ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

           Kaikaku หรือไคคาคุ แปลคร่าวๆ ตามหลักการลีนได้ว่าเป็นการปรับปรุงแบบถอนรากถอนโคน ซึ่งในกิจกรรมของ TPM นั้นมี Planned Maintenance ที่ใช้กัน โดยจะมุ่งเน้นคือการทำ Zero Breakdownแบบการบำรุงรักษาเชิงประสิทธิผล (Productive Maintenance) เป็นเป้าหมายสำคัญ หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ หมายถึงการบำรุงรักษาที่ประหยัดที่สุดและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจนตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักร โดยใช้แนวคิดที่ว่า การควบคุมเครื่องจักรไม่เพียงแต่เป็นการควบคุมหลังจากการได้ติดตั้งเครื่องจักรเท่านั้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดนั้น จำเป็นต้องควบคุมในทุกๆขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจก่อนสร้างหรือซื้อเครื่องจักร การออกแบบ การผลิตเครื่องจักรและติดตั้ง

หากจะทำให้เข้าใจง่ายผมจะแบ่งกิจกรรมเป็น 2 อย่าง คือ ไคเซ็น (ปรับปรุง) และโฮเซ็น (ธำรงรักษา) เพื่ออธิบายวัตถุประสงค์แต่ละขั้นตอนการบำรุงรักษา

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

Hozen Activity (กิจกรรมโฮเซ็น (ธำรงรักษา))

PM     : Preventive Maintenance (บำรุงรักษาเชิงป้องกัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักร จะต้องปฎิบัติตามเงื่อนไขการใช้งานพื้นฐานของเครื่องจักร หมายความว่า ต้องทำให้มีการเดินเครื่องปกติ

DM     : Daily Maintenance (การบำรุงรักษาประจำวัน) : เป็นการโฮเซ็น (ธำรงรักษา) ของเครื่องจักรหรือเรียกอีกอย่างว่าการบำรุงรักษาประจำวัน เช่น การหล่อลื่น , การขันแน่น , การปรับแต่ง , การตรวจสอบ และการเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อตรวจวัดความเสื่อมสภาพ

TBM    : Time Based Maintenance (บำรุงรักษาตามคาบเวลา) : เป็นการบำรุงรักษาที่ดำเนินการเป็นรอบเวลาที่กำหนดตามคาบเวลา

CBM    : Condition Based Maintenance (บำรุงรักษาจากการทำนายสภาพ) : เป็นการบำรุงรักษารูปแบบกำหนดต่อสภาพพยากรณ์การเสื่อมสภาพของชิ้นส่วนเครื่องจักร โดยใช้เทคนิคการวินิจฉัยเครื่อง แล้วทำการคาดคะเนแนวโน้มตามความเป็นไปของการเสื่อมสภาพ

BM      :  Breakdown Maintenance (บำรุงรักษาหลังเกิดขัดข้อง) : เป็นการซ่อมเมื่อเครื่องจักรเสีย ที่ไม่มีการวางแผนล่วงหน้าและมักจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูง

PdM    : Predictive Maintenance (การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์) : เป็นการบำรุงรักษาที่ใช้วิธีการหรือเทคนิคใหม่ๆ โดยใช้เครื่องมือวัดต่างๆเพื่อติดตามสภาพเครื่องจักร และใช้ข้อมูลนั้นเพื่อการวางแผนในการซ่อมบำรุง

Kaizen Activity (กิจกรรมไคเซ็น)

CM     :  Corrective Maintenance (บำรุงรักษาเชิงแก้ไข) : เป็นการแก้ไขปรับปรุงวิธีบำรุงรักษาแต่จะหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงตัวเครื่องจักรเพื่อที่จะลดความเสียหายจากการเสื่อมสภาพและค่าใช้จ่ายของการบำรุงรักษาลง  กล่าวคือเป็นการปรับปรุง คุณสมบัติของเครื่องจักรให้ดีขึ้นนั่นเอง

MP      : Maintenance Prevention (ป้องกันการบำรุงรักษา) เป็นการป้องกันการบำรุงรักษาจะได้ผลก็ต่อเมื่อมีข้อมูลและประวัติของเครื่องรุ่นแรก ๆ โดยละเอียด  ซึ่งการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่จะช่วยให้การออกแบบหรือการเลือกซื้อเครื่องจักรบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการป้องกันการบำรุงรักษาได้

สุดท้ายนี้ Planned Maintenance ในบริบทของ TPM นั้นจะให้ความสำคัญของการสร้างระบบบริหารเครื่องจักร พร้อมกับการช่วยสนับสนุนการพัฒนาบุคคลากรขององค์กรให้สามารถบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตัวเอง หรือ Autonomous Maintenance อย่างเป็นระบบ

#ก่อนที่จะพูดว่าทำไม่ได้ให้ลองทำ
#ไม่มีสักวันเดียวที่จะผ่านไปโดยไม่มีการปรับปรุงในส่วนหนึ่งส่วนใดในองค์กร

www.facebook.com/HOZENANDKAIZEN

โรงงานอุตสาหกรรม คือหนึ่งในสถานที่ที่มีการทำงานอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการใช้งานเครื่องจักรเพื่อผลิตสินค้าให้ทันต่อความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการทำงานแบบต่อเนื่องนี้อาจส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือเครื่องจักรด้อยประสิทธิภาพลงได้ ทำให้ทุกโรงงานต้องมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน หรือ Preventive Maintenance นั่นเอง

Preventive Maintenance คืออะไร 

Preventive Maintenance (PM) คือ การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เป็นหนึ่งในรูปแบบการดูแลสภาพเครื่องจักรและอุปกรณ์ภายในโรงงาน ที่ใช้การตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ต่างๆ ตามเวลาที่มีการกำหนดเอาไว้ 

ยกตัวอย่าง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A มีอายุการใช้งานขั้นต่ำอยู่ที่ 4,500 ชั่วโมง แผนการทำ Preventive Maintenance คือการเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์ A ภายใน 4,400 ชั่วโมง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในกระบวนการผลิต แม้ว่าในความเป็นจริง ชิ้นส่วนอุปกรณ์ A จะสามารถใช้ได้มากกว่า 4,500 ชั่วโมงก็ตามที

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

ข้อดีและข้อเสียของ Preventive Maintenance

ข้อดี

ทำให้การผลิตเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การใช้งาน Preventive Maintenance ทำให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีการวางแผนระยะยาวในการใช้งาน คนในโรงงานรับรู้ว่าอุปกรณ์ใดควรเปลี่ยนเวลาไหน หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากอายุการใช้งาน รวมถึงการใช้งานอุปกรณ์ที่หมดระยะเวลาประกันได้ 

ประหยัดค่าใช้จ่าย Preventive Maintenance ช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจนทำให้ส่งผลกระทบต่องานและต้นทุนโดยรวมได้ อีกทั้งยังส่งผลให้เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสามารถทำงานได้อย่างยาวนานยิ่งขึ้นอีกด้วย 

ข้อเสีย

ข้อมูลไม่ Real-Time สิ่งที่เป็นจุดด้อยมากที่สุดสำหรับ Preventive Maintenance คือปัจจัยด้าน “เวลา” เนื่องจากความเป็นแผนงานที่ตรงไปตรงมา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์บางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย 

ใช้เวลาในการบำรุงรักษามากพอสมควร เนื่องจาก Preventive Maintenance จะมีการทำงานตามตารางเสมอ ทำให้ทางโรงงานต้องมีการแบ่งเวลามาทำงานในการบำรุงรักษา ซึ่งบางครั้งเราก็จำเป็นต้องเปลี่ยนหรือซ่อมแซมทั้งๆ ที่เครื่องจักรไม่มีปัญหาใดๆ 

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

กระบวนการบำรุงรักษาแบบอื่นๆ 

Reactive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงรับ (Reactive Maintenance) เป็นการ “รอ” เครื่องจักรให้มีอาการพัง ถึงทำการซ่อมแซมให้กลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง การทำงานประเภทนี้จะมีค่าเสียโอกาสและค่าซ่อมที่สูงมากเนื่องจากหากผ่านไปนานๆ เครื่องจักรที่ไม่ได้มีการบำรุงรักษาจะมีโอกาสพังพร้อมกันสูง 

Proactive Maintenance 

การบำรุงรักษาเชิงรุก (Proactive Maintenance) คือการประยุกต์หลักการของ Preventive ให้ดียิ่งขึ้นโดยจะเป็นการวางแผนเพื่อเก็บข้อมูลส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร ทั้งชื่อรุ่น แบรนด์ และความเสี่ยงต่างๆ ก่อนทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เพื่อดำเนินการซ่อมบำรุงชิ้นส่วนนั้นๆ 

Predictive Maintenance 

การบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ (Predictive Maintenance) คือการที่โรงงานทำการติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลต่างๆ แบบเรียลไทม์ ทั้งเซนเซอร์ตรวจจับเพื่อวิเคราะห์ความเสียหาย การวัดปริมาณและคุณภาพผลงานที่ออกมาด้วยอุปกรณ์เชื่อมต่อ IoT ทำให้สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าชิ้นส่วนไหนจะต้องบำรุงรักษาอย่างไร โดยปัจจุบัน Predictive Maintenance เป็นอีกรูปแบบที่ได้รับความนิยมสูงเทียบเทียงกับ Preventive Maintenance ทีเดียว

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

สรุปบทความ

Preventive Maintenance เป็นหนึ่งในกระบวนการบำรุงรักษาในอุตสาหกรรมที่ทุกโรงงานควรให้ความสนใจเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเบื้องต้น ก่อนเข้าสู่ระบบ Predictive Maintenance ที่ปัจจุบันกรรมวิธีนี้สามารถทำได้สะดวกและง่ายดายมากยิ่งขึ้นด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Automation และ IoT ทำให้สามารถคาดการณ์และตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ในกระบวนการต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความแม่นยำในการประเมินและการบำรุงรักษายิ่งขึ้นไปอีก

ข้อดีของการทำ Breakdown Maintenance คืออะไร

ถ้าคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกระบวนการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการผลิต หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทความนี้ คุณสามารถสอบถามได้ที่นี่ ด้วยบริการให้คำปรึกษาจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค เครื่องมือ และเครื่องจักรกลคุณภาพสูง พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

บริการด้านปรับปรุงไลน์การผลิตจากสุมิพล

สุมิพลให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการปรับปรุงไลน์การผลิต ด้วยการวิเคราะห์ไลน์การผลิตของคุณจากหน้างานจริงเพื่อพัฒนาวางแผนระบบควบคุมการผลิตและการใช้งานเครื่องจักรที่เกี่ยวข้อง ด้วยบุคลากรคุณภาพ อุปกรณ์อัตโนมัติที่ทันสมัยและระบบเก็บข้อมูลด้วย IoT

ถ้าคุณสนใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าหรือบริการจากเรา คุณสามารถติดต่อเราได้ที่นี่ หรือ Call Center 02-7623000 เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเครื่องมือที่พร้อมให้บริการกับคุณอย่างเต็มที่

ข้อดีของการบำรุงรักษาระบบแบบเชิงป้องกันมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการบำรุงรักษาเชิงป้องกันคืออะไร?.
ประหยัดเงินโดยการยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น.
เพิ่มความปลอดภัยและลดโอกาสบาดเจ็บของพนักงาน.
ลดค่าเสื่อมสภาพที่ไม่จำเป็นของอุปกรณ์ต่างๆลง.
ป้องกันอุปกรณ์หลักพังก่อนเวลาอันควร.
ลดขั้นตอนการตรวจสอบและตรวจจับที่ไม่จำเป็นลง.
พร้อมรับมือและป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต.

ข้อเสียของ Preventive Maintenance คืออะไร

ข้อเสีย ข้อมูลไม่ Real-Time สิ่งที่เป็นจุดด้อยมากที่สุดสำหรับ Preventive Maintenance คือปัจจัยด้าน “เวลา” เนื่องจากความเป็นแผนงานที่ตรงไปตรงมา ขาดความยืดหยุ่น ทำให้การบำรุงรักษาอุปกรณ์บางประเภท ช้าเกินไป หรือเร็วเกินไป อีกทั้งยังไม่สามารถป้องกันกรณีเครื่องจักรเสียหายแบบไม่คาดคิดได้ด้วย

Breakdown Maintenance หมายถึงอะไร พร้อมอธิบาย

การซ่อมบำรุงรักษาหลังเหตุขัดข้อง (Break down Maintenance) คือการบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดชำรุดและหยุดโดยฉุกเฉิน วิธีการนี้ แม้ว่าจะเป็นวิธีการดั้งเดิมในการบำรุงรักษา แต่ยังจำเป็นต้องนำมาใช้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

การบํารุงรักษา มีอะไรบ้าง

1. Breakdown maintenance (การซ่อมบำรุงโดยการซ่อมแซมส่วนที่เสีย) ... .
2. Planned/ Preventive maintenance (การบำรุงรักษาตามแผน) ... .
3. Predictive maintenance (การบำรุงรักษาโดยการคาดคะเน) ... .
4. Proactive maintenance (การบำรุงรักษาแบบป้องกันล่วงหน้า).