อายุ 60 มี ส่วนลด อะไรบ้าง

รฟท.ลดค่าค่าตั๋วโดยสารรถไฟ ช่วยผู้สูงอายุ เริ่มวันที่ 1 มิ.ย.- 30 ก.ย.นี้ พร้อมเปิดหลักเกณฑ์เงื่อนไขเป็นอย่างไรบ้าง ง่ายๆแค่คลิกเดียวจบ

Show

ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมตรวจสอบข้อเท็จจริงจากการรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม กรณีค่าโดยสาร รฟท. สำหรับผู้สูงอายุ จะลดราคาในวันที่ 1 มิ.ย.- 30 ก.ย. ของทุกปีนั้น พบว่า การรถไฟเเห่งประเทศไทย "ลดค่าโดยสาร" ให้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ที่กำหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบในการดำเนินการตามประกาศกระทรวงคมนาคม ฉบับลงวันที่ 1 กันยายน 2547 โดยให้แต่ละหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนแก่ผู้สูงอายุในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งสาธารณะ 

คนไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปกว่า 12 ล้านคน หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ หรือที่เรียกว่าผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รัฐบาลจะจัดสรรเบี้ยผู้สูงอายุเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งจะมีใครบ้าง ที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และมีขั้นตอนการขอรับสิทธิอย่างไร ได้รับเงินดังกล่าวเดือนละเท่าไหร่ ต้องใช้หลักฐานอะไรบ้าง สามารถเข้ามาอ่านและดูข้อมูลได้ที่นี่

สารบัญ

อายุ 60 มี ส่วนลด อะไรบ้าง

ยิ่นคำขอเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

อายุ 60 มี ส่วนลด อะไรบ้าง

ข้อมูลสิทธิสวัสดิการผู้สูงอายุ

อายุ 60 มี ส่วนลด อะไรบ้าง

ลงทะเบียนยังชีพผู้สูงอายุ

เบี้ยผู้สูงอายุคืออะไร?

เบี้ยผู้สูงอายุ หรือ เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือ สวัสดิการที่ทางภาครัฐ จัดสรรให้แก่ ผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือ และแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในแต่ละเดือน เนื่องจากรายได้ จากอาชีพผู้สูงอายุที่ทำอยู่ในแต่ละเดือน อาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย โดยแต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่มาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ

ใครบ้างมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนอายุครบ 60 ปี ตัวอย่างวิธีการคำนวณอายุ เช่น ลงทะเบียนของปี 2565 ต้องเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2504  ส่วนผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎร ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ
  • ผู้สูงอายุที่มีบุตรทำงานในหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้รับเงินบำนาญพิเศษตลอดชีวิตแทนจากการที่บุตรปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศจนร่างกายพิการ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิต ยังสามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วย รวมถึงผู้สูงอายุที่ได้รับบัตรสวัสดิการคนจนจากรัฐ ก็สามารถได้สิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกด้วย

วิธีหลีกเลี่ยงถูกเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

ต้องไม่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. หรือ อบต.) อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเงินเบี้ยยังชีพ เช่น ผู้สูงอายุที่เคยทำงานและได้รับเงินเดือน มีรายได้ประจำ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุ จะได้รับมีอะไรบ้าง

นอกจากจะรับเบี้ยยังชีพเป็้นเงินช่วยเหลือแล้ว ผู้สูงอายุยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุอื่น ซึ่งแบ่งเป็น 16 ด้าน ดังนี้

  1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 600 – 1,000 บาท/คน/เดือน
  2. ลดค่าโดยสารยานพาหนะสาธารณะ ครึ่งราคา อาทิ รถไฟ, รถเมล์ขสมก., รถไฟฟ้า MRT, รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, รถบขส., เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือคลองแสนแสบ
  3. ลดหย่อนภาษีแก่บุตรกรณีที่เลี้ยงดูบิดามารดาที่สูงอายุ 3 หมื่นบาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
  4. ขอปรับสภาพที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน มีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและเหมาะสม สามารถขอปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมปลอดภัย เหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาทต่อคน
  5. ด้านกู้ยืมเงินทุนปลอดดอกเบี้ย เพื่อประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุได้ คนละไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือรวมกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน กู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท แต่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ระยะเวลาจ่ายหนี้เป็นเวลา 3 ปี
  6. สิทธิด้านอาชีพ ผู้สูงอายุสามารถขอคำปรึกษา แนะนำ และสมัครงาน รวมทั้งฝึกอาชีพ
  7. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมในพื้นที่สาธารณะ อาทิ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ ประกอบด้วย ลิฟท์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
  8. สิทธิด้านการศึกษาเพื่อผู้สูงอายุได้เรียนรู้ สอดคล้องกับความต้องการให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  9. สิทธิด้านการแพทย์ ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการดูแลสุขภาพต่าง ๆ ผ่านช่องทางพิเศษ
  10. การช่วยเหลือด้านกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม มีบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้สูงอายุ เช่น ให้เงินค่าจ้างทนาย ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
  11. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐแก่ผู้สูงอายุ เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ เป็นต้น
  12. เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาต่าง ๆ ส่วนศูนย์กีฬาในร่ม ได้ลดค่าสมัครสมาชิกครึ่งราคา
  13. ด้านบริการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง มีอันตราย หรือถูกหาประโยชน์ โดยจัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
  14. สิทธิด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่ม กรณีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหา สามารถขอรับเงินช่วยเหลือได้คนละไม่เกิน 3,000 บาท ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง
  15. กรณีผู้สูงอายุยากจนและขาดผู้ดูแล สามารถขอใช้บริการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้
  16. กรณีผู้สูงอายุยากจนและเสียชีวิต ญาติสามารถขอรับเงินจัดการศพรายละไม่เกิน 3,000 บาท ได้ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันออกใบมรณะบัตร

ลงทะเบียนรับสิทธิต้องทำอย่างไร

ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 59 ปีบริบูรณ์สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น และเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีถัดไป ก็จะได้รับเบี้ยผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม ในปีนั้น ๆ โดยสามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเองได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายนของทุกปี

ทั้งนี้ผู้สูงอายุสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปีเป็นต้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน – 1 ตุลาคม ของปีนั้น ๆ จึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี นั่นก็คือ เดือนตุลาคม ปีนั้น ซึ่งก็คือ อายุครบ 60 ปีเดือน ตุลาคม 2565 นั่นเอง

หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

การเตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะต้องเตรียมเอกสาร ประกอบด้วย

กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด

กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มคือ

  1. หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด

ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน

การยื่นขึ้นทะเบียนและแนวทางการปฎิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย

  1. ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
  2. ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ) 
  3. ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง

สถานที่ในการขึ้นทะเบียน

จุดบริการ ใน กทม.

สำนักงานเขต 50 เขต

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสำนักงานเขตป้อมปราบ ศัตรูพ่าย กทม.โทร.0-2282-4196/

องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น

อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ เทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ทำอย่างไรถึงจะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เข้าวันไหน

การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน

ช่องทางการจ่ายเงิน

ภาครัฐจะโอนเงินผ่านธนาคารที่ผู้สูงอายุแจ้งมาให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ถ้าวันที่ 10 ของเดือนใดตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ดังนั้นอาจจะได้รับเงินไม่ตรงวันที่ 10 ในแต่ละเดือน

รับเงินได้เมื่อไหร่

ผู้สูงอายุหลายคน ที่ได้รับสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่อาจยังไม่รู้ว่า เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้าวันไหนบ้าง? ในแต่ละเดือน ทั้งนี้ภาครัฐกำหนดว่า ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนตุลาคมของทุกปี นับตั้งแต่ผู้สูงอายุมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีนั้น แต่เพราะการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณถัดไป โดยภาครัฐจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งถ้าวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ตรงกับวันหยุดก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ทำให้แต่ละเดือนจะได้รับเงินไม่ตรงกัน

เบี้ยยังชีพทีผู้สูงอายุได้รับตามขั้นบันได

ในแต่ละช่วงอายุ ผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพ ดังนี้

อายุ (ปี)รับเงิน(บาท/เดือน)60-6960070-7970080-8980090 ขึ้นไป1,000

เบี้ยผู้สูงอายุ เป็นเงินที่ภาครัฐช่วยสนับสนุนรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุชาวไทยทุกคนจะได้รับ และในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐที่จัดสรรผ่านบัตรสวัสดิการคนจนเพิ่มด้วย ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ภาครัฐกำหนด สามารถไปขอรับสิทธิและสวัสดิการดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้คนในครอบครัวไปดำเนินเรื่องแทนได้

เมื่อถึงวัย 60 ปี คุณจะได้สิทธิสวัสดิการอะไร

สิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุ จะได้รับมีอะไรบ้าง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 600 – 1,000 บาท/คน/เดือน ลดค่าโดยสารยานพาหนะสาธารณะ ครึ่งราคา อาทิ รถไฟ, รถเมล์ขสมก., รถไฟฟ้า MRT, รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, รถบขส., เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือคลองแสนแสบ

อายุ 60 ปีขึ้นรถเมล์ฟรีไหม

ขสมก. ให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ โดยให้สิทธิผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ใช้บริการรถโดยสารทุกประเภทของ ขสมก. ฟรี! ในวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 13 เมษายนของทุกปี เพียงแสดงบัตรประชาชนกับพนักงานเก็บค่าโดยสาร ส่วนในวันอื่นๆ ขสมก. จะจัดเก็บค่าโดยสารผู้สูงอายุเพียงครึ่งราคาเท่านั้น!

อายุ 60 ปี แก่ไหม

ผู้สูงอายุหมายถึงผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในวัยนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสมอง ทางอารมณ์และทางสังคม จึงเป็นวัยที่คนส่วนมากกลัว ดังนั้นการได้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ปรับตัวได้ดียิ่งขึ้นรวมทั้งบุตรหลานหรือผู้ใกล้ชิดมีส่วนสำคัญมากในการช่วยให้ท่านปรับตัวได้ ...

สิทธิประโยชน์ผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง

สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ.
ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ... .
ด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสาร ... .
ด้านการประกอบอาชีพ ฝึกอาชีพที่เหมาะสม ... .
ด้านการพัฒนาตนเอง การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่าย / ชุมชน ... .
ด้านการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการสาธารณะอื่น.