การศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

DC FieldValueLanguagedc.contributor.author คำรณ รอดมา - dc.date.accessioned 2552-08-28T07:44:41Z - dc.date.available 2552-08-28T07:44:41Z - dc.date.issued 2552-08-28T07:44:41Z - dc.identifier.uri http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1553 - dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร ซึ่งเป็นการศึกษาปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดยมีประเด็นในการศึกษาว่าการกำหนดหน้าที่บิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการจัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการการศึกษาภาคบังคับที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 และ มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นั้น มีความชัดเจนในการบังคับใช้หรือไม่ โดยวิเคราะห์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ข้อบังคับในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 และ หลักการของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ผลการศึกษาวิเคราะห์ พบว่า ตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง มีหน้าที่จัดให้บุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 นั้น ขาดความชัดเจนที่จะนำมาใช้บังคับใช้ได้ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องต่อไปนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดความหมายของคำว่าบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง 2. ปัญหาเกี่ยวกับความหมายและหน้าที่ของสถานประกอบการ 3. ปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการศึกษา 4. ปัญหาเกี่ยวกับข้อยกเว้นหน้าที่ของบิดา มารดา5. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบการเข้าเรียนของการศึกษาภาคบังคับ 6. ปัญหาเกี่ยวกับบทลงโทษ ส่งผลให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหกไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ในการเข้ารับการศึกษาภาคบังคับอย่างเสมอภาคกันตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย ดังนั้น เพื่อให้เด็กที่มีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก สามารถได้รับการศึกษา ภาคบังคับตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย จึงต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับต่างๆ ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 เพื่อให้เกิดความชัดเจน โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ 1. กำหนดบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้แก่ 1.1 กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้ปฏิบัติตาม หน้าที่ในการส่งบุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ 1.2 กำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดชอบของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดสาเหตุที่จะขอผ่อนผันหรือขอยกเว้นหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอนและไม่นานเกินไป 1.3 กำหนดความหมายของบิดา มารดา หรหือผู้ปกครองให้ชัดเจน 2. กำหนดความหมายของสถานประกอบการให้ชัดเจนว่าหมายถึง สถานที่ซึ่งผู้ประกอบ- การใช้ประกอบกิจการเป็นประจำและหมายความรวมถึงสถานที่ซึ่งใช้เป็นที่ผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำด้วย ในที่นี้ เป็นการกล่าวถึงสถานประกอบการที่ไม่ใช้สถานศึกษาและกำหนดหน้าที่ของสถานประกอบการที่ชัดเจนต่อการรับผิดชอบผู้เข้าทำงานที่ไม่จบการศึกษาภาคบังคับ 3. กำหนดรูปแบบการจัดการศึกษาภาคบังคับและผู้มีสิทธิจัดการศึกษาให้ชัดเจน 4. กำหนดหน่วยงานที่มีอำนาจตรวจสอบให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 โดย 4.1 กำหนดวิธีการตรวจสอบโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4.2 กำหนดโทษในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจสอบของพนักงาน เจ้าหน้าที่ 5. กำหนดให้มีมาตรการบังคับรัฐ และสถานศึกษา en_US dc.subject การศึกษา en_US dc.subject พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 en_US dc.title ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการศึกษาภาคบังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 en_US Appears in Collections: สารนิพนธ์

ข้ามไปยังเนื้อหา

ข้อสอบ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

  1. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ประกาศใช้ในวันใด
    ก. 30 ธันวาคม 2545
    ข. 31 ธันวาคม 2545
    ค. 1 ธันวาคม 2545
    ง. 2 ธันวาคม 2545
    2. ข้อใดไม่ได้หมายถึงผู้ปกครอง
    ก. บิดา มารดา
    ข. ผู้ที่มีอำนาจปกครอง
    ค. บุคคลที่อาศัยอยู่ด้วยเป็นประจำ
    ง. ญาติสนิทต่างจังหวัด
  2. “พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545” ข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ในมาตราใด
    ก. มาตรา 1
    ข.มาตรา 2
    ค. มาตรา 3
    ง. มาตรา 4
    4. ตามมาตราที่ 1 ให้เรียก พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับว่าอะไร
    ก. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545
    ข. กฎการศึกษา
    ค. พระราชบัญญัติการศึกษา
    ง. กฎการศึกษาภาคบังคับ
  3. พรบ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มีผลบังคับใช้วันใด
    ก. 30 ธันวาคม 2545
    ข. 31 มกราคม 2545
    ค. 1 มกราคม 2546
    ง. 2 มกราคม 2546
    6. พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 ประกาศใช้วันใด
    ก. 30 ธันวาคม 2545
    ข. 31 มกราคม 2545
    ค. 1 มกราคม 2546
    ง. 2 มกราคม 2546
    7. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับพระราชบัญญัติในมาตรา 2
    ก. ให้ใช้ข้อบังคับวันถัดจากวันที่ประกาศ
    ข. มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา
    ค. มีการประกาศในรัฐธรรมนูญ
    ง. ถูกทั้ง ก และ ค
  4. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษาในปี พ.ศ. ใด

ก. พ.ศ.2522
 ข. พ.ศ.2523
ค. พ.ศ.2524
ง. พ.ศ.2525

  1. “ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๕๒๓” ข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ในมาตราใด

ก. มาตรา 1
ข. มาตรา 2
ค. มาตรา 3
ง. มาตรา 4

  1. การศึกษาภาคบังคับ หมายถึงอะไร
    ก. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
    ข. การศึกษาชั้นปีที่เจ็ดถึงชั้นปีที่สิบห้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
    ค. การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
    ง. การศึกษาชั้นปีที่เจ็ดถึงชั้นปีที่สิบห้าของการศึกษาภาคบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
    11. สถานศึกษา หมายถึงอะไร
    ก. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ
    ข. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ค. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในระบบและนอกระบบ
    ง. สถานศึกษาที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
  2. ข้อใดคือความหมายของว่า “เด็ก” ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. ๒๕๔๕
    ก. เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่หกจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
    ข. เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่หกจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่สิบของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
    ค. เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
    ง. เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหกเว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่สิบของการศึกษาภาคบังคับ
    13. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ คือความหมายของข้อใดต่อไปนี้
    ก. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ข. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
    ค. คณะกรรมการการศึกษาภาคบังคับ
    ง. คณะกรรมการการประถมศึกษา
    14. “ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้” จากข้อความดังกล่าวหมายถึงใคร
    ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ข. พนักงานเจ้าหน้าที่
    ค. รัฐมนตรี
    ง. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. ข้อใดคือความหมายของคำว่า “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”
    ก. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด
    ข. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทำหน้าที่ดูแลการศึกษา
    ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แต่งตั้งโดยรัฐมนตรี
    ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รักษาการตามพระราชบัญญัติ
  4. สถานที่ใดไม่ได้ปิดประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
    ก. สำนักงานองค์การบริการส่วนจังหวัด
    ข. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
    ค. สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ง. สถานศึกษา
  5. ก่อนเด็กจะเข้าเรียนในสถานศึกษาทาง คณะกรรมการการเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรแจ้งในระยะเวลาใด
    ก. อย่างน้อย 5 เดือน
    ข. อย่างน้อย 7 เดือน
    ค. อย่างน้อย 10 เดือน
    ง. อย่างน้อย 1 ปี
  6. ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา ตามมาตราใด
    ก. มาตรา 5
    ข. มาตรา 6
    ค. มาตรา 7
    ง. มาตรา 8
    19. ผู้ปกครองสามารถร้องขอให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หน่วยงานใดกำหนด
    ก. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
    ข. อ.ก.ค.ศ.
    ค. ก.ค.ศ.
    ง. ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา
  7. ในพ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับมาตรใดที่ระบุว่าให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจหน้าที่เข้าในสถานที่นั้นๆ เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของนักเรียนได้
    ก. มาตรา 5
    ข. มาตรา 6
    ค. มาตรา 7
    ง. มาตรา 8
    21. ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนได้ เจ้าหน้าที่ต้องรายงานต่อหน่วยงานใด
    ข. ผู้อำนวยการ
    ค. คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    ง. กระทรวงศึกษาธิการ
  8. ใครคือผู้ประกาศกำหนดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ในการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.การศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ.2545
    ก.รัฐมนตรี
     ข.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
    ค.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ง.สถานศึกษา
  1. มาตรา 8 ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงอะไรแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง
    ก.บัตรประจำตัวประชาชน
    ข. บัตรประจำตัวพนักงาน
    ค.หนังสือเดินทาง
    ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
  1. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตราใดว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
    ก. มาตรา 7
    ข. มาตรา 8
    ค. มาตรา 9
    ง. มาตรา 10
    25. ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ผู้ใดคอยอำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่
    ก. ผู้ปกครอง
    ข. ผู้อำนวยการสถานศึกษา
    ค. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
    ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
  2. ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตราใดว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
    ก. มาตรา 9
    ข. มาตรา 10
    ค. มาตรา 11
    ง. มาตรา 12
    27. ในการปฏิบัติงานตาม พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานตามกฎหมายใด
    ก. กฎหมายเอกชน
    ข. กฎหมายมหาชน
    ค. ประมวลกฎหมายอาญา
    ง. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  3. ผู้ใดไม่ใช่ผู้ปกครอง มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนมาอาศัย อยู่ด้วยต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นการศึกษาตามข้อใด
    ก.แจ้งภายใน 15 วัน
    ข.แจ้งภายใน 1 เดือน
    ค.แจ้งโดยฉับพลัน
    ง.แจ้งเมื่อไรก็ได้ภายใน 1ปี
    29. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 11 หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษตามข้อใด
    ก. ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
    ข. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี
    ค. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
    ง. ปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี
  4. 30. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้กับเด็กพิเศษ
    ก. การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างการพิการ
    ข. การจัดการศึกษาให้กับเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล
    ค. การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถพิเศษ
    ง. การจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี
    31. สาเหตุใดที่มีการจัดการศึกษาเป็นพิเศษให้กับเด็กที่มีความบกพร่อง
    ก. เพื่อประกันโอกาส
    ข. เพื่อความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
    ค. เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
    ง. เพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องได้รับการศึกษาที่เหมาะสม
    32. กรณีที่ผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาตามที่ พรบ.การศึกษาภาคบังคับกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท ตรงกันมาตราใด
    ก. มาตรา 5
    ข. มาตรา 6
    ค. มาตรา 7
    ง. มาตรา 8
  5. นายชัยวัฒน์เป็นผู้ปกครองของเด็กชายชัยสนแต่เขาไม่ส่งเด็กชายชัยสนเข้าเรียนในสถานศึกษาและไม่ร้องขอ ให้สถานศึกษาผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ ข้อใดถูกต้อง
    ก. นายชัยวัฒน์ต้องระวางโทษปรับ 1,000
    ข. นายชัยวัฒน์ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000
    ค. นายชัยวัฒน์ต้องระวางโทษปรับ 10,000
    ง. นายชัยวัฒน์ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000
  6. ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 9 แห่งพ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มีความผิดต้องระวางโทษตามข้อใด
    ก. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
    ข. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    ค. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
    ง. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ
  7. ในกรณีนายเดชาไม่อำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ นายเดชามีความผิดต้องระวางโทษตามข้อใด
    ก. จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
    ข. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
    ค. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    ง. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือทั้งจำทั้งปรับ
  8. ผู้ทำผิดในมาตรตรา 15 ในกฎหมายภาคบังคับจะต้องดำเนินคดีอย่างไร
    ก. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
    ข. ปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
    ค. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
    ง. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน
  9. ผู้ใดกระทำผิดในมาตรา 15 ในกฎหมายภาคบังคับ
    ก. นายสมปองทุบตีทำร้ายนักเรียนในโรงเรียน
    ข. นางสมรไม่ส่งลูกเข้าเรียนตามอายุที่กำหนด
    ค. นางมาลีให้เด็กไปขายพวงมาลัยในตอนกลางวันทุกวัน
    ง. ครูสมสมรไม่แจ้งการไม่มาเรียนของเด็กหญิงเรย์แก่ผู้ปกครอง
  10. 38. นายเฉดเดินทางไปที่สถานีตำรวจเพื่อแจ้งความเกี่ยวกับครอบครัวของนายหมอนที่มีเด็กอาศัยอยู่และไม่ได้เข้าเรียน แต่อันที่จริงเขาต้องการกลั่นแกล้งครอบครัวนั้น นายเฉดจะถูกดำเนินคดีอย่างไร(นางสาวปาตีเมาะ ฆอเลาะ 5681114055)

ก. ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
ข. ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
ค. ปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
ง. ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

  1. มาตรา12ได้กล่าวว่าหากใครไม่ปฏิบัติตามมาตราใดถึงจะต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ก. มาตรา 8
ข. มาตรา 9
ค. มาตรา 10
ง. มาตรา 11

  1. ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้คณะกรรมการใดทำหน้าที่แทน
    ก.คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
    ข.คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
    ค.คณะกรรมการประถมศึกษาอำเภอ
    ง.คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    41. ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้คณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานตรงตามมาตราใด
    ก.มาตรา 17
    ข.มาตรา 18
    ค.มาตรา 19
    ง. มาตรา 20
    42. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับพ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 มาตราที่ 18

ก. ว่าด้วยเรื่องหน่วยงานที่ทำหน้าที่แทนหากไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ข.ว่าด้วยเรื่องหน่วยงานที่ทำหน้าที่แทนหากไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ค.ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน
ง. ทั้งข้อ ก. และ ข. ถูก

  1. ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้หน่วยงานใดทำหน้าที่แทน

ก.คณะกรรมการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
ข. คณะกรรมการประถมศึกษาอำเภอ
ค.คณะกรรมการประถมศึกษากิ่งอำเภอ
ง. ถูกทุกข้อ
44 . ตามมาตราที่ 19 ให้บรรดากฎกระทรวงประกาศระเบียบข้อบังคับและคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติใด
ก. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2523
ข. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2524
ค. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2525
ง. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ.2526
45. ตามมาตราที่ 19 ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
ก. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523 ใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ข. พระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2523 ยังคงบังคับใช้ได้ต่อไป
ค. ให้บรรดากฎกระทรวงประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติ
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
46. ผู้ใดมีอำนาจในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ก. คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
47. ผู้ใดมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
ก. คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข. คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
ค. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

เมนูนำทาง เรื่อง