Vision ตัวอย่าง การ เขียน วิสัย ทัศน์ ของ ตนเอง

Tesla: เพื่อสร้างบริษัทรถยนต์ที่น่าสนใจที่สุดแห่งศตวรรษที่ 21 โดยขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงของโลกสู่ยานยนต์ไฟฟ้า

Google: จัดการข้อมูลของโลก และทำให้ทุกคนเข้าถึงได้ และเป็นประโยชน์

Facebook: ผู้คนใช้ Facebook เพื่อติดต่อกับเพื่อนๆ และครอบครัว เพื่อค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นในโลก และแบ่งปันและแสดงสิ่งที่สำคัญต่อพวกเขา

Amazon: เพื่อเป็นบริษัทที่ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางมากที่สุดในโลก ที่ซึ่งลูกค้าสามารถค้นหาและค้นพบสิ่งที่พวกเขาอาจต้องการซื้อทางออนไลน์

Nike: เราเห็นโลกที่ทุกคนเป็นนักกีฬา — รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อความสุขในการเคลื่อนไหว

Disney: เพื่อให้คนมีความสุข

IKEA: เพื่อสร้างชีวิตประจำวันที่ดีขึ้นให้กับผู้คนจำนวนมาก

Microsoft: เสริมพลังให้ทุกคนและทุกองค์กรบนโลกใบนี้ ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น

Avon: เป็นบริษัทที่เข้าใจและตอบสนองความต้องการด้านผลิตภัณฑ์ บริการ และการเติมเต็มในตนเองของผู้หญิงทั่วโลกได้ดีที่สุด

M.I.S.S.CONSULT focuses on the People Development program. We provide tools based on Scientific measurement and assessment of each individual or team's performance.

Build a strong team. We help companies understand their people, then drive behaviors to build a better relationship, ambition, and competitive mindset.

Our service helps clients to achieve their goals. We have a variety of tools in the world that are carefully selected for our clients. We decided only the best that would help fix and expand our client's human capital as a good asset. Our services are Psychometric Test Tools, Training courses, Coaching, Neuroscience, Assessment Center, DISC/Everything DiSC Certification course.

การกำหนด Vision, Mission, Core Values ขึ้นมา แต่กลับไม่ช่วยอะไร นอกจากมีเพื่อให้มี พนักงานไม่เข้าใจและไม่อิน สุดท้ายไม่ต่างจากการไม่มี บทความนี้จะอธิบายว่าควรกำหนด Vision, Mission, Core Values อย่างไร เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้จริง และช่วยให้บริษัทไปถึงจุดหมายได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ (เนื้อหาบางส่วนในบทความอาจขัดแย้งกับหลักการและทฤษฏีในตำรา)

http://www.brandingstrategysource.com/2015/09/mission-vision-values-essence-promise.html

จากประสบการณ์ที่อยู่บริษัทต่างๆ มาหลายแห่ง บริษัทขนาดเล็กที่กำลังจะขยายตัวมักประสบปัญหาในช่วงที่กำลังขยาย คือบริษัทกำลังจะเข้าสู่ช่วงถัดไป หลายบริษัทเริ่มมีปัญหาการบริหารการจัดการในช่วงนี้ มีการรับคนเข้ามาเพิ่มขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งของการมีคนเพิ่ม กำลังการผลิตไม่ได้เพิ่มขึ้นตาม การประสานงานระหว่างทีมเริ่มสะดุด การตัดสินใจที่คุยกันแล้วไม่ได้ข้อสรุปซักที ทำให้บริษัทไม่สามารถโตขึ้นตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น จึงติดอยู่ในสถานะของ Zombie Company

นอกจากนี้หลายบริษัทมักจะเริ่มกำหนด Vision, Mission, Core Values ในช่วงเวลานี้ แต่ปรากฎว่าทั้งสามสิ่งที่ตั้งขึ้นมานั้น ไม่ช่วยให้บริษัทโตไปในทิศทางที่ตั้งใจไว้ รวมถึงพนักงานก็ไม่เข้าใจและไม่อินกับสิ่งที่บริษัทกำหนดขึ้นมา กลายเป็นว่า Vision, Mission, Core Values ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อให้มีเฉยๆ ไม่สามารถช่วยกำหนดทิศทางให้บริษัทไปสู่เป้าหมายได้

หลังจากที่ผมได้เข้าไปอยู่ในบริษัทขนาดใหญ่ ทำให้เข้าใจว่า Vision, Mission, Core Values สามสิ่งนี้สามารถช่วยให้บริษัทเติบโตไปในเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้จริง หากมีการกำหนดได้อย่างถูกต้องและนำไปใช้งาน

Zombie Company

บริษัทที่ไม่เติบโตแต่ก็ไม่ก็ไม่ล้มลง อาจมีความเสียหายบ้างแต่ก็ยังสามารถอยู่ต่อไปได้เรื่อยๆ คล้ายกับซอมบี้ บริษัทที่ความสามารถในการสร้างรายได้น้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่าย ผลิตภัณฑ์ของบริษัทสามารถตอบโจทย์ตลาดและสร้างมูลค่าได้แล้ว แต่เมื่อบริษัทขยายตัวมีการใช้เงินมากขึ้น ทั้งทุนในการจ้างคนเพิ่ม ทุนในการผลิตเพิ่ม แต่เมื่อลงทุนเพิ่มแล้วกลับไม่ช่วยให้รายได้มากขึ้นตามค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริษัทไม่โตขึ้น ทั้งนี้ในบริษัทที่บริหารได้ไม่ดีอาจถึงขึ้นเริ่มขาดทุน และมีการตัดค่าใช้จ่ายออก เพื่อให้บริษัทยังคงอยู่รอด เช่น การปลดพนักงาน การลดสวัสดิการ

ช่วงชีวิตของบริษัท (Company Lifecycle)

https://www.manrajubhi.com/4-stages-of-a-business-life-cycle/

  1. Introduction Stage (proof product) ช่วงเริ่มต้นของบริษัท ในช่วงนี้บริษัทจะต้องพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นตอบโจทย์ตลาด และการแข่งขันกับคู่แข่ง
  2. Growth Stage (proof management) ช่วงเติบโตของบริษัท ในช่วงนี้บริษัทจะต้องพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ของบริษัทนั้นตอบโจทย์ตลาดที่ใหญ่ขึ้น การแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด และการบริหารจัดการภายในบริษัท
  3. Maturity Stage (proof finance) ช่วงอิ่มตัวของบริษัท ในช่วงนี้บริษัทจะต้องพิสูจน์การบริหารจัดการภายในบริษัท และการบริหารเงินของบริษัท
  4. Decline Stage (proof innovation) ช่วงถดถอยของบริษัท ในช่วงนี้บริษัทจะต้องพิสูจน์ว่าสามารถสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ตอบโจทย์ตลาดได้อีกครั้งหรือไม่ (สร้าง S-Curve ใหม่)

บทความนี้จะโฟกัสในการเปลี่ยนผ่านจาก Introduction Stage ไปสู่ Growth Stage ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้ Startup และ SME หลายแห่งไม่สามารถเติบโตต่อไปได้ เพราะความผิดพลาดในการบริหารเมื่อบริษัทขยายตัว Failed scaling management

อีกปัญหาของบริษัทขนาดเล็กที่กำลังขยาย คือ CEO ไม่เติบโตตามช่วงชีวิตของบริษัท ยังคงติดอยู่กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทั้งที่พอถึงจุดนี้ CEO จะต้องหาคนมาช่วยดูแลในการพัฒนาผลิตภัณฑ์แทน และตัวเองขยับไปทำงานส่วนอื่นที่ให้คนอื่นมาทำแทนไม่ได้ อย่างการกำหนดตัวตนของบริษัท ทิศทางของบริษัท โครงสร้างของบริษัท เป็นต้น ณ จุดนี้ CEO ต้องเป็นผู้บริหารบริษัท ไม่ใช่หัวหน้าทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์

CEO ไม่ใช่คนพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ทำหน้าที่กำหนดทิศทาง บริษัท และผลิตภัณฑ์

Vision vs Mission

จากตำราที่ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้ว วิสัยทัศน์(Vision) คือเป้าหมายของบริษัท และ พันธกิจ(Mission) คือสิ่งที่บริษัทจะทำเพื่อให้ไปสู่เป้าหมาย แต่ในการปฏิบัติจริงสองสิ่งนี้นั้นกลับกัน

เราควรกำหนดพันธกิจก่อน และค่อยกำหนดวิสัยทัศน์ คือให้กำหนดสิ่งที่ต้องการจะทำ(Mission) จากนั้นจึงกำหนดเป้าหมายปลายทางและทิศทางที่จะไป ในระยะเวลา x ปี (Vision)

เปรียบเทียบ

  • พันธกิจ คือลูกศรของเรามีลักษณะอย่างไร
  • วิสัยทัศน์ คือทิศทางที่ลูกศรของเราจะพุ่งไป
  • ค่านิยมหลัก คือกลยุทธ ลักษณะของลูกศรที่จะช่วยให้ไปยังเป้าหมายได้ดีกว่าคู่แข่ง https://performanceculture.com/okr-ebook/

พันธกิจ (Mission)

เราควรระบุพันธกิจให้ชัดเจนก่อน ว่าบริษัทของเราเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร มีบริษัทอยู่เพื่ออะไร ทำไมต้องมีบริษัทของเราอยู่บนโลกนี้ โดยจะไม่กำหนดวิธีการทำงานไว้ในพันธกิจ และส่วนใหญ่พันธกิจจะอยู่ตลอดกาล และไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง

วิสัยทัศน์ (Vision)

การกำหนดคุณค่าสูงสุดที่บริษัทต้องการสร้างให้เกิดขึ้น กับลูกค้า ชุมชน อุตสาหกรรม หรือโลกใบนี้ ซึ่งจะเป็นตำแหน่งของบริษัทที่อยู่ในตลาด (market positioning) และควรกำหนดเวลาไว้ด้วย เช่น 3 ปี 5 ปี

เพื่อ…(คุณค่าที่ส่งมอบ)…(ให้กับใคร)…(ด้วยสินค้า/บริการแบบใด)

ข้อควรระวัง

วิสัยทัศน์คือสิ่งที่คนภายในและภายนอกมองเห็นเรา นึกถึงว่าเราเป็นอย่างไร ไม่ใช่เป้าหมายที่บริษัทต้องการ เช่น เป็นอันดับหนึ่งในเอเชีย นี่คือรางวัลจากการไปถึงเป้าหมาย แต่ไม่ใช่วิสัยทัศน์ ไม่ใช่ทิศทางที่จะไป ทิศทางที่จะไปอาจจะเป็น การผลิต xxx ที่ใช้งานได้สะดวกที่สุด ซึ่งหลังจากนั้นผลพลอยได้อาจทำให้เรากลายเป็นอันดับหนึ่ง ดังนั้นการตั้งวิสัยทัศน์โดยอิงกับกลยุทธ หรือ market positioning จะตรงกับสิ่งที่เรียกว่าวิสัยทัศน์ และนำไปใช้งานได้จริง แน่นอนว่าบริษัทย่อมอยากให้ผลิตภัณฑ์ของตัวเองดีในทุกด้าน แต่ถ้าต้องเลือก จะเน้นทำด้านใดให้ดีก่อน อยากให้คนมองเห็นว่าบริษัททำอะไรได้ดี

ตัวอย่างที่ 1

to provide the insight supporting the decision to increase benefits with data

เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยในการตัดสินใจ เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ด้วยข้อมูล

ตัวอย่างที่ 2

to increase customer benefits with data insight

เพื่อเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้าด้วยข้อมูลเชิงลึก

ทั้งสองตัวอย่างนี้ส่งผลให้แนวคิดในการทำงานแตกต่างกัน อันแรกคือเน้นหาข้อมูลเชิงลึก(provide insight) เพื่อช่วยการตัดสินใจของลูกค้า อันสองคือเน้นสร้างผลประโยชน์ให้ลูกค้า(increase benefits)

เมื่อมีการนำไปใช้งานจริง พนักงานบริษัทแรกจะโฟกัสในการหาข้อมูลเชิงลึกที่จะ ช่วยในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ พนักงานบริษัทสองจะโฟกัสการหาทางเพิ่มผลประโยชน์ให้ลูกค้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัท ว่าต้องการส่งมอบคุณค่าอะไร

ช่วงชีวิตถัดไปของบริษัทในอนาคตอาจจะตัดส่วนที่เป็น data ออก เพื่อขยายขอบเขตไปในวิธีอืนนอกจากการใช้แค่ข้อมูล เช่น เพิ่มบริการในส่วนของ User experince, Innovation, Recruitment

ตัวอย่าง Dunkin Donut ที่มีการตัดคำว่า Donut ออก เพื่อขยายไปยังส่วนอื่นที่ไม่จำกัดแค่โดนัท

ค่านิยมหลัก (Core Values)

จากรูปพีระมิดข้างต้นของบทความ สิ่งที่ถัดลงมาจากวิสัยทัศน์คือกลยุทธ (Strategy) ดังนั้นแท้จริงแล้วสิ่งที่เรียกว่า Core Values คือกลยุทธ แต่เป็น กลยุทธเชิงพฤติกรรมที่จะส่งผลให้บริษัทไปถึงเป้าหมาย

Core Values = Strategic behaviors to achieve goal

กลยุทธ (Strategy)

กลยุทธ คือ การเลือกให้ความสำคัญกับสิ่งหนึ่งมากกว่าอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้มีความได้เปรียบในการไปถึงเป้าหมายก่อนคู่แข่ง แม้ว่าจะอยากให้ดีในทุกด้าน แต่ถ้าต้องเลือก จะให้ความสำคัญกับด้านใดก่อน สามารถอ้างอิงจาก market positioning ซึ่งจะสอดคล้องกับตอนที่กำหนดวิสัยทัศน์อยู่แล้ว ทำให้ทั้งวิสัยทัศน์และ Core Values เป็นไปในแนวทางเดียวกัน

หากบริษัทต้องการจะไปให้ถึงเป้าหมายก่อนคู่แข่ง พฤติกรรมอะไรที่จะสร้างความได้เปรียบให้กับบริษัทในการแข่งขัน และผลที่ได้จาก Core Values นั้น จะกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของบริษัท

ในการกำหนด Core Values สามารถทำได้สองแบบ คือ

แบบที่ 1 ผู้บริหารเป็นคนกำหนดขึ้นมา และให้พนักงานปรับตัวเพื่อให้มีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ Core Values ที่กำหนดไว้ ซึ่งวิธีนี้อาจทำให้พนักงานบางส่วนไม่เห็นด้วยและออกไป บริษัทก็จะเหลือพนักงานที่ค่อนข้างตรงกับ Core Values ที่กำหนดไว้

แบบที่ 2 ทำแบบสำรวจกับพนักงานเพื่อสอบถามความคิดเห็นว่าพฤติกรรมอะไรที่จะทำให้บริษัทไปถึงเป้าหมายได้ดีกว่าคู่แข่ง จากนั้นให้ผู้บริหารนำผลจากแบบสำรวจมาคัดกรองอีกทีเพื่อกำหนด Core Values

จากการพูดคุยหรือทำแบบสำรวจจะทำให้ได้พฤติกรรมต่างๆ ออกมา จากนั้นให้จับกลุ่มพฤติกรรม และเลือกกลุ่มที่จะนำมาเป็นกลยุทธในการนำพาบริษัทไปสู่พันธกิจและวิสัยทัศน์ เช่น Learning, Practice, Growth, Out of comfort zone จัดกลุ่มรวมเป็น Improvement

หลังจากกำหนด Core Values แล้ว บริษัทจะต้องทำให้พนักงานปรับพฤติกรรมให้เป็นไปตาม Core Values เช่น การเทรนนิ่ง การมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง การจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ และควรจะนำ Core Values มาเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินประสิทธิภาพการทำงานด้วย (Performance Review)

การประเมินประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Review)

การประเมินผลงานแบบ 2 แกน

หลายบริษัทให้ความสำคัญกับผลงาน แต่ลืมให้ความสำคัญกับ Core Values หรือ พฤติกรรมของพนักงาน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาอย่าง Toxic Superstar ขึ้นมาได้ ดังนั้นควรวัดผล Core Values ด้วยเพิ่มอีกหนึ่งแกน เพื่อที่ว่านอกจากบริษัทจะได้พนักงานที่มีผลงานดีแล้ว ยังช่วยให้บริษัทได้พนักงานที่มีพฤติกรรมตรงตามกลยุทธที่จะสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับบริษัท และเป็นการกระตุ้นให้พนักงานปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับ Core Values ของบริษัทอีกด้วย

  • พนักงานที่มีผลงานดีและพฤติกรรมดี บริษัทควรสนับสนุนเขา และรักษาเขาไว้กับองค์กรให้ได้
  • พนักงานที่ผลงานไม่ดีแต่พฤติกรรมดี บริษัทควรหาวิธีเพิ่มทักษะให้กับเขา เช่น การอบรม การสอนงาน การมอบหมายงานเพื่อให้ฝึกฝน
  • พนักงานที่ผลงานดีแต่พฤติกรรมไม่ดี บริษัทควรหาวิธีปรับปรุงพฤติกรรมเขา พูดคุยกับเขา อธิบายให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการกระทำต่างๆ หรือการอบรมทางด้าน Soft skill
  • พนักงานที่ผลงานไม่ดีและพฤติกรรมไม่ดี บริษัทควรหาวิธีเพิ่มทักษะและปรับปรุงพฤติกรรมเขา หากบริษัทพยายามปรับปรุงแล้ว แต่ยังผลงานไม่ดีและพฤติกรรมไม่ดีอย่างต่อเนื่อง บริษัทอาจต้องพิจารณาสถานะของพนักงานคนนี้ เพราะหากพนักงานคนนี้ยังอยู่ในบริษัท จะส่งผลกระทบต่อเพื่อนร่วมงานคนอื่น เช่น มองว่าผลงานไม่ดีก็ไม่เป็นไร พฤติกรรมไม่ดีก็ไม่เป็นไร

Toxic Superstar

พนักงานที่มีผลงานดีมาก แต่พฤติกรรมไม่ดี เช่น สามารถทำงานได้ดีแต่ร่วมงานกับคนอื่นไม่ได้ รับผิดชอบงานดีแต่ไม่ช่วยเหลือคนอื่น การตำหนิตัวเพื่อนร่วมงาน การตำหนิผลงานของผู้อื่นในทางที่ไม่ใช่การวิจารณ์เพื่อให้เกิดประโยชน์ การไม่มีระเบียบวินัย การไม่มีมีความรับผิดชอบ

แน่นอนว่าผลงานของคนนี้อาจจะดีด้วยความสามารถของเขา แต่พฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานคนนี้

หากบริษัทอยู่ในภาวะที่จำเป็นต้องพึ่งพาผลงานของพนักงานคนนี้ก็อาจจะปิดตาข้างเดียวเพื่อให้บริษัทอยู่รอด แต่ในระยะยาวพฤติกรรมของพนักงานคนนี้จะสร้างปัญหาให้กับบริษัทได้ พนักงานคนอื่นจะมองว่าทำแบบนี้บ้างก็ได้ไม่เห็นเป็นอะไร แค่มีผลงานก็พอ ซึ่งพอเกิดการทำต่อกันหลายๆคน จะทำให้พฤติกรรมแบบนี้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของที่นั่น และอาจจะขัดแย้งกับ Core Values ที่บริษัทวางไว้แต่แรก การจะมาแก้ไขในภายหลังอาจจะกระทบกับหลายคน หรือทั้งแผนก ดังนั้นควรหาโอกาสจัดการตั้งแต่ช่วงแรก ให้เขาปรับพฤติกรรมให้สอดคล้องกับ Core Values

Mission, Vision, Core Values

หลักจากบริษัทกำหนด Mission, Vision, Core Values ได้แล้ว ก็สามารถนำไปปฏิบัติการต่างๆ ต่อได้

การขับเคลื่อนบริษัท โดยแตกย่อยเป้าหมาย รายปี รายไตรมาส ออกมาจากวิสัยทัศน์

การพัฒนาพนักงานปัจจุบัน และสรรหาพนักงานใหม่ ให้สอดคล้องกับ Core Values

การทำ Company Branding โดยอ้างอิงจาก Mission, Vision, Core Values เพื่อให้ทั้งคนภายในและภายนอกบริษัท มองเห็นบริษัทตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ต้องศึกษาต่อในส่วนของ Corporate Identity, Brand Message, Mood and Tone เป็นต้น

กรณีตัวอย่าง Facebook และ TikTok

  • Facebook — Connect People
  • TikTok — Entertain People

บริษัทควรยึดใน Mission และ Vision ของตัวเอง เพื่อไม่ให้การดำเนินการผิดเพี้ยน กรณีของ Facebook และ TikTok ในปัจจุบัน ตอนนี้ Facebook พยายามทำให้ตัวเองเป็นเหมือน TikTok เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแย่งชิงผู้ใช้ และเวลาใช้งานบนแอปพลิเคชันลดลง

Facebook พยายามปรับหลายอย่างในแอปของตัวเองให้เหมือน TikTok จนผู้ใช้งานหลายคนเริ่มบ่น แม้ว่า Facebook จะพยายามทำตัวเป็น TikTok แต่ก็ไม่มีทางสู้ TikTok ที่เกิดมาเป็น TikTok ได้อยู่แล้ว

ปัจจุบัน Facebook สามารถเชื่อมโยงผู้คนได้ทั้งเกือบทั้งโลกแล้วก็ตาม แต่ถ้ายึดจากวิสัยทัศน์เดิมของตัวเอง ก็ยังสามารถพัฒนาระดับความใกล้ชิดกันของผู้คนขึ้นไปได้อีก

หากต้องการเปลี่ยนแนวทางจริง ก็ควรเปลี่ยนระดับวิสัยทัศน์ไปเลย เพื่อกำหนดทิศทางให้แน่นอน และมุ่งไปในทางนั้น ไม่ใช่กำหนดทิศทางไว้แล้ว แต่เมื่อเห็นคู่แข่งทำก็จะทำบ้าง ทั้งที่แนวทางของบริษัทนั้นแตกต่างกัน อาจจะทำให้บริษัทเดินหน้าไปผิดทาง ไปถึงเป้าหมายได้ช้ากว่าเดิม และการดำเนินการผิดเพี้ยนจากที่ควรจะเป็น รวมถึงภาพลักษณ์ที่คนอื่นเห็นผิดเพี้ยนไป

Objectives and Key Results

สำหรับหัวข้อถัดมาจะเป็นในส่วนของการกำหนดเป้าหมาย(Objectives) และการวัดผล(Key Results) ซึ่งรายละเอียดค่อนข้างมาก หากมีโอกาสจะอธิบายในบทความถัดไป

ตัวอย่าง บริษัท Dai-ichi Life Group

https://www.dai-ichi-life-hd.com/en/about/aims/mission.html

ตัวอย่าง บริษัท Google

Mission

to organize the world’s information and make it universally accessible and useful.

Vision

to provide access to the world’s information in one click.

Core Values

  • Focus on the user and all else will follow
  • Fast is better than slow
  • Democracy on the web works
  • You can make money without doing evil
  • There’s always more information out there
  • Great just isn’t good enough

Motto

Do the right thing

ที่มา: https://mission-statement.com/google/

ตัวอย่าง บริษัท Apple

Mission

to bringing the best user experience to its customers through its innovative hardware, software, and services.

วิสัยทัศน์ (Vision) คืออะไร

วิสัยทัศน์ หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้ สมมุติว่า V คือ วิสัยทัศน์ (VISION)

Vision เขียนยังไง

(วิช'เชน) n. สายตา, ความสามารถในการเห็นภาพ, อำนาจในการคาดคะเน, การคาดคะเน, ภาพ, ทรรศนะ, จินตนาการ, ความรู้สึกลวงตา, นิมิต, สิ่งที่มองเห็น, ภาพบุคคลหรืออื่น ๆ ที่มีความสวยงามมาก. vt. มองเห็น, เห็น, จินตนาการ, Syn. eyesight, sight, slance, optics.

ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดีมีอะไรบ้าง

1. วิสัยทัศน์ต้องมีความกระชับ (Concise) 2. วิสัยทัศน์ต้องมีความชัดเจน (Clearity) 3. วิสัยทัศน์ต้องมีความท้าทาย (Challenge) 4. วิสัยทัศน์มีความมั่นคง (Stability)

องค์ประกอบ4ประการของวิสัยทัศน์มีอะไรบ้าง

วิสัยทัศน์ที่ดีต้องมีคุณสมบัติ4ประการดังนี้ 1.มุ่งสู่ความเป็นเลิศ 2.ความเป็นหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร 3.มุ่งเน้นอนาคต 4.ภาพความนึกฝัน