How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

🎬 ก็มาถึงภาคสามกันแล้วนะครับ สำหรับแอนิเมชั่นไวกิ้งพิชิตมังกรค่าย DreamWorks ครั้งนี้ก็ว่าด้วยเรื่องราวของ ไวกิ้งหนุ่ม ฮิคคัพ ที่ตอนนี้ได้รับตำแหน่งผู้นำของเผ่า ทุกคนอยู่ร่วมกับมังกรอย่างสงบสุข แต่พักหลังมันชักมาอยู่กันเพียบจนล้นเกาะเบิร์ก ฮิคคัพเลยต้องออกตามหา เกาะของเหล่ามังกรในตำนานที่ซ่อนเร้นเพื่อหาที่อยู่ใหม่ให้มังกรพวกนี้

แต่ระหว่างทางมิตรภาพระหว่าง ฮิคคัพ และเขี้ยวกุดก็ถูกทดสอบอีกครั้ง เมื่อทั้งคู่เจอมังกรตัวเมียสีขาวผ่อง แถมยังสายพันธุ์เดียวกับเขี้ยวกุด งานติดหญิงมากกว่าเพื่อนก็มาเยือนจนได้ เขี้ยวกุดหลงสเน่ห์มังกรสาวหัวปักหัวปำ

ฮิคคัพถึงจะว้าเหว่ใจกับเขี้ยวกุดที่เริ่มห่างเหิน แต่ก็ยังคงค้นหาเกาะนั้นต่อไป และพบว่าเขาไม่ใช่คนเดียวที่กำลังหาเกาะมังกรในตำนานที่ว่า แต่ยังมีคู่แข่งอย่าง กริมเมลล์ นักล่ามังกรมาเป็นกว้างขวางคอ ทว่าจุดประสงค์เขานั้นต่างไปโดยสิ้นเชิง เขาต้องการสังหารล้างเผ่าพันธุ์มังกรทั้งหมดไม่เว้นแม้แต่เพลิงนิล ไวกิ้งหนุ่มจึงต้องค้นหาเกาะให้เจอก่อน กริมเมลล์ และหาทางปกป้องบ้านเกิดของตนก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

(+) คงกลิ่นอายภาคก่อนไว้พอสมควร ยังรู้สึกถึงฟิลลิ่งเดิมๆของเกาะเบิร์ก และตัวละครที่เคยรู้จัก

(+) งานภาพเกือบจะไร้ที่ตินะในความเป็นสไตล์ของทุกภาค ภาคนี้ดูลงทุนสุด พวกเอฟเฟคแสงสี ทั้งหมอก ไฟ ระเบิด ก้อนเมฆ พายุ คือสมจริงมาก ยิ่งฉากในถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยนี่นึกว่าของจริงเลย

(+) เสียงดนตรีไพเราะดึงอารมณ์ได้ดีตามฉบับ John Powell ที่ทำดนตรีให้เรื่องนี้ตั้งแต่ภาคแรก

(+) หนังให้ประเด็นข้อคิดที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น อย่างมิตรภาพ การจากลา และการเป็นผู้นำ

(+) หนังแฝงมุกตลกฮาๆ แก้เครียดไว้เยอะ ก็ฮาบ้างแป้กบ้างปนๆกันไป ส่วนใหญ่ตลกเพราะท่าทางตัวละครมากกว่าคำพูด ที่ฮาพีคที่สุดต้องยกให้คู่หูมังกรสองหัว รัฟนัท และทรัฟนัท ถ้าขาดไปนี่หนังมีกร่อยแน่ๆ

(+) มีการใส่มุมน่ารักของตัวละครหลักเข้ามาเต็มเปี่ยม ระเบิดความจิ้นเคอะเขินกันได้อีกหลายลำเรือ ทั้งคู่เพลิงนวล - เพลิงนิล และฮิคคัพ-แอสทริด ก็น่ากรี๊ดกันทั้งนั้น

(+) ชอบการดีไซน์ดินแดนลับแลของมังกร มีความสวยงามแฟนตาซีมาก ถึงจะมีการรีโมเดลฉากรังมังกรจากภาคแรกเยอะ และพาไปชมวิวได้ไม่นานพอจะดื่มดำก็ตาม

(+) พวกแอนิเมชั่นการเคลื่อนไหวทำได้เนียนตาดี ทั้งคนทั้งมังกร โดยเฉพาะมังกรหลักสองตัว ทีมงานทำการบ้านมาดีมากมีการผสม นิสัย ท่าทางของแมวบ้านเข้าไป แม้แต่การจีบกันของมังกร ก็มีอ้างอิงลีลาท่าทางเกี้ยวพาราสีจากสัตว์อื่น

(+) หนังดำเนินเรื่องเน้นดูได้เรื่อยๆ เพลินๆไม่น่าเบื่อ แต่ก็ไม่ถึงกับสนุกมาก หรือพีคตรงจุดไหนเป็นพิเศษ

(+) ฉากแอ็คชั่นมันส์และลุ้นใช้ได้ แต่ไม่ถึงกับ epic เท่าไหร่ ดูไม่ใช่การต่อสู้ปิดตำนาน

(+) ชอบตรงฉากย้อนอดีตฮิคคัพตอนเด็กกับพ่อ ดูอบอุ่นและชวนยิ้มอิ่มหัวใจดี

(-) มีการเอาโมเดลเดิมมารีไซเคิลเยอะเกินไปจนเห็นชัด อย่างเพลิงนวล และชาวไวกิ้ง ที่ดูก็อปวางมากไปหน่อย ไม่ปรับเปลี่ยนเท่าไหร่

(-) หลายจุดเล่าเรื่องไม่ค่อยต่อเนื่อง เหตุการณ์ดูปุบปับรีบเล่าเกินไปหน่อย จนไม่มีฉากไหนที่อินเป็นพิเศษ

(-) ดีไซน์มังกรตัวใหม่ๆดูพิลึกกึกกือยิ่งกว่าภาคสอง หนังดูไม่ค่อยตั้งใจทำในส่วนนี้สักเท่าไหร่ ยิ่งมังกรลูกผสมท้ายเรื่องเห็นได้ชัดว่าคนทำโมเดลรีบขนาดไหน

(-) ความสมเหตุสมผลเรียกได้ว่า ภาคนี้เทกระจาดอย่างน่าใจหาย แต่ละประเด็นของหนังดูไม่หนักแน่น ไม่มีอิมแพค การกระทำตัวละครยังไม่มีอะไรรองรับเท่าที่ควร

(-) ไม่รู้สึกถึงมิตรภาพของฮิคคัพเขี้ยวกุดมากนัก เทียบกับภาคก่อนๆ ไม่ค่อยลึกซึ้ง ไม่พีคสมกับที่รอคอย เขี้ยวกุดแม่งเจอตัวเมียปุ้บแทบไม่หันกลับมามอง เหมือนขาดฮิคคัพก็ได้ เจอก็ดีไรงี้

(-) การจากลาของฮิคคัพและเขี้ยวกุดยังไม่ซึ้งกินใจเท่าที่ควร กลับเป็นซีนที่อิมแพคน้อยที่สุดในหนัง และห่างไกลจากคำว่าเสียน้ำตามากๆ

(-) ตัวร้ายแกเหมือนจะมาเหนือนะภาคนี้ ดูมีสมองกว่าชาวไวกิ้งทั่วไป แต่คำพูดคำจาค่อนข้างหน่อมแน้ม และตอนสู้จริงก็ไม่เก่งเหมือนราคาคุย เป็นพวกลอบกัดซะมากกว่า เหตุผลที่ทำก็ไม่มี เป็นตัวละครที่มีมิติน้อยมากๆ

\===================

✅ โดยรวมเอาไป 7/10 แล้วกัน ถึงเนื้อเรื่องจะเล่าง่ายไปหมดแต่ก็ยังดูได้เรื่อยๆ ไม่น่าเบื่อ งานภาพสวยมาก แอนิเมชั่นการเคลื่อนไหวทำการบ้านมาดี ฉากฮาก็มีทั้งเสียงหัวเราะและความแป้กผสมกันไป ชอบฉากมังกรขาวตอนอยู่กับเขี้ยวกุดเคมีเข้ากันดี แอทริดตอนอยู่กับพระเอกก็น่ารักมุ้งมิ้ง ดูแล้วหายคิดถึงอยู่เหมือนกัน

แต่ในฐานะคนที่ตามดูตั้งแต่ภาคแรก ต้องบอกตามตรงว่าค่อนข้างผิดหวังนิดๆ กับภาคจบอันนี้ รู้สึกว่ายังไม่ใช่สิ่งที่รอคอยมาตลอดสี่ปี มิตรภาพระหว่างฮิคคัพและเขี้ยวกุดยังเลือนลาง และเหตุผลในหลายๆจุดก็ดูเผาเอามากๆ เนื้อเรื่องเหมือนรีบดึงให้จบเร็วไปหน่อย เหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นปุบปับ และเล่นมุกซ้ำเดิมค่อนข้างเยอะเลย

สำหรับใครที่เป็นแฟนตามมาตั้งแต่ภาคแรกเหมือนแอด ยังไงก็คงแนะนำให้ไปดู แค่ได้เห็นฉากปิดตำนานก็คุ้มแล้ว แต่ถ้าใครไม่เคยเลยสักภาค ก็พอข้ามได้ เพราะอาจไม่ค่อยอิน และมีงงกับตัวละครแน่ๆ

แต่งานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา เพราะภาพยนตร์ภาค 3 "How to Train Your Dragon: The Hidden World" ถูกทางผู้สร้างประกาศให้เป็นการผจญภัยบทสุดท้ายของพระเอกหนุ่มไวกิ้งชื่อพิลึก 'ฮิคคัพ' กับเพื่อนซี้มีปีกพ่นไฟได้ของเขาเจ้า 'เขี้ยวกุด'

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

เนื่องจากภาคสุดท้ายห่างภาคแรกเกือบ 10 ปี และโลกของอภินิหารไวกิ้งพิชิตมังกรก็ได้รับการขยายความไปมากพอสมควร จึงขอถือฤกษ์ยามอันเหมาะควร ชวนทั้งผู้รู้จักมักคุ้นแฟรนไชส์ และคนที่ไม่เคยสัมผัสภาพยนตร์ชุดนักรบไวกิ้งขี่มังกรเลย มาสำรวจตรวจสอบดูกัน ว่าภาพรวมของจักรวาลนี้นั้นเป็นเช่นไร

ไวกิ้ง (Viking)

ก่อนอื่นเท้าความถึงชาวไวกิ้งหน่อย ตามประวัติศาสตร์โลกแห่งความเป็นจริงพวกเค้าคือชาวเหนือ (Northman บ้างก็เรียก Norseman) ของภูมิภาคสแกนดิเนเวีย (แถวๆ ประเทศนอร์เวย์, สวีเดน และเดนมาร์ก) ที่เก่งกาจสามารถด้านแล่นเรือ, สู้รบ และบุกปล้นชาวบ้าน ชาวไวกิ้งแผ่ขยายอำนาจสร้างอาณานิคมในแดนยุโรปเป็นวงกว้างในช่วงศตวรรษที่ 9-11

เรื่องเกี่ยวกับไวกิ้งอย่างหนึ่งซึ่งผู้คนมักเข้าใจผิดกัน คือหมวกเกราะของพวกเขานั้นมีเขาโง้งยาวงอกออกมา ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นความผิดของคาร์ล อีมิล เดพเลอร์ (Carl Emil Doepler) ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายให้ละครโอเปราเรื่อง Der Ring des Nibelungen ของริชาร์ด วาร์กเนอร์ ในปี 1876

เดพเลอร์ผู้เป็นชาวเยอรมัน ออกแบบหมวกเกราะให้มีลักษณะดังกล่าว เพราะใส่อิทธิพลจากวัฒนธรรมบ้านเกิดผสมลงไป จากนั้นมันก็กลายเป็นภาพจำของผู้คน ส่งอิทธิพลต่อเนื่องตามหลังมาอีกหลายยุคสมัย

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

ไวกิ้งใน How to Train Your Dragon สวมหมวกเกราะเขายาว

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

สื่อบันเทิงยุคหลังตรงตามประวัติศาสตร์มากขึ้น ภาพจากเกม Mount & Blade แสดงให้เห็นชาวไวกิ้งกับหมวกเกราะที่ไม่มีเขาโง้งยาว

ส่วนฉบับการ์ตูนเรื่องนี้ พวกเค้าคือเผ่านักรบที่เก่งกาจด้านแล่นเรือ และอึดถึกทนทายาด เคยตั้งถิ่นฐานปักหลักรบราฆ่าฟันกับเหล่ามังกรอยู่เนิ่นนาน ก่อนฮิคคัพ/หนุ่มไวกิ้งผู้ไม่เหมือนไวกิ้งคนใด จะเปลี่ยนแปลงสร้างยุคสมัยที่อยู่ร่วมกับมังกร

หมู่เกาะของพวกคนเถื่อน (Barbaric Archipelago)

สังเกตเห็นได้ว่าดินแดนอาศัยของเหล่าตัวละครใน How to Train Your Dragon เอง ก็รับเอาแรงบันดาลใจจากภูมิประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่เป็นถิ่นพวกไวกิ้งของจริงมา เพราะมีเกาะแก่งหลายแห่งที่ผืนทะเลและน้ำแข็งล้อมรอบ ประกอบกับภูมิอากาศหนาวเย็นเป็นส่วนมาก

ตัวเอกหลักฮิคคัพ และเพื่อนพ้องร่วมเผ่าอาศัยอยู่ที่เกาะชื่อ 'เบิร์ค' พวกเขาลงปักหลักตั้งถิ่นฐานบนเกาะแห่งนั้นนาน 7 ชั่วอายุคนก่อนยุคพำนักร่วมกับมังกรมาเยือน และจากการสำรวจของฮิคคัพ เบิร์คเป็นเพียงส่วนเล็กๆ บนดินแดนกว้างใหญ่ที่เผ่าคนเถื่อนอีกหลายพวก นอกจากของเขากระจายตัวกันอยู่

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

มังกร (Dragon)

สัตว์ในจินตนาการรูปลักษณ์คล้ายสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งปรากฏตามเรื่องเล่าต่างๆ มาตั้งแต่ยุคโบราณ ทั้งในวัฒนธรรมของซีกโลกตะวันตกและตะวันออก โดยขนาดและรูปลักษณ์แตกต่างไปตามเรื่องเล่า

ในทางตะวันออก (จีน) นั้น มังกรหน้าตาคล้ายงูและไม่มีปีกแต่บินได้ แถมมีสถานะสูงส่งเฉกเช่นเทพเจ้า ส่วนทางตะวันตก (เช่น ยุโรป) มักมองมังกรเป็นสัตว์ร้ายทรงพลังที่ต้องกำจัด มีทั้งปีกสำหรับโผบิน, เกล็ดหนาเสมือนเกราะหุ้มตัว และความสามารถในการพ่นไฟ (หรือบางครั้งก็มีอำนาจเวทมนตร์)

ดูเหมือนลักษณะของเหล่ามังกรใน How to Train Your Dragon ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตกเต็มๆ ยกเว้นคติที่มังกร = ศัตรูมนุษย์ และได้รับการจินตนาการต่อยอด เสริมเติมแต่งคุณลักษณะเพิ่มอีกสารพัดรูปแบบแยกย่อย ซึ่งจำแนกได้เป็น 7 ประเภท (Class) หลักๆ ดังนี้

[1] เพลิงระอุ (Stoker)

โดดเด่นด้านลมหายใจไฟแรงสูงที่อันตรายเหลือล้ำ ภาพจำของมังกรประเภทนี้คือชนิดที่เรียกว่า 'พญาเพลิงพิฆาต'

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

[2] ดุจศิลา (Boulder)

กายภาพแข็งแกร่งทนทายาดตามชื่อ รับประทานก้อนหินเป็นอาหาร เช่น พวก 'แหนมคึก' หรือเจ้า 'กระซิบสั่งตาย'

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

แหนมคึก

[3] เขย่าขวัญ (Fear)

พวกนี้เคลื่อนไหวเงียบเชียบและอันตรายถึงตาย ชนิดที่โดดเด่นคือ 'ซิปสองหัว' ซึ่งหัวนึงจะพ่นแก๊สออกมา ส่วนอีกหัวจุดประกายไฟ ทำให้สร้างม่านเพลิงได้ง่ายๆ

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

[4] แหลมคม (Sharp)

มังกรประเภทที่มีอวัยวะแหลมคมบนร่าง สำหรับใช้ทิ่มแทงหรือเฉือนตัด เช่น 'ไพรพินาศ' ซึ่งใช้ปีกกรีดตัดต้นไม้ให้ขาดสะบั้นได้ หรือ 'เพลิงเมฆา' ที่สลัดหนามจากร่างกายเข้าทิ่มแทงเหยื่อ

How to train your dragon 3 ม งกร ขาว

เพลิงเมฆา

[5] คลื่นวารี (Tidal)

กลุ่มมังกรที่ใช้ชีวิตใต้ผืนน้ำ เช่น 'กลองอัสนี' ที่ปล่อยคลื่นเสียงมรณะยามตกใจ หรือ 'พญาเดือด' ซึ่งพ่นละอองน้ำร้อนเข้าใส่เหยื่อ