ท้อง 37 สัปดาห์ ลูก อยู่ ท่าไหน

เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์ ช่วงนี้คุณแม่อาจรู้สึกอยากทำบางสิ่งบางอย่างด้วยตนเอง ตามสัญชาตญาณ ‘การจัดเตรียม’ ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตามขอให้ระมัดระวังและอย่าหักโหมจนเกินไป ให้ระวังสารระเหยจากสีและควรหลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดจะดีที่สุด เพราะการทรงตัวของคุณระหว่างตั้งครรภ์นั้นไม่มั่นคงเหมือนเดิม และคุณแม่อาจรู้สึกร้อนมากเป็นพิเศษในช่วงการตั้งครรภ์ระยะสุดท้าย ทั้งนี้ เพราะร่างกายต้องทำงานอย่างหนักเพื่อรับน้ำหนักที่มากกว่าปกติและต้องประคองชีวิตน้อยๆ ที่อยู่ในครรภ์ ทำให้ร่างกายของคุณแม่มีเลือดไหลเวียนมากขึ้นและมีการเผาผลาญแคลอรีเพิ่มขึ้นด้วย และเพื่อเป็นการคลายร้อน คุณแม่สามารถลองวิธีต่อไปนี้

• แช่เจลมาส์กไว้ในตู้เย็นและนำมาโปะไว้ที่ตาสักครู่เพื่อช่วยผ่อนคลาย

• เปิดก็อกให้น้ำเย็นไหลผ่านข้อมือ

• พกพัดขนาดเล็กหรือสเปรย์น้ำไว้ในกระเป๋าถือเพื่อช่วยคลายร้อนขณะเดินทาง

• ดื่มน้ำมากๆ เพราะเหงื่อจะทำให้คุณสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว

ในช่วงสัปดาห์ที่ 37 นี้ ลูกน้อยของคุณแม่คุณพ่อจะมีขนาดความยาวของร่างกายประมาณ 45.7 เซนติเมตร หรือ 18 นิ้ว และมีน้ำหนักประมาณ 2.7 กิโลกรัม ถึง 3.2 กิโลกรัม หรือ 6 ปอนด์ ถึง 7 ปอนด์ ขนาดจะใกล้เคียงกับผลแตงขมิ้น (Canary melon)

โดยในช่วงนี้ ศีรษะของทารกจะมีขนาดเส้นรอบศีรษะเท่ากับขนาดเส้นรอบอก และเกิดรอยบุ๋มบริเวณข้อศอก หัวเข่า หัวไหล่ รวมไปถึงรอยพับที่บริเวณคอ และข้อมือ 

พัฒนาการที่สำคัญในช่วงนี้คือ ปอดของทารกที่พัฒนาจนพร้อมใช้งานแล้วแต่ยังไม่สมบูรณ์ดีนัก ดังนั้นทารกจึงเริ่มฝึกหายใจเข้า และ หายใจออก ควบคู่ไปกับการฝึกดูดนิ้วโป้ง

อายุครรภ์ครบกำหนด 37 สัปดาห์ การทำงานของถุงลมปอดของลูกมักจะสมบูรณ์ ในครรภ์แรกลูกมักจะกลับหัวลงสมบูรณ์ และเคลื่อนลงอุ้งเชิงกรานแล้ว ดังนั้นในคุณแม่ที่ไม่เคยผ่าตัดคลอดหรือครรภ์แรก หรือไม่มีข้อห้ามในการคลอดบุตร จะต้องคอยเฝ้าระวังอาการเจ็บครรภ์คลอด และเตรียมพร้อมมาโรงพยาบาลเสมอ


พัฒนาการลูก

ลูกมีความยาวประมาณ 47 ซม. และฝึกระบบหายใจ ดูดกลืนได้ดี คุณแม่ที่มีรูปร่างบาง จะรู้สึกลูกเคลื่อนตัว หรือโก่งตัวได้ชัดเจน

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูก อยู่ ท่าไหน


Tips

 

  • คุณแม่ควรเตรียมพร้อมสำหรับอาการที่จะบ่งถึงการเจ็บคลอด ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ควรรีบมาโรงพยาบาล
  • การเจ็บคลอด ยอดมดลูกซึ่งอยู่เหนือสะดือ จะปั้นขึ้นมาเป็นก้อน พร้อมกับมีอาการปวดหน่วงคล้ายจะมีประจำเดือนมา นานประมาณ 30-60 วินาที และมีการแข็งตัวสม่ำเสมอทุก 10 นาทีหรือน้อยกว่านั้น
  • มีมูกเลือดออก ร่วมกับมีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดถ่ายอุจจาระ หรือคล้ายจะมีประจำเดือนมา
  • มีน้ำเดิน โดยอาจมีปวดท้องหรือไม่ก็ได้ ซึ่งเป็นน้ำออกมาสีคล้ายน้ำปัสสาวะปริมาณมาก ทั้งที่ไม่ได้ปัสสาวะ
  • ลูกดิ้นน้อยลง ทั้งนี้หมายถึงจำนวนครั้งใน 12 ชั่วโมงน้อยกว่า 10 ครั้ง ไม่รวมความแรงเบา เพราะหากคุณแม่มีหน้าท้องหนา หรือท้องอืด อาจรู้สึกลูกดิ้นเบาได้
  • มีอาการบ่งถึงภาวะครรภ์เป็นพิษ เช่น ตัวบวมมากผิดปกติ ปวดศีรษะบริเวณขมับ ลักษณะปวดตุ๊บๆ จุกแน่นยอดอกคล้ายเหมือนมีหินมาทับ หรือตาพร่ามัว
  • มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว ปวดหลัง ปวดเจ็บในท้อง ซึ่งอาจมีการติดเชื้อในถุงน้ำคร่ำ
  • มีเลือดสดๆ ออกทางช่องคลอด ซึ่งอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ และอาจมีลูกดิ้นน้อยลงด้วย ต้องระวังเลือดออกจากภาวะรกเกาะต่ำหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด

 


บทความอื่นๆ ที่สนใจ 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 36 

พัฒนาการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 38 

 

อ้างอิง

บทความโดยแพทย์หญิง ธิศรา  วีรสมัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้าน สูตินรีเวช เวชศาสตร์ครอบครัว 
และเวชศาสตร์ชะลอวัย โรงพยาบาลพญาไท 1

แชร์ได้เลย

บทความแนะนำ

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูก อยู่ ท่าไหน

ผ่าคลอดดีไหม ผ่าคลอดเจ็บไหม ดูแลแผลผ่าคลอดอย่างไร

ไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ผ่าคลอด พร้อมคำแนะนำต่างๆ เพื่อเตรียมพร้อมให้คุณแม่มั่นใจเมื่อผ่าคลอด

  • คัดลอกลิงค์

    https://www.s-momclub.com/c-section-benefit

  • แชร์ได้เลย

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูก อยู่ ท่าไหน

แม่ท้องพร้อม! วิธีดูแลครรภ์ จัดการกับความกังวล เข้าใจอาการคนท้อง

เคล็ดลับการดูแลครรภ์ วิธีจัดการกับความกังวล รวมไปถึงการรับมือกับอาการคนท้อง

  • คัดลอกลิงค์

    https://www.s-momclub.com/all-about-pregnancy

  • แชร์ได้เลย

ท้อง 37 สัปดาห์ ลูก อยู่ ท่าไหน

ฤกษ์ผ่าคลอด 2565 ฤกษ์คลอด ฤกษ์มงคล เสริมดวงลูกรัก

ฤกษ์ดีผ่าคลอด ปี 2565 การกำหนด ฤกษ์ผ่าคลอด หรือ ฤกษ์คลอด ควรทำควบคู่ไปกับการขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ทำคลอดด้วย เพราะหากผู้ปกครองดื้อรั้นกำหนดวันคลอดเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นอกจากจะไม่ได้รับอนุญาตให้คลอดในวันดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ไปตลอดชีวิตอีกด้วย

  • คัดลอกลิงค์

    https://www.s-momclub.com/articles/labor/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%94

    ตั้งครรภ์37สัปดาห์มีอาการอะไรบ้าง

    เมื่อเข้าใกล้ระยะคลอด นั่นคือ 37 สัปดาห์เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกว่าท้องลดต่ำลง เนื่องจากศีรษะเด็กจะเคลื่อนต่ำลงสู่ช่องเชิงกราน คุณแม่จะรู้สึกว่าหายใจคล่องขึ้น รับประทานอาหารไม่ค่อยแน่นท้อง แต่ขณะเดียวกันจะรู้สึกปวดถ่วงในอุ้งเชิงกราน ท้องเกร็งแข็งบ่อยขึ้น ๆ ปัสสาวะบ่อย เท้าจะบวม ลุกนั่งลำบาก เป็นตะคริวที่ขาบ่อยขึ้น ...

    37 สัปดาห์เร่งคลอดได้ไหม

    ตัวอ่อนวัย 37 สัปดาห์ยังถือว่าอยู่ใน “ช่วงใกล้คลอดระยะแรก” เท่านั้น นั่นหมายความว่าคุณหมอจะไม่แนะนำให้เร่งคลอดหรือผ่าตัดคลอดในตอนนี้นะคะ เพราะในสัปดาห์นี้ตัวอ่อนยังต้องการเวลาอีก 2 - 3 สัปดาห์เพื่อให้การพัฒนาสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน ถ้าคุณแม่เจ็บท้องคลอดเอง ถือว่าดีค่ะ แต่ไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่คุณแม่จะต้องเร่งนะคะ อดทนอีก ...

    ปวดท้องจะคลอดเป็นแบบไหน

    อาการเจ็บท้องคลอด คุณแม่ที่เจ็บครรภ์จริงจะมีอาการปวดร่วมกันกับมีการหดรัดตัวของมดลูก อาการปวดนี้คล้ายคลึงกับอาการปวดประจำเดือน แต่จะปวดที่บริเวณมดลูกทั้งใบ อาการปวดทวีระดับความรุนแรง (severity) เพิ่มขึ้น ช่วงเวลาระหว่างการปวดแต่ละครั้ง (interval) สั้นลงเรื่อยๆ เช่น จากเจ็บทุกๆ 2-3 ชั่วโมง เป็นทุกๆ ชั่วโมง เป็นทุก 30 ...

    กระตุ้นปากมดลูกกี่วันถึงจะคลอด

    โดยทางสถิติแล้ว ความสำเร็จของวิธีการกวาดปากมดลูกอยู่ที่ 24% ซึ่งจะมีประสิทธิภาพกับคุณแม่ที่มีแนวโน้มจะเจ็บครรภ์ภายใน 48 ชั่วโมง คุณแม่ส่วนใหญ่คลอดลูกหลังจากที่กวาดปากมดลูกแล้วภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากคุณแม่ไม่เกิดอาการเจ็บครรภ์ภายใน 36 ชั่วโมงก็สามารถกวาดปากมดลูกซ้ำได้ค่ะ