เพื่อนร่วมงานไม่ ทํา งาน - Pantip

ปัญหาโลกแตกที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนต้องเจอในออฟฟิศ คือเรื่องราวของเพื่อนร่วมงาน หลายคนโชคดีเจอเพื่อร่วมงานนิสัยดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่ง แต่หากใครแจ็คพอตโชคร้าย เจอเพื่อนร่วมงานยอดแย่ นิสัยไม่น่าคบหา บอกเลยว่าต้องสู้ โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงประเภทเพื่อนร่วมงานที่ควรหลีกเลี่ยง พร้อมชี้เป้าวิธีรับมือกับเขาเหล่านี้ จะได้พร้อมต่อกรกันแบบสมน้ำสมเนื้อ

เพื่อนร่วมงานไม่ ทํา งาน - Pantip
เพื่อนร่วมงานที่ควรหลีกเลี่ยง

5 ประเภทเพื่อนร่วมงาน ที่ต้องหนีให้ไกล

1. เพื่อนร่วมงานขี้เม้าท์ เคล้าคำนินทา

อันดับหนึ่งต้องยกให้เพื่อนร่วมงานประเภทนี้นี่แหละ เพราะเชื่อว่าทุกออฟฟิศต้องมีคนประเภทนี้ จริงๆ แล้วก็ถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เมื่อมีคนมารวมกลุ่มกันเยอะๆ คงหนีไม่พ้นที่จะเกิดการจับกลุ่มเม้าท์ จับกลุ่มนินทาคนนู้นคนนี้กันสนุกปาก นินทากันได้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว บางคนอาจจะมีชอบพูดคุย เม้าท์ไปเรื่อยเปื่อยแบบไม่คิดอะไร เจอคนแบบนี้ก็ยังพอรับได้ แต่ถ้าเจอคนที่ขี้นินทาด้วย คิดร้ายกับเราด้วย เอาไปพูดต่อให้เราเสียหาย จนเกิดผลกระทบมากมาย แบบนี้ก็แย่พอตัวอยู่

ซึ่งหากใครที่กำลังเจอสถานการณ์แบบนี้ ให้คิดก่อนไว้ก่อนเลยว่าไม่ใช่เราคนเดียวบนโลกใบนี้ ที่โดนนินทา เพราะใครๆ ก็สามารถเป็นผู้ร้ายในสายตาของคนอื่นได้เสมอ เพราะสัญชาตญาณของมนุษย์มักชอบการเอาตัวรอด ก็ต้องพูดให้ตัวเองดูดีไว้ก่อนอยู่เสมอๆ

วิธีรับมือกับเหล่าขาเม้าท์

อันดับแรกคือเราต้องปรับความคิดของตัวเองก่อน ถ้าเรื่องที่ถูกนินทาไม่ใช่เรื่องใหญ่มาก ให้เริ่มต้นด้วยการปล่อยวาง ลองคิดเสียว่า บางครั้งกลุ่มคนเหล่านี้ก็อยากระบายความเครียด (ซึ่งก็เป็นวิธีที่ไม่ถูกเท่าไรนัก) โดยการปล่อยวางก็จะช่วยให้เราได้สงบจิตสงบใจ ไม่เก็บเอาเรื่องไร้สาระมาเป็น Toxic

แต่ถ้าหากเรื่องที่โดนนินทาเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหญ่ ทำให้คุณเสียหาย ไม่ใช่เรื่องจริง หรือส่งผลโดยตรงต่อหน้าที่การงาน ให้ลองหาวิธีพูดคุยกับคนนั้นตรงๆ ว่ามีเหตุผลอะไรที่ต้องพูดไปแบบนั้น แต่ต้องคุยด้วยเหตุผลและไม่ใช้อารมณ์นะ ไม่อย่างนั้นเรื่องราวอาจจะบานปลาย แต่ถ้าคุณไม่กล้าคุย ให้นิ่งเงียบไว้ก่อนแล้วเก็บข้อมูลไว้ พร้อมเตรียมหลักฐานว่าคุณไม่ได้เป็นอย่างเขาพูด หากเกิดเรื่องจริงๆ ก็ให้นำหลักฐานเหล่านี้ฟาดกลับได้เลย

2. เพื่อนร่วมงานที่ชอบแทงข้างหลัง

บุคคลประเภทนี้ร้ายกว่าพวกขี้เม้าท์อีกนะ อย่างที่กล่าวไปว่า คนขี้นินทาบางครั้งอาจจะทำไปแค่สนุกปาก แต่ไม่ได้หวังร้ายอะไรเท่าไร แต่คนบางประเภทมักจะต่อหน้าดี แต่ลับหลังก็คือแทงข้างหลังจนเราเลือดซิบๆ กลายเป็นเราต้องเสียชื่อเสียง เสียเครดิต หรือส่งผลต่อหน้าที่การงาน

วิธีรับมือกับคนต่อหน้าอย่าง ลับหลับอย่าง

อาจจะคล้ายๆ กับวิธีในข้อ 1 แต่อันนี้ดูยากกว่าเล็กน้อย เพราะเราดูไม่ออกเลยว่าเขาคิดอะไร เพราะฉะนัั้นเราต้องเป็นคนช่างสังเกตนิดหนึ่ง หากสวมบทโคนันสืบจนรู้ ว่าเราน่าจะโดนแทงข้างหลังเข้าเสียแล้ว ให้เรารีบถอยห่างจากคนนั้น และท่องไว้ในใจเลยว่าคนๆ นี้ไว้ใจไม่ได้ อีกอย่างคือคุณไม่ควรที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกกับใครทั้งสิ้น ต้องมั่นใจว่าคนๆ นั้นสนิทกันและไว้ใจได้จริงๆ เท่านั้น ถึงจะเล่าดีเทลสำคัญแก่คนๆ นั้นได้

ถ้าหากเกิดเรื่องไม่คาดฝันขึ้น เพราะสิ่งที่โดนแทงข้างหลังกระทบกับงาน ให้ทำตามวิธีของข้อ 1 ได้เลย คือเตรียมข้อมูลที่เป็นความจริงไว้เยอะๆ เพื่อปกป้องตัวเอง

3. เพื่อนร่วมงานที่ชอบเกี่ยงและโยนงาน

บางคนในที่ทำงานมักรักความสบายใจ อยากได้เงินเดือนเต็ม แต่ก็ไม่อยากทำงานหนัก เมื่อมีโปรเจคต์ที่ต้องทำงานเป็นทีมหรือช่วยกันทำหลายคน ก็มักจะเกี่ยงงานอยู่เสมอ หรือบางทีได้รับมอบหมายให้ทำงานใดงานหนึ่ง แต่กลับโยนงานให้คนอื่นทำแทนเสียอย่างนั้น คนเหล่านี้มักอาศัยช่องว่าง มาทำดีกับเรา เพื่อหวังให้เราทำงานแทน หรือบางทีเขาเห็นว่าเป็นคนชอบช่วยเหลือ มีน้ำใจ เขาก็อาจจะอาศัยช่องว่างตรงนี้มาเอาเปรียบเราได้

วิธีรับมือกับนักโยนงานมืออาชีพ

อันดับแรกเลยคือเราต้องหัดปฏิเสธให้เป็น บางครั้งการลองเป็นคนใจร้ายบ้าง ก็ไม่ได้แปลว่าเราเป็นคนนิสัยดี เพราะทุกคนต้องรู้หน้าที่และความรับผิดชอบของตัวเอง ไม่ต้องกังวลว่าถ้าปฏิเสธไปแล้ว จะทำลายความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนคนนั้น หรือจะโดนเกลียด ให้คิดซะว่าการโดนเกลียดก็ถือเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว เราไม่สามารถให้คนทั้งบริษัทชอบเราได้ทุกคน

อีกหนึ่งวิธีคือลองทำตารางงานที่ชัดเจน ที่สามารถเห็นร่วมกันได้ทั้งทีมหรือทั้งบริษัท ระบุให้ชัดเจนไปเลย ว่าใครรับผิดชอบส่วนไหน ทำหน้าที่อะไร ก็น่าจะช่วยลดการเกี่ยงงานได้เช่นกัน

4. เพื่อนร่วมงานเจ้าอารมณ์

นางร้ายไม่ได้มีแต่ในละคร ชีวิตจริงก็มีให้เห็นกันถมไป รวมไปถึงในที่ทำงานก็มักจะมีนางอิจฉา เจ้าแม่เหวี่ยงวีนแฝงตัวด้วยอยู่เสมอ คนเหล่านี้มักใช้อารมณ์ในการทำงาน เมื่อเจออะไรที่ไม่ถูกใจ มักอารมณ์นำเหตุผลเสมอ ไม่สนว่าเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ขอให้ได้เล่นใหญ่ เหวี่ยงวีนไว้ก่อน

วิธีรับมือกับเจ๊เหวี่ยงตัวแม่

หากเราต้องกลัวเข้าสู่ละครเรื่องหนึ่งในที่ทำงาน แล้วต้องทำงานร่วมกับนางร้ายขี้วีน แน่นอนว่าเราต้องรับบทนางเอก แต่ก็ต้องไม่ใช่นางเอกที่มีคาแรคเตอร์เปราะบางยอมคนนะ ต้องสวมบทบาทเป็นนางเอกยุคใหม่ ที่เปี่ยมไปด้วยเหตุผล ถ้าเจอคนเหวี่ยง ณ ตอนนั้น ให้ปล่อยให้คนนั้นฟาดงวงฟาดงาไปก่อน อย่าไปโต้เถียง เมื่อเขาอารมณ์เย็นลง ค่อยกลับไปคุยด้วยเหตุผล

5. เพื่อนร่วมงานที่ชอบเอาหน้า

ข้อก่อนหน้านี้พูดถึงคนเกี่ยงงานกันไปแล้ว คราวนี้จะพามาเจอคนที่ชอบเอาหน้ากันบ้าง บุคคลประเภทมักจะชอบมาอาสาขอช่วยเหลือทำงานในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับตัวเองมากนัก พูดแบบนี้อาจจะมองว่าเป็นการมองโลกในแง่ร้ายเกินไปไหม เขาอาจจะอยากช่วยเราจริงๆ ก็ได้ แต่ทว่าในโลกการทำงานนั้น เราต้องทันเหลี่ยมคนให้ได้ เพราะคนสมัยนี้มีหลายประเภท ถ้าเขาอยากช่วยจริงๆ ก็ดีไป แต่บางคนมักจะมีเรื่องของผลประโยชน์เข้ามาแอบแฝง

บางคนพอเสนอตัวช่วยเหลือ แต่พอถึงวันพรีเซนต์งาน กลับไม่พูดถึงเรา พร้อมเอาเครดิตทั้งหมดไปเป็นของตัวเองซะอย่างนั้นก็มี

วิธีรับมือกับคนอยากมีซีน

ถ้าเรามั่นใจว่างานที่เราทำไหวและโอเคอยู่แล้ว ให้หัดปฏิเสธให้เป็น แต่ต้องใช้คำพูดที่ทำให้เขาไม่เสียความรู้สึก แต่ถ้าเรารู้ตัวว่าทำงานนี้ไม่ไหว ให้ตกลงกันให้ชัดเจน ว่าใครทำส่วนไหน หรือตกลงกันว่าเรายังเป็น Lead Project นี้อยู่นะ แต่เขามีส่วนการซัพพอร์ตเท่านั้น เพื่อป้องกันการโดนเอาเครดิตไปครอบครอง ซึ่งอาจะส่งผลต่อการประเมินรายปีได้

เปิดคัมภีร์การรับมือเพื่อนร่วมงานนิสัยแย่ๆ

5 นิสัยเพื่อนร่วมงานด้านบนที่เรานำเสนอ เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น จริงๆ เราสามารถเจอคนหลากหลายแบบได้ในที่ทำงาน ดังนั้นในหลายๆ ครั้ง เราก็ต้องเริ่มต้นที่ตัวเองด้วย ในการรับมือกับคนหลายๆ แบบ งั้นมาดูกันเลยดีกว่า ว่าจะมีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้าง

– มองมุมกลับ ปรับมุมมอง

เริ่มต้นที่ตัวเองกันก่อน ลองไปวิ่งเล่นในทุ่งลาเวนเดอร์บางครั้งก็ดี เพื่อความสบายใจและไม่ให้เกิด Toxic จนเกินงาม อีกทั้งแนวคิดนี้ยังช่วยสร้างพลังงานบวก และแรงใจในการมาทำงานให้แก่เราอีกด้วย

– อยู่ให้ห่างจากคนแย่ๆ

พยายามสกรีนคนที่เราอยากสนิทด้วย หากรู้ว่าคนนั้นนิสัยไม่โอเคจริงๆ ให้หลีกเลี่ยงที่จะสุงสิงด้วยให้มากที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องทำงานร่วมกันจริงๆ ให้ติดต่อกันเฉพาะเรื่องงานเท่านั้น อย่าให้ลามมาถึงเรื่องส่วนตัวเด็ดขาด

– ปกป้องตัวเอง

หากมีปัญหาเกิดขึ้น และเราต้องกลายเป็นผู้ร้ายในสายตาคนอื่น ทั้งๆ ที่เรื่องเกิดขึ้นไม่เป็นจริง หรือไม่ได้รับความเป็นธรรม ให้เราพยายามปกป้องตัวเองให้มากที่สุด พยายามบอกถึงเหตุผล ว่าแท้จริงแล้วเรื่องราวที่เกิดขึ้นคืออะไร

– หลักฐานนั้น สำคัญไฉน

เมื่อมีเหตุผลแล้ว ถ้ามีหลักฐานมาประกอบด้วยก็ยิ่งดี ก็จะยิ่งทำให้น้ำหนักในการปกป้องตัวเองนั้น ดูน่าเชื่อถือขึ้นไปอีก หรือถ้าเราอยากคอมเพลนพฤติกรรมของเพื่อนร่วมงานที่ไม่โอเค ให้แก่หัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลรับทราบ ก็ควรมีหลักฐานในการรายงานเช่นกัน

– คุยให้ชัด จัดให้เคลียร์

บางครั้งการพูดคุยกันตรงๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี ลองเปิดอกคุยกับเพื่อนร่วมงานที่มีปัญหา เพื่อจบปัญหาดังกล่าว ก็เป็นหนึ่งทางออกที่ควรทำ แต่อย่าลืมการคุยนั้น ต้องใช้เหตุผลนำเป็นหลัก อย่าใช้อารมณ์เด็ดขาด เพราะอาจทำให้ปัญหานั้นแย่ลงกว่าเดิมได้

สรุปวิธีรับมือกับเพื่อนร่วมงานที่ควรหลีกเลี่ยง

แม้ปัญหาของเพื่อนร่วมงานหลากนิสัย จะเป็นเรื่องปกติที่เราพบเจอได้ในทุกออฟฟิศ ไม่ว่าจะย้ายที่ทำงานกี่ที่ ยังไงก็ต้องเจอคนเหล่านี้ แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเรารู้จักวิธีรับมือกับคนนิสัยแย่ๆ โดยกานำวิธีเหล่านี้มาปรับใช้ เราจะได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน และสามารถทำงานในองค์กรนั้นๆ ได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

เพื่อนร่วมงานไม่ ทํา งาน - Pantip

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
มีปัญหากับเพื่อนร่วมงานควรทำอย่างไร
วิธีรับมือเพื่อนร่วมงานที่น่ารำคาญ