เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

หน่วยที่ 3 อาหารประเภทสำรับ

อาหารประเภทสำรับ

อาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเข้าไปแล้วทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายในด้านต่างๆ ไม่ทำให้เกิดโทษ เช่น เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้ นม ฯลฯ ยกเว้นยารักษาโรค
อาหารที่เรารับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ ข้าว แป้ง ผัก ผลไม้้ และไขมัน
ความสำคัญของอาหาร
อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อชีวิต ที่ช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆได้
ประโยชน์ของอาหาร อาหารที่เรารับประทานเข้าไป เมื่อร่างกายย่อยแล้วจะให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
1. ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ สมอง กระดูก ผิวหนัง เป็นต้น
2. ให้พลังงานและความอบอุ่นต่อร่างกายในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การเดิน การเล่นกีฬาการทำงานบ้าน การใช้ความคิด
3. ช่วยซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สึกหรอ
4. สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายในการต้านทานโรคต่างๆ ทำให้คนเราไม่เจ็บป่วยง่ายๆ ช่วยทำให้การทำงานของอวัยวะภายในร่างกายทำงานเป็นปกติ

ภาคกลาง นับได้ว่าเป็นภาคที่มีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่นๆ ถือได้ว่าภาคกลางเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากสภาพทางภูมิประเทศที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลอง หนอง บึงมากมาย จึงทำให้ภาคกลางเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศไมว่าจะเป็นด้านเกษตรกรรม หรือปศุสัตว์ นอกนั้นจากในบางพื้นที่ของภาคกลางยังมีบางส่วนที่ติดกับทะเลจึงทำให้ภาคกลางมีสัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารที่หลากหลาย

อาหารสี่ภาค

อาหารภาคกลาง เป็นประดิษฐ์กรรมทางวัฒนธรรมที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมจากหลากหลายเชื้อชาติได้แก่ จีน อินเดีย ลาง เขมร พม่า เวียดนาม และประเทศจากชาติตะวันตกที่เข้ามานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลายทั้งในด้านการปรุง รสชาติ และการตกแต่งที่แปลกตา น่ารับประทาน มีความวิจิตรบรรจงประณีตที่ได้มาการถ่ายทอดวัฒนธรรมอาหารจากภายในวัง คนไทยภาคกลางกินข้าวเจ้าเป็นหลัก การรับประทานอาหารในแต่ละมื้อจะจัดเป็นสำรับ มีกับข้าวหลายอย่าง
รสชาติอาหารภาคกลางนับได้ว่ามีความโดดเด่นเป็นพิเศษมากกว่าอาหารภาคอื่น อาหารภาคกลางมีการผสมผสานของหลาหลายรสชาติทั้งรสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติอาหารไม่ได้เกิดจากเครื่องปรุงเพียงอย่างเดียว รสเปรี้ยวที่ใช้ปรุงอาหารอาจได้ทั้งจากมะนาว มะขาม มะกรูด ตะลิงปลิง ส้มแขก ผลไม้บางชนิด เช่น มะดัน มะม่วง เป็นต้น การใช้เครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่แตกต่างกันจึงทำให้เกิดความหลากหลายใช้ชนิดของอาหารไทยภาคกลาง เช่น ต้มยำ ใช้มะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว แต่ต้มโคล้งใช้น้ำมะขามเปียกเพื่อให้รสเปรี้ยวแทน นอกจากนั้นยังมีรสเค็ม ที่ได้จากน้ำปลา กะปิ รสขม ที่ได้จากพืชชนิดต่างๆ เช่น มะระ เป็นต้น และความเผ็ด ที่ได้จากพริก พริกไทย และเครื่องเทศ อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มีครบทุกรส ซึ่งอาหารไทยที่ชาวต่างชาติส่วนใหญ่รู้จักและนิยมบริโภคล้วนแต่เป็นอาหารภาคกลางทั้งนั้นไมว่าจะเป็น ต้มยำกุ้ง แกงเขียวหวาน ผัดไทย พะแนง เป็นต้น

วิธีการปรุงอาหารภาคกลางมีความหลากหลาย ซับซ้อน มีกรรมวิธีในการปรุงที่หลายแบบ ได้แก่ แกง ต้ม ผัด ทอด ยำ เครื่องจิ้ม เช่น น้ำพริก หลน เป็นต้น

อาหารในสำรับมักประกอบด้วยอาหาร 4 ประเภทด้วยกัน คือ แกงเผ็ด แกงจืด ผัดหรือทอด และน้ำพริก รสชาติของอาหารไทยมักจะออกรสเผ็ด ดังนั้นจึงต้องมีอาหารรสเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ แนม เพื่อช่วยบรรเทาความเผ็ด ดังนั้นคำว่า “ เครื่องเคียง หรือ เครื่องแนม ” หมายถึง อาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จัดเพิ่มขึ้นให้กับอาหารหลักในสำรับ เพื่อช่วยเสริมรสชาติอาหารในสำรับนั้นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อร่อยมากขึ้น นอกจากความอร่อยที่ได้จากเครื่องเคียงเครื่องแนมแล้ว เราจะเห็นศิลปะความงดงามในการจัดวางและการประดิษฐ์อาหารในสำรับนั้นๆ อาหารหลักแต่ละอย่างมีเครื่องแนมที่แตกต่างกันไป ดังนี้

ประเภทหลนและน้ำพริก

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3
หลนต่างๆ มักกินกับผักดิบ นิยมใช้ปลาย่าง ปลาฟู ปลาทอด เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกกะปิ กินกับผักต้มกะทิ นิยมใช้ปลาฟู กุ้งเค็ม เป็นเครื่องแนมกินกับผักดอง นิยมใช้ประหลาดุกย่าง ปลาฟู หมูหวาน กุ้งเค็ม เป็น เครื่องแนมกินกับผักผัดน้ำมัน นิยมใช้ปลาทูนึ่ง ปลาย่าง กุ้งเค็ม ไข่เจียว เป็นเครื่องแนม
น้ำพริกลงเรือ นิยมใช้หมูหวาน ไข่เค็ม ปลาช่อนย่างหรือปลาดุกย่าง เป็นเครื่องแนม
แสร้งว่า นิยมใช้ปลาทอด เป็นเครื่องแนม

ประเภทแกง

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

แกงเผ็ด นิยมใช้ของเค็ม หรือเปรี้ยวๆ หวานๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาแห้ง เนื้อเค็ม
แกงส้ม นิยมใช้ของเค็มๆ มันๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ไข่เจียว ปลาเค็ม ไข่เค็ม หมูแดดเดียว
แกงขี้เหล็ก นิยมใช้หัวผักกาดยำเค็ม เป็นเครื่องแนม
แกงคั่ว นิยมใช้ของเค็มๆ เปรี้ยวๆ เป็นเครื่องแนม เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ไข่เค็ม  ผักกาดเค็ม
แกงมัสมั่น นิยมใช้อาจาด ผักดองอบน้ำส้ม ถัวลิสงทอดเคล้าเกลือ เป็นเครื่องแนม

ประเภทอาหารจานเดียว
ข้าวมันส้มตำ นิยมใช้เนื้อเค็มฝอยทอดกรอบ ไข่เค็ม ผักสด เป็นเครื่องแนม

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3
เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3


ข้าวคลุกกะปิ
นิยมใช้หมูหวาน กุ้งแห้งทอดกรอบ ใบชะพลูหั่นฝอย หอมแดง เป็นเครื่องแนม
ข้าวผัด นิยมใช้แตงกวา ต้นหอม มะนาว พริกขี้หนู เป็นเครื่องแนม และมักจะมีแกงจืดเป็น เครื่องแนม

ประเภทยำ
ยำไข่จะละเม็ด นิยมใช้มังคุด เป็นเครื่องแนม

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

ยำปลาทูนึ่ง นิยมใช้ผักกาดหอม ใบชะพลู เป็นเครื่องแนม

วัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทยภาคกลาง แต่เดิมนั้นนิยมนั่งรับประทานอาหารกับพื้น สำรับอาหารวางอยู่บนพื้นที่ปูด้วยเสื่อ พรม หรือโต๊ะเตี้ยตามแต่ฐานะของแต่ละครอบครัว มักรับประทานข้าวด้วยการเปิบมือ  มีช้อนกลางสำรับตักแกงหรืออาหารที่เป็นน้ำ
ต่อมา เมื่อวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชาติตะวันตกเข้ามา จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการกินอาหารของคนไทย มาเป็นการวางอาหารตั้งบนโต๊ะ นั่งเก้าอี้รับประทานอาหาร ใช้ช้อนและส้อมเป็นอุปกรณ์ในการรับประทานที่สำคัญ

อาหารไทยภาคเหนือ

ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อนโดยศูนย์กลางทั้งหมดอยู่ที่เชียงใหม่ภายหลังคนไทยได้อพยพไปทางใต้และตั้งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นเมืองหลวงของสยาม หลังจากสมัยสุโขทัย ก็ต่อด้วยอยุธยาเป็นลำดับต่อมาและท้ายสุดที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยในปัจจุบัน ช่วงที่อาณาจักรแห่งนี้เรืองอำนาจได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและมีผู้คนจากดินแดนต่างๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่างๆ เข้ามาในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย

เนื่องจากทางภาคเหนือมีอากาศที่เย็นจึงทำให้มีพืชผักที่สดกว่าในจังหวัดอื่นๆ ทำให้ส่วนประกอบของอาหารทุกมื้อจะมีผักเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่เป็นที่รู้จักกันทางภาคเหนือ บางประเภทก็ได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่าและลาว จึงทำให้อาหารพื้นบ้านหรืออาหารท้องถิ่นในบางที่อาจจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไป

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

วัฒนธรรมการกินของเหนือเป็นไปตามบรรพบุรุษ อาหารส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติ
เช่น ของป่าหรือ พืช ผักและสัตว์ที่เลี้ยงไว้เองโดยรวมไปถึงอาหารที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล
เช่น หน่อไม้ป่า เห็ดป่านานาชนิดเป็นต้น

 

ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักคือ จะปั้นข้าวเหนียวแล้วจิ้มกินกับน้ำแกงหรือน้ำพริก โดยเฉพาะการกินข้าวเหนียวกับส้มตำ ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันดีทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิดเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกน้ำปู ฯลฯ ซึ่งผักที่เป็นเครื่องจิ้มและรับประทานคู่กันส่วนมากเป็นผักสดและผักนึ่ง สำหรับอาหารประเภทเครื่องแกงเช่น แกงขนุนอ่อน แกงแค แกงฮังเล แกงโฮะ แกงหน่อไม้ แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักปั๋ง แกงผักกาดจอ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ฯลฯ และอาหารประเภททอด ยำหรือนึ่ง เช่น ยำหน่อไม้ ยำกบ ตำจิ๊นแห้ง ตำขนุน ตำมะม่วง ผักกาดส้ม ข้าวกั๊นจิ๊น ห่อนึ่งปลา แคบหมู ไส้อั่ว จิ๊นส้มหมก ฯลฯ

อาหารของชาวเหนือจะมีการจัดสำรับที่สวยงามและวิธีรับประทานที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งเรียกว่า การกินขันโตก เพราะด้วยนิสัยชาวเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหารและทำให้อาหารรสชาติออกมาอย่างดีและลงตัว

อาหารของภาคเหนือ
ประกอบด้วยข้าวเหนียว

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

น้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้นว่า น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกแดงน้ำพริกอ่อง
มีแกงหลายชนิด เช่น แกงฮังเล แกงโฮะ แกงแค

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

นอกจากนั้นยังมีอาหารพื้นเมือง เช่น แหนม ไส้อั่ว เนื้อนึ่ง จิ้นปิ้ง แคบหมู หมูทอด ไก่ทอดและผักต่างๆ
คนไทยที่อยู่ทางภาคเหนือนิยมรับประทานอาหารรสกลางๆ มีรสเค็มนำเล็กน้อย รสเปรี้ยวและหวานมีน้อยมาก หรือแทบไม่นิยมเลย เนื้อสัตว์ที่นิยมรับประทาน ได้แก่ เนื้อหมู เพราะหาได้ง่าย ราคาไม่แพง และมีขายทั่วไปในท้องตลาดเนื้อสัตว์อื่นที่นิยมรองลงมาคือ เนื้อวัว ไก่ เป็ด นก ฯลฯ สำหรับอาหารทะเลนิยมน้อยเพราะราคาแพง เนื่องจากอยู่ห่างไกลทะเล

อาหารไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( ภาคอีสาน)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกติดปากกันว่าภาคอีสานเป็นชุมชนที่มีพื้นที่อันหลากหลายและยังได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมการบริโภคจากประเทศลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงคนไทยมากที่สุด เรียกว่าเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ชาวไทยบางชนเผ่าสืบเชื้อสายมาจากลาว พี่น้องลาวบางคนยังอาศัยอยู่ในเมืองไทย อาหารลาวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากและมีลักษณะไม่แตกต่างจากอาหารอีสาน ชาวลาวมีวัฒนธรรมการบริโภคที่เป็นกันเองไม่ยุ่งยาก

ชาวอีสานนั้นดำรงชีพและหากินตามสภาพทางภูมิศาสตร์ของท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ เช่น กลุ่มที่ตั้งชุมชนตามริมฝั่งแม่น้ำหรือหนองน้ำก็จะทำนาปลูกข้าว หาอาหารที่ได้จากแม่น้ำเช่น กุ้ง หอย ปลา ปู กบ เขียด ส่วนกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานตามภูเขาตามป่าย่อมเหมาะแก่การเลี้ยงชีพด้วยอาหารป่า ล่าสัตว์ หาเห็ด หาผึ้ง เป็นต้น ชาวอีสานมีวิถีชีวิตที่ดำเนินเรียบง่าย รับประทานอาหารได้ทุกอย่าง อาหารพื้นบ้านอีสานส่วนใหญ่แล้วจะออกรสชาติไปทางเผ็ด เค็มและเปรี้ยว รู้จักการนำสิ่งต่างๆ มาทำดัดแปลงเป็นอาหารในท้องถิ่น อาหารทางอีสานทุกมื้อจะต้องมีผักเป็นส่วนประกอบหลักและพวกเนื้ออย่างเช่น เนื้อปลา เนื้อวัว หรือเนื้อควาย แล้วแต่ความชอบของบุคคลนั้น

เครื่องปรุงอาหารอีสานที่สำคัญและแทบขาดไม่ได้ในทุกครัวเรือนเลยคือ ปลาร้า (ปลาแดก) ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของบรรพบุรุษของชาวอีสาน ถ้าจะกล่าวว่าชาวอีสานทุกครัวเรือนต้องมีปลาร้าไว้ประจำครัวก็คงไม่ผิดนัก ปลาร้าใช้เป็นส่วนประกอบหลักของอาหารได้ทุกประเภท เหมือนกับที่ชาวไทยภาคกลางใช้น้ำปลา ซึ่งปลาร้า นอกจากจะเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารแล้ว

ปลาร้ายังเป็นส่วนประกอบในการปรุงรสชาติของอาหารอีกอย่างหนึ่ง ที่ทำให้รู้จักกันทั่วประเทศไทยไปจนถึงทั่วโลก ที่เรียกกันว่า “ส้มตำ” เป็นภาษากลางที่ใช้เรียกกันทั่วไป แต่ถ้าเป็นชาวอีสานจะเรียก “ตำบักหุ่ง” หรือ ตำส้ม ส้มตำของชาวอีสานจะมีความหลากหลายทั้งพืชผัก ผลไม้ ชนิดต่างๆ สามารถนำมาตำรับประทานได้ทั้งสิ้น เช่น ตำมะละกอ ตำถั่วฝักยาว ตำกล้วยดิบ ตำหัวปลี ตำมะยม ตำลูกยอ ตำแตง ตำสับปะรดตำมะขาม ตำมะม่วง เป็นต้น ซึ่งจะมีรสชาติที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเภทแต่โดยรวมๆ แล้วจะเน้นที่ความมีรสจัดจ้านถึงใจและเน้นรสชาติเปรี้ยว

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

เฉลยใบงาน อาหาร ประเภท สำรับ ม 3

วิธีปรุงอาหารพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่นของทางภาคอีสาน มีลักษณะแตกต่างกันออกไปและสอดคล้องกับ ธรรมชาติและทรัพยากรอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้นๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกวิธีการปรุง ที่เหมาะสมกับชนิดของวัตถุดิบและเป็นที่ถูกปากและพึงพอใจแก่ผู้บริโภค สำหรับชาวจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธรและอำนาจเจริญ มีกรรมวิธีปรุงอาหารที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็วและมีรสชาติแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมีวิธีการปรุงอาหารเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยอาหารดังกล่าวจัดไว้ใน “พา” (ภาชนะ หรือ ภาชน์) ซึ่งทำด้วยหวาย หรือไม้ไผ่ หรือ วัสดุอื่น ซึ่งมีลักษณะกลมขนาดจะแตกต่างกันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว “พา” จะเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารต่างๆ ที่รับประทานกับข้าวเหนียว ชื่ออาหารหรือกับข้าวของชาวอีสานเรียกด้วยชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ หรือประกอบอาหาร (มิได้เรียกชื่อตามลักษณะการทำให้อาหารสุก)

อาหารหลายอย่างของพื้นเมืองนิยมใส่ข้าวคั่วและข้าวเบือ อาหารที่นิยมใส่ข้าวคั่วได้แก่ ลาบ ก้อย ซุป ส้า แกงอ่อม (บางครอบครัว) ส่วนข้าวเบือนิยมใส่ในแกงหน่อไม้และแกงอ่อม เพื่อให้อาหารมีลักษณะสัมผัสดี มีความข้นของน้ำแกงพอเหมาะ เมื่อปั้นข้าวเหนียวจิ้มจะทำให้ติดข้าวเหนียวได้มากจะได้รสชาติดียิ่งขึ้น