ต วอย างงบการเง นท ม การเพ มท น

เผยแพร่: 27 พ.ย. 2559 21:59 ปรับปรุง: 28 พ.ย. 2559 07:02 โดย: MGR Online

ทีมข่าววิเคราะห์เศรษฐกิจ

ภายหลังจากการที่คณะกรรมการบริษัทปตท.จำกัด (มหาชน) ได้มีมิติเห็นชอบการปรับโครงสร้างธุรกิจ โดยโอนธุรกิจน้ำมันและค้าปลีกออกจากปตท. แยกออกมาเป็นPTTOR ซึ่งเป็นบริษัทร่วมที่ปตท. จะถือหุ้นน้อยกว่า50% ให้กลายเป็นบริษัทร่วมของปตท. ทั้งนี้ ปตท. จะทำการโอนกิจการของหน่วยธุรกิจน้ำมันและสินทรัพย์กับหนี้สินจากบริษัทแม่ คือปตท. รวมถึงแผนการแยกกิจการค้าปลีกน้ำมันไปไว้ที่ PTTOR ทำให้ PTTOR เป็นธุรกิจปลายน้ำของ ปตท. และ PTTOR จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2560

เพื่อเป็นบทเรียนก่อนการจะแยกบริษัทลูกให้หลุดพ้นจากการตรวจสอบโดยอำนาจรัฐนั้น จำต้องตรวจสอบย้อนหลังถึงงบการเงินของปตท.ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในประวัติศาสตร์ โดยนับตั้งแต่ปีพ.ศ.2544 ที่รัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการแปรรูปปตท. จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ จนถึงช่วงก่อนเกิดเหตุการณ์การรั่วไหลของข้อมูลบัญชีรายชื่อของบริษัทและบุคคลต่างๆในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ไปจดทะเบียนในบริษัทในหมู่เกาะฟอกเงินที่เรียกว่า “ปานามา เปเปอร์” ซึ่งทำให้หลายบริษัทเกิดการร้อนตัวจนต้องเร่งปิดบริษัทที่เข้าข่ายถือเป็นลักษณะที่ถูกระบุใน ปานามา เปเปอร์ และทำให้เกิดข้อสงสัยว่า การปิดบริษัทเหล่านั้นเพราะอาจเข้าข่ายถูกรับรู้ว่าเป็นการฟอกเงินประเภทหนึ่ง หรือไม่ ?

ตัวอย่างแรกคือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยออยล์ ที่เป็นลักษณะต้นน้ำของปตท. คือเป็นผู้ผลิตน้ำมันและทำการจำหน่ายน้ำมันให้กับปตท. ทั้งที่ปตท. สามารถรวมไทยออยล์ ซึ่งประกอบธุรกิจกลั่นน้ำมัน นั่นคือ “โรงกลั่นน้ำมัน” ภายใต้ บริษัทเดียวกันของปตท.ได้ จะได้เป็นการลดต้นทุนในการจัดซื้อน้ำมันมาอีกต่อหนึ่ง

แต่กลายเป็นว่าปตท.ถือหุ้นในไทยออยล์ น้อยกว่า 50% เช่นเดียวกับ PTTOR โดยในปี 2548 ปตท. ถือหุ้นใน TOP 49.54% ซึ่งเหมือนกับ PTTOR ที่ ปตท. ถือหุ้นน้อยกว่า 50%

หากมีปัญหาคำถามว่า “ปตท. มีการฟอกเงิน จริงหรือไม่? ” ผู้มีส่วนได้เสียในฐานะที่เป็นผู้ถูกกระทำจากกระบวนการฟอกเงินจะประกอบด้วย 4 กลุ่มคือ

1.รัฐบาล : ในฐานะผู้บริหารประเทศซึ่งเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนไทย

2.ผู้ถือหุ้น ปตท. : ในฐานะที่ ปตท. เป็น บริษัท มหาชน จำกัด และได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ทำให้หุ้นของ ปตท. สามารถซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์ระหว่างประเทศ

3.ลูกค้าของปตท. : ผู้จ่ายเงินซื้อน้ำมัน ก๊าซประเภทต่างๆ จากปตท.

4.ประชาชนไทย : ในฐานะเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติน้ำมัน และก๊าซประเภทต่างๆ ประชาชนไทยผู้ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย โดยมี “บัตรประชาชนไทย” เป็น “ใบหุ้น”

“ปตท. ฟอกเงินผ่านบริษัทลูกหรือไม่?”

เมื่อมาพิจารณาองค์ประกอบประการแรกตามคำนิยามของการฟอกเงินคือ ทรัพย์ที่ได้มาอย่างฉ้อฉล (Proceeds of Crime) ซึ่งถ้าหากมีทรัพย์ที่ถูกฉ้อฉลไปจากผู้มีส่วนได้เสียทั้ง 4 กลุ่มข้างต้น อาจถูกข้อสงสัยว่าทรัพย์เหล่านั้นได้ถูกนำเข้าสู่ “กระบวนการฟอกเงิน” หรือไม่ ในประเด็นดังนี้

- การที่ ในปี 2548 ปตท. ถือหุ้นในไทยออยล์ 49.54% ซึ่งแสดงว่ากระทรวงการคลังและหน่วยงานของรัฐถือหุ้นในไทยออยล์ เพียงประมาณ 25.27% (คือ กระทรวงการคลังและหน่วยงานของรัฐถือหุ้น 51% ใน ปตท. แล้ว ปตท.ถือหุ้ 49.54% ในไทยออยล์)

ดังนั้นเมื่อผลกำไรสุทธิของไทยออยล์ ในปี 2548 มีจำนวน 18,753 พันล้านบาท ผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่ ปตท. ซึ่งคิดเป็น 50.46% (คือ 100% - 49.54%) คิดเป็นจำนวนเงิน 9,462.76 พันล้านบาท (50.46% ของ 18,753) ตกไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นที่ไม่ใช่รัฐของ ปตท. จริงหรือไม่?

จึงมีประเด็นคำถามว่า เงินจำนวน 9,462.76 พันล้านบาท ถูกนำไปใช้ในการรวมรับเป็นเงินกลับเข้าสู่เศรษฐกิจอย่างถูกกฎหมายด้วยการสร้างรายการทางการเงินให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (Integration) ที่ส่งผลมาจากการฟอกเงินที่เป็นรายได้จากการขายน้ำมันให้ ปตท.หรือไม่?

เช่นเดียวกับประเด็นคำถามต่อมาว่า การทำเช่นนี้มีการทำให้เกิดรายการที่หลากหลายทางการเงินเพื่อทำให้เกิดการอำพรางแหล่งที่มาของทรัพย์ที่ถูกฉ้อฉล (Layering) แสดงรายการรายได้จากการขายน้ำมันหรือไม่? คำถามที่สำคัญ คือปตท.มีการนำทรัพย์สินที่ถูกฉ้อฉลไปเพื่อเข้าระบบการเงิน (Placement)หรือไม่? โดยเงินจาก ปตท.ส่วนเกินจากต้นทุนการผลิตน้ำมัน หากรับรู้ว่า ไทยออยล์ คือ “โรงกลั่นน้ำมัน” ของ ปตท. โดยบวกส่วนต่างเพิ่มคิดเป็นรายการซื้อน้ำมันจากไทยออยล์ เท่ากับว่าเป็นการ Placement กำไรที่พึงเกิดขึ้นที่ ปตท. ทำให้กลายเป็นต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นหรือไม่ ? ส่วนต่างของต้นทุนที่สูงขึ้นและรับรู้เป็นกำไรที่ไทยออยล์ เพียงนับระหว่างปี 2544 (ปีเดียวกับที่ ปตท. ถูกจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) จนถึงปี 2548 คิดเป็นจำนวนดังนี้

(ล้านบาท) ไทยออยล์2544 / 2545 / 2546 / 2547 / 2548 กำไรสุทธิ359 / 507 / 6,750 / 15,073 / 18,753 รวมกำไรสุทธิ 41,442

กำไรสุทธิรวมทั้งสิ้นภายใน 5 ปี มีถึง 41,442 ล้านบาท หรือจำนวนเงินทีถูกฟอกจากประชาชนภายใน 5 ปีหรือไม่? ถ้าสมมุติว่าเป็นเช่นนั้น ผู้ที่ถูกฟอกเงินไป ก็คือประชาชนที่เป็นลูกค้าจ่ายค่าน้ำมันที่ถูกบวกกำไร 2 ต่อ คือ ที่ไทยออยล์ต่อที่หนึ่ง และที่ ปตท. เป็นกำไรต่อที่ 2 จริงหรือไม่?

ดังเช่นในปี 2548 เพียงปีเดียว กำไรสุทธิของ ปตท. คือ 85,521 ล้านบาท ดังนั้น เฉพาะปี 2548 ลูกค้า ปตท. ถูกตั้งคำถามว่าเท่ากับมีการฟอกเงินคิดเป็นส่วนเพิ่ม 21.93% ได้หรือไม่? (คือ กำไรสุทธิของไทยออยล์ 18,753 บาท เทียบกับ กำไรสุทธิของ ปตท. 85,521 บาท) เพื่อเป็นกระแสให้เกิด Proceeds of Crime ขึ้นใหม่หรือไม่? กล่าวคือ หุ้นของไทยออยล์ที่ถูกจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2547 และด้วยผลประกอบการอันสวยหรูตามเงื่อนไขการจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ คือ ธุรกิจจะต้องมีผลกำไรสุทธิติดต่อกันอย่างต่อเนื่องก่อนจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ และดูว่าเป็นพรจากสวรรค์ที่ไทยออยล์ได้ผลกำไรติดต่อกันตั้งแต่ ปี 2544 - 2546 ทำให้การจดทะเบียนเข้าขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2547 มีราคา IPO (ราคาหุ้นแรกเข้าตลาด) อยู่ที่ 42 บาท ในขณะที่ ราคาตราหุ้นอยู่ที่ 10 บาท ส่วนต่าง 32 บาท จะถูกรับรู้ในงบการเงินของไทยออยล์เป็นส่วนเกินมูลค่าหุ้นซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของจริงหรือไม่?

สินทรัพย์คือ ท่อก๊าซธรรมชาติ ในงบดุลของ ปตท. ซึ่งเกิดคำถามว่าได้ถูกนำไปใช้ในกระบวนการฟอกเงินหรือไม่? ซึ่งได้นำเสนอไปแล้วในตอนที่ 1

รายได้จากการให้เช่าท่อก๊าซธรรมชาติให้แก่ภาคเอกชน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งควรเป็น “รายได้แผ่นดิน” ทั้ง 100% แต่กลับต้องมารับรู้ Placement เข้าสู่งบการเงินในส่วนของ งบกำไรขาดทุน เช่น ในปี 2544 - 2550 ปตท. รับรู้ “รายได้ค่าเช่าระบบท่อก๊าซ” จำนวนเงินทั้งสิ้น 137,176 ล้านบาท ซึ่งควรถือเป็นรายได้ของรัฐบาลถูกอำพราง Layering ให้กลายเป็นรายการ “รายได้ค่าเช่าระบบท่อก๊าซ” ในงบกำไรขาดทุนของ ปตท.จริงหรือไม่?

โดยที่ ปตท. ได้มีการจ่ายให้กับทางรัฐบาลคืนมาเป็นรูปแบบของ “ค่าตอบแทน-สิทธิเพื่อใช้” จำนวน 1,330 ล้านบาท ส่งผลให้ช่วงระหว่างปี 2544 - 2550 ปตท. ยังคงมี Proceeds of Crime หรือไม่ ในส่วนของรายได้ค่าเช่าระบบท่อก๊าซอยู่อีก จำนวน 135,846 ล้านบาท (คือ 137,176 - 1,330) และต่อจากนั้น กำไรที่เกิดจากส่วนของรายได้นี้ก็ได้ถูกทำให้เกิด Integration เพื่อนำมาแจกจ่ายเป็น ค่าตอบแทนผู้บริหาร คณะกรรมการของ ปตท. และเงินปันผลจ่ายให้ผู้ถือหุ้น ใช่หรือไม่?

ภาษีอากรที่รัฐบาลพึงเรียกเก็บจากกำไรที่เป็นฐานภาษีของ ปตท. ในฐานะบริษัท มหาชน จำกัด แต่กลับเป็นว่า ปตท. ได้มีการจดตั้งบริษัทย่อย เช่น บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) จากหมายเหตุประกอบงบการเงินในปี 2548 ได้เปิดเผยว่า ปตท. ถือหุ้นใน ปตท.สผ. 66.32% ซึ่ง ปตท.สผ. ได้จัดตั้งบริษัทย่อยของตนเองอีกหลายบริษัทโดย ปตท.สผ. ถือหุ้น 100% ในบริษัทเหล่านี้ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในหมู่เกาะเคย์แมน (ประเทศที่เข้าข่ายในกลุ่มแบบในรายงาน ปานามา เปเปอร์ ใช่หรือไม่)

โดยในปี 2548 นี้ มีชื่อของบริษัทต่อไปนี้ PTTEPO (ธุรกิจการลงทุนทั่วไป หรือ Company นั่นเอง), PTTEPKV, PTTEPSV, PTTEP HV และ PTTEP HL (ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศเวียดนาม) PTTEP OM (ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศโอมาน) PTTEP AG (ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศแอลจีเรีย) จะสังเกตเห็นได้ว่า (1) ประเทศที่ถูกทำการสำรวจและผลิตฯแตกต่างกันไป แต่กลับจดทะเบียนบริษัทที่ประเทศซึ่งไม่มีการเก็บภาษี นั่นคือหมู่เกาะเคย์แมน (2) ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเหล่านี้สามารถรับงานจาก ปตท. ในราคาว่าจ้างที่แพงกว่าต้นทุนใช่หรือไม่ กำไรของบริษัทเหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐบาลไทยจริงหรือไม่ ดังนั้น แทนที่ ปตท. จะมีค่าใช้จ่ายในการผลิตและสำรวจฯตามต้นทุนว่าจ้างโดย ปตท. เองซึ่งไม่ต้องไปผ่านการว่าจ้างที่บวกกำไรให้กลุ่มภายใต้ ปตท.สผ. ซึ่งมีสัดส่วนการถือหุ้นโดย ปตท. เหลือเพียง 66.32% นั่นคือ รัฐบาลไทยถือหุ้นใน ปตท.สผ. เหลือคิดป็นสัดส่วนเพียง 33.82% (จาก 51% ของ 66.32%)

คำถามจึงมีการนำทรัพย์สินที่ฉ้อฉลไปเข้าสู่ระบบการเงิน หรือ (Placement) เกิดขึ้นหรือไม่? คือ เกิดการส่งมอบรายได้การว่าจ้างสำรวจและผลิตฯมีกระบวนการได้มาของทรัพย์สินที่ฉ้อฉลไป (Proceeds of Crime)หรือไม่? ทำให้เกิดการสร้างความหลากหลายทางการเงินเพื่ออำพราง (Layering) เป็นรายได้ที่ปตท.สผ. และ/หรือบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. หรือไม่? และจบลงด้วยการรวมรับเงินกลับเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่กฎหมายรับรอง (Integration) เป็นค่าตอบแทน โบนัส ให้ผู้บริหาร และเงินปันผลจ่ายให้กับผู้ถือหุ้นของกลุ่ม ปตท.สผ. ที่สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลลดลงเหลือเพียง 33.82% เท่านั้นหรือไม่?

ด้วยเหตุนี้รัฐบาลหรือควรต้องตรวจสอบในประเด็นที่อาจมีความเคลือบแคลงสงสัยแล้วตั้งคำถามว่าประเทศไทยถูกฉ้อฉลโดย ปตท. หรือไม่? ทั้งในมิติการสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีจากส่วนต่างของราคาที่ว่าจ้างกับต้นทุนการสำรวจและผลิตฯ นั่นคือ กำไรของกลุ่ม ปตท.สผ. ซึ่งควรเป็นกำไรที่ควรรับรู้ที่ ปตท. หากไม่ต้องจ้าง ปตท.สผ. และบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. จริงหรือไม่ และทำให้เกิดโอกาสมีกำไรในกลุ่มประเทศที่เข้าข่ายแบบการรายงานในปานามา เปเปอร์ ที่ได้รับการพิสูจน์ว่า หากเป็นลักษณะนี้แล้ว คือ การฟอกเงิน ใช่หรือไม่? ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึงเรื่องการกำหนดราคาว่าจ้างที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพื่อเป็นการสร้างตัวเลขกำไรให้มีผลขึ้นลงของราคาหุ้นทั้งของ ปตท. และ ปตท.สผ. อีกด้วยได้หรือไม่?

อาจจะมีบางท่านโต้แย้ง คัดค้านว่า บริษัท มหาชน จำกัด (ซึ่งจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) หลายแห่งก็ทำกันเช่นนี้ มิถูกเรียกว่า ฟอกเงินหรือ ?

คำตอบก็คือ ธุรกิจเอกชนทั่วไปเหล่านั้นหากไม่ได้เอาทรัพย์สมบัติของตนเองมาใช้ในการขายหุ้น ก็ถือว่า ไม่ได้เกิด Proceeds of Crime ซึ่งแตกต่างจากการตั้งคำถามถึงกรณีของ ปตท. ที่มีทรัพยากรธรรมชาติของแผ่นดินไทย คือ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เหล่านี้เป็นสมบัติของชาติ แผ่นดิน ประชาชนไทยจริงหรือไม่?

เมื่อปตท.ได้นำทรัพยากรเหล่านี้ไปแสวงหาประโยชน์เฉพาะกลุ่มและมีผลกระทบที่ถูกตั้งคำถามว่ามีเบียดเบียนเอารัดเอาเปรียบจากสังคมส่วนรวมของแผ่นดินไทยซึ่งเข้าข่ายเป็น“การฉ้อฉล(Fraud)”หรือไม่? ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่ ปตท. Placement เข้าธุรกิจตนเอง ผ่านการ Layering, Integration, Placement ซ้ำแล้วซ้ำอีกหลายรอบไปยังบริษัทย่อย และบริษัทร่วมหรือไม่? และเกิดเป็น Integration หรือไม่?

ท้ายสุดแล้วการฟอกเงินได้ไปสู่กลุ่มบุคคลที่ถูกให้ความเคารพนับถือจากสังคมว่าเป็นบุคคลที่ทำงานในสำนักงานหรู (White Collar People) ใช่หรือไม่ จากข้อพิสูจน์บางตัวอย่างที่หยิบยกมาในตอนที่ 2 นี้ ด้วยการใช้หลักฐานที่พิสูจน์ได้จริงจากงบการเงินของ ปตท. และรับรองความถูกต้องโดยผู้บริหารระดับสูงของ ปตท. และผู้สอบบัญชีคือ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน งบการเงินที่เป็นร่างไร้วิญญาณจึงพูดได้ด้วยตัวของงบการเงินเอง ผู้ที่มีวิจารณญาณจะสามารถรู้คำตอบด้วยตัวท่านเองว่า “ปตท. ฟอกเงินหรือไม่?”