ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ วงจร ชีวิต ผลิตภัณฑ์

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ ถูกคิดค้นขึ้นมาโดย เรย์มอนด์ เวอร์นอน ตั้งแต่ปี 1996 ถือว่าเป็นทฤษฎีที่มีมานานยี่สิบกว่าปี และยังคลาสิกมากอีกด้วย เพราะ Product Life Cycle ก็ยังคงเป็นทฤษฎีที่นักการตลาดและเจ้าของแบรนด์ศึกษากันอยู่ทุกวันนี้

ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ วงจร ชีวิต ผลิตภัณฑ์

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ Product Life Cycle มีอะไรบ้าง

เพราะสินค้าทุกชิ้นบนโลกใบนี้ล้วนมีวงจรชีวิตของตัวเอง จึงทำให้เกิดทฤษฎีนี้ขึ้น ที่จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์วิเคราะห์ได้ว่าสินค้าของแบรนด์ในตอนนั้นอยู่ในขั้นไหนของตลาด แล้วควรจะวางกลยทธ์อย่างไรเพื่อจะส่งเสริมการขายให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสิ่งที่จะใช้วัดว่าสินค้าของคุณอยู่ในขั้นไหนของตลาดจะอ้างอิงจากยอดขาย ส่วนแบ่งและระยะเวลาเป็นหลัก ซึ่ง Product Life Cycle จะแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น 4 ช่วงเวลาดังนี้

ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ วงจร ชีวิต ผลิตภัณฑ์

ตัวอย่าง การ วิเคราะห์ วงจร ชีวิต ผลิตภัณฑ์

1. Introduction ช่วงแนะนำเปิดตัวสินค้า

เมื่อขั้นตอนการผลิตสินค้านั้นเสร็จสมบูรณแล้วก็ถึงเวลาที่แบรนด์จะต้องเปิดตัวสินค้าเพื่อนำมันเข้าสู่ตลาดและแนะนำให้ผู้บริโภคได้รู้จัก คือขั้นแรกของ Product Life Cycle ในขั้นนี้เจ้าของแบรนด์มีสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจให้มาก ๆ คือ ยอดขายต่ำ การแข่งขันต่ำ กำไรต่ำ แต่การลงทุนเพื่อสร้างการรับรู้และความต้องการสินค้าจะสูง ดังนั้นแบรนด์ต้องทำการตลาดในด้านการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้อย่างหนัก ซึ่งควรเตรียมงบไว้เพื่อดันสินค้าให้ติดตลาด

การสร้างการรับรู้ให้กับผลิตภัณฑ์นั้นสามารถทำได้หลากหลายช่องทางมาก ๆ ถ้ามีงบมากพอก็สามารถทำได้ทุกช่องทาง แต่อาจจะเน้นช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายใช้เป็นหลักก็ได้ พร้อมไปกับการส่งเสริมการตลาดด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การแจกคูปองส่วนลดสำหรับลูกค้าใหม่ การแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไซซ์เล็กให้ผู้บริโภคได้ไปทดลองใช้ก่อน เพื่อให้เกิดการบอกต่อไปด้วย

อีกปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมขั้นตอนนี้ก็คือ คุณภาพของสินค้าต้องดีก่อนที่จะส่งไปถึงมือผู้บริโภค ควรจะสำรวจตลาดและวางแผนธุรกิจให้ดี เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าที่แบรนด์จะทำออกมานั้นเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคจริง

2. Growth ช่วงเติบโต

Product Life Cycle ช่วงเติบโตคือ ช่วงที่สินค้าของคุณเริ่มเป็นที่รู้จักของผู้บริโภคแล้วหลังจากที่สร้างการรับรู้ไปในช่วงแรก เกิดจากทดลองใช้และบอกต่อคนรอบข้าง ทำให้เกิดกลุ่มลูกค้าที่ใช้ประจำและกลุ่มใหม่ที่เริ่มอยากทดลองใช้ตาม และเมื่อผลิตภัณฑ์ของคุณกำลังเติบโต มียอดขายเข้ามาเรื่อย ๆ ช่วงนี้เองจะเป็นช่วงที่คู่แข่งในตลาดทั้งรายเล็กและรายใหญ่ เริ่มที่จะมองเห็นแบรนด์ของคุณบ้างแล้ว และกำลังจ้องที่จะเล่นงานคุณหรือแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดนั่นแหละ

จุดสำคัญในขั้นที่สองนี้ก็คือแบรนด์ต้องขยันเก็บ Feedbaack จากลูกค้าเพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข พัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น ลบข้อด้อยออกไป เพื่อไม่ให้คู่แข่งเข้ามาแย่งชิงส่วนแบ่งในตลาด ซึ่งการปรับปรุงนี้สามารถทำได้หลากหลาย ตั้งแต่ตัวโปรดักส์ไปจนถึงช่องทางการขาย หรือบริการหลังการขาย

3. Maturity ช่วงอิ่มตัวหรือเติบโตเต็มที่

ช่วงที่สามของ Product Life Cycle เป็นช่วงที่สินค้านั้นติดตลาดแล้ว หลังจากที่ผู้บริโภคได้ทดลองใช้และรู้สึกพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ ส่งผลให้เกิดกลุ่มลูกค้าประจำเพิ่มขึ้นและยอดขายที่เพิ่มขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่อาจจะไม่เร็วเท่าช่วงที่สอง (ช่วงเติบโต) เนื่องจากกลุ่มลูกค้าใหม่เกิดขึ้นน้อยลง แต่คู่แข่งใหม่นั้นจะยังคงเกิดขึ้นมาเรื่อย ๆ จนอาจทำให้ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์มีความต้องการน้อยลงในตลาด

หากสินค้าแบรนด์อยู่ในขั้นนี้ อาจจะต้องใช้กลยุทธ์ในการมองหาตลาดใหม่ หรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา อาจจะมีคุณบัติที่ต่างกัน แต่ช่วยส่งเสริมกันเมื่อทำงานร่วมกัน หรือนำเอานวัตกรรมใหม่เข้ามาผสมก็ได้ เพื่อเป็นอีกทางเลือกให้กับผู้บริโภค อีกทริคหนึ่งคือการลดราคาสินค้าลง หาวิธีในการลดค่าใช้จ่ายทางตลาด เช่น เน้นการขายออนไลน์เป็นหลัก ลดสาขาหน้าร้านลงเพื่อควบคุมงบ และต้องไม่ลืมที่จะรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ให้ได้ด้วย เพราะขั้นที่สามค่าใช้ต่ายในการทำการตลาดจะลดลงกว่าช่วงแรกและช่วงที่สอง ถือเป็นช่วงเก็บเกี่ยวและสร้างกำไรได้มากที่สุดใน 4 ขั้นของ Product Life Cycle

4. Decline ช่วงถดถอย

วงจรสุดท้ายของ Product Life Cycle เป็นช่วงที่ทุกแบรนด์ต้องเดินทางมาถึงจุดนี้ จะช้าหรือเร็วก็อยู่ที่วางแผนการตลาดแต่ละขั้นได้ดีมากแค่ไหน สิ่งที่จะเป็นตัววัดว่าสินค้าของแบรนด์เข้ามาอยู่ในขั้นนี้คือยอดขายที่ลดลงอย่างมากจากหลายปัจจัย เช่น ความต้องการในผลิตภัณฑ์ที่ลดลง หรือเสียส่วนแบ่งทางการตลาดให้กับคู่แข่งหลายราย รวมไปถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป

สิ่งที่แบรนด์ควรทำคือการระบายสินค้าออกไปให้ได้เร็วที่สุด อาจจะผ่านการจัดโปรโมชัน ลดแลกแจกแถม กิจกรรมต่าง ๆ หรือเน้นไปที่ลูกค้าประจำให้เกิดการซื้อซ้ำ ขั้นสุดท้ายนี้ถือเป็นขั้นวัดความสามารถของเจ้าของแบรนด์เลยล่ะ ว่าจะสามารถรักษาผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในตลาดไปได้นานแค่ไหน เพราะหากยังไม่ทำสินค้าใหม่ หรือปรับเปลี่ยนอะไร สุดท้ายผลิตภัณฑ์ก็จะหายไปจากตลาดเอง

ทริคในการวางกลยุทธ์แบรนด์ผ่านการวิเคราะห์ Product Life Cycle

การวิเคราะห์ Product Life Cycle (PLC) ที่ดี จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจถึงวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์และวางแผนกลยุทธ์การตลาดได้อย่างเหมาะสม และนี่คือทริคดี ๆ ที่เราขอแนะนำ

1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์การตลาดให้ชัดเจน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของกลยุทธ์การตลาดควรสอดคล้องกับช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ เช่น ในช่วงแนะนำ เป้าหมายคือการสร้างการรับรู้และความต้องการ ในช่วงเติบโต เป้าหมายคือขยายฐานลูกค้าและรักษาส่วนแบ่งการตลาด เป็นต้น

2. เลือกกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสม

กลยุทธ์การตลาดที่เลือกใช้ควรเหมาะสมกับช่วงของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์และเป้าหมายของแบรนด์ เช่น ในช่วงแนะนำ กลยุทธ์การตลาดที่เน้นไปที่การสื่อสารการตลาดเพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความสนใจให้กับผลิตภัณฑ์จะเหมาะสม เป็นต้น

3. วัดผลและประเมินผลกลยุทธ์การตลาด

แบรนด์ควรวัดผลและประเมินผลกลยุทธ์การตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบว่ากลยุทธ์ที่เลือกใช้มีประสิทธิภาพหรือไม่ และสามารถปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นได้หรือไม่

การศึกษาเรื่อง Product Life Cycle จะช่วยให้เจ้าของแบรนด์รู้ว่าสินค้าของคุณอยู่ในช่วงไหน และควรใช้กลยุทธ์แบบใดที่จะส่งเสริมให้สินค้านั้นอยู่ในตลาดได้ตราบนานเท่านาน เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จของแบรนด์

วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ มีอะไรบ้าง

โดยวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ก็มีอยู่ด้วยกัน 4 ช่วง คือ ช่วงแนะนำ (Introduction) ช่วงเติบโต (Growth) ช่วงเติบโตเต็มที่หรือจุดสูงสุด (Maturity) ช่วงถดถอย (Decline) ช่วงแนะนำผลิตภัณฑ์ (Introduction)

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Circle = PLC) มีทั้งหมดกี่ขั้น

ลักษณะของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ แบ่งได้เป็น 4 ขั้น คือ 1. ขั้นแนะนำ (Introduction) 2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth) 3. ขั้นเจริญเติบโตเต็มที่/ อิ่มตัว (Maturity) และ 4. ขั้นถดถอย/ ตกต่ำ (Decline)

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ขั้นเจริญเติบโตว่ามีลักษณะอย่างไร

2. ขั้นเจริญเติบโต (Growth Stage) เป็นขั้นตอนที่ผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการออกไปสู่ตลาดแล้ว และผู้บริโภคหรือลูกค้าเกิดการยอมรับผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการขององค์กรอย่างรวดเร็ว ในขั้นตอนนี้มีอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์สินค้าหรือบริการทางด้านยอดขายสูง และมีกำไรเพิ่มสูงขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคหรือลูกค้า

ระยะที่ 3 ของวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ คือระยะใด

3. ช่วง Maturity เป็นช่วงที่ต้องทำกำไรสูงสุด และในขณะเดียวกันก็ต้องป้องกันส่วนแบ่งทางการตลาดไว้ จึงต้องตอกย้ำความมั่นใจในสินค้าแก่ลูกค้าเป็นระยะๆ หรือออกสินค้าที่ปรับปรุงดัดแปลง (minor change) เพื่อแสดงถึงการพัฒนาสินค้าอยู่เสมอ ภายใต้จุดเด่นเดิมของสินค้า และเพื่อสร้างกลุ่มลูกค้าใหม่ๆ