ย้ายทะเบียนบ้าน อายุไม่ถึง 20

หลายคนที่มีความจำเป็นต้องย้ายที่อยู่ใหม่ไปอยู่ภูมิลำเนาอื่น หรือบางคนอาจจะซื้อบ้าน หรือคอนโดไว้แล้ว แต่ตัวเองมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดอื่น แล้วต้องการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านใหม่ จะต้องกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของเราเพื่อดำเนินเรื่องหรือไม่ โดยปัจจุบันเราสามารถแจ้ง ย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง หรือแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทางได้แล้ว โดยสามารถไปแจ้งย้ายได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอท้องถิ่นที่บ้านหรือคอนโดเราตั้งอยู่ได้เลยโดยไม่ต้องกลับไปภูมิลำเนาเดิมของเรา ซึ่งขั้นตอนการแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทางมีคำแนะนำดังนี้

การแจ้งย้ายที่อยู่ปลายทาง หมายถึง ผู้ที่ย้ายที่อยู่ไปแจ้งย้ายออกและย้ายเข้า ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ได้ย้ายไปอยู่ใหม่ โดยไม่ต้องเดินทางกลับไปขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิมในภูมิลำเนาเดิมที่เราอยู่

การแจ้งย้ายทะเบียนบ้านปลายทาง ใช้เอกสารในการติดต่อดังนี้

1.บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงของผู้แจ้งย้ายพร้อมสำเนาจำนวน 1 ชุด
2.ทะเบียนบ้านเล่มที่จะแจ้งย้ายเข้าฉบับจริง
3.เจ้าบ้านหลังที่จะแจ้งย้ายเข้าให้ความยินยอมย้ายเข้าพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงและสำเนา 1 ชุด
4.หากเจ้าบ้านไม่ได้มาดำเนินการจะต้องมีหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าของเจ้าบ้านมาแสดงด้วย พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านลงชื่อรับรองสำเนา 1 ชุด
5.หากเป็นบ้านหรือคอนโดใหม่ของเราเอง ต้องมีเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของเช่นสำเนาโฉนดที่ดิน หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด หนังสือแสดงการครอบครองบ้าน เอกสารสัญญาซื้อขาย เป็นต้น


6.กรณีมอบหมายให้แจ้งย้ายแทน ต้องมีหนังสือมอบหมายจากผู้ย้ายที่อยู่พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบ และผู้รับมอบหนึ่งคนควรดำเนินการแทนผู้ประสงค์จะแจ้งย้ายที่อยู่ได้ไม่เกิน 3 คน
7.กรณีผู้เยาว์ย้ายที่อยู่ มารดาเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้าย ต้องใช้เอกสารสูติบัตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด หากมีทะเบียนหย่าต้องมีการระบุว่ามารดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด
8.กรณีผู้เยาว์ย้ายที่อยู่ บิดาเป็นผู้ดำเนินการแจ้งย้าย ต้องใช้เอกสารสูติบัตรของบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุด และต้องมีทะเบียนสมรส หรือทะเบียนรับรองบุตร หรือทะเบียนหย่าที่ระบุว่าบิดาเป็นผู้มีอำนาจปกครองบุตรฉบับจริงพร้อมสำเนา 1 ชุดมาแสดง

เมื่อเตรียมเอกสารทั้งหมดพร้อมแล้วก็ไปสำนักงานเขตหรือสำนักทะเบียนอำเภอที่เราจะย้ายไปอยู่ได้เลย ใช้เวลาดำเนินการไม่ถึง 10 นาทีก็เสร็จเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ทะเบียนบ้านที่มีชื่อเราอยู่ในนั้น

จะเห็นได้ว่าปัจจุบันนี้มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อมูลทะเบียนราษฎร์ใช้ระบบออนไลน์กันหมดแล้ว หากใครที่ย้ายบ้านใหม่แล้วยังไม่ได้ดำเนินการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านใหม่ก็สามารถไปดำเนินการแจ้งย้ายปลายทางได้เลยโดยไม่ต้องกลับไปแจ้งย้ายที่ภูมิลำเนาเดิมของเราอีกแล้ว

  • ย้ายทะเบียนบ้าน อายุไม่ถึง 20
DetailsDetails

หลักเกณฑ์

การเพิ่มชื่อและรายการบุคคลเข้าในทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่                  

    1. กรณีตกสำรวจตรวจสอบทะเบียนราษฎรเมื่อปี พ.ศ. 2499 (จะต้องเป็นผู้เกิดก่อนวันที่ 1 มิถุนายน 2499)
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามเอกสารทะเบียนราษฎรแบบเดิมที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ สูติบัตร ใบแจ้งการย้าย ที่อยู่ และทะเบียนบ้าน
    3. กรณีคนสัญชาติไทยที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ หรือเกิดในต่างประเทศแล้วเดินทางกลับเข้ามา ในประเทศไทย ทั้งที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นคนไทยและไม่มีหลักฐาน
    4. กรณีอ้างว่าเป็นคนไทยแต่ไม่มีหลักฐานเอกสารมาแสดง
    5. กรณีเด็กอนาถาซึ่งอยู่ในความอุปการะของบุคคล หน่วยงานเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ
    6. กรณีบุคคลที่ลงรายการในทะเบียนบ้านว่า "ตาย" หรือ "จำหน่าย" มาขอเพิ่มชื่อ
    7. กรณีคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
    8. กรณีคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
    9. กรณีที่ไม่มีสัญชาติไทยแต่ต่อมาได้รับสัญชาติไทย
    10. กรณีคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดยได้รับการผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษหรือไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง รวมทั้งผู้เกิดในราชอาณาจักรไทย ซึ่งไม่ได้สัญชาติไทย

ผู้มีหน้าที่แจ้ง
    ได้แก่ เจ้าบ้าน หรือผู้ขอเพิ่มชื่อ บิดา หรือมารดา กรณีผู้ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้เยาว์ หรือผู้อุปการะ เลี้ยงดู กรณีเด็กอนาถา

สถานที่ยื่นคำร้อง
    ได้แก่ สำนักทะเบียนอำเภอ หรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นที่ผู้ขอเพิ่มชื่อมีภูมิลำเนาอยู่ใน ปัจจุบันเว้นแต่
    1. กรณีเพิ่มชื่อตามสูติบัตรแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ออกสูติบัตรฉบับนั้น
    2. กรณีเพิ่มชื่อตามแบบใบแจ้งการย้ายที่อยู่ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ประสงค์จะขอเพิ่มชื่อ
    3. กรณีเพิ่มชื่อตามทะเบียนบ้านแบบเดิม ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ครั้งสุดท้าย
    4. กรณีเพิ่มชื่อของผู้ที่ลงรายการจำหน่ายหรือตายไว้แล้ว ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียนที่ผู้นั้นเคยมีชื่อ ในทะเบียนบ้าน ก่อนถูกจำหน่ายรายการ

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ แบ่งเป็น 2 กรณี

กรณีมีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. ทะเบียนบ้านหรือสำเนาทะเบียนบ้านฉบับปีพ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ พ.ศ. 2526
    5. ใบสูติบัตร (แบบเดิมซึ่งไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)
    6. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (แบบเดิมจึงไม่มีเลขประจำตัวประชาชน)

กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดง
    1. บัตรประจำตัวเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. รูปถ่ายของผู้ขอเพิ่มชื่อ 1 รูป (กรณีผู้ขอเพิ่มชื่ออายุเกิน 7 ปี)
    4. บัตรประจำตัวบิดา มารดา (ถ้ามี)
    5. บัตรประจำตัวพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    6. เอกสารประกอบ เช่น หลักฐานการศึกษา (ถ้ามี) ส.ด.9 (ถ้ามี)

ขั้นตอนในการติดต่อ
    * 1. การยื่นเอกสารและหลักฐาน
    - กรณีมีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องขอเพิ่มชื่อปรากฎรายการในเอกสารนั้น ๆ
    - กรณีไม่มีหลักฐานมาแสดงให้ยื่นต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ผู้ร้องอาศัยอยู่ในปัจจุบัน
    * 2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน
    * 3. ตรวจสอบรายการในฐานข้อมูลการทะเบียนราษฎร
    * 4. สอบสวนพยานบุคคลที่ให้การรับรอง
    * 5. บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับตัวบุคคลที่ขอเพิ่มชื่อ ผู้แจ้ง และพยานบุคคลที่ให้การรับรองและให้บุคคลดังกล่าวลงลายมือชื่อ หรือพิมพ์ลายนิ้วมือ  ตามแบบ ท.ร.25
    * 6. รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติในการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
    * 7. คืนหลักฐานให้ผู้แจ้ง

ย้ายทะเบียนบ้านปลายทางต้องอายุเท่าไร

2. ย้ายปลายทาง คือ การไม่ได้แจ้งย้ายออก แต่มาติดต่อย้ายเข้าในสำนักทะเบียนที่จะย้ายเข้าเลย (เลยเรียกว่าปลายทางนี่แหละ) กรณีเด็กที่อายุไม่เกิน 15 ปี ย่อมเป็นอำนาจของบิดามารดา โดยชอบด้วยกฎหมาย หรือผู้ใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายในการแจ้งย้ายปลายทาง โดยมีเจ้าบ้านปลายทางมายินยอมให้ย้ายเข้า ซึ่งถ้าจะถามว่า พ่อหรือแม่ จะมีอำนาจก็ ...

ถ้าจะย้ายทะเบียนบ้านต้องทำยังไง

ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า.
นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง.

ย้ายทะเบียนบ้านมีค่าใช้จ่ายไหม

ยื่นหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่จะย้ายเข้า นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานและลงรายการ ในใบแจ้งการย้ายที่อยู่โดยให้ผู้แจ้งลงลายมือชื่อ ในช่องผู้แจ้งย้ายออกและช่องผู้แจ้งย้ายเข้าสำหรับช่อง เจ้าบ้านผู้ยินยอมให้ย้ายเข้าให้เขียนชื่อ-สกุลตัวบรรจง และเสียค่าธรรมเนียม 5 บาท

ย้ายทะเบียนบ้านต้องไปทุกคนไหม

A3: เจ้าบ้านมีความจำเป็นต้องไปยังสำนักงานเขตเพื่อทำการส่งคำร้องและยินยอมให้สามารถย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาได้ และมีเอกสารที่จำเป็นต้องเซ็นด้วยตัวเจ้าบ้าน แต่หากเจ้าบ้านไม่สามารถไปได้ด้วยตัวเอง สามารถออกหนังสือยินยอมให้แจ้งย้ายเข้าจากเจ้าบ้าน พร้อมแนบบัตรประชาชนของเจ้าบ้านมาผ่านตัวผู้ย้ายได้