คลองที่สำคัญที่ขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 คือคลอง

ป้อมป้องปัจจามิตร (ป้อมสำคัญที่ใช้ป้องกันข้าศึกทางแม่น้ำเจ้าพระยาป้อมนี้ไม่ได้อยู่ริมคลองผดุงกรุงเกษม แต่เป็นป้อมคู่ กับป้อมปิดปัจจานึก ป้อมป้องปัจจามิตรอยู่ริมคลองสาน เหลือโครงสร้างป้อมให้ชมบริเวณปากคลองสานตรงข้ามสน.สมเด็จเจ้าพระยา


ป้อมปิดปัจจานึก อยู่ตรงปากคลองผดุงกรุงเกษม (ป้อมนี้อยู่ปากคลองผดุงฯ ฝั่งพระนคร )

ป้อมฮึกเหิมหาญ 

ป้อมผลาญไพรีรบ (อยู่ตลาดหัวลำโพงป้อมปราบศัตรูพ่าย (อยู่ริมวัดพลับพลาไชย

ป้อมทำลายแรงปรปักษ์ (อยู่มุมถนนหลานหลวง)  

ป้อมหักกำลังดัสกร (อยู่ถนนราชดำเนิน

ป้อมนครรักษา (อยู่ตรงวัดนรนารถ ที่เทเวศร์นั่นเอง


นอกจากป้อมบางสิ่งที่หายไปคือ สะพาน สะพานเหล็ก หรือสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม สะพานเหล็กไม่ได้ทำจากเหล็กทั้งหมด สะพานเหล็กมีเสาและคานทำจากไม้ ส่วนที่เป็นเหล็กคือโครงพื้นสะพานอย่างเดียวที่เป็นเหล็ก โครงพื้นสะพานมีล้อและรางเหล็ก สามารถขันจักรหรือกลไกเดินสะพานให้สะพานแยกออกจากกันเป็นการเปิดสะพานได้


นอกจากป้อม สะพาน สิ่งที่หายไปอีกอย่าง อาจจะบอกว่า คือประตูเมือง ประตูพระนครไม่ใช่สิ่งที่อยู่ใกล้คลองผดุงกรุงเกษมซะทีเดียว อยู่ถัดเข้ามาแถวคลองโอ่งอ่าง (คลองตรงสะพานหันประตูเมืองสร้าหลังตั้งพระนคร เวลาผ่านไปความจำเป็นของการขยายเมือง และถนน ประตูและป้อมจึงถูกรื้อไป เราไม่จำเป็นต้องมีป้อมไว้ป้องกันศัตรูเวลาประชิดเมืองอีก ขณะเดียวกันประตูพระนครที่สร้างคู่กับหอรบก็ไม่ต้องมีหอไว้รับอีกพอขยายถนนเจริญกรุงสร้างตึกประตูพระนครก็หายไป

สมัยกรุงธนบุรี โปรดให้ขุดคลองเป็นคูข้างหลังเมือง ตั้งแต่คลองบางกอกน้อยมาถึงคลองบางกอกใหญ่ ทำให้ตัวเมืองฟากตะวันออกเป็นเกาะ พร้อมกับโปรดให้ขุดคลองเป็นคูเมืองฟากตะวันออก (ฝั่งพระนคร)

ซึ่งเรียกกันต่อมาว่าคลองหลอด อีกสายหนึ่ง

ครั้นเมื่อถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2328 รัชกาลที่ 1 โปรดให้ขุดคลองขยายคูเมืองออกไปอีกชั้น พระราชทานชื่อว่าคลองรอบกรุง

ด้านเหนือไปออกวัดบางลำพู ด้านใต้ไปออกวัดเชิงเลน (วัดบพิตรภิมุข) ทำให้พื้นดินระหว่างคลองคูเมืองกับคลอง

รอบกรุง กลายเป็นเกาะใหญ่ขึ้นอีกเกาะหนึ่ง

ไม่แค่นั้น ยังโปรดให้ขุดคลอง จากคลองคูเมืองเดิม ออกไปบรรจบคลองรอบกรุงอีก 2 คลอง คือคลองข้างวัดศิริอมาตยารามสายหนึ่ง กับคลองข้างวัดราชบพิธอีกสายหนึ่ง

คลองสองคลองนี้ชักน้ำถึงกัน ทำให้คนในกำแพงพระนครมีน้ำใช้

คลองคูเมืองเดิม เรียกกันหลายชื่อหลายตอน ปากคลองข้างใต้ เรียกปากคลองตลาด เพราะสมัยหนึ่งเป็นตลาดปลาใหญ่ที่สุด มีเรือบรรทุกปลาทะเลจากท่าจีนมาจอดขายกันขวักไขว่

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2340 โปรดให้ขุดคลองนอกกำแพงพระนคร ทางด้านเหนือวัดสระเกศ เพื่อให้ราษฎรได้ประชุมลอยเรือเล่นเพลง และสักรวาในเทศกาลฤดูน้ำ ปัจจุบันเรียกกันว่า คลองมหานาค

ชื่อคลองรอบกรุง แม้เป็นชื่อพระราชทาน แต่ต่อมาชื่อนี้ก็ค่อยเลือนหายไป ราษฎรเลือกเรียกกันใหม่

ตั้งแต่ปากคลอง แถวๆวัดบางลำพูบน (วัดสังเวชฯ) ไปถึงวัดสระเกศ เรียกว่าคลองบางลำพู

ปากคลองเรียกบางลำพูบน  ปลายคลองทางใต้เรียกบางลำพูล่าง

คลองรอบกรุงระยะที่สอง จากวัดสระเกศไปออกวัดเชิงเลน ก็เรียกกันว่า คลองวัดเชิงเลน

เรียกได้ไม่นาน เมื่อทางการสร้างสะพานจากฝั่งวัดสามปลื้ม ข้ามไปสำเพ็งเพื่อติดต่อการค้าขายได้สะดวก  สะพานนั้นเป็นสะพานไม้ หันให้เรือผ่านไปมาได้ จึงเรียกกันว่า สะพานหัน

คลองนี้จึงถูกเรียกใหม่ว่า คลองสะพานหัน

ครั้นต่อมา ชาวรามัญจากสามโคก นำโอ่งอ่างบรรทุกเรือมาจอดขายปากคลองวัดเชิงเลนเป็นประจำ ชื่อคลองสะพานหัน ก็เปลี่ยนเป็น คลองโอ่งอ่าง และยังเรียกกันถึงวันนี้ วันที่ไม่มีโอ่งอ่างขายแม้แต่ใบเดียว

คลองรอบกรุงแต่เดิม น้ำลึกและกว้าง มีเรือขึ้นล่องไปมา มีแพจอดเรียงราย  น้ำขึ้นลงตามแม่น้ำเจ้าพระยา  เคยมีจระเข้ใหญ่หลงเข้าไปคาบนายทองอยู่ ต้นตระกูล ฤทธาคนี แต่รอดมาได้ เป็นข่าวใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 1

ส.พลายน้อย เล่าถึงการขุดคลองผดุงกรุงเกษม คลองเปรมประชากร และอีกหลายๆคลองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้จินตนาการถึงมหานครที่หันไปทางไหนก็มีแต่ลำคลอง หน้าน้ำเป็นเทศกาลความสุข

มีคนลอยเรือเล่นสักรวาฯลฯ ข้าวกล้าเสียหายบ้าง แต่ก็ไม่มาก ยังพูดกันว่า ข้าวเหลือเกลืออิ่ม

สมัยปัจจุบัน หลายผู้นำมหานครเวนิสตะวันออก ช่วยกันถมคลองเป็นถนน คลองที่ยังเหลือก็ถูกอาคารบ้านเรือนรุกล้ำ พื้นที่จะช่วยรับน้ำ ช่วยระบายน้ำ ก็ลดลงไป

หน้าน้ำในสมัยใหม่ น้ำมากจึงบ่าท่วมไปทุกเมือง ไม่เว้นเมืองกรุงฯ นี่มันยิ่งกว่ายุคข้าวยากหมากแพง ข้าวสาร ไข่ ฯลฯ กระทั่งน้ำดื่ม ก็ยังหาซื้อไม่ได้ในศูนย์การค้ากลางพระนคร

คลองที่ขุดในสมัยรัชกาลที่ 5 มีคลองอะไรบ้าง

ซึ่งในสมัยของพระองค์ก็ได้มีการขุดคลองขึ้นหลายสาย เช่น คลองเปรมประชากร คลองนครเนื่องเขต คลองประเวศบุรีรมย์ คลองอุดมชลจร คลองราชมนตรี คลองทวีวัฒนา คลองนราภิรมย์ คลองรังสติประยูรศักดิ์ คลองประปา และคลองแยกอีกหลายคลองด้วยกัน

รัชกาลที่ 4 กุดคลองผดุงกรุงเกษมขึ้นมาเพื่ออะไร

คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลองเมืองชั้นนอกที่ขุดในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวระหว่าง พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2395 ในการขุดคลองได้จ้างแรงงานชาวจีนเป็นผู้ขุดเพื่อขยายชุมชนออกไปทางทิศตะวันออกของพระนคร ระยะทางรวมราว 5.5 กิโลเมตร เริ่มทางทิศเหนือที่วัดสมอแครงหรือวัดเทวราชกุญชร ขนานไปกับคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง ตัดผ่านคลองมหานาค ...

คลองขุด คือที่ไหน

คลองขุด อาจหมายถึง ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล คลองที่ไม่ได้เป็นคลองธรรมชาติ แต่ใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรขุดขึ้น

คลองใดที่ขุดขึ้นเพื่อขยายพื้นที่ทํานา

คลองที่บริษัทคลองคูนาสยามขุด จากภาวะการค้าและราคาข้าวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทำให้ราษฎรต้องการที่ดินปลูกข้าวมากขึ้น ที่ดินริมคลองจึงมีราคาตามไปด้วย สภาวะเช่นนี้กระตุ้นให้เอกชนกระตือรือร้นที่จะขุดคลองขายที่ดินเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุนี้ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ได้ร่วมกับนายโยกิม แกรซี่ พระนานพิธภาษี และนายยม ตั้งบริษัทขุดคลองและ ...