เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประโยชน์

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประโยชน์

ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์

ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เชี่ยวชาญเรื่องระบบข้อมูลสารสนเทศ การวางกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร รวมถึงกลยุทธ์ออนไลน์

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อนำใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ มิติ เช่น ทางการทหาร การบริหารจัดการพลเมือง และวิกฤติการต่างๆ รวมถึงเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว วันนี้หลายองค์กรได้นำความสามารถของมันมาใช้ จนทำให้หลายๆ เหตุการณ์คลี่คลายลงได้

ปัจจุบัน ต้องยอมรับว่า ในชีวิตประจำวันของเราได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้สะดวกรวดเร็วทั้งในการทำงาน การติดต่อสื่อสาร และทำให้มีการตัดสินใจได้อย่างแม่นยำขึ้น ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีบทบาทและมีความสำคัญมากในการนำไปประยุกต์ใช้งานในหลากหลายมิตินิยมใช้กันทั่วโลก

ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems: GIS) คือ กระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เป็นการใช้ฐานข้อมูลภูมิศาสตร์ (Geographic Database) มีการใช้แผนที่ มีการใช้ภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ตัวเลข ตัวอักษร รวมถึงระยะทาง เข้าไปทำการวิเคราะห์ผ่านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อสร้างและแสดงแผนที่ออกมาเป็นภาพกราฟิกสำหรับสนับสนุนการตัดสินใจในเรื่องผลกระทบด้านต่างๆ ทำให้มีความแม่นยำสูง ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการประสบอุทกภัยของประชาชน คลื่นสึนามิ หรือต้องการดูทรัพยากรด้านต่างๆ เช่น ทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรทางทะเล

มีหลายบริษัทใช้เทคโนโลยีของ GIS ทำงานร่วมกับระบบนำร่องหาพิกัดตำแหน่ง (Global Positioning Systems: GPS) เพื่อช่วยในการคัดเลือกพื้นที่ในการทำธุรกิจการขายปลีก, ร้านค้า หรือเป็นสิ่งช่วยนำทางหาสถิติประชากรในการตั้งเป้าหมายทางการตลาด ตัวอย่างเช่นบริษัท FedEx, Levi Strauss ก็ใช้ชุดของซอฟต์แวร์นี้ มาทำการวิเคราะห์ข้อมูล

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประโยชน์

ระบบ GIS นั้นถือว่าเป็นระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support Systems: DSS) อย่างหนึ่ง ซึ่ง DSS จะใช้ซอฟต์แวร์ช่วยแสดงโครงสร้าง รูปภาพ และภาพแผนที่ ซึ่งจะมีฐานข้อมูลเพื่อแสดงออกมาให้ประกอบการตัดสินใจ บางครั้งอาจมีการใช้ซอฟต์แวร์ Microsoft Excel รวมเข้าไปช่วยในการทำงานด้วย

ในเว็บวิกิพีเดีย ซึ่งเป็นเว็บสารานุกรมเสรี ได้ให้ข้อมูลของระบบสารสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS เอาไว้ว่า ระบบ GIS ประกอบไปด้วยชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวม ปรับปรุงและการสืบค้นข้อมูล เพื่อจัดเตรียม ปรับแต่ง วิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย_GIS ให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด, การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน,การบุกรุกทำลาย, การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปล สื่อความหมาย และนำไปใช้งานได้ง่าย

ข้อมูลใน GIS_ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ

สำหรับข้อมูล GIS_ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน (รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน

องค์ประกอบหลักของระบบ GIS_จัดแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People)

ตัวอย่างของระบบ GIS_ที่เห็นได้ชัดเจนอีกประเภทหนึ่งคือ ระบบนำร่องหาพิกัดตำแหน่ง (Global Positioning Systems: GPS) ระบบนำร่องหาพิกัดตำแหน่ง คือ ระบบซึ่งใช้ดาวเทียมนำร่องเป็นหลักในการกำหนดพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ประกอบไปด้วยเครือข่ายโคจรของดาวเทียม 24 ดวงนั่นคือ 11,000 ไมล์ทะเล สูงขึ้นไปในอากาศ

ในจำนวนดาวเทียมทั้ง 24 ดวงเหล่านี้ จะมีวงโคจร 6 วงโคจรซึ่งโคจรรอบโลกไม่ทับเส้นกัน ดาวเทียมนั้นมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา โคจรรอบโลก 2 รอบในเวลา 24 ชั่วโมง หรือประมาณ 1.8 ไมล์ต่อวินาที นั่นคือการเคลื่อนที่อย่างแท้จริงระบบดาวเทียมนำร่อง GPS เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า NAVSTAR

สำหรับดาวเทียมที่ผู้บริโภคใช้ทั่วไป (Civilian GPS) จะรับสัญญาณหาตำแหน่งพิกัดได้ถูกต้องในระยะ 60 ถึง 225 ฟุต ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสถานะความเหมาะสมของตำแหน่งที่หาพิกัด, หมายเลขของดาวเทียม, และสภาพภูมิศาสตร์ การทำงานของดาวเทียมที่สามารถหาตำแหน่งพิกัดได้ถูกต้องแม่นยำนั้นต้องใช้ดาวเทียมมากกว่า 3 ดวง และทำมุมกันเป็นรูปสามเหลี่ยม

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ประโยชน์

ระบบ GPS นี้ นิยมใช้นำร่องเกี่ยวกับยวดยานพาหนะ เช่น รถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบิน ระบบ GPS ขนาดเล็กได้ออกแบบมาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์สำหรับพกพาส่วนบุคคล มีหลายบริษัทได้พัฒนาซอฟต์แวร์แผนที่ขึ้นมาเพื่อใช้งานร่วมกับระบบ GPS

ซอฟต์แวร์แผนที่นี้จะทำงานได้ทั้งสองอย่าง คือ ใช้ค้นหาตำแหน่งพื้นที่ของตัวเอง หรือไม่ก็ใช้เพื่อวัดระยะทางระหว่างจุดสองจุด เมื่อซอฟต์แวร์ถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์ GPS ก็สามารถทำให้หาพื้นที่ได้ถูกต้องและบอกตำแหน่งปรากฏให้เห็นบนแผนที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ปัจจุบันมีร้านขายอุปกรณ์ GPS จำนวน 77 ร้าน มีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ GPS จำนวน 563 รายการ

ทั้งหมดดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นส่วนหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เรียกว่า ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เช่นเหตุการณ์น้ำท่วม ปี พ.ศ.2554 ก็ได้ใช้ระบบ GIS_เข้ามาช่วย เช่น พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำที่เกี่ยวข้อง ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2555

ผศ.ดร.สมบัติ อยู่เมือง ผอ.ศูนย์วิจัยภูมิสารสนเทศประเทศไทย ได้ชี้แจงว่า และวิกฤติมหาอุทกภัยปี พ.ศ.2554 สร้างความเสียหายกับประเทศไทยเป็นมูลค่า 1.4 ล้านล้านบาท ตามการประมาณการของธนาคารโลกรัฐบาลเร่งเดินหน้าเยียวยาฟื้นฟูประเทศอย่างเต็มกำลังความสามารถ นอกจากนี้ในอนาคตเราสามารถใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์นี้ เพื่อเตรียมการรับมือกับอุทกภัย หรือความความเสียหายจากภัยธรรมชาติอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

ประโยชน์ของ GIS 1. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การกำหนดพื้นที่ป่าไม้ แหล่งน้ำ ทั้งบนผิวดินและใต้ดิน ธรณีวิทยาหินและแร่ ชายฝั่งทะเลและภูมิอากาศ 2. ด้านการจัดการทรัพยากรเกษตร เช่น การแบ่งชั้นคุณภาพพื้นที่เกษตร ดินเค็มและดินปัญหาอื่น ความเหมาะสมของพืชในแต่ละพื้นที่ การจัดระบบน้ำชลประทาน การจัดการด้านธาตุอาหารพืช

ภูมิสารสนเทศมีบทบาทสําคัญอย่างไร

. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในปัจจุบันสามารถทำงานร่วมกับข้อมูลรูปแบบที่หลากหลาย อีกทั้งยังง่ายต่อการเข้าถึงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลที่สำคัญต่อการรับมือภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งทำให้การตัดสินใจสั่งการก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

การใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานใดได้บ้าง

เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน ซึ่งงานด้านหลักๆ ได้แก่ด้านเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ และระบาดวิทยา เป็นต้น ที่มา : ตำราเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศศาสตร์

ภูมิศาสตร์มีประโยชน์ด้านใดบ้าง

1. นาไปเป็นข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมทางการเมือง 2. นาไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม 3. นาไปใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว 4. นาไปเป็นข้อมูลในการสร้างสาธารณูปโภค 5. ใช้ประโยชน์ในกิจการทหาร ฯลฯ 6. ช่วยให้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับพื้นผิวโลก 7. ประโยชน์ในการศึกษาด้านต่างๆเช่น ลักษณะภูมิประเทศ ด้าน ธรณีวิทยา ...