่าผลรวมของพลังจากทุกคนจะทำให้เกิดผลที่ดีกว่าแยกกัน

การร่วมแรงร่วมใจกัน ต้องอาศัยความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น และนึกถึงประโยชน์ร่วมกัน จะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกคนเห็นคุณค่าของความแตกต่าง ความสามารถเฉพาะด้านของแต่ละคน เมื่อยอมรับความแตกต่างได้ ก็จะทำให้มีจุดร่วมเดียวกัน และเป็นฝ่ายเดียวกันได้ ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์และทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ร่วมกัน

Sharpen the Saw

หากงานที่ได้รับมอบหมายคือการตัดต้นไม้ 50 ต้น หลายคนก็คงเริ่มต้นจากการลงมือตัดต้นไม้ทีละต้น วันแรกๆ อาจตัดได้เยอะหน่อย แต่หลังจากเลื่อยเริ่มทื่อลง ก็จะทำงานได้ช้าลงตามไปด้วย

Give me six hours to chop down a tree and I will spend the first four sharpening the axe.—Abraham Lincoln

เครื่องมือในการตัดต้นไม้ ไม่ว่าจะเป็นเลื่อยหรือขวานก็เปรียบได้ดั่งทักษะที่มี คนที่ฝึกฝน คนที่ลับคมเครื่องมือก่อนทำงาน อาจเริ่มงานได้ช้า แต่จะทำผลงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า และสุดท้ายทำงานเสร็จเร็วกว่า

เรียนรู้และไม่หยุดที่จะฝึกฝนตนเอง พัฒนาตนเองอยู่เสมอ เมื่อเรามีทักษะที่จำเป็น ก็จะนำไปใช้หารายได้ พัฒนาคุณภาพชีวิต ความสามารถที่มีมันจะนำพาเราไปพบโอกาสใหม่ๆ ทำให้เห็นหนทางที่จะเดินหน้าต่อไป

อย่าเริ่มต้นลงมือทำงานทันที แต่ให้เริ่มจากการฝึกฝนตนเองให้พร้อม ยกระดับตัวเองขึ้นไป มันจะทำให้ทำงานได้ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ ก้าวข้ามระดับที่คนทั่วไปทำอยู่

ในหนังสือผู้เขียนได้กล่าวถึงการพัฒนาตนเองที่ทำได้ 4 ทาง ได้แก่ ร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ แนวคิดคล้ายๆ กันกับ การบริหารพลังงานในตนเอง

  • ในด้านร่างกาย ให้คำนึงถึงเรื่องการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อทำให้ร่างกายฟิต เพิ่มความสามารถในการฟื้นฟู นอนหลับให้เพียงพอ และรู้จักพักระหว่างการทำงาน
  • ในด้านอารมณ์ ให้คำนึงถึงการสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ฝึกฝนให้เป็นคนมีความฉลาดทางอารมณ์
  • ในด้านจิตใจ ให้คำนึงถึงการฝึกฝนจิตใจ ฝึกจิตให้แข็ง ฝึกใจให้แกร่ง จิตใจที่เข้มแข็งจะทำให้ฟันฝ่าอุปสรรคและไม่ท้อแท้ง่ายๆ
  • ในด้านจิตวิญญาณ ใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติ ซึมซับรับรู้ความงามและความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ฝึกฝนเรียนรู้หรือชื่นชมศิลปะ

สรุป

ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ไม่ใช่แค่ระดับบริหาร แต่จะต้องอาศัยคนทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงในทุกระดับ ทุกคนทุกทีม จะต้องมีลักษณะนิสัย มีพฤติกรรมการทำงาน มีจุดร่วมเดียวกัน คุณค่าของแต่ละคนสอดคล้องกับแนวทางขององค์กร ผู้นำควรจะแชร์ความรู้เกี่ยวกับลักษณะนิสัยทั้ง 7 อย่างนี้ ทำให้คนทั้งองค์กรได้รู้จักและเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้ใช้เวลาในการพัฒนาตนเองให้กลายเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน

จบแล้วสำหรับลักษณะนิสัยทั้ง 7 อย่างของการเป็นคนที่มีประสิทธิภาพสูง มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะพัฒนาตนเอง ต้องอาศัยความพยายาม มีวินัย ทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวัน และใช้เวลากว่าที่จะประสบความสำเร็จ

Developing Habits) คืออะไร

1.1 การพัฒนาอุปนิสัย (Developing Habits) : ประกอบด้วย 3 สิ่งคือ : Knowledge / Skill / Desire (ความอยาก) สิ่งที่ยากในการพัฒนาอุปนิสัย คือการสร้างความอยากที่จะทำ 1.2 คุณลักษณะ (Character) / บุคลิกภาพ (Personality)

การพัฒนานิสัย (Developing Habits) ของ สตีเฟน อาร์. โคว์วีย์ ประกอบด้วย 3 สิ่งคืออะไร

1. ด้านสติปัญญา เช่น อ่านหนังสือ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ 2. ด้านกายภาพ เช่น หมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้พอ กินอาหารที่มีประโยชน์ 3. ด้านอารมณ์ เช่น หมั่นคิดในสิ่งที่ดี ทำดี สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง

ท่านคิดว่าการพัฒนาอุปนิสัย มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

7 อุปนิสัยที่เราควรมีเพื่อพัฒนาสู่ความสาเร็จ ... .
1. Be Proactive เริ่มต้นลงมือทาก่อน ... .
2. Begin with the End in Mind มีเป้าหมายชัดเจน ... .
3. Put First Things First ทาในสิ่งที่สาคัญที่สุดก่อน ... .
4. Think Win-Win คิดแบบชนะทั้งสองฝ่าย ... .
5. Seek First to Understand, Then to Be Understood เข้าใจคนอื่นก่อน ... .
6. Synergize ทางานเป็นทีม.

เซเว่นแฮบบิทมีอะไรบ้าง

อุปนิสัย 7 ประการ ที่เราควรมี (7 Habits).
ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive) ... .
เริ่มต้นโดยมีเป้าหมายชัดเจน (Begin with the end in mind) ... .
ทำสิ่งสำคัญกว่าก่อน (Put first things first) ... .
ชอบคิดแบบชนะ-ชนะ (Think Win-Win) ... .
การพยายามเข้าใจคนอื่นก่อน (Seek first to understand then to be understood).