รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ

การปกครองท้องถิ่น (Local Government)

    การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในปัจจุบัน ดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 ซึ่งได้กำหนดการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในท้องถิ่นที่เห็นสมควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง อันเป็นการดำเนินการจัดระเบียบบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ และได้กำหนดให้จัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ดังนี้ 

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

2. เทศบาล 

3. สุขาภิบาล 

4. ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนด 

   ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน จะมีรูปแบบการปกครองท้องถิ่น 3 รูปแบบด้วยกันคือ 

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสุขาภิบาล สำหรับราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองเฉพาะที่ และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นล่าสุด 

    ดังนั้นการปกครองท้องถิ่นของไทย จึงมี 6 รูปแบบด้วยกันคือ 

1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

2. เทศบาล 

3. สุขาภิบาล

4. กรุงเทพมหานคร 

5. เมืองพัทยา 

6. องค์การบริหารส่วนตำบล 

รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ

     1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด 

    ประกอบด้วยฝ่านนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ เรียกว่า สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ฝ่ายบริหาร เรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับสมาชิกจะมีจำนวนแตกต่างกันออกไปตามจำนวนของประชาการในแต่ละเขตเลือกตั้ง

นายกองค์การบริการส่วนจังหวัด ทำหน้าที่ในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 4 ปี เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด เช่น

    - จัดทำระบบบำบัดน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอย

    - ดูแลบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม     - รักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น     - ส่งเสริมการท่องเที่ยว และการลงทุนในท้องถิ่น     -ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในจังหวัด

        2.เทศบาล

   กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งได้กำหนดไว้ ตามประเภทของเทศบาลคือ 

1.     เทศบาลตำบล ได้แก่ ท้องถิ่นซึ่งมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะขึ้นเป็นเทศบาลตำบล

2.     เทศบาลเมือง   ได้แก่ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด  หรือท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชนตั้งแต่  10,000  คน ขึ้นไป  ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลเมือง

3.     เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมชนที่มีประชาชน ตั้งแต่  50,000  คน ขึ้นไป ทั้งมีรายได้พอสมควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่อันต้องทำตามพระราชบัญญัตินี้ และมีประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนคร

โครงสร้างของเทศบาล

เทศบาลมีโครงสร้างที่สำคัญแบ่งเป็น  2  ฝ่าย  คือ

1.  สภาเทศบาลเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของเทศบาล มีหน้าที่ในการตราเทศบัญญัติ อนุมัติงบประมาณประจำปีของเทศบาล และควบคุมการบริหารกิจการของเทศบาล คณะเทศมนตรี  สมาชิกสภาเทศบาลมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี โดยมีจำนวนสมาชิกสภาเทศบาล ดังนี้

1. เทศบาลตำบล ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 12  คน 

2.  เทศบาลเมือง ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 18  คน 

3.  เทศบาลนคร ประกอบด้วย สมาชิกจำนวน 24  คน 

2.  นายกเทศมนตรี ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารของเทศบาล ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี มีจำนวนกำหนดไว้ตามประเภทของเทศบาล ดังนี้ 

1.  เทศบาลตำบล มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน 

2.   เทศบาลเมือง มีนายกเทศมนตรี 1 คน และเทศมนตรี 2 คน แต่ในกรณีที่เทศบาลเมืองแห่งใด มีรายได้จัดเก็บตั้งแต่ 20 ล้านบาทขึ้นไป ให้มีเทศมนตรีเพิ่มได้อีก 1 คน 

3.   เทศบาลนคร มีนายกเทศมนตรี 1 คนและเทศมนตรีอีก 4 คน 

นายกเทศมนตรี มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกันเกิน  2  วาระไม่ได้ 

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้งนายกเทศมนตรีและเทศมนตรี จากผู้ที่เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ด้วยความเห็นชอบของสมาชิกสภาเทศบาล คณะเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบการบริหารกิจการของเทศบาลตามกฎหมาย โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นหัวหน้า

         3.องค์การบริหารส่วนตำบล

ประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติเรียกว่า สภาองค์การบริหารส่วนตำบล และฝ่ายบริหารเรียกว่า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล

- สภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ 2 คน - ซึ่งเลือกตั้งขึ้นโดยราษฎรผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลนั้น -ในกรณีที่เขตองค์การบริหารส่วนตำบลมีเพียงหนึ่งหมู่บ้าน จะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นจำนวน 6 คน ถ้ามี 2 หมู่บ้านจะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวนหมู่บ้านละ 3 คน

    นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ทำหน้าที่ในการบริหารงานตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง เช่น

- รักษาความสะอาดของถนนหนทางและกำจัดขยะมูลฝอย

 - ป้องกันและระงับโรคติดต่อ

- ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

- คุ้มครอง ดูแล และบำรุงักษาทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม

        ารปกครองพิเศษ

     

รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ
 

            1.กรุงเทพมหานคร
 กรุงเทพมหานครเป็นองค์การปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่มีขนาดใหญ่ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528
 โครงสร้างของกรุงเทพมหานคร
 กรุงเทพมหานครแบ่งโครงสร้างออกเป็น  2  ฝ่าย  คือ
     1.  สภากรุงเทพมหานคร ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน  มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  กำหนดให้ประชาชนในแต่ละเขตปกครองเลือกสภากรุงเทพมหานครได้เขตละ  1  คน  ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมี  50  เขตปกครอง  มีสภากรุงเทพมหานครได้  50  คน
ใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเบอร์เดียว  สภากรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ทางนิติบัญญัติ  รวมทั้งควบคุมและตรวจสอบการทำงานของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร


     2.  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ( ฝ่ายบริหาร )  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี  การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครใช้ระบบการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเบอร์เดียว  ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและบริหารราชการของกรุงเทพมหานครให้เป็นตามกฎหมาย โดยมีรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครไม่เกิน  4  คน  ช่วยในการบริหารงานตามที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมอบหมาย

พื้นที่การบริหารกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็นเขตและแขวง ในแต่ละเขตจะมีผู้อำนวยการเขตเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหาร โดยมีสภาเขต ( สข.)  เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนภายในเขตนั้น ซึ่งแต่ละเขตมีสมาชิกสภาเขตอย่างน้อยเขตละ  7  คน  ถ้าเขตใดมีประชากรเกิน 100,000  คน  ให้มีสมาชิกสภาเขตได้เพิ่มอีก  1  คน  เศษของแสนถ้าเกิน  50,000  คน  ให้นับเป็น  100,000  คน  มีวารการดำรงตำแหน่งคราวละ  4  ปี

รูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น 6 รูปแบบ
 

            2. เมืองพัทยา
  พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย เป็นเมืองที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง  20  ปี  ที่ผ่านมา จึงทำให้ประชากรต่างถิ่นอพยพเข้ามาอยู่เพิ่มจำนวนมาก  ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ผังเมือง  อาชญากรรม  และอื่น ๆ  เพื่อให้การบริหารเมืองมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัว  รัฐบาลจึงกำหนดให้พัทยามีการปกครองท้องถิ่นในรูปแบบพิเศษ เรียกว่า เมืองพัทยา  และมีตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา  พ.ศ.  2542  กำหนดให้การบริการเมืองพัทยาประกอบด้วย สภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา
  

โครงสร้างของเมืองพัทยา
  เมืองพัทยาแบ่งโครงสร้างออกเป็น  2  ฝ่าย
 1.  สภาเมืองพัทยา  ( ฝ่ายนิติบัญญัติ ) ประกอบด้วยสมาชิกสภาเมืองพัทยา  จำนวน  24  คน  มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยา  มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี สภาเมืองพัทยามีอำนาจหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ  รวมทั้งควบคุม และตรวจสอบการทำงานของนายกเมืองพัทยา
 2.  นายกเมืองพัทยา  ( ฝ่ายบริหาร ) มาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยามีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ  4  ปี และจะดำรงตำแหน่งติดต่อกัน 2 วาระไม่ได้  นายกเมืองพัทยามีหน้าที่ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารกิจการของพัทยา และเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและลูกจ้างเมืองพัทยา

แหล่งที่มา :http://www.thaigoodview.com/node/16620?page=0,4