อธิบาย ทฤษฎี หน้าต่าง โจ ฮา รี รวม ถึง การนำ ไป ใช้ ใน การ รู้จัก ตนเอง และ ผู้ อื่น

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่

          เจ้าของทฤษฎีนี่คือ โจเซฟ ลุฟท์ และแฮรี่ อิงแฮม (Joseph Luft and Harry
Ingham) นักจิตวิทยาทั้งสองได้เสนอทฤษฎีนี้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 โดยใช้ชื่อว่าหน้าต่างโจฮารี่ : แบบลายเส้นของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (The Johari-Window : graphic Model of Awareness in Interpersonal Relation) เพื่อใช้เป็นแบบแผนสังเกตพฤติกรรมของบุคคลเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม และเพื่อให้เข้าใจสัมพันธภาพที่เกิดข้นระหว่างบุคคลในลักษณะที่รู้ตัว (Luft, 1970 : 56) รูปแบบของพฤติกรรมของบุคคล มีดังนี้

รูปหน้าต่าง 4 บาน นั้น ลุฟท์และอิงแฮม สรุปว่าบุคคลทุกคนมีพฤติกรรมอยู่ 4 แบบ ซึ่งอยู่ตามบริเวณหน้าต่างทั้ง 4 บาน บางทีก็เรียกว่า หน้าต่างหัวใจ พฤติกรรมดังกล่าวมีดังนี้ คือ
           1. บริเวณเปิดเผย
หมายถึงบริเวณพฤติกรรมภายนอกที่แสดงออกอย่างเปิดเผย เป็นพฤติกรรมเจตนาที่บุคคลแสดงออกแล้วรู้ว่าตนเองแสดงพฤติกรรมอะไร มีจุดมุ่งหมายอย่างไรให้บุคคลอื่นรับรู้พฤติกรรมและเจตนาของเรา ในขณะเดียวกันเราก็รับรู้พฤติกรรมและเจตนาของผู้อื่นด้วย ถ้าหากบุคคลมีความสนิทสนมกันมากขึ้น บริเวณจะเปิดกว้างขึ้น หมายถึงบุคคลจะมีปฎิกิริยาโต้ตอบต่อกันและมีการเปิดเผยจริงใจต่อกันมากขึ้น
          2. บริเวณจุดบอด หมายถึงบริเวณ บริเวณที่พฤติกรรมที่ตนแสดงออกโดยไม่รู้ตัว
ไม่มีจุดมุ่งหมาย และไม่มีเจตนาที่จะแสดงออกไป แต่บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้ การที่บางคนพุดหรือแสดงการกระทำบางอย่างโดยไม่รู้ตัวจะทำให้เสียบุคลิกภาพ อาจทำให้คนอื่นเบื่อหน่ายและไม่พอใจได้
          3. บริเวณซ่อนเร้น หมายถึงบริเวณที่มีพฤติกรรมลึกลับ
เป็นพฤติกรรมหรือความรู้สึกนึกคิดบางอย่างที่บุคคลเก็บว่อนไว้ในใจเปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ ตนเองเท่านั้นที่รู้ เช่น ความรู้สึกไม่ดีต่อคนอื่น พฤติกรรมในส่วนนี้มักจะเป็นพฤติกรรมภายใน ได้แก่ความจำ การรับรู้ ความคิด บุคคลจะไม่แสดงพฤติกรรมดังกล่าวออกมา เพราะต้องการปิดบัง แต่อาจจะแสดงพฤติกรรมอย่างอื่นกลบเกลื่อน
          4. บริเวณมืดมน หมายถึง
เป็นบริเวณที่พฤติกรรมหรือความรู้สึกบางอย่างที่บุคคลแสดงออกโดยไม่รู้ตัว ตนเองไม่เคยรู้ไม่เคยเข้าใจมาก่อน และบุคคลอื่นไม่เคยรุ้ไม่เคยสนใจมาก่อนเช่นกัน พฤติกรรมในส่วนนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างทำให้เกิดพฤติกรรมนี้ขึ้นมาได้ เช่น บุคคลบางคนมีกิริยามารยามเรียบร้อย สุภาพเรียบร้อย สุขุม เยือกเย็น แต่เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์คับขัน พฤติกรรมก้าวร้าวเพื่อเอาชนะคู่ต่อสู้จึงเกิดขึ้น
          การศึกษาตนเองและผู้อื่นโดยใช้ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่
ทำให้ได้ข้อคิดว่า
                    1.
ไม่มีใครรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้
                    2.
คนเราสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้
                    3. บริเวณเปิดเผยและบริเวณซ่อนเร้นเป็นส่วนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างมนุษยสัมพันธ์โดยตรง
ส่วนบริเวณจุดบอดและจุดมืดมนนั้นมีผลต่อการสร้างมนุษยสัมพันธ์ทางอ้อม.

“I think self-awareness is probably the most important thing toward being a champion” –  Billie Jean King 

การรู้จักตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นยอดคน 

เราเจอคลิป TED Talk ของ Thandie Newton นักแสดงชื่อดังจากหนังเรื่อง Mission Impossible พูดในหัวข้อ Embracing otherness, embracing myself ว่า การสร้างตัวตนค่อยๆ เริ่มก่อตัวขึ้นตั้งแต่พ่อแม่ตั้งชื่อให้ลูก การเลี้ยงดูที่ต่างกันแต่ละบ้าน การศึกษาคนละรูปแบบ รสนิยมความชอบที่แตกต่าง เราจึงค่อยๆ สร้างตัวตนของตัวเองขึ้นมา ซึ่งมีความแตกต่างจากคนอื่นทีละน้อยๆ และตัวตนเฉพาะนี่แหละเป็นสิ่งที่ทำให้คนอื่นๆ ในสังคมจดจำเราได้ 

แต่เราเคยถามตัวเองมั้ยว่า ตัวตนที่เป็นอยู่ใช่ตัวเราจริงๆ หรือเป็นแค่ภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้นเพื่อเรียกร้องการยอมรับกันแน่? แล้วตัวตนแบบไหนกันล่ะที่เราต้องการ? 

สิ่งที่ช่วยทุกคนหาคำตอบได้คือ Self-awareness หรือการรู้จักตนเอง

การรู้จักตนเองคืออะไร?

Self-awareness คือ การที่เรารู้เรื่องราวของตัวเอง รู้นิสัย รู้จุดแข็ง รู้จุดอ่อน รู้ว่าตัวเองมีความเชื่ออะไร มีแรงขับเคลื่อนอะไร ซึ่งการรู้จักตัวเองนั้นครอบคลุมไปถึงการเข้าใจผู้อื่น รู้ว่าผู้อื่นคิดอย่างไรกับเรา และรู้ว่าต้องปฎิบัติกับผู้อื่นอย่างไร 

เราสามารถแบ่งการรู้จักตัวเองเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • Private Self-Awareness : เป็นการเข้าใจตัวเองแบบส่วนตัว ไม่ต้องไปยุ่งกับคนอื่น เช่น รู้ว่าเราเป็นคนขี้น้อยใจ เวลาเพื่อนไปไหนแล้วไม่ชวนเราจะแอบเสียใจอยู่คนเดียว
  • Public Self-Awareness : เป็นการเข้าใจตัวเองเวลาต้องมีปฎิสัมพันธ์กับคนอื่น รับรู้ว่าคนอื่นคิดกับเรายังไง แสดงออกกับเรายังไง และตัวเราเองตอบสนองยังไงบ้าง เช่น เวลาพรีเซ้นท์งานหน้าชั้น เราจะตอบสนองกับสายตาที่จับจ้องอยู่ด้วยการพูดเสียงเบา

การรู้จักตัวเองฟังเหมือนง่าย แต่จริงๆ ก็อาจจะไม่ง่ายไปซะทั้งหมด วันนี้เรามาพร้อมกับตัวช่วย ที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน 2 คน Joseph Luft และ Harry Ingham เฝ้าสังเกตพฤติกรรมนุษย์ จนเกิดเป็นทฤษฎี The Johari Window ทฤษฎีที่บอกว่าคนทุกคนจะนำเสนอตัวตนใน 4 รูปแบบ ดังนี้

  1. Open self : ตัวตนส่วนที่เรารู้จักตัวเองดี รู้ว่าตัวเองคิดอะไร มีศักยภาพอะไร รู้สึกอย่างไร และเราเปิดเผยให้คนอื่นรับรู้ตัวตนของเราแบบตรงไปตรงมา คนรอบตัวจึงรู้และเข้าใจตัวตนของเราส่วนนี้ เช่น A เป็นคนขี้กลัว กลัวความสูง กลัวที่แคบ กลัวการอยู่คนเดียว กลัวเกือบทุกอย่าง A รู้ว่าตัวเองขี้กลัวนะ เพื่อนรอบๆ ก็จะรู้เหมือนกันว่า A ขี้กลัว
  2. Blind self : ตัวตนส่วนนี้คนอื่นรอบตัวสัมผัสรับรู้ แต่ตัวเราเองกลับไม่รู้ว่าเรามีพฤติกรรมหรือความสามารถส่วนนี้ อย่างเช่น A เป็นคนชอบเอาชนะ ชอบแข่งขันกับคนอื่นแบบไม่รู้ตัว แต่คนอื่นก็รู้ว่า A ชอบแข่งขัน เพราะ A จะทำทุกทางขอแค่ให้ได้สัมผัสชัยชนะ ซึ่งถ้าหากเราปล่อยให้ตัวเองมีส่วนนี้เยอะก็คงไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะจะทำให้ขาดจิ๊กซอว์บางตัวที่ช่วยให้เราพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นได้ ใครอยากหาจิ๊กซอว์ตัวนี้ต้องกล้ารับฟังความคิดเห็น และเสียงสะท้อนความเป็นตัวเราจากคนรอบข้าง 
  3. Hidden self : ตัวตนที่เรารู้แต่เพียงผู้เดียว คนอื่นไม่เคยรู้มาก่อน เพราะเรารู้แล้วซ่อนไว้เป็นความลับส่วนตัว เช่น A เป็นคนวาดรูปเก่ง แต่วาดอยู่คนเดียวลำพัง ไม่เคยบอกใคร ไม่เคยวาดรูปให้ใครดู คนอื่นไม่รู้เลยว่า A มีมุมอาร์ตชอบวาดรูปด้วย ซึ่งความเป็นส่วนตัวส่วนนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ในการทำงานร่วมกัน เราต้องไว้วางใจกันมากพอจนกล้าเปิดเผยตัวตนส่วนนี้ออกมา เพราะถ้าคนรอบตัวรู้จักเราเพียงแค่เสี้ยวเดียว ก็จะยากในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
  4. Unknown self : ตัวตนส่วนนี้มืดมิดเลย เป็นดินแดนที่ไม่มีใครค้นพบ ตัวเราเองก็ไม่รู้ คนรอบตัวก็ไม่รู้เลยว่าเรามีความสามารถ หรือทักษะประเภทนี้ด้วย ซึ่งตัวตนส่วนนี้อยู่ระหว่างการสืบเสาะค้นพบ เช่น A เป็นคนพูดให้กำลังใจเก่ง แต่ A ไม่ค่อยพูดกับใคร คนรอบข้างก็เลยไม่รู้ และตัว A เองก็ไม่รู้ จนวันที่หัวหน้าให้ A พูดในที่ประชุม A พูดแค่ไม่กี่คำ ก็จุดประกายเพื่อนร่วมงานได้แล้ว ดังนั้น คนที่มี Unknown self เยอะๆ ต้องเร่งมือค้นหาตัวเองกันหน่อย ความไม่มั่นใจในตัวเองรั้งเราไม่ให้ออกไปทดลองสิ่งใหม่ๆ เราก็จะจมอยู่ใน Comfort Zone ไม่เจอตัวตนสักที

จะเห็นได้ว่า เรารู้จักตัวเองแค่ครึ่งเดียว คือส่วน Open Self และ Hidden Self  อีกสองส่วน คือ Blind self กับ Unknown self  เป็นภารกิจที่เราต้องออกเดินทางเพื่อค้นหาจิ๊กซอว์ส่วนที่ขาดหายไปของตนเอง โดยการเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ…แล้วเราจะค้นหาไปเพื่ออะไร?

เพื่อที่วันหนึ่ง เราจะพบว่า ฉันเป็นคนในแบบที่่ฉันเป็น มันดีอยู่แล้ว ฉันสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างที่ฉันอยากทำได้ ถ้าฉันต้องการ 

เพื่อที่เราจะได้สามารถเข้าถึงศักยภาพทั้งหมดที่เรามี ยอมรับในตัวตนที่เราเป็น และไม่ได้เป็น ขุมทรัพย์แห่งความสำเร็จ อยู่ในตัวเรานี่เอง ไม่ต้องไปหาที่ไหนไกล (แต่เชื่อไหมว่า ต่อให้คนทั้งโลกมาบอกเรา เราก็ไม่เชื่อ นอกเสียจากว่าเราจะเจอสิ่งนี้ด้วยตัวเอง เป็นผู้รู้ด้วยตนเอง) 


วิธีเบื้องต้นในการเริ่มต้นทำความรู้จักกับตัวเองมากขึ้น

  • เปิดเผยตัวเองมากขึ้น : ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกตัวเอง และสิ่งที่ตัวเองเป็น แสดงออกให้คนอื่นรับรู้ เพราะยิ่งคนรอบตัวเข้าใจเรามากเท่าไหร่ เขาจะได้ช่วยเราให้ถึงจุดหมายได้ หรือในวันที่เราอ่อนแอ คนรอบตัวก็จะได้รู้ว่าควรยื่นมือมาช่วยเรายังไงดี
  • ค้นหา Feedback : สอบถามคนรอบข้าง ไม่ต้องกลัวโดนว่า เพราะการรับ Feedback จะทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น เราจะได้เปลี่ยนตัวตนส่วน blind self เป็น open self แต่ต้องระวังว่าถ้ารับ Feedback มากเกินไป อาจตกอยู่ในสภาวะข้อมูลล้น ซึ่งเราก็สามารถจัดการข้อมูลเหล่านี้ได้ด้วย The Feedback Matrix ที่แบ่ง Feedback ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ Useful, Useless, Significant และ Insignificant จะได้รู้ว่า Feedback ไหนควรหยิบมานั่งคิดต่อ และ Feedback ไหนไม่ต้องไปใส่ใจ (เดี๋ยวจะตกอยู่ในภาวะนอยด์ จากเสียงคนรอบข้างจนไม่เป็นอันทำอะไร) 

  1. Useful and Significant : เป็น Feedbackที่พูดถึงสิ่งที่สำคัญ และเป็นประโยชน์กับตัวเรามากๆ หากเพื่อนรอบตัวพูดเหมือนกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ก็ถึงเวลาที่เราต้องรีบแก้ไข ปรับปรุงตัวเองกันใหม่ เช่น “เวลาโกรธเธอชอบพูดจาทำร้ายจิตใจคนอื่น” feedback นี้สำคัญ เพราะกระทบกับเรื่องความสัมพันธ์ และถ้าเราแก้ไขได้ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเราเอง
  2. Useful but Insignificant : คำติชมมีประโยชน์กับเรานะ แต่ยังไม่ใช่เรื่องสำคัญสักเท่าไหร่ ซึ่งเราก็ไม่ควรมองข้าม feedback พวกนี้เสียทีเดียว แต่ให้จัดเป็นความสำคัญลำดับหลังๆ เช่น “ถ้าพูดให้อ่อนหวานกว่านี้จะเข้าหาผู้ใหญได้ง่ายขึ้นนะ” คำแนะนำนี้มีประโยชน์ แต่ถ้าเรางานของเราไม่ได้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่ ก็อาจไม่จำเป็นก็ได้ เป็นต้น
  3. Useless but Significant : feedback ที่แตะประเด็นสำคัญ แต่เป็นสิ่งที่เรายังทำตามไม่ได้ด้วยข้อจำกัดอะไรบางอย่าง feedback ประเภทนี้เราอาจหยิบมาครุ่นคิดต่อเมื่อมีเวลา เช่น “เข้างานสังคมบ้างจะได้ฝึกฝนการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี” แต่ถ้าเวลานั้นเรามีโปรเจกต์หลายตัวอยู่ในมือ แค่เวลานอนยังไม่มีเลย ก็รอให้เคลียร์งานหลักๆ เสร็จก่อนแล้วค่อยว่ากัน
  4. Useless and Insignificant : เราเรียก Feedback ประเภทนี้ว่าคำติชมราคาถูก ติไปเรื่อย ชมไปเรื่อย ไม่มีประโยชน์และไม่สลักสำคัญอะไรเลย มองข้ามข้อติชมประเภทนี้ ไม่ต้องเปลืองพลังงานสมองมาใส่ใจ เช่น “แต่งตัวไม่ค่อยแมทซ์กันเท่าไหร่เลยนะ”
  • ก้าวข้ามลิมิตของตัวเอง : Unknown self เป็นส่วนที่เราต้องขยันค้นหา ต้องลองทำสิ่งใหม่ๆ เพื่อจะได้ค้นพบพรสวรรค์ หรือสิ่งมหัศจรรย์ที่ซ่อนเร้นไว้ เริ่มแรกเราอาจค้นหาตัวเองผ่านแบบทดสอบค้นหาตัวเองก่อนก็ได้ เช่น Strengths Finder ซึ่งเป็นเครื่องมือค้นหาจุดแข็งของตัวเอง หรือลองทำ Personal SWOT analysis ดูจะได้เห็นภาพตัวเองชัดขึ้น หรือถ้าใครมีเวลาก็นั่งทำ Personal Development Plan เพื่อให้เห็นเป้าหมายกันชัดๆ ไปเลย และลงมือทำตามตารางที่วางไว้

การรู้จักตัวเอง ไม่มีหลักสูตรลัดตายตัว ถ้าคิดจะเรียนรู้ให้จบคอร์สภายในวันสองวันนี่เป็นไปไม่ได้เลย เรื่องแบบนี้ต้องเรียนรู้กันไปตลอดชีวิตค่ะ เพิ่มสิ่งนี้ เป็นหนึ่งในภารกิจการใช้ชีวิตของเรา 

เพราะเมื่อเวลาเปลี่ยน ตัวเราเองก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเหมือนกัน 🙂


ที่มา :

  • The Johari Window: How to Build Self-Awareness & Achieve Success
  • Understanding the Johari Window model
  • What is self-awareness? – reachout.com
  • What Is Self-Awareness? – www.verywell.com
  • The Feedback Matrix – Hackwriting


ทฤษฎีหน้าต่างของโจฮารี่ คืออะไร

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี แบ่งหน้าต่างออกเป็น 4 ส่วน คือ ตนที่เปิดเผย ตนที่บอด ตนที่ซ่อนเร้น และตนที่ไม่รู้ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ พฤติกรรม เจตคติ ความรู้สึก ความปรารถณา การจูงใจ แนวความคิด และอื่นๆ ซึ่งแต่ละคนจะมีทั้ง 4 ส่วน คือมีทั้งส่วนที่เปิดเผย ที่บอด ที่ซ่อนเร้น และที่ตนไม่รู้ และในแต่ละบุคคลส่วนทั้งสี่ไม่จำเป็นจะต้อง ...

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี่ (The Johari Window) ที่คนอื่นรู้แต่เราไม่รู้เรียกว่าอะไร

2. Blind Area หรือ บริเวณจุดบอด (เราไม่รู้ เขารู้) เป็นพื้นที่บอด เพราะเราแสดงพฤติกรรมออกไปโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้อื่นรับรู้ได้ เขามองเห็นตัวเราในมุมที่เราเองไม่เคยสังเกตมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นข้อเสียหรือจุดบกพร่องที่เราอาจทำผิดพลาดจากความไม่ตั้งใจและไม่ได้ตระหนักรู้ว่าตนเองได้ทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมลงไป เราจะรับรู้ได้ก็ต่อเมื่อ ...

ทฤษฎีใด ที่จะนำมาปรับใช้เพื่อให้เรารู้จักตนเองมากขึ้น

การรู้จักตัวเองฟังเหมือนง่าย แต่จริงๆ ก็อาจจะไม่ง่ายไปซะทั้งหมด วันนี้เรามาพร้อมกับตัวช่วย ที่นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน 2 คน Joseph Luft และ Harry Ingham เฝ้าสังเกตพฤติกรรมนุษย์ จนเกิดเป็นทฤษฎี The Johari Window ทฤษฎีที่บอกว่าคนทุกคนจะนำเสนอตัวตนใน 4 รูปแบบ ดังนี้

บุคคลใดได้เสนอทฤษฎีหน้าต่างหัวใจของโจฮารี่

ทฤษฎีหน้าต่างโจฮารี 1 โจเซฟ ลูฟ และ แฮร์รี่ อิงแฮม (Joseph Luft and Harry Inghan) เป็นผู้ คิดทฤษฎีหน้าต่างใจฮารีขึ้นมาและได้นำเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1955 โดยเอาชื่อต้นของ ทั้งสองท่านรวมกันเป็นชื่อทฤษฎีเรียกว่า The Johari Window เพื่อแสดงถึงบุคลิกลักษณะ คลในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น