เปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้า 5 แอมป์ เป็น 15 แอมป์ กี่บาท

หากต้องการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าหรือเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบ TOU (Time of Use Tariff) สามารถดำเนินการได้ที่การไฟฟ้าฯตามเขตที่ระบุไว้ในบิลค่าไฟหรือสามารถดำเนินการทางออนไลน์ได้เช่นกัน ช่องทางติดต่อหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมการไฟฟ้านครหลวง MEA Call Center 1130

ก่อนทำการดำเนินเรื่องขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเราต้องเตรียมระบบวงจรให้พร้อมกับขนาดมิเตอร์ใหม่ที่ต้องการเพิ่ม ในการเพิ่มขนาดมิเตอร์เพื่อทำการติดตั้งเครื่องชาร์จนั้น การไฟฟ้านครหลวงอนุญาติให้ติดตั้งเมนวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จโดยเฉพาะได้ มีข้อกำหนดตามนี้

  • พิกัดกระแสไฟฟ้าของ Main Circuit Breaker ทั้งสองวงจรต้องรวมกันไม่เกินพิกัดสูงสุดตามที่ขนาดมิเตอร์ระบุไว้ เช่น ขอเพิ่มขนาดมิเตอร์เป็นขนาด 30(100)A ค่าพิกัดของ Main CB ต้องไม่เกิน 100 A
  • ต้องติดป้ายบริเวณ Main CB ของทั้งสองวงจร เพื่อระบุตำแหน่ง Main CB ของวงจรที่หนึ่งกับวงจรที่สองสำหรับเครื่องชาร์จ
  • ห้ามต่อสายเฟสหรือสายนิวทรัลข้ามระหว่างสองวงจร

เปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้า 5 แอมป์ เป็น 15 แอมป์ กี่บาท

ดำเนินเรื่องที่เขตการไฟฟ้า

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามบุคคล

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่จะขอติดตั้ง
  • กรณีไม่ใช่เจ้าบ้านต้องใช้เอกสารแสดงความเกี่ยวพันธ์ เช่น สัญญาซื้อขาย
  • บิลค่าไฟ
  • สำเนาเอกสารเปลี่ยนชื่อในกรณีที่มีการเปลี่ยนชื่อ
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

เอกสารที่ต้องเตรียมในกรณียื่นในนามนิติบุคคล

  • หนังสือรับรองบริษัทไม่เกิน 6 เดือน
  • สำเนาบัตรประชาชนกรรมการผู้มีอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟฟ้า
  • ใบคำขอใช้ไฟฟ้า สามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์การไฟฟ้านครหลวง
  • ใบมอบอำนาจและสำเนาบัตรประชาชนผู้รับมอบ พร้อมกรรมการผู้มีอำนาจลงชื่อพร้อมประทับตราบริษัทฯในกรณีไม่ได้ดำเนินเรื่องด้วยตนเอง

ดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์

สามารถดำเนินเรื่องผ่านทางออนไลน์ได้ที่ https://eservice.mea.or.th/measy

เปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้า 5 แอมป์ เป็น 15 แอมป์ กี่บาท

ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า

สำหรับ 1 Phase
ขนาด ค่าตรวจ
15 (45) 700
30 (100) 700
50 (150) 700
สำหรับ 3 Phase
ขนาด ค่าตรวจ
15 (45) 700
30 (100) 1,500
50 (150) 1,500
200 2,500
400 2,500

สำหรับ TOU ค่าตรวจตามขนาดมิเตอร์ที่ต้องการและเพิ่มค่าใช้จ่ายอีก 6,640 บาท

ระยะเวลาในการดำเนินการ
  • มิเตอร์ขนาด 5(15)A – 15(45)A ใช้เวลาภายใน 4 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 30(100)A – 50(150)A ใช้เวลาภายใน 8 วันทำการ
  • มิเตอร์ขนาด 200A – 400A ใช้เวลาภายใน 18 วันทำการ

ระยะเวลาดังกล่าวนับตั้งแต่ยื่นเอกสาร ชำระค่าธรรมเนียม และการติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในเรียบถูกต้องในการตรวจครั้งแรก

เปลี่ยนหม้อแปลงไฟฟ้า 5 แอมป์ เป็น 15 แอมป์ กี่บาท

สำหรับความแตกต่างของค่าไฟ 5แอมป์ และ 15 แอมป์ นั้น มีดังนี้

มิเตอร์ไฟฟ้าส่วนมากที่เห็นใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และติดอยู่ตามเสาไฟฟ้าจะเป็น มิเตอร์ขนาด 5 แอมป์ ซึ่งเป็น ขนาดที่เล็กที่สุด  แต่ในอนาคตถ้าเกิดว่ามีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น อาจจะต้องปรับเปลี่ยนมิเตอร์และจ่ายค่าไฟ เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  ส่วนมิเตอร์ไฟฟ้า ขนาด15 แอมป์ เท่าที่หลายบ้านใช้ ก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าประหยัดเงินกว่ามากๆ แถมยังสามารถเปิดเครื่องใช้ฟ้า พร้อมกัน โดยไม่เกิดไฟตก หรือไฟดับได้อีกด้วย แต่ถึงอย่างไรแล้วนั้น มิเตอร์ไฟฟ้าขนาด15 แอมป์ จะรับโหลดได้มากสุดไม่เกิน 45 แอมป์ เท่านั้น มาเข้าเรื่องค่าไฟกันเลย ถ้าเกิดใช้ไฟฟ้าเท่ากัน มิเตอร์ไฟฟ้า 5แอมป์ จานหมุนครบ1200 รอบ เลขจะเลื่อนไปเพียง1 หน่วยนั้น  แต่ มิเตอร์ไฟฟ้า 15 แอมป์ จานหมุนครบ400 รอบ ถึงจะเลื่อนไป1 หน่วย เพราะฉะนั้นแม่ว่ามิเตอร์ไฟฟ้า15 แอมป์ จะหมุนช้ากว่า มิเตอร์ไฟฟ้า 5 แอมป์ แต่หมุนรอบเดียวก็เสียค่าไฟ 1 หน่วย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับค่าไฟ แยกออกเป็น3 ประเภท ด้วยกัน นั่นก็คือ บ้านที่ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน คิดค่าไฟเริ่มต้นหน่วยละ 2.3488, บ้านที่ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน คิดค่าไฟเริ่มต้นหน่วยละ 3.2484 บาท และ บ้านที่ติดมิเตอร์ไฟฟ้า  เป็นแค่ช่วงระยะเวลาที่ต้องการใช้งานเท่านั้น คิดค่าไฟเริ่มต้นหน่วยละ2.6037 บาท สำหรับค่าไฟทั้งหมด จะถูกเก็บจากการไฟฟ้านครหลวงกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นผู้ที่จ่ายไฟฟ้าให้แต่ละบ้าน รวมถึงผู้ใช้งานอื่นๆ

ผู้เขียน : นาถชนก สารโภค

ช่างไฟดอทคอมช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ

แนะแนวเรื่อง