ตัวอย่าง ความ รับผิดชอบ ต่อ สังคม ของ ธุรกิจ

โครงการทำประโยชน์เพื่อสังคมแนวความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) เป็นโครงการที่ไม่มีการบังคับทางกฎหมาย โดยจุดประสงค์คือมุ่งเน้นให้ผู้บริหารและคนในองค์กรเกิดจิตสำนึกร่วมกัน ถือว่าเป็นโครงการที่ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร และ ยังทำให้เกิดการเข้าถึงพนักงานมากขึ้น

ในปัจจุบัน การทำ CSR ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่อยู่คู่กับการทำธุรกิจในปัจจุบัน โดยการทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นถือเป็นการสร้างความไว้วางใจ ความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงการสร้างภาพลักษณ์ และการสนับสนุนในการทำสิ่งต่างๆเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมที่องค์กรใหญ่ๆหันมาให้ความสำคัญอย่างจริงจัง

วันนี้เราจะพาไปส่องดู 4 องค์กรใหญ่ที่มีการทำ CSR ที่น่าสนใจ มาให้ศึกษากัน

1. โรงแรม Sivatel Bangkok : “ Clean Green Smart ”

โรงแรมชื่อดังย่านเพลินจิต ที่มีแนวคิดในการบริหารโรงแรมให้เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม จุดยืนของโรงแรมเน้นเรื่องของการใช้ชีวิตและความเป็นอยู่ โดยยึดหลักในการทำธุรกิจคือ “ Clean Green Smart ” ด้วยการสร้างพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่ของโรงแรมและช่วยเหลือชุมชนโดยนำผลิตภัณฑ์จากชุมชนเกษตรอินทรีย์ Organic มาใช้ในโรงแรมทั้งส่วนของห้องอาหารและห้องพัก นอกจากนี้ยังจัด Organic mart จำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรและชุมชนทั่วไทยมาขายภายในโรงแรมซึ่งถือว่าเป็นอีกทางที่จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านเป็นที่รู้จักและยังสร้างมูลค่าให้สินค้าได้อีกทางหนึ่ง

2. เซ็นทรัลกรุ๊ป : โครงการ “เซ็นทรัล ทำ”

เป็นโครงการเพื่อช่วยพัฒนาสังคม เพื่อช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ ช่วยสนับสนุนชุมชน และ กลุ่มคนพิการ ซึ่งโครงการเซ็นทรัล ทำ มีการใช้วิธีที่ทำให้สอดคล้องกับความยั่งยืน และ สามารถนำไปปรับใช้ได้จริง โดยได้รับความร่วมมือจากทั้งพนักงาน ประชาชน และ ภาคีเครือข่าย ซึ่งก็มีโครงการที่น่าสนใจมากมาย เช่น โครงการศูนย์ Contact Center สำหรับคนพิการ เป็นโครงการที่เปิดโอกาสให้คนพิการมีงานทำและมีรายได้ และยังช่วยพัฒนาฝีมือให้กับคนพิการโดยการผ่านการส่งเสริมในการประกอบอาชีพตามจังหวัดต่างๆ ที่มีคนพิการเข้าไปร่วมงานด้วย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้มองเห็นความสามารถของคนพิการ และ สร้างอาชีพที่มั่นคง ได้ทำงานในพื้นที่ที่เหมาะสมและเป็นการส่งเสริมให้เกิดการจ้างงานคนพิการในอนาคต

3. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล : โครงการรักษ์ใจไทย ผ่าตัดหัวใจผู้ยากไร้/คลินิกเคลื่อนที่

นอกจากจะมีหน้าที่ช่วยเหลือ รักษาอาการเจ็บป่วยแล้ว ทางโรงพยาบาลได้ให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆ ทางโรงบาลมีการช่วยเหลือผู้คนมากมายผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการรักษ์ใจไทย ผ่าตัดหัวใจผู้ยากไร้ เป็นโครงการที่ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่เป็นโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด โครงการคลินิกเคลื่อนที่กองทุนทอมสัน เป็นโครงการคลินิกเคลื่อนที่กองทุนทอมสันออกให้บริการรักษาพยาบาลโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแก่ชุมชนด้อยโอกาส และยังมีอีกมากมาย โดยทางโรงพยาบาลได้ให้ความสำคัญต่อชีวิตผู้คนและยังใช้จุดแข็งขององค์กรให้เกิดประโยชน์ในทางที่ดี

4. บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) : โครงการ GC รวมพลังรักษ์น้ำ

โครงการ GC รวมพลังรักษ์น้ำ จัดขึ้นโดยบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTT

มีวัตถุประสงค์เพื่อปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ชุมชน และช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ไปจนถึงการร่วมมืออนุรักษ์แหล่งน้ำ และ แนะนำให้ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า

โดยจัดทำในชุมชนพื้นที่จังหวัดระยองตั้งแต่ปี 2560 โครงการนี้ได้ดำเนินการโดยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างฝายเก็บน้ำด้วยกระสอบพลาสติก การส้รางฝายชะลอน้ำด้วยวัสดุธรรมชาติ การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ภัยแล้ง และน้ำท่วมขัง ให้แก่เกษตรกรชาวสวน ติดตั้งระบบน้ำดื่มด้วยเครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) พร้อมด้วยถังน้ำ InnoPlus ให้โรงเรียนในพื้นที่

บริษัท วรรณภพ จำกัด ประกอบกิจการปรับปรุงคุณภาพข้าวสารเพื่อการส่งออก มีความมุ่งมั่นบริหารงานและดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบในด้านต่างๆที่เกิดจากการประกอบกิจการขององค์กร โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า พนักงาน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และสังคมรอบข้างอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานชุมชนและสังคมรอบข้างอย่างยั่งยืน

บริษัทฯจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น โดยดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส และปฎิบัติสอดคล้องตามกฏหมาย ตอบแทนสังคมโดยการสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้ เพื่อให้ทุกคนได้มีความรู้ ความสามารถในการดำรงค์ชีพดูแลรับผิดชอบครอบครัว รวมถึงสนับสนุน การสร้างจิตสำนึกให้พนักงานเป็นพลเมืองที่มีจริยธรรมสูงและตระหนักถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกโรงงานอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่าง ความ รับผิดชอบ ต่อ สังคม ของ ธุรกิจ

ตัวอย่าง ความ รับผิดชอบ ต่อ สังคม ของ ธุรกิจ

ความรับผิดชอบของบริษัทต่อสังคม

บริษัทกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินธุรกิจไว้หลายประการ CSR หรือความรับผิดชอบของบริษัทต่อสังคม นับเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์หลักของบริษัทเพื่อให้บริษัทดำเนินธุรกิจ ด้วยความรับผิดชอบ ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้าและเจ้าหนี้ ตลอดจนสิ่งแวดล้อม สังคม และชุมชนใกล้เคียงที่ทรัพย์สินของบริษัทตั้งอยู่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน บริษัท จึงได้ กำหนดแนวทางและหลักในการทำงาน และข้อควรปฏิบัติต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไว้ดังต่อไปนี้

1. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น

  • ผู้ถือหุ้นของเรามีความมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจอย่างมั่นคง พันธสัญญาของเราคือการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้กับผู้ถือหุ้นเพื่อให้ผู้ถือหุ้นนำผลตอบแทนนั้นกลับมาลงทุนในบริษัทเราอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ขยายธุรกิจ รวมถึงจูงใจและรักษาคนของเราได้
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสามารถและความระมัดระวังเยี่ยงวิญญูชน ผู้ประกอบธุรกิจพึงกระทำภายใต้สถานการณ์อย่างเดียวกัน
  • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริต และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่และรายย่อยและเพื่อผลประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้องโดยรวม
  • จัดการดูแลไม่ให้ทรัพย์สินของบริษัทต้องสูญค่าหรือสูญเสียไปโดยไม่เกิดประโยชน์
  • รายงานสถานะและผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างถูกต้องสม่ำเสมอและครบถ้วนตามความเป็นจริง
  • ไม่เปิดเผยสารสนเทศที่เป็นความลับของบริษัทต่อผู้อื่นโดยมิชอบ
  • ไม่ดำเนินการใด ๆ ในลักษณะซึ่งก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทโดยมิได้แจ้งให้บริษัททราบ
  • เคารพสิทธิ และความเท่าเทียมกันของผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติ ให้ได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน

2. ความรับผิดชอบต่อพนักงาน

  • พนักงานของเราคือทรัพย์สินที่มีค่ามากที่สุดในองค์กร ดังนั้นเราจะยกระดับศักยภาพและคุณภาพชีวิตของพนักงานเราอย่างต่อเนื่อง เราให้คุณค่ากับความหลากหลายในองค์กร ทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับการศึกษาทุกสัญชาติและทุกเชื้อชาติ จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน พนักงานของเรายึดมั่นคุณธรรมที่สูงสุดทั้งในงานและชีวิตส่วนตัว พนักงานของเราพร้อมที่จะทุ่มเทให้กับองค์กรด้วยความเต็มใจ
  • กำหนดโครงสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมสอดคล้องกับอัตราตลาด ตามความรู้ความสามารถ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน และพฤติกรรม ผ่านกระบวนการประเมินตั้งแต่ระดับฝ่าย ส่วนงาน จนถึงรายบุคคล การประเมินผลตามลักษณะงาน ซึ่งเป็นการประเมินผลงานทั้งในเชิงทักษะ และเชิงพฤติกรรม (CSB - Competency Skill Behavior) ในลักษณะ 360 องศา โดยให้ผู้บังคับบัญชาประเมินผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาประเมินผู้บังคับบัญชา และการประเมินตนเองทุกระดับ
  • ปรับปรุงและจัดหาสวัสดิการที่ดี และประโยชน์อื่นที่เหมาะสม เช่น การประกันอุบัติเหตุสำหรับพนักงาน และผู้บริหารที่เดินทางไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ การให้วงเงินค่ารักษาพยาบาลคนไข้นอกตามระเบียบสวัสดิการบริษัท การจัดรถรับส่งพนักงาน การให้ทุนการศึกษา และการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น
  • การให้รางวัลและการลงโทษต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง และกระทำด้วยความสุจริต
  • ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิต สุขภาพอนามัย ทรัพย์สิน และเอื้อประโยชน์ในการทำงาน

3. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า

ลูกค้าของเรามีความต้องการคุณภาพและบริการที่สูงมาก และความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ดังนั้นเราต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ลูกค้าของเราคือบริษัทระดับโลก ดังนั้นเราจึงต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลทัดเทียมกับลูกค้าของเรา ธุรกิจของเราเป็นธุรกิจที่แข่งขันสูงมาก ดังนั้นเราต้องไม่หยุดที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและจริงใจกับลูกค้าของเราทุกระดับ เราคือทุกคำตอบของลูกค้า โดยการปฏิบัติดังต่อไปนี้

  • กำหนดนโยบายการตั้งราคาที่ยุติธรรม และเหมาะสม
  • การพิจารณาเงื่อนไขทางการค้า การเจรจาทางธุรกิจ ไม่มีรายการใดเป็นพิเศษโดยยึดหลักเสมือนกับการทำรายการกับบุคคลภายนอก (Arm’s Length Basis) ทุกรายการ
  • จัดหาและปรับปรุงระบบการให้บริการที่เหมาะสม และเป็นไปตามเงื่อนไขทางการค้า
  • จัดทำสัญญาที่เป็นธรรมกับลูกค้า (ไม่ทำให้ลูกค้าเสียประโยชน์ หรือมีข้อเสียเปรียบในทางการค้า)
  • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง และเป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้องครบถ้วน ทันเวลา และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
  • รักษาสารสนเทศที่เป็นความลับของลูกค้าเสมือนหนึ่งสารสนเทศของบริษัท และไม่นำไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
  • ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า

4. ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า

  • ผู้ส่งมอบของเราคือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ ดังนั้นเราต้องมุ่งเน้นการพัฒนาผู้ส่งมอบในด้านคุณภาพ ต้นทุนและการส่งมอบที่ตรงเวลา เราจะดำเนินธุรกิจต่อกันและกันอย่างซื่อสัตย์และยุติธรรม
  • เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรม โดยกำหนดวิธีการจัดซื้อว่าจ้างทำของ และบริการที่เหมาะสม เน้นความโปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ได้แก่ วิธีตกลงราคา วิธีสอบราคา วิธีประมูลงาน วิธีพิเศษ และวิธีจัดซื้อจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนทั่วไป มีการออกแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมประมูลงานเพื่อปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อ ว่าจ้างทำของและบริการอยู่เสมอ
  • ไม่เจาะจงผลิตภัณฑ์ หรือพยายามเลือกสรรคุณลักษณะที่โน้มเอียงไปทางผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่งอย่างจงใจ นอกจากจะมีเหตุผลสนับสนุนความจำเป็นอย่างเพียงพอกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ หรือคุณลักษณะเฉพาะของตัวผลิตภัณฑ์ จะต้องบอกกล่าวให้ผู้ค้าทราบ และหากจำเป็นต้องให้เสนอราคาใหม่ ผู้เสนอราคารายเดิมจะต้องได้รับโอกาสในการเสนอราคาอย่างเท่าเทียมกัน
  • ต้องเลือกสรรผู้เสนอราคาที่ดี และสนใจต่อการเสนอราคาอย่างแท้จริง ไม่เชิญผู้เสนอราคาเพียงเพื่อให้ครบจำนวนตามระเบียบ และผู้เสนอราคาทุกรายต้องได้รับรายละเอียด ข้อมูล และเงื่อนไขอย่างเดียวกันเป็นลายลักษณ์อักษร กรณีมีการบอกกล่าวด้วยวาจา จะต้องมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง
  • ผู้บริหาร หรือพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ ว่าจ้างทำของ และบริการต้องเปิดเผยข้อมูล และ/หรือ ลักษณะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลของตนเอง คู่สมรสญาติสนิท หรือมีความสัมพันธ์ส่วนบุคคลกับผู้เสนอราคารายใดรายหนึ่งที่ส่งผลให้ เกิดความไม่โปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่โดยตรง และให้แสดงความรับผิดชอบโดยการไม่อยู่ร่วมในกระบวนการพิจารณาตัดสินชี้ขาด
  • ไม่เรียก ไม่รับของขวัญ ของกำนัล การรับเลี้ยง ยกเว้นในโอกาสอันควรตามธรรมเนียมปฏิบัติ และละเว้นการให้ความชอบพอเป็นพิเศษจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นคิดว่าน่าจะเกิดความไม่ยุติธรรม โดยเฉพาะการทำให้ผู้ค้ารายอื่นเกิดความเข้าใจผิดและ ไม่ต้องการร่วมเสนอราคา และอาจนำไปบอกกล่าวจนทำให้บริษัทเสียภาพพจน์
  • จัดทำสัญญาที่เป็นธรรม และปฏิบัติตามข้อตกลงที่มีต่อคู่ค้า กรณีที่คาดว่าจะไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องรีบเจรจากับคู่ค้าโดยเร็ว เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย
  • ละเว้นการกระทำใด ๆ ที่ช่วยให้คู่ค้าไม่ต้องเสียภาษีที่พึงจะเสียให้กับรัฐ
  • เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ อย่างตรงไปตรงมา ถูกต้องครบถ้วน ทันเวลา และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง

5. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้นเป็นพันธกิจของเรา เราจะสนับสนุนให้พนักงานของเราเป็นพลเมืองที่มีจริยธรรมสูง เราจะตอบแทนสังคม โดยการสนับสนุนด้านการศึกษา การช่วยเหลือชุมชน และการบรรเทาทุกข์จากสาธารณภัย โดยบริษัท กำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน และมีแผนจัดทำโครงการเพื่อเสริมสร้างศักยภาพชุมชน โดยคณะกรรมการอนุมัติให้จัดสรรเงินงบประมาณ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์และตอบแทนชุมชน สังคม และ สิ่งแวดล้อม ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงบริษัท และชุมชนอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

6. การปกป้องและรักษาทรัพย์สินทางปัญญา

พนักงานทุกคนมีหน้าที่ในการปกป้องและรักษาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท ซึ่งรวมถึงนวัตกรรมความรู้หรือข้อมูลด้านเทคนิค การออกแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งสิทธิต่างๆ ที่เป็นกรรมสิทธิเฉพาะของบริษัท กำหนดแนวปฏิบัติในการส่งเสริมการเคารพต่อสิทธิในทรัพย์สิน ทรัพย์สินทางปัญญา และภูมิปัญญาท้องถิ่น

7. การคอรัปชั่น

การคอรัปชั่นเป็นปัญหาที่ร้ายแรงและเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการอย่างราบรื่นของบริษัทเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายก่อให้เกิดการสูญเสียทางการเงิน สะท้อนให้เห็นถึงการขาดความเห็นแก่ส่วนรวม ทำให้เสื่อมเสียศักด์ศรี และเกียรติยศของผู้อื่นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมด้วย นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไม บริษัท วรรณภพ จำกัด จึงห้ามการคอรัปชั่นในทุกรูปแบบไม่ว่าเวลาใดสถานที่ใด หรือในสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม

โดยสรุป การคอรัปชั่นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายและเป็นรูปแบบหนึ่งของการฉ้อโกง ซึ่งการคอรัปชั่นแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ โดยทั่วไปดังนี้ :

  • คอรัปชั่นแบบให้สินบน ประกอบด้วยการเสนอผลประโยชน์ให้ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อที่จะเบี่ยงเบนการตัดสินใจต่อ (ใบอนุญาต กฏหมาย การจัดหา การตลาด สัญญา เป็นต้น)
  • คอรัปชั่นแบบรับสินบน ประกอบด้วยการยอมรับผลประโยชน์เป็นการตอบแทนจากการมีอำนาจเบี่ยงเบนการตัดสินใจ การคอรัปชั่นแบบรับสินบนนี้อาจหมายรวมถึง การที่ต้องกระทำ โดยไม่ได้สมัครใจ และรวมไปถึงการกระทำที่อาจเกิดจากการถูกข่มขู่ก็ได้

การคอรัปชั่นเกิดขึ้นโดยผ่านทางการกระทำในรูปแบบต่างๆ เช่น เงินรางวัล คอมมิชชั่นของกำนัล หรือ เงินค่าตอบแทน การนำของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตน การยักยอกหรือติดสินบนต่อหน่วยราชการที่ให้บริการสาธารณะ เป็นต้น ในกรณีสุดท้าย เป็นตัวอย่างของการข่มขู่หรือถูกบังคับซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการคอรัปชั่น

การข่มขู่หรือถูกบังคับประกอบด้วยเงื่อนไขที่ได้รับสิทธิ์ (สัญญาหรือใบอนุญาต) หรือ การแลกกับการได้รับสิ่งตอบแทน หรือบีบบังคับเรียกร้องเงินเป็นครั้งคราวหรือเป็นประจำ เพื่อแลกกับการมิให้ถูกทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานในหน่วยงานราชการมากกว่าปกติ หรือแม้กระทั่งการข่มขู่ทางด้านร่างกายต่อบุคคลหรือครอบครัว บางครั้งการคอรัปชั่นอาศัยการใช้ตัวกลางทางธุรกิจ เช่นที่ปรึกษาทางธุรกิจเพื่อบังหน้าหรือปกปิด การกระทำดังกล่าวเพื่อเลี่ยงความผิดทางอาญา เพื่อป้องกันเหตุการณ์ดังกล่าว บริษัทฯได้ตั้งมาตรการการทำงานภายในที่บังคับใช้สำหรับการดำเนินการที่มีตัวกลางทางการค้า

8. การสนับสนุนกิจกรรมทางการเมือง

  • บริษัทให้ความสำคัญในการเป็นกลางทางการเมือง ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมและไม่ฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง หรือผู้มีอำนาจทางการเมืองคนใดคนหนึ่ง
  • บริษัทไม่นำเงินทุนหรือทรัพยากรของบริษัท ไปใช้ในการสนับสนุนแก่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  • บริษัทไม่มีส่วนร่วมในการหาเสียง หรือโฆษณาให้พรรคการเมืองหรือนักการเมืองใดๆ ในพื้นที่ของบริษัท รวมถึงไม่ใช้ทรัพยากรและทรัพย์สินของบริษัทในการนั้นๆ
  • บริษัทส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้บริษัทไม่มีนโยบายที่จะสนับสนุนทางการเงินไม่ว่าโดยทางตรงหรืองทางอ้อมแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดๆ เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองนั้นๆ
  • พนักงงานทุกระดับของบริษัท สามารถใช้สิทธิทางการเมืองที่พึงมี โดยเป็นการกระทำในนามของแต่ละบุคคล รวมทั้งไม่ใช้ตำแหน่งในบริษัท ชื่อ หรือตราบริษัท ชักจูงผู้อื่นให้จ่ายเงินอุดหนุน หรือให้การสนับสนุนแก่นักการเมืองหรือพรรคการเมืองใดๆ
  • ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมให้พนักงานใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
  • ห้ามดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการให้ข้อมูลที่ไม่เป็นจริง การข่มขู่ หรือการบีบบังคับ ที่เกี่ยวข้องกับการเมือง

9. สิทธิมนุษยชน

บริษัทระบุไว้ว่าการให้เกียรติบุคคลอื่น ถือเป็นหนึ่งในหลักจริยธรรมพื้นฐานของบริษัทด้วยเหตุนี้ บริษัทจึงเน้นเป็นพิเศษในกิจกรรมทุกอย่าง ด้วยความเคารพในการดำเนินงาน จิตวิญญาณ และสนธิสัญญาแห่งคำประกาศสิทธิมนุษยชนสากลปีค.ศ.1948 พนักงานถูกขอให้พิจารณาผลกระทบของการกระทำและการตัดสินใจของพวกเขาต่อผู้อื่น โดยไม่ละเมิดความสุจริต หรือเกียรติภูมิของพวกเขา โดยผ่านการกระทำของหน่วยงาน ของบริษัทหรือพนักงานคนใดคนหนึ่ง

ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของความรับผิดชอบต่อสังคม ได้แก่ การกำกับดูแลกิจการที่ดี คำนึงถึงสิทธิ มนุษยชน ข้อปฏิบัติด้านแรงงาน การดูแลสิ่งแวดล้อม การดำเนินธุรกิจอย่างเป็นธรรมใส่ใจต่อ ผู้บริโภค และการแบ่งปันสู่สังคมและชุมชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสําคัญอย่างไรกับองค์กรธุรกิจ

CSR มีความสำคัญอย่างไร CSR มีความสำคัญกับองค์กร เพราะองค์กรไม่สามารถประกอบการได้หากไม่มีสังคมหรือสิ่งแวดล้อมเอื้ออำนวย แรงจูงใจของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมก็คือการรักษาสังคมและรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานต่อไปได้ในระยะยาว แม้จะเสียกำไรในระยะสั้น

ความรับผิดชอบต่อสังคมมีลักษณะอย่างไร

1-รับผิดชอบ และให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมแก่สังคมและชุมชน โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นตามบริเวณนั้น ๆ 2-ดำเนินกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

ความรับผิดชอบต่อสังคมโลก มีอะไรบ้าง

6. การมีความรับผิดชอบต่อสังคมโลก (Global Society) ในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขใน ระดับสังคมโลก ทั้งด้านสังคม วัฒนธรรม เช่น การพัฒนาทุนมนุษย์ การส่งเสริมโอกาสทางการศึกษา แก่ผู้ด้อยโอกาส การพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคการ ปฏิบัติเท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติโดยแบ่งแยกเพศ เชื่อชาติ ศาสนา สี ...