ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

การขับขี่รถยนต์หรือขี่รถจักรยานยนต์ในถนนสาธารณะทุกแห่งในประเทศไทย กฎหมายชี้ชัดแบบชัดเจนว่า จะต้องมีใบอนุญาตขับขี่กันทุกคน แต่เชื่อได้เลยว่า ปัจจุบันนั้น ผู้ใช้งานรถบนถนนตอนนี้ ยังมีอีกกลุ่มใหญ่ที่ไม่มีใบขับขี่กันอยู่ตอนนี้ โดยคิดว่า แค่ใช้งานในระยะทางไม่ไกล ไม่ต้องมีก็ได้ (มั้ง)

ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

Show

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่กฎหมายบังคับเอาไว้ว่าจะต้องมีใบขับขี่ในการใช้งานขับหรือขี่รถทุกคน เพราะอย่างน้อยเพื่อเป็นการยืนยันว่า คนนั้นได้ผ่านการอบรมเบื้องต้นและผ่านการทดสอบการใช้งานรถยนต์หรือจักรยานยนต์มาแล้ว จึงน่าจะมีสำนึกในการใช้งานถนนร่วมกับคนอื่น ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องควรมีใบขับขี่ทุกครั้ง ในการใช้งานรถบนถนน วันนี้เราจะมาดูกันว่า ใบขับขี่แต่ละประเภท จะต้องมีอายุเท่าไหร่ถึงจะทำได้บ้าง

จากหน้าเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงในการออกใบอนุญาตขับขี่รถทุกประเภท ได้ระบุเอาไว้อย่างชัดเจนว่า อายุของผู้ที่ประสงค์จะขอรับใบขับขี่ ได้นั้น จะระบุเอาไว้ดังนี้

1. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

2. ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

3. ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์

4. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์

5. ใบขับขี่รถบดถนน ใบขับขี่รถแทรกเตอร์ และใบขับขี่รถชนิดอื่นตามมาตรา 43 ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับการขับรถ คือ “ใบอนุญาตขับรถ” หรือที่คนส่วนใหญ่เรียกว่า “ใบขับขี่” และใบขับขี่ที่เรากำลังจะพูดถึงก็คือ ใบขับขี่ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญสำหรับคนขับรถ เพื่อใช้ยืนยันว่าได้รับอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ได้ตามกฎหมาย คนขับรถที่ไม่มีใบขับขี่ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย

หากกำลังมองหาขั้นตอนของการทำใบขับขี่ และการต่ออายุใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล บทความนี้จะช่วยไขข้อข้องใจ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมตัว เอกสารที่ต้องใช้ และจุดบริการในการทำใบขับขี่

สารบัญ

ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

ขั้นตอนการทำใบขับขี่รถยนต์

ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

เช็กจุดบริการ ใกล้คุณ

ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

จองคิวทำใบขับขี่

ทําใบขับขี่รถยนต์ อายุ 17ได้ไหม

ตรวจสอบวันจองคิวทำใบขับขี่

เรื่องควรรู้ก่อนทำใบขับขี่

ใบขับขี่ คืออะไร

ใบขับขี่ คือ เอกสารสำคัญสำหรับผู้ใช้รถบนท้องถนน ว่าสามารถใช้งานรถอะไรได้บ้างตามที่กฎหมายกำหนด เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถรับจ้าง เป็นต้น ถือเป็นใบอนุญาตเพื่อให้ขับขี่บนท้องถนนตามที่ได้รับอนุญาต หากไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมาย มีโทษทางแพ่ง รวมถึงจะเสียสิทธิ์จากการได้รับการคุ้มครองจากประกันภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถอีกด้วย

อายุเท่าไหร่ ถึงทำใบขับขี่ได้

กรมการขนส่งทางบก กำหนดไว้ว่าคนที่จะทำใบขับขี่ได้ จะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ต้องรู้กฎจราจรและข้อบังคับในการใช้รถ ไม่มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคในการขับรถ เช่น โรคลมชัก ความดัน ฯลฯ หรือมีปัญหาทางสายตา เพราะอาจส่งผลต่อการมองป้ายหรือสัญญาณไฟจราจรนั่นเอง 

ใบขับขี่ชั่วคราว เป็นใบขับขี่ใบแรกที่ได้จากการทำใบขับขี่ มีอายุการใช้งาน 2 ปี เมื่อหมดอายุแล้วต้องไปเปลี่ยนให้เป็นใบขับขี่แบบ 5 ปี โดยต้องต่อก่อนวันหมดอายุ 3 เดือน เว้นแต่จะมีกรณีพิเศษที่สามารถยืดระยะเวลาการต่ออายุออกไปได้

เมื่อไหร่ต้องต่ออายุใบขับขี่

เมื่อใบขับขี่ชนิดชั่วคราวหมดอายุลง คนขับสามารถต่ออายุได้ล่วงหน้า 3 เดือน แต่ต้องไม่ขาดการต่ออายุเกิน 1 ปี ถ้าเกินจะต้องเข้าอบรม 5 ชั่วโมง และสอบข้อเขียนใหม่ แต่ถ้ากลัวว่าจะลืมวันต่ออายุใบขับขี่ สามารถเข้าไปเช็กข้อมูลใบขับขี่ได้จากแอปฯ ทางรัฐจะได้ไม่พลาดวันเวลาที่จะต้องไปต่อใบขับขี่

TIP BOX: เกร็ดความรู้เกี่ยวกับใบขับขี่​

  • ขอมีใบขับขี่ครั้งแรก ต้องมีอายุ 18 ปีขึ้นไป อายุการใช้งาน 2 ปี  
  • ต่ออายุรอบแรก ต่ออายุจาก 2 ปี เป็น 5 ปี 
  • ต่ออายุต่อทุก ๆ 5 ปี
  • ใบขับขี่ตลอดชีพ มีเฉพาะรถส่วนบุคคล แต่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่ปี 2546

การทำใบขับขี่ สำหรับคนที่ไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน

ใบขับขี่ส่วนบุคคล หรือ ใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) เป็นหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าได้รับการอนุญาตให้ขับขี่รถยนต์ประเภทส่วนบุคคล โดยการที่จะมีใบขับขี่ประเภทนี้ได้จะต้องมีคุณสมบัติ และผ่านการทดสอบตามที่กรมการขนส่งฯ กำหนด

รถส่วนบุคคล นำมาขับแกร็บได้ไหม? รถยนต์ส่วนบุคคล สามารถนำมาให้บริการรับส่งผู้โดยสารได้ แต่ต้องมีการลงทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีใบขับขี่รถสาธารณะก่อน จึงจะนำมาให้บริการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายได้

การทำใบขับขี่ครั้งแรก

การขอใบขับขี่ครั้งแรก หรือ การขอใบขับขี่ชนิดชั่วคราว (ขอใหม่) สามารถทำได้ ดังนี้

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำหรับคนไทย
    1. บัตรประชาชนฉบับจริง
    2. ใบรับรองแพทย์ (อายุไม่เกิน 1 เดือน)
  • สำหรับชาวต่างชาติ
    1. หนังสือเดินทาง (Passport) พร้อมสำเนา สำหรับชาวต่างชาติ
    2. ใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) สำหรับชาวต่างชาติ

ขั้นตอนการทำใบขับขี่

 

  1. จองคิวอบรม เป็นขั้นตอนแรกของการทำใบขับขี่ สามารถจองได้ 3 ช่องทาง คือ
    • จองคิวด้วยตัวเองที่จุดบริการ
    • จองคิวผ่านระบบออนไลน์ ทางแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
    • จองคิวทางโทรศัพท์ ผ่านหมายเลข 02-271-8888 ต่อ 4201-4 หรือ โทร 1584
  2. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย
    • ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว/เหลือง/แดง)
    • ทดสอบสายตาทางลึก (เลื่อนเสาให้ตรงกัน)
    • ทดสอบสายตาทางกว้าง (บอกสีที่ปรากฏด้านข้าง)
    • ทดสอบปฏิกิริยาเท้า (ความสามารถในการใช้เท้าเหยียบเบรก)

    แต่เนื่องจากขณะนี้เป็นช่วงเวลาของโรคระบาด จึงอาจมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย สามารถเช็กที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้โดยตรง

  3. การอบรม เจ้าหน้าที่จะเป็นผู้อบรมให้ความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับวินัยจราจร และการขับรถ โดยจะแบ่งเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย นอกจากนี้ ยังมีการอบรมออนไลน์ผ่านระบบ DLT-elearning ซึ่งใบอบรมจะมีอายุการใช้งาน 90 วัน

  4. การทดสอบข้อเขียน เป็นการทดสอบความรู้เกี่ยวกับการขับรถ และสัญญาณจราจรต่าง ๆ เป็นการทำแบบทดสอบผ่านระบบ E-exam ข้อสอบมี 4 ตัวเลือก ทั้งหมด 50 ข้อ ต้องตอบให้ถูกอย่างน้อย 45 ข้อ หากไม่ผ่านจะต้องสอบใหม่ในวันถัดไป หรือไม่เกิน 90 วันหลังการอบรม
  5. ทดสอบขับรถ หลังจากสอบข้อเขียนผ่านแล้ว จะต้องจองคิวสอบภาคปฏิบัติ หรือสอบท่าขับรถ มีทั้งหมด 3 ท่าบังคับ คือ
    • เดินหน้าและถอยหลัง
    • จอดรถเทียบทางเท้าไม่เกินป้ายหยุด
    • ถอยรถเข้าซองโดยใช้ไม่เกิน 7 เกียร์
  6. รอรับใบขับขี่ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม หลังจากที่ผ่านการทดสอบครบทุกอย่างแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการถ่ายรูปเพื่อพิมพ์ใบขับขี่ ซึ่งใบขับขี่ที่ได้จะเป็นแบบชั่วคราว มีอายุการใช้งาน 2 ปี

จองคิวทำใบขับขี่ผ่านแอปพลิเคชั่น

แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue พร้อมอำนวยความสะดวก ทั้งขั้นตอนการทำใบขับขี่ การต่ออายุใบขับขี่ การชำระภาษีรถยนต์ ตลอดจนการขอใบอนุญาตขับขี่ระหว่างประเทศ เพียงทำตามขั้นตอน ดังนี้

  1. ดาวน์โหลด แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play
  2. เข้าสู่ระบบ เพียงกดเลือกตามขั้นตอน
    • บัตรประชาชน > กรอกข้อมูลส่วนตัวเพื่อสมัครใช้งาน > สร้างรหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบ
  3. เลือกสำนักงานขนส่งที่ต้องการจองคิวต่อใบขับขี่ โดยเลือกสาขาที่ใกล้บ้าน หรือสะดวกต่อการเดินทางไปต่ออายุใบขับขี่มากที่สุด
  4. เลือกประเภทงานบริการเป็น “งานใบอนุญาต”
  5. เลือกประเภทงานที่ต้องการเข้ารับบริการ เช่น ต่อใบขับขี่ 5 ปีเป็น 5 ปี หรือ 2 ปีเป็น 5 ปี หรือจะต่ออายุใบขับขี่รถสาธารณะ 3 ปีเป็น 3 ปี อบรมผ่านระบบ DLT-elearning เป็นต้น
  6. เลือกวันที่ต้องการต่อใบขับขี่
  7. เลือกเวลาที่ต้องการจอง

ถ้าอยากสอบขับรถให้ผ่านฉลุย นอกจากจะต้องฝึกฝนบ่อย ๆ แล้ว การเลือกใช้รถที่เราคุ้นเคย หรือใช้งานอยู่เป็นประจำ ก็จะช่วยให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ยิ่งใช้รถยนต์ที่มีขนาดเล็กด้วยแล้ว จะยิ่งมีความคล่องตัว และผ่านการทดสอบได้ไม่ยาก

การต่ออายุใบขับขี่ชั่วคราว (2 ปี เป็น 5 ปี)

การต่อใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นการต่ออายุจากใบขับขี่ชั่วคราวที่มีอายุ 2 ปี มาเป็น 5 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อใบขับขี่

  1. ใบขับขี่ชั่วคราวอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี
  2. บัตรประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ (มีอายุไม่เกิน 1 เดือน)

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่

  1. จองคิวอบรม สามารถไปที่จุดให้บริการของกรมขนส่งฯ ที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นเอกสารและคำขอต่ออายุใบขับขี่ หรือจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก
  2. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
  3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ผู้ที่ขอต่อใบขับขี่ จะได้รับการประเมินสมรรถภาพของร่างกาย โดยต้องมีการทดสอบตามหัวข้อ ต่อไปนี้
    • การทดสอบการมองเห็นสี 
    • การทดสอบสายตาทางลึก 
    • การทดสอบสายตาทางกว้าง
    • การทดสอบปฏิกิริยาเท้า

    ดูตัวอย่างการทดสอบสมรรถภาพจากวิดีโอ

  4. ถ่ายรูปพิมพ์ใบขับขี่ เมื่อผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้ว ก็ถึงเวลาชำระค่าธรรมเนียม จำนวน 505 บาท (ค่าใบขับขี่ 500 บาท และค่าคำขอ 5 บาท) พร้อมถ่ายรูปเพื่อพิมพ์ใบขับขี่

หมายเหตุ: ผู้ขับขี่สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 60 วัน หรือ 2 เดือน หากขาดต่ออายุใบขับขี่ กรณีสิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่ หากสิ้นอายุเกิน 3 ปี เพิ่มขั้นตอนการอบรม, ทดสอบข้อเขียน และทดสอบขับรถ

การต่ออายุใบขับขี่ชนิด 5 ปี (5 ปี เป็น 5 ปี)

การต่อใบขับขี่ชนิดนี้ เป็นการต่ออายุจากใบขับขี่ชั่วคราวที่มีอายุ 2 ปี มาเป็น 5 ปี

เอกสารที่ต้องใช้ในการต่อใบขับขี่

  1. ใบขับขี่เดิม หรือใบแทน
  2. บัตรประชาชนฉบับจริง
  3. ใบรับรองแพทย์ (มีอายุไม่เกิน 1 เดือน)

ขั้นตอนการต่อใบขับขี่

  1. จองคิวอบรม สามารถไปที่จุดให้บริการของกรมขนส่งฯ ที่อยู่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นเอกสารและคำขอต่ออายุใบขับขี่ หรือจองคิวต่อใบขับขี่ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Smart Queue ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store หรือ Google Play หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบกที่ https://gecc.dlt.go.th
  2. ตรวจสอบเอกสาร และออกคำขอ
  3. ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย ขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพของผู้ขอต่อใบขับขี่ชนิด 5 ปี ไม่แตกต่างกับการต่ออายุแบบชั่วคราว ซึ่งมีการทดสอบดังนี้
    • ทดสอบการมองเห็นสี (เขียว/เหลือง/แดง) ของสายตา
    • การเลื่อนเสาให้ตรงกัน เพื่อทดสอบสายตาทางลึก
    • บอกสีด้านข้าง เพื่อทดสอบสายตาทางกว้าง
    • การเหยียบเบรกจำลอง เพื่อทดสอบปฏิกิริยาทางเท้า

    โดยเข้าไปดูตัวอย่าง ขั้นตอนการทดสอบสมรรถภาพ

  4. อบรม ผู้ขอต่อใบขับขี่ชนิด 5 ปี ต้องเข้ารับการอบรมเป็นเวลา 1 ชั่วโมง และในกรณีที่เข้ารับการอบรมผ่านระบบออนไลน์ สามารถรับการอบรมผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบกได้
  5. รอรับใบขับขี่ หากทดสอบครบทุกขั้นตอนแล้ว ก็ไปยื่นเอกสารพร้อมชำระเงิน 505 (500 บาท เป็นค่าใบขับขี่ และ 5 บาท เป็นค่าคำขอ) สามารถเช็กข้อมูลอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขับรถเพิ่มเติม ได้จากเว็บไซต์ของกรมการขนส่งทางบก แล้วถ่ายรูปเพื่อรอพิมพ์ใบขับขี่เป็นขั้นตอนสุดท้าย

หมายเหตุ: ผู้ขับขี่สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน หากขาดการต่ออายุใบขับขี่ สิ้นอายุเกิน 1 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี จะต้องสอบข้อเขียนใหม่ แต่ถ้าขาดการต่อใบขับขี่สิ้นอายุเกิน 3 ปี ต้องเพิ่มขั้นตอนทดสอบข้อเขียน และทดสอบการขับรถ

  • ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล ไม่ต้องแจ้งความ สามารถขอทำบัตรใหม่กับกรมการขนส่งทางบกได้ทันที
  • ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ต้องไปแจ้งความ เพื่อแนบเป็นเอกสารของทำใบขับขี่ใหม่

ช่วงเวลาที่เปิดให้บริการ

กรมการขนส่งทางบกเปิดให้บริการต่อใบขับขี่ตามวันและเวลาราชการ (จันทร์-ศุกร์) โดยไม่มีการพักกลางวัน และสามารถจองคิวออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

การต่ออายุใบขับขี่ไม่ได้มีความยุ่งยากอย่างที่เข้าใจ หากมีการเตรียมตัวที่ดี เพราะใบขับขี่จะหมดอายุตรงกับวันที่เราทำ เราจึงมีเวลาวางแผนและเตรียมการไว้ล่วงหน้าได้ อีกทั้งยังสามารถจองคิวและอบรมออนไลน์ได้ ทำให้ช่วยประหยัดเวลา ไม่ต้องตื่นเช้า หรือต้องลางานเพื่อมารอต่อใบขับขี่อีกต่อไป

อายุ 17 ปีทำใบขับขี่รถยนต์ได้ไหม

คนที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือขอรับใบขับขี่ใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก จะต้องมีอายุเท่าไหร่ คนที่จะขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถหรือขอรับใบขับขี่ใหม่ ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก ชนิดที่ 1 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี/ ชนิดที่ 2,3 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ชนิดที่ 3 จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี และชนิดที่ ...

อายุ 17 ทํา ใบขับขี่ มอ ไซ ได้ไหม

อายุระหว่าง 15 - 18 ปี สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์ หรือทำใบขับขี่มอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลได้ แต่ต้องมีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซี.ซี.

อายุกี่ปีถึงจะทําใบขับขี่รถยนต์ได้

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลชั่วคราว ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปีบริบูรณ์

ใบขับขี่ มอ ไซ ค์ ทํา ได้ อายุ เท่าไร

อายุของผู้ที่จะทำใบขับขี่.
อายุระหว่าง 15 – 18 ปี สามารถทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลได้ แต่ขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 110 ซีซี.
อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป สามารถทำใบขับขี่รถมอเตอร์ไซค์ส่วนบุคคลชั่วคราวได้ในรถทุกรูปแบบ.
อายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สามารถทำใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะได้.