ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

ในหน่วยงานทุกหน่วยงาน มีความจำเป็นต้องจัดให้มีการประชุมทั้งในรูปแบบที่เป็นและไม่เป็นทางการ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อระดมความคิด เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิง ในการปฏิบัติงานว่าใครทำอะไร อย่างไร มีความคืบหน้าอย่างไร มีการเสนออะไร มีมติในเรื่องใดว่าอย่างไร และแสดงถึงข้อเท็จจริงเหตุผลการพิจารณาของที่ประชุม หรือแสดงถึงผลงานที่ได้ดำเนินการมาแล้ว รายงานการประชุมจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือในการติดตามงานที่ได้รับมอบหมายว่าได้ดำเนินการอย่างไร และเพื่อแจ้งผลการประชุมให้บุคคลที่เกี่ยวข้องทราบ และปฏิบัติต่อไป

ในหลักสูตรนี้จะอบรมให้ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นธุรการ หรือเลขานุการในที่ประชุม ได้เข้าใจบทบาท หน้าที่ วิธีการจด และสรุปรายงานการประชุม ทั้งในรูปแบบการประชุมที่ เป็นทั้ง International Meeting และ Local Meeting ให้สามารถจด และสรุปเนื้อหารการประชุมได้ครอบคลุม ตรงประเด็น ทำให้การประชุมนั้นไม่สูญเปล่า

1. บทบาทของผู้ที่เกี่ยวข้องในงานประชุม Meeting-concerned persons’ role

2. คุณสมบัติและหน้าที่ของเลขานุการหรือธุรการในที่ประชุม Qualification and role of administrative affair personnel or secretary at the meeting

3. การประชุมแบบทางการ และไม่เป็นทางการ Formal and informal meeting

4. รูปแบบของรายงานการประชุม (ทั้งไทย และอังกฤษ) Type of meeting’s minutes (Both Thai and English)

5. การจดบันทึกการประชุม (ทั้งไทย และอังกฤษ) (Meeting Recording (Both Thai and English)

o การจดละเอียดทุกคำพูดของผู้เข้าประชุม (Write down all speeches of the meeting attendants)

o การจดย่อเรื่องเฉพาะประเด็นสำคัญหรือใจความสำคัญ (Write down the syllabus or theme)

o การจดสรุปสาระสำคัญของเรื่องที่พิจารณา ความเห็น เหตุผล (Summarize the essence of the topics considered for opinion and reasons)

6. หลักการเขียนรายงานการประชุม (ทั้งไทย และอังกฤษ) Principles of Meeting’s Minute Writing (Both Thai and English)

o ใจความสำคัญ Essence

o ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน Correct and clear language

o การเรียงลำดับวาระการประชุม Order of meeting agenda

o การเขียนคำพูดโต้แย้ง Writing an argument

o การเขียนข้อมูลเป็นตัวเลข จำนวนเงิน สถิติ Writing numbers and statistics

o การเขียนเวลา การติดตาม และสถานะการณ์ดำเนินการของแต่ละวาระการประชุม Writing a period, follow-up, and meeting status at each agenda

7. คำศัพท์ สำนวน ภาษาทางธุรกิจที่ควรศึกษา Vocabulary, idiom, and necessary business langue

8. สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการเขียนรายงานการประชุม What should avoid in writing a meeting minutes

9. สรุปประเด็นปัญหาในการเขียนรายงานการประชุม และวิธีการแก้ไขเพื่อพัฒนาการในการจด และสรุปรายงานการประชุมทั้งไทยและ อังกฤษ Summarize the issues on writing the meeting minutes and solutions for improvement on writing down and summarizing the meeting minutes in Thai and English

ขอคำแนะนำ การสรุปการประชุม เป็นภาษาอังกฤษสำหรับมือใหม่

เราเพิ่งได้ทำงานในตำแหน่งเลขา และได้เข้าร่วมประชุมย่อยๆร่วมกับต่างชาติ แล้วจะต้องสรุปการประชุม ได้ลองหาข้อมูลหลายๆอย่างจาก google แล้ว บอกตรงๆยังรู้สึกงงๆอยู่ค่ะ เลยอยากจะรบกวนขอคำแนะนำจากผู้รู้ ในการเขียนสรุปการประชุม เป็นภาษาอังกฤษ ให้หน่อยค่ะ มีข้อสงสัยว่า Minutes meeting ใช่รายงานการประชุมไหมคะ หรือเป็นเพียงหัวข้อที่ใช้ในการประชุม ส่วนรายงานการประชุมคือ minutes meeting report ในส่วนนี้เราเข้าใจถูกไหมคะ

ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

0

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

Minutes of Meeting เป็นเครื่องมือสรุปการประชุมที่ช่วยให้การสื่อสารภายในองค์กรของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ แต่การสร้างสรุปการประชุมที่ดีจะต้องทำอย่างไร และมีทริคในการเขียนแบบไหนบ้าง มารู้จัก Minute of Meeting แบบเจาะลึกมากยิ่งขึ้นได้ที่นี่ ครบ จบ ทุกประเด็น!

Table of Contents

Minutes of Meeting คืออะไร

Minutes of Meeting คือ บันทึกการประชุมที่มีการระบุรายสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างละเอียด โดยหัวใจสำคัญของการเขียนบันทึกการประชุมประกอบไปด้วยข้อมูลหรือแนวคิดสำคัญที่เกิดขึ้น บทสรุปที่มีการตัดสินใจร่วมกัน และรวมไปถึงหน้าที่ซึ่งมีการมอบหมายแก่บุคคลต่างๆ ให้รับผิดชอบภายหลังประชุม

โดยคำว่า Minutes of Meeting มาจากรากศัพท์ในภาษาละติน คือการรวมกันของคำว่า “minuta” ที่แปลว่า “เล็กๆ” และคำว่า “scriptura” ที่แปลว่า “การเขียน” เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันจึงได้เป็นคำว่า “Minuta Scriptura” ที่แปลว่า“การเขียนบันทึกเล็กๆ” นั่นเอง

การเขียนบันทึกการประชุมจะต่างกับเอกสารอีกชนิดซึ่งมีชื่อเรียกคล้ายคลึงกันอย่างวาระการประชุม ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเห็นถึงทิศทางและภาพรวมของการประชุม ทำให้สามารถเตรียมตัวมาก่อนล่วงหน้าได้อย่างเหมาะสม

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

สิ่งที่ขาดไม่ได้ของ Minutes of Meeting ที่ดี

  • วัน เวลา สถานที่ ระบุวัน เวลา และสถานที่ให้ชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและอ้างอิง
  • หัวข้อการประชุม เขียนหัวข้อการประชุม วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของการประชุมแต่ละครั้งให้ชัดเจน
  • แนวคิดหรือประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่จำเป็นต้องจดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นหรือทุกคำพูดในที่ประชุม แต่เป็นการจดเฉพาะเรื่องสำคัญตามเป้าหมายที่เราวางเอาไว้ว่าอยากได้จากการประชุมครั้งนี้
  • ข้อสรุป มติที่ประชุม หรือแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยควรตรวจสอบความเรียบร้อยของสาระสำคัญ และความถูกต้องของข้อมูลว่าครบถ้วนดีหรือไม่เพื่อเป็นการตรวจทาน
  • แนวทางปฏิบัติ และผู้รับผิดชอบ กำหนดการประชุมครั้งต่อไป เรื่องนี้จะสรุปเมื่อไหร่ อย่างน้อยควรระบุรายละเอียดในการติดตามความคืบหน้า และระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

ผู้จดบันทึกการประชุมที่ดีมีลักษณะเป็นอย่างไร

  • ผู้จดไม่ควรมีหน้าที่หลักในการประชุม เพราะอาจทำให้จดบันทึกได้ไม่ครบ หรือหลุดประเด็นระหว่างการรับฟังหรือการแสดงความคิดเห็นได้
  • ควรทราบวัตถุประสงค์/ หัวข้อ/ ประเด็นการประชุมล่วงหน้า เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับศัพท์เทคนิคและความเข้าใจในมติของผู้จดบันทึก
  • การพิมพ์ หรือบันทึกเสียงก็เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ (หากได้รับอนุญาต) แต่ต่อให้สามารถบันทึกเสียงได้ ก็ควรจดบันทึกด้วยมือระหว่างประชุมด้วย แล้วจึงหมายเหตุเอาไว้ว่าข้อมูลดังกล่าวอยู่ในช่วงไหนของการประชุม
  • สิ่งสำคัญ คือ ต้องจับใจความสำคัญให้ได้ และต้องบันทึกสิ่งสำคัญเหล่านั้นอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจน
  • เมื่อมีข้อสงสัยควรสอบถามให้เข้าใจ ไม่ควรทิ้งข้อสงสัยเอาไว้แล้วจดบันทึกอย่างคลุมเครือ
  • หากไม่สามารถหาโอกาสหรือจังหวะสอบถามในที่ประชุมได้ ให้จดคำถามที่ต้องการถาม แล้วนำคำถามเหล่านี้ไปถามภายหลังการประชุม และควรหาเวลาทบทวนบันทึกการประชุมซ้ำอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเรียบเรียงได้เข้าใจง่ายหรือไม่
  • อย่าลืมทวนข้อมูลที่จดก่อนปิดประชุม เพื่อเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้ทำสรุปแล้วส่งให้ทุกคนที่มีส่วนร่วม

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

ตัวอย่างการเขียน Minutes of Meeting

ผู้ไม่มาประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุมซึ่งไม่ได้มาประชุม โดยระบุให้ทราบว่าเป็นผู้แทนจากหน่วยงานใด พร้อมทั้งเหตุผลที่ไม่สามารถมาประชุมหากทราบ

ผู้เข้าร่วมประชุม ให้ลงชื่อหรือตำแหน่งของผู้ที่มาร่วมประชุมซึ่งไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะที่ประชุม พร้อมหน่วยงานที่สังกัด (ถ้ามี)

เริ่มประชุม ให้ลงเวลาที่เริ่มประชุม

ข้อความ ให้บันทึกข้อความที่ประชุม โดยปกติให้เริ่มด้วยประธานกล่าวเปิดประชุมและเรื่องที่ประชุมกับมติหรือข้อสรุปของที่ประชุมในแต่ละเรื่อง ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

  1. ผลลัพธ์จากการประชุมครั้งที่แล้ว (ถ้ามี)
  2. สิ่งที่ต้องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ (ระบุเป็นหัวข้อ)
  3. สิ่งที่ต้องการการรับรองจากที่ประชุมในครั้งนี้
  4. แนวคิดและประเด็นที่เกิดขึ้นในการประชุม
  5. ข้อสรุปในการประชุม
  6. สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อพร้อมผู้รับผิดชอบการประชุม

เลิกประชุมเวลา ให้ลงเวลาที่เลิกประชุม

ผู้จดรายงานการประชุม ให้เลขานุการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้จดรายงานการประชุมลงลายมือชื่อ พร้อมทั้งพิมพ์ชื่อเต็มและนามสกุลใต้ลายมือชื่อในรายงานการประชุม

แน่นอนว่าสำหรับการเขียน Minutes of Meeting ของทีมเล็กๆ อาจไม่จำเป็นต้องลงรายละเอียดมากมาย รวมไปถึงการใช้เครื่องมือด้านการประชุมสามารถตรวจสอบย้อนหลังไดว่าใครเข้าร่วมประชุมบ้าง แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือในส่วนของข้อความ เพื่อให้ทราบว่าการประชุมดำเนินไปอย่างไร หากจบประชุมแล้วต้องทำอย่างไรต่อ เพื่อให้ที่ประชุมได้ข้อมูลที่ครบถ้วนที่สุด

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

ประโยชน์ของการเขียน Minutes of Meeting ที่ดี

1. ไม่พลาดทุกบทสรุป

การบันทึกรายละเอียดการประชุมเอาไว้จะช่วยให้คุณไม่พลาดทุกบทสรุปสำคัญของแต่ละหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ควรเน้นย้ำหรือระมัดระวังเป็นพิเศษ รวมถึงมติที่เกิดขึ้นในที่ประชุมอย่างชัดเจน ทำให้สามารถลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูลที่อาจเกิดขึ้นได้

2. รู้ว่าใครต้องทำอะไร

Minutes of Meeting ทำให้เราสามารถตรวจสอบมติการประชุมในครั้งนั้นๆ ได้ว่าใครมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านใดและทราบระยะเวลาที่กำหนดในการทำงาน ส่งผลให้ทุกคนในองค์กรสามารถเตรียมตัวได้สอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับมอบหมาย

3. ง่ายต่อการติดตาม

สืบเนื่องมาจากข้อที่แล้ว การทราบว่าใครรับผิดชอบส่วนไหนจะช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าในการทำงานได้ง่ายมากยิ่งขึ้นผ่านการติดต่อสอบถามกับผู้รับผิดชอบภาระงานโดยตรง

4. เข้าใจตรงกัน

การตกหล่นของข้อมูลต่างๆ ในการประชุมเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย Human Error ทำให้ผู้เข้าร่วมอาจพลาดข้อมูลบางอย่างหรือตามไม่ทันจนไม่เข้าใจมติของที่ประชุมว่ามีข้อสรุปเป็นอย่างไร โดยรายงานการประชุมคือหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้ทุกคนในองค์กรสามารถอ่านทำความเข้าใจในหัวข้อสำคัญต่างๆ และข้อสรุปย้อนหลังได้อย่างเข้าใจตรงกัน

5. ลดความขัดแย้งในการทำงาน

การบันทึกผลการประชุมอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรสามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงเมื่อมีข้อสงสัยหรือข้อขัดแย้งต่างๆ เกิดขึ้น โดยให้ใช้สิ่งที่อยู่ในบันทึกในการประชุมเพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานให้ตรงกับสิ่งที่ได้ข้อสรุปร่วมกันมาแล้ว การทำงานร่วมกันอย่างมีหลักเกณฑ์อ้างอิงจึงช่วยลดความขัดแย้งในการทำงานทำให้การร่วมมือกันเป็นไปอย่างลื่นไหล

6. ง่ายต่อการแบ่งปันข้อมูลในภายหลัง

หากผู้เข้าร่วมประชุมต้องท่องจำเนื้อหาการประชุมทั้งหมด นอกจากจะสร้างความไม่สะดวกสบายแล้วอาจนำไปสู่ความผิดพลาดได้ โดยการเขียน Minutes of Meeting จะทำให้สามารถทบทวนผลการประชุมและนำสรุปไปแจกจ่ายกับคนในทีมต่อเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน รวมถึงผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมยังสามารถเข้ามาอ่านและทำความเข้าใจในภายหลังได้อีกด้วย

สรุป

การเขียน Minutes of Meeting ที่ดี ไม่ใช่แค่การเขียนให้เยอะ แต่เป็นการจับใจความและรายละเอียดของกาประชุมต่างๆ เพื่อทำให้สามารถต่อยอดสิ่งที่ได้จากการพบเจอของคนในองค์กรได้อย่างมีคุณภาพสูงสุด

แน่นอนว่านอกจากการเขียนแล้ว การมีเครื่องมือในการประชุมที่ดี สามารถติดต่อกันได้อย่างไม่มีสะดุดรวมถึงสามารถบันทึกการสนทนาต่างๆ ได้ จะทำให้การประชุมไหลลื่นยิ่งขึ้น True VROOM จึงเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ ที่จะเปลี่ยนการประชุมและการตรวจสอบเนื้อหาย้อนหลังสามารถทำได้ง่ายๆ ข้อมูลไม่ตกหล่น พร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ทำให้การพูดคุยของคุณง่ายยิ่งขึ้น สามารถดูรายละเอียดได้ที่ True VROOM

อ้างอิง

  • aroundmay
  • blockdit
  • longtunman
  • sales100million
  • nuclino
  • todayifoundout

Learn more about

VROOM

Co-host, moderate, present, and so much more

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

True VWORLD

Tech Insight by True VWORLD

Suggested Reading

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

Retrospective เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการประชุมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงบ่อยครั้งในยุคสมัยที่การสื่อสารเปลี่ยนแปลงไป ผู้คนเริ่มมีทัศนคติที่เปิดกว้างมากขึ้น ยอมรับปัญหามากขึ้น การประชุมแบบ “เจาะลึก” ไปถึงแกนของปัญหาและทำการแก้ไขจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญทำความรู้จักกับการประชุมประเภทนี้แบบสั้นๆ พร้อมกับวิธีเตรียมการประชุมอย่างง่ายที่สามารถปรับใช้ในทีมได้ทันที ที่นี่! Table of Contents เจาะลึกเกี่ยวกับการประชุม RetrospectiveRetrospective คือ แนวทางการประชุมที่เปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยน feedback การทำงานของทีมภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อมทางจิตวิทยาเพื่อให้การแสดงความคิดเห็นเป็นไปอย่างซื่อตรงมากที่สุด โดยมีเป้าหมายในการประชุมเป็นการค้นหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเป็นทีมการประชุม Retrospective มีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนในทีมจะได้ทบทวนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานของทีมในช่วงเวลาที่ผ่านมาร่วมกันอย่างเป็นระบบภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ (Psychological Safety)โดยในแต่ละการประชุมจะประกอบไปด้วยผู้ทำงานและบุคคลที่มีตำแหน่ง Scrum Master ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มาจากแนวคิดแบบ Scrum ที่มักจะมาคู่กับกรอบแนวคิดแบบ Agile เป็นผู้ควบคุมทิศทางการสนทนาให้อยู่ในเชิงบวก คอยตั้งประเด็นคำถาม จนไปถึงอำนวยความสะดวกอื่นๆ ให้กับการประชุม ส่งผลให้ทีมสามารถช่วยกันวางแผนเพื่อปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานได้ตรงจุดและสร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น5 ขั้นตอน ประชุม Retrospective เพื่อการใช้งานจริง1. เตรียมความพร้อมขั้นตอนแรกในการประชุม Retrospective เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด คือการเตรียมความพร้อมในเรื่องของอุปกรณ์ สถานที่และผู้เข้าร่วมการประชุม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการเตรียมบรรยากาศให้มีความผ่อนคลายและเหมาะกับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างผู้คน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการเล่าเรื่องราวน่าสนุกหรือการเล่นเกมสบายๆ เพื่อลดช่องว่างระหว่างบุคคลและสร้างความปลอดภัยทางจิตใจ ช่วยให้ผู้คนกล้าที่จะกล่าวถึงปัญหาที่พบในการทำงานอย่างตรงไปตรงมา กล้าขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ไม่สามารถรับมือได้ จนไปถึงกล้านำเสนอไอเดียแปลกใหม่อย่างไม่กลัวคำวิจารณ์ระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 15 นาที2. รวมรวมข้อมูลการรวบรวมข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี จะเป็นการสอบถามความคิดเห็นของผู้ทำงานแต่ละคนโดยตรงแล้วจึงให้ตอบด้วยปากเปล่า หรือจะสอบถามด้วยการแจก Post-it แล้วให้เวลาพวกเขาในการเรียบเรียงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในมุมมองของตัวเองพร้อมๆ กัน เพื่อตอบแต่ละคำถามที่ได้รับจาก Scrum Master (ผู้ดำเนินกิจกรรม และอำนวยความสะดวกของทีม) ลงในกระดาษก็สามารถทำได้ประเด็นสำคัญคือจะต้องใช้ชุดคำถามที่ทรงพลังหมายความว่าต้องกระชับแต่สื่อความหมายได้เป็นอย่างดี อย่างเช่น ชุดคำถาม Four Ls ซึ่งประกอบไปด้วยWe liked: สิ่งที่ชอบและอยากให้เกิดขึ้นอีกWe learned: การเรียนรู้ใหม่และบทเรียนสำคัญที่ผ่านมาWe longed for: สิ่งที่ปราถนาจะให้เกิดขึ้น แต่ยังไม่เกิดWe loathed: สิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นและไม่อยากให้เกิดขึ้นซ้ำระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 30 นาที3. คัดเลือกประเด็นสำคัญขั้นตอนต่อมาหลังจากการรวบรวมกระดาษ Post-it ที่มีคำตอบ คือการจัดหมวดหมู่ปัญหาที่มีความใกล้เคียงกันเข้าด้วยกัน โดย Scrum Master จะเป็นผู้อธิบายปัญหาแต่ละกลุ่ม แล้วจึงเปิดโอกาสให้มีการพูดคุยในรายละเอียดของแต่ละประเด็นปัญหาก่อนการโหวตเลือกปัญหาที่ทีมต้องการให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อที่จะหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันในขั้นตอนต่อไประยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที 4. หาวิธีแก้ไขปัญหาและตัดสินใจร่วมกันเมื่อเลือกปัญหาที่ต้องการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว สมาชิกทุกคนในทีมจึงช่วยกันระดมสมอง (Brainstorm) เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยอาจแจกโพสอิทอีกหนึ่งรอบเพื่อให้ทุกคนได้ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง คิดและเขียนวิธีการแก้ปัญหาออกมาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งการระดมสมองแบบนี้นอกจากจะทำให้สมาชิกทุกคนมีสิทธิในการออกความคิดเห็นได้เท่ากันแล้ว งานวิจัยจาก Northwestern University ยังได้กล่าวว่าการระดมสมองผ่านการเขียนยังสามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าการระดมสมองทั่วไปถึง 42% อีกด้วย จากนั้นจึงเปิดโหวตเพื่อเลือกวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดมาเป็น Action item ของทีมระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 20 นาที5. สรุปการประชุมในช่วงสุดท้ายของการประชุม ผู้ที่เป็น Scrum Master ควรสรุปการประชุมทั้งหมดอีกครั้งว่าอะไรคือประเด็นที่ทีมเลือกจะพัฒนาในการทำงานรอบต่อไป ทีมมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรและใครในทีมรับผิดชอบหน้าที่ใดเพิ่มเติมบ้าง จากนั้นจึงกล่าวปิดการประชุมด้วยการขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคนที่เปิดใจในการแสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการทำงานของทีมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นระยะเวลาที่ใช้ประมาณ 5 นาที เก็บ Insight ด้วยเทคนิคการประชุม Retrospectiveการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีความปลอดภัยทางจิตใจถือเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากสำหรับการประชุม Retrospective โดยหนึ่งเคล็ดลับในการประชุมที่ช่วยสร้างความสบายใจให้ผู้เข้าร่วม คือให้เชิญเฉพาะคนทำงานภายในทีมเท่านั้น ไม่ควรสร้างความกดดันในการแสดงความคิดเห็นให้กับผู้เข้าร่วมด้วยการพาหัวหน้างานมาประชุม และไม่ควรข้ามขั้นตอนการละลายพฤติกรรม ณ ตอนต้นการประชุมเพื่อประหยัดระยะเวลา เพราะอาจทำให้การประชุมครั้งนั้นไม่มีประสิทธิผลมากเท่าที่ควรจะเป็นสรุปการประชุม Retrospective เป็นหนึ่งวิธีการง่ายๆ แต่ทรงพลังที่นอกจากจะช่วยให้ทีมมีความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้ทราบปัญหาในการทำงานจริงที่ทำให้แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดอีกด้วย และสำหรับยุคสมัยที่ต้องการการประชุมแบบมีประสิทธิภาพTrue VROOM จาก True VWORLD ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือการประชุมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีฟังก์ชันครบครัน สะดวกรวดเร็ว พร้อมตอบสนองทุกความต้องการของคนในทีม ช่วยให้คุณจัดการประชุม Retrospective อย่างราบรื่น สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ True VROOM บริการการประชุมยุคใหม่เพื่อคุณโดยเฉพาะ อ้างอิงmedium.combrightsidepeople

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

หากบริษัทต้องการประสบความสำเร็จในแวดวงธุรกิจ แน่นอนว่าจะต้องมีการตั้งเป้าหมายเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จนั้น แต่จุดมุ่งหมายของความสำเร็จคืออะไร? และแผนปฎิบัติเพื่อประสบความสำเร็จนั้นมีอะไรบ้าง? สิ่งเหล่านี้คือสิ่งสำคัญและต้องทำให้เป็นรูปธรรมมากที่สุดเพื่อให้คนในบริษัทเห็นภาพชัดเจนและเข้าใจตรงกัน การตั้ง SMART Goal จึงเป็นแนวทางสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนบริษัทให้บรรลุเป้าหมายในการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จัก SMART Goal ให้มากยิ่งขึ้น ทั้งความหมายและประโยชน์ของ SMART Goal รวมไปถึงวิธีการทำ SMART Goal ของบริษัทกัน Table of Contents SMART Goal คืออะไร? SMART Goal คือ การตั้งเป้าหมายซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ โดยมีกรอบอ้างอิง (Framwork) เพื่อช่วยให้สามารถตั้งเป้าหมายและบรรลุผลลัพธ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบไปด้วย สิ่งที่ชี้เฉพาะ (Specific), สามารถวัดผลได้ (Measurable), มีความเป็นไปได้ (Achievable), สอดคล้องกับเป้าหมาย (Relevant), และมีระยะเวลาที่ชัดเจน (Time-based) ทำไมบริษัทควรนำ SMART Goal มาปฏิบัติ บางครั้งคุณอาจเคยเจอการตั้งเป้าหมายของบริษัทที่คลุมเครือและไม่มีทิศทาง ไม่ว่าจะเป็นความต้องการเพิ่มผลประกอบการ หรือการขยายสาขาเพิ่ม ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ไม่มีกลยุทธ์นี้ส่งผลให้บริษัทพบกับความล้มเหลวมานับไม่ถ้วน ดังนั้นบริษัทจึงควรตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal เพื่อช่วยให้คุณและทีมสามารถขัดเกลาแนวคิด รู้แนวทางปฏิบัติ และสามารถจัดลำดับความสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย รวมไปถึงยังสามารถระบุจุดแข็ง-จุดอ่อนในการทำงาน และช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิผลอีกด้วย นอกจากนี้ SMART Goal ยังช่วยส่งเสริมความโปร่งใสในการทำงาน ช่วยให้พนักงานทุกคนเข้าใจความรับผิดชอบของตนเอง และเมื่อพนักงานมีจุดโฟกัสที่ชัดเจนและสามารถติดตามความคืบหน้าได้แล้วก็จะมีแรงจูงใจในการทำงานมากยิ่งขึ้นนั่นเอง เมื่อรู้แล้วว่า SMART Goal มีประโยชน์อย่างไร ในส่วนถัดไปเราจะมาพูดถึงองค์ประกอบการตั้ง SMART Goal กันว่ามีอะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด องค์ประกอบ 5 ประการของ SMART Goal 1. S - Specific เป้าหมายของคุณควรเป็นสิ่งที่ชี้เฉพาะ ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน ไม่คลุมเครือ และมุ่งเน้นไปที่ผลลัพธ์เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้นก่อนตั้งเป้าหมายคุณควรตอบคำถามให้ได้ว่าคุณต้องการบรรลุผลลัพธ์อะไร และเพื่อช่วยให้คำตอบของคุณชัดเจนยิ่งขึ้น หลักการ 5W จึงเป็นหนึ่งในแนวทางที่คุณควรพิจารณาควบคู่ไปกับการกำหนดคำตอบของคุณอยู่เสมอ ซึ่งประกอบไปด้วย Who (ใคร) - ใครมีส่วนร่วมในการบรรลุเป้าหมายนี้? คำถามนี้สำคัญมากหากคุณมีทีมงานเข้ามาเกี่ยวข้อง What (อะไร) - คุณต้องการทำอะไรให้สำเร็จ? ควรระบุได้อย่างแม่นยำและชัดเจน Where (ที่ไหน) - เป้าหมายนี้สามารถทำให้สำเร็จได้ที่ไหนบ้าง? When (เมื่อไร) - ช่วงระยะเวลาในการทำเป้าหมายให้ประสบความสำเร็จ โดยคุณควรมีกรอบเวลาอย่างชัดเจน Why (ทำไม) - ทำไมถึงต้องการทำเป้าหมายนี้ให้สำเร็จ? ตัวอย่างการระบุเป้าหมายแบบ SMART Goal: แทนที่จะกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มอัตราความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้า” ควรเปลี่ยนมาเป็นเป้าหมายที่ SMART มากยิ่งขึ้นด้วยการกำหนดว่า “บริษัทต้องการเพิ่มคุณภาพการบริการลูกค้า ทั้งในด้านความรวดเร็วและความสุภาพของพนักงาน รวมไปถึงอบรมให้พนักงานเข้าใจในงานบริการของบริษัทให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มอัตราความพึงพอใจของลูกค้า 90% ภายในระยะเวลา 6 เดือน” 2. M - Measurable SMART Goal จะต้องวัดผลได้ โดยต้องระบุวิธีการและเกณฑ์ในการประเมินความคืบหน้า เพื่อให้คุณและทีมสามารถติดตามผลงานได้ครบถ้วน ในขณะเดียวกันการวัดผลนี้ยังช่วยให้คุณและทีมมั่นใจได้ว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้สามารถจับต้องและทำให้สำเร็จได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้การประเมินความคืบหน้ายังช่วยให้คุณและทีมมองเห็นงานย่อยที่คุณหรือทีมต้องทำในจุดต่างๆ ด้วย 3. A - Achievable SMART Goal ต้องเป็นเป้าหมายที่ท้าทาย แต่สามารถเป็นจริงได้ เพื่อกระตุ้นคุณและทีมให้คิดหาแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมาย โดยคุณสามารถประเมินว่าเป้าหมายจะบรรลุผลได้หรือไม่จากระยะเวลาของเป้าหมาย งบประมาณ และความพร้อมของทรัพยากร 4. R - Relevant เป้าหมายควรสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของธุรกิจ และสอดคล้องกับพันธกิจของบริษัท โดยการตั้งเป้าหมายที่ดีไม่ควรเป็นเพียงโจทย์ที่ต้องทำ แต่ควรเป็นสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่บริษัทได้อีกด้วย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่คุณกำหนดเป้าหมายแบบ SMART Goal คุณควรคำนึงถึงความคุ้มค่าในการทำ จำนวนทรัพยากรและเวลาที่จะทำให้เป้าหมายออกมาสำเร็จ รวมไปถึงสถานการณ์ ณ ตอนนั้นว่าเหมาะสมที่จะลงมือทำหรือไม่ เช่น หากคุณต้องการเพิ่มยอดขาย 50% ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เป้าหมายนี้ก็อาจจะไม่ประสบผลสำเร็จ ทำให้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนและไม่สร้างประโยชน์ใดๆ ให้แก่บริษัท 5. Time-based การตั้งเป้าหมายแบบ SMART Goal ควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน และเป็นระยะเวลาที่เป็นจริงได้ โดยต้องประเมินควบคู่ไปกับทรัพยากรที่คุณมี หากคุณไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่ชัดเจน เป้าหมายนั้นก็จะกลายเป็นเป้าหมายที่เลื่อนลอย คุณจะผัดวันประกันพรุ่งไปเรื่อยๆ และจะกลายเป็นเป้าหมายที่ไม่สำคัญในที่สุด เพราะคุณไม่มีแรงจูงใจในการทำให้สำเร็จตามกรอบเวลา เพราะฉะนั้นการกำหนดกรอบเวลาในการทำจึงเป็นตัวช่วยพลักดันให้คุณกระตือรือร้นและรู้สึกต้องทำมันอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะส่งผลให้คุณเข้าใกล้ความสำเร็จมากยิ่งขึ้น เทคนิคการกำหนดกรอบเวลาแบบ SMART Goal: นอกจากจะกำหนดกรอบเวลาใหญ่ในการทำให้เป้าหมายบรรลุผลแล้ว คุณควรกำหนดกรอบเวลาเล็กๆ สำหรับเป้าหมายเล็กๆ ที่จะนำไปสู่เป้าหมายใหญ่ด้วย เพื่อให้คุณสามารถติดตามผลการดำเนินการได้อย่างใกล้ชิด และมีกำลังใจในการทำงานมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น หากเป้าหมายใหญ่ของคุณต้องใช้เวลา 1 ปีในการบรรลุผล คุณควรกำหนดเป้าหมายเล็กเพิ่มเติมว่าภายใน 4 เดือน หรือ 8 เดือนคุณต้องทำอะไรให้สำเร็จก่อน สรุป SMART Goal ไม่ใช่แค่การตั้งเป้าหมายธรรมดาๆ แต่เป็นการตั้งเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ผ่านกระบวนการชี้เฉพาะเป้าหมาย การประเมินและการวัดผล การพิจารณาความสอดคล้องและความคุ้มค่า และการกำหนดกรอบเวลาแห่งความสำเร็จ ซึ่งแน่นอนว่าการทำ SMART Goal ของบริษัทเป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือตัดสินใจของบุคคลเพียงคนเดียว เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการระดมความคิดจากคนในทีม และมีการประสานงานที่ราบรื่น ซึ่ง True VWORK ก็มีฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์ความต้องการนี้ได้เป็นอย่างดี โดยช่วยให้คุณและทีมแชทหรือวิดีโอคอลได้ตลอดเวลา บรอดแคสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างไม่มีสะดุด มอบหมายและติดตามสถานะการทำงานของทีมได้อย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์อื่นๆ อีกมากมายที่เป็นตัวช่วยให้คุณสามารถทำงานร่วมกับทีมได้อย่าง SMART อีกด้วย...

ตัวอย่าง การ เขียน รายงานการประชุม ภาษา อังกฤษ

Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Table of Contents Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. ภาพประกอบ: Unsplash Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. Lorem ipsum sai dolor consec tetur adipis sit amet, consec tetur adipis cing elit. Lorem ipsum consec tetur adipis sai dolor sit amet. "Showing clients analytical numbers about what happened and where isn't always enough. When I introduced visual insights into 'why' shoppers behave certain ways, specifically session recordings, I saw...