ชนชาต อ สราเอลออกจากอ ย ปต ม ก คน

เด็กชาวปาเลสไตน์ทำท่าดีใจกับการเผารถของอิสราเอลที่กลุ่มฮามาสขับกลับเข้ามาในฉนวนกาซา แล้วจุดไฟเผา เมื่อ 7 ต.ค.

8 ตุลาคม 2023

กลุ่มติดอาวุธ ฮามาส เปิดปฏิบัติการอัล-อักซา ฟลัด (Operation Al-Aqsa Flood) โดยอ้างว่ายิงจรวดจำนวนมากข้ามชายแดนทางตอนใต้ของอิสราเอล เพื่อเปิดทางให้นักรบติดอาวุธแทรกซึมเข้าไปในอิสราเอลจากหลายทิศทาง บางส่วนเข้าไปในชุมชนใกล้ฉนวนกาซา สังหารประชาชนและจับพวกเขาเป็นตัวประกัน

นี่คือเรื่องราวของกองกำลังติดอาวุธกลุ่มนี้ และพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง

ฮามาสคือใคร?

ฮามาสเป็นกองกำลังติดอาวุธปาเลสไตน์ที่เคร่งศาสนาอิสลามซึ่งปกครองฉนวนกาซา กลุ่มฮามาสสาบานว่าจะทำลายล้างอิสราเอล และได้ทำสงครามกับอิสราเอลหลายครั้งนับตั้งแต่เข้ายึดครองฉนวนกาซาในปี 2007

ในระหว่างการสู้รบ กลุ่มฮามาสได้ยิงหรืออนุญาตให้กลุ่มอื่น ๆ ยิงจรวดหลายพันลูกใส่อิสราเอล และเปิดฉากโจมตีอิสราเอลรุนแรงหลายต่อหลายครั้ง ขณะที่อิสราเอลก็โจมตีทางอากาศใส่กลุ่มฮามาสอยู่หลายครั้ง รวมถึงร่วมกับอียิปต์ในการปิดล้อมฉนวนกาซาตั้งแต่ปี 2007 โดยระบุว่าเป็นไปเพื่อรักษาความปลอดภัย

อิสราเอล สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร รวมถึงอีกหลายชาติมหาอำนาจ จัดให้กลุ่มฮามาสหรือกองกำลังทหารของฮามาส เป็นกลุ่มก่อการร้าย ทั้งนี้ กลุ่มฮามาสได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านทั้งด้านเงินทุน การจัดหาอาวุธ และการฝึกซ้อมรบ

ฉนวนกาซาคืออะไร?

ฉนวนกาซามีอาณาเขตยาว 41 กม. กว้าง 10 กม. ซึ่งอยู่ระหว่างอิสราเอล อียิปต์ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีประชากรประมาณ 2.3 ล้านคน และถือเป็นพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในโลก

อิสราเอลควบคุมน่านฟ้าเหนือฉนวนกาซาและแนวชายฝั่ง จำกัดผู้คนและสินค้าที่ได้รับอนุญาตให้ผ่านเข้าออก ขณะที่อียิปต์ก็ควบคุมและจำกัดบุคคลที่ผ่านเข้าออกฉนวนกาซาทางด้านชายแดนทางบกที่ติดกับอียิปต์

องค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ประชาชนที่อยู่ในฉนวนกาซาราว 80% ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากนานาชาติ และประมาณ 1 ล้านคนต้องขอรับความช่วยเหลือด้านอาหารในแต่ละวัน

ชนชาต อ สราเอลออกจากอ ย ปต ม ก คน

ทำไมอิสราเอล-ฮามาสถึงสู้รบกัน?

สถานการณ์ตึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การโจมตีโดยกลุ่มฮามาสเมื่อ 7 ต.ค. เกิดขึ้นโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า กลุ่มฮามาสยิงจรวดหลายพันลูกใส่อิสราเอล ขณะที่นักรบกลุ่มฮามาสฝ่าแนวชายแดนและบุกไปโจมตีชุมชนชาวอิสราเอล สังหารพลเรือนหลายสิบคน และจับตัวประกันจำนวนมาก

อิสราเอลเปิดการโจมตีทางอากาศกลับทันที โดยระบุว่ากำลังกำหนดเป้าหมายไปยังพื้นที่ติดอาวุธในฉนวนกาซา เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกล่าวว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คน

ข้อพิพาทที่ปาเลสไตน์

เขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซารู้จักกันว่าเป็นดินแดนปาเลสไตน์ เช่นเดียวกับเยรูซาเลมตะวันออกและอิสราเอลที่ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่าปาเลสไตน์ตั้งแต่สมัยโรมัน

พื้นที่อิสราเอล-ปาเลสไตน์นี้ เป็นที่อยู่อาศัยของทั้งชาวยิว (อิสราเอล) และชาวอาหรับ (ปาเลสไตน์)

ดินแดนปาเลสไตน์เดิมนี้เป็นอาณาจักรของชาวยิวในคัมภีร์ไบเบิล และชาวยิวถือว่าที่นี่เป็นที่อยู่อาศัยของบรรพบุรษของพวกเขาอยู่ก่อนแล้ว แต่ชาวอาหรับในปาเลสไตน์ก็บอกว่านี่เป็นบ้านของพวกเขาเช่นกัน

ปี 1947 สหประชาชาติมีมติให้แบ่งปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐของชาวยิวและชาวอาหรับแยกกัน โดยให้เยรูซาเลมเป็นเมืองนานาชาติ โดยผู้นำชาวยิวตอบรับแผนนี้ แต่ฝ่ายอาหรับปฏิเสธ

ปี 1948 ผู้ปกครองชาวอังกฤษและผู้นำชาวยิวประกาศสถาปนาอิสราเอลเป็นรัฐ โดยชาวปาเลสไตน์ไม่ยอมรับสิทธิในการดำรงอยู่ของอิสราเอล และเกิดสงครามขึ้น โดยกองทัพจากประเทศอาหรับเข้าร่วมด้วย

ชาวปาเลสไตน์หลายแสนคนถูกบังคับให้อพยพออกจากบ้านของตัวเอง และกว่าจะมีการประกาศหยุดยิงในปีถัดมา อิสราเอลก็เข้ายึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของปาเลสไตน์สำเร็จแล้ว

จอร์แดนได้ควบคุมพื้นที่ที่เรียกว่าเวสต์แบงก์ อียิปต์ได้ครอบครองฉนวนกาซา ส่วนเยรูซาเลมถูกแยกออกเป็นของกองกำลังอิสราเอลฝั่งตะวันตก และของกองกำลังจอร์แดนในฝั่งตะวันออก

อย่างไรก็ตามชาวปาเลสไตน์ยังใช้ชื่อปาเลสไตน์เป็นคำกลางสำหรับเวสต์แบงก์ กาซา และเยรูซาเลมตะวันออก

ด้วยความที่ไม่มีการบรรลุข้อตกลงใด ๆ ต่างฝ่ายก็ต่างโทษกันและกันว่าเป็นที่มาของความขัดแย้งและการทำสงครามเรื่อยมาอีกหลายทศวรรษ

ปี 1967 เกิดสงครามใหญ่ที่รู้จักกันในชื่อ สงคราม 6 วัน (Six Day War) อิสราเอลสามารถยึดครองเยรูซาเลมตะวันออก, เขตเวสต์แบงก์, ฉนวนกาซา, พื้นที่ส่วนใหญ่ของที่ราบสูงโกลันของซีเรีย และแหลมไซนาย ไว้ได้

ชนชาต อ สราเอลออกจากอ ย ปต ม ก คน

ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์ส่วนใหญ่และลูกหลานของพวกเขาอาศัยอยู่ในกาซาและเขตเวสต์แบงก์ และในประเทศเพื่อนบ้านอย่างจอร์แดน, ซีเรีย และเลบานอน คนเหล่านี้และลูกหลานไม่ได้รับอนุญาตให้กลับบ้านเกิด โดยอิสราเอลระบุว่าจะทำให้คนล้นประเทศและเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐยิว

อิสราเอลถือว่าพื้นที่ในเยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของตัวเอง ขณะที่ชาวปาเลสไตน์บอกว่าเยรูซาเลมตะวันออกจะเป็นเมืองหลวงในอนาคตของพวกเขา โดยสหรัฐฯ เป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยอมรับการอ้างเป็นเจ้าของเยรูซาเลมทั้งเมืองของอิสราเอล

ในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา อิสราเอลได้เข้ามาก่อสร้างและตั้งถิ่นฐานในพื้นที่นี้ โดยมีชาวยิวกว่า 6 แสนคนอาศัยอยู่ ขณะที่ชาวปาเลสไตน์มองว่าการลงหลักปักฐานนี้ผิดกฎหมายนานาชาติ และเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการเพื่อสันติภาพ แต่อิสราเอลก็ปฏิเสธ

ศึกภายในพม่ากระทบถึงไทย เมื่อผู้ลี้ภัยจากการสู้รบทะลักสู่ศูนย์พักพิงตามแนวชายแดน เพิ่มโอกาสทองให้เจ้าหน้าที่ไทยหากินกับส่วยจากผู้อพยพ-คนต่างด้าวเป็นล่ำเป็นสันยิ่งกว่าเดิม ทั้งเรื่องการทำ “บัตร 10 ปี” สวมสิทธิเป็นคนไทย ซื้อที่ดิน-อาคาร-ประกอบธุรกิจในไทย ที่ทำอย่างเป็นล่ำเป็นสันมานาน จนมีคนต่างด้าวอยู่ไทยเกินกำหนดกว่า 2 ล้านคน ปัญหานี้กระทรวงมหาดไทยจะปัดความรับผิดชอบไม่ได้

ในรายการ “คุยทุกเรื่องกับสนธิ” หรือ “สนธิทอล์ก”เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์เครือผู้จัดการได้กล่าวถึงผลกระทบจากสถานการณ์สู้รบในรัฐทางตอนเหนือของพม่า ระหว่างกองทัพรัฐบาลทหารกับกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เขตการปกครองพิเศษโกก้าง เมืองเล่าก์ก่าย ซึ่งปะทุขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งจนขณะนี้ได้ขยายวงกว้างไปตามเมืองสำคัญหลายแห่ง

ทั้งนี้ ระยะแรกสงครามในพื้นที่เขตการปกครองพิเศษโกก้างที่มีอาณาเขตติดกับชายแดนจีนทางมณฑลยูนนาน แต่ก็มีคนไทยเราได้รับผลกระทบโดยตรงเช่นกัน เพราะระหว่างที่มีการทำสงคราม โดยฝ่ายนักรบชาติพันธุ์มีเป้าหมายเพื่อการกวาดล้าง “4 ตระกูลใหญ่” เมื่อรวมกับ “ตระกูลหมิง” กลายเป็น 5 ตระกูลใหญ่กลุ่มจีนเทา ที่เข้ามาทำธุรกิจการพนันทั้งเปิดบ่อน การทำพนันออนไลน์ ค้าประเวณี และขบวนการคอลเซ็นเตอร์ในพื้นที่เขตการปกครองพิเศษโกก้าง

ขณะเดียวกันกลับปรากฏพบข้อมูลคนไทยไม่ต่ำกว่า 300 คน(ตามข้อมูลเชิงลึกน่าจะมีคนไทยนับพันคน) ที่เข้าไปเกี่ยวข้อง เข้าไปทำงานขายบริการ ทำงานเป็นพนักงานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และบ่อนการพนัน กลางเขตปกครองพิเศษโกก้าง ที่ตอนนี้ถือเป็นสมรภูมิรบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศพม่าอีกด้วย โดยคนไทยทั้งหมดมีทั้งสมัครใจไปร่วมขบวนการ ทั้งถูกหลอกเข้าไปร่วม หรือ ถูกกักขังหน่วงเหนี่ยวก็แล้วแต่

อย่างไรก็ตามทางการไทยของเรา ก็ได้ใช้การเจรจาผ่านผู้แทนระหว่างประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศจีน เพื่อให้การช่วยเหลือคนไทยบางส่วนออกมาได้ มีเหลืออยู่บางส่วนที่ต้องติดอยู่ในค่ายทหารพม่า เพื่อรอการส่งตัวกลับสู่มาตุภูมิให้ได้อย่างปลอดภัย เหตุการณ์ดำเนินไปตามครรลองของสถานการณ์ที่ควรจะเป็น

ทั้งนี้ ยอดผู้ประสบภัยชาวไทยที่รอคอยความช่วยเหลือโดยติดอยู่ตามเมืองต่างๆ ได้กระเตื้องขึ้นมา เป็นเกือบ 300 ชีวิต จนฝ่ายไทยต้องเร่งประสานทั้งทางการจีนแผ่นดินใหญ่ และทางการพม่า ใช้ทุกวิธีเพื่อนำพาคนไทยเหล่านี้กลับมาคัดกรองอีกครั้งยังบ้านเกิดเมืองนอน

เรื่องนี้ดูเบาไม่ได้อีกต่อไป การสู้รบขยายปัจจัยและชนวนเหตุที่มีมากขึ้น มูลเหตุสำคัญ ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่การกวาดล้าง“คนตระกูลหมิง”อีกต่อไปแล้วเพราะประชาคมโลก เริ่มเข้ามาให้ความสนใจ ล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

โดยในที่ประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม 10 ชาติสมาชิกอาเซียน หรือสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้นำสถานการณ์การสู้รบภายในประเทศพม่า มาเป็นประเด็นหารือร่วมกันในวงประชุมผลสรุปจะลุกลามบานปลาย ไปทาบประเด็นไหน ยังต้องติดตาม

ผู้อพยพกลายร่างสู่คนไทยสวมสิทธิ จุดกำเนิด “ชุมชนพม่าสีเทา”

ประวัติศาสตร์การสู้รบกันเองทุกครั้งในพม่า หนีไม่พ้นการที่มีผู้อพยพ หรือที่ทางการไทยเราเรียกอย่างให้เกียรติกัน ว่า “ผู้หนีภัยจากการสู้รบ (ผภร.)” ที่ทะลักล้นชายแดน เข้ามาขออาศัยภายใต้ร่มเงาผ่านสถานที่ที่เรียกว่า “พื้นที่พักพิงชั่วคราว” หรือ “ศูนย์อพยพผู้หลบหนีภัยสงครามชาวพม่าตามแนวชายแดน” ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2527 หรือเกือบ 40 ปีมาแล้ว

จนปัจจุบัน ประเทศไทยมีพื้นที่พักพิงชั่วคราวหรือค่ายผู้ลี้ภัยอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 9 แห่ง ประกอบด้วย 1.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านใหม่ในสอย อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน 2.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่สุริน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน 3.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวง อ.สบเมย จ.เเม่ฮ่องสอน 4.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ละอูน อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน 5.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก 6.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านอุ้มเปี้ยม อ.พบพระ จ.ตาก 7.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านนุโพ อ.อุ้งผาง จ.ตาก 8.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านต้นยาง อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี และ 9.พื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านถ้ำหิน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

แม้สถานที่ลี้ภัย ทั้ง 9 แห่งนี้ จะถูกขนานนามให้เป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราว แต่เรื่องจริงที่ชาวบ้านซึ่งเป็นประชาชนคนไทยรอบๆ ค่ายผู้ลี้ภัย หลายแห่งประสบพบเจอ ก็คือ“ผู้หนีภัยการสู้รบ (ผภร.)”จากประเทศเพื่อนบ้านบางกลุ่มยังคงตั้งหลักปักฐานอยู่ภายในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ไม่ไปไหน แม้จะหนีภัยเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเราเป็นเวลานานนับสิบปีแล้ว

โดยทุกครั้งที่รัฐบาลพม่ากวาดล้างกลุ่มต่อต้านซึ่งเป็นกองกำลังชาติพันธุ์ หรือเกิดการสู้รบกันเองตามแนวตะเข็บชายแดน ก็จะมีผู้ลี้ภัยสงครามเหล่านี้ ทะลักเข้ามาเพิ่มเติมภายในพื้นที่พักพิงชั่วคราวมากขึ้นเรื่อยๆ

หน่วยงานความมั่นคงที่รับผิดชอบทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็น สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานศูนย์ดำเนินการเกี่ยวกับผู้อพยพ กระทรวงมหาดไทย (ศอส.) กรมการปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาติ (UNHCR) องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM - International Organization for Migration) เจ้าหน้าที่ทหาร, เจ้าหน้าที่ตำรวจ, ทหารพราน, อาสามัครรักษาดินแดน ฯลฯ ล้วนทราบกันดีถึงวิกฤติเรื่อง“ผู้หนีภัยจากการสู้รบ (ผภร.)”ที่ทะลักเข้ามาจากฝั่งพม่าเหล่านี้ ได้สร้างปัญหาให้ชุมชนคนไทย และประเทศไทยมากมายขนาดไหน

เพราะกว่า 40 ปี ที่เราอ้าแขนรับเขาเข้ามา การเจรจาส่งคนเหล่านี้กลับแผ่นดินแม่แทบไม่มีความคืบหน้า โดยเมื่อมีการสู้รบเกิดขึ้นก็จะมีคนพวกนี้ทะลักเข้ามาเรื่อย ๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

ที่สำคัญกว่านั้นระหว่างที่เสียงปืน เสียงระเบิด กำลังกึกก้องกัมปนาท อยู่ในฝั่งเพื่อนบ้าน เราเองก็ไม่สามารถปฏิเสธ ผลักดัน หรือปิดกั้น ไม่ให้“ผู้หนีภัยจากการสู้รบ”เหล่านี้ ไม่ให้ล้ำอธิปไตยอพยพเข้ามาใน พื้นที่พักพิงชั่วคราวของเราได้ เพราะติดประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ“เรื่องหลักมนุษยธรรม”

ผู้อพยพเหล่านี้จึงมีการขยับขยายจำนวนประชากรมากขึ้น ที่น่าตกใจมากยิ่งไปกว่านั้น คือมีพวกตกค้างจากพื้นที่พักพิงชั่วคราว ทั้ง 9 แห่งแทรกซึมปะปนกับคนไทย มีสถานะไม่ต่างจากคนไทย แย่สุดถึงกับได้สัญชาติไทยไปแล้วนับหมื่นคน

ด้วยความที่เข้ามาอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยอย่างยาวนานทำให้คนเหล่านี้ อาศัยช่องว่างของกฎหมายไทย ประกอบกับความฉ้อฉลของเจ้าหน้าที่ไทย ที่เห็นแก่เงิน เห็นแก่ผลประโยชน์ เปิดทางและเอื้ออำนวยให้คนต่างด้าว ผู้หนีภัยจากการสู้รบ เข้ามาครอบครองพื้นที่ ที่ดินที่เป็นของคนไทยมากขึ้นได้อีกเช่นกัน

แม้แขกผู้มาเยือนเหล่านี้ จะมีสถานะเป็นเพียงแค่ผู้ลี้ภัย แต่ก่อนที่เขาจะพากันอพยพหนีความตาย จากลูกระเบิด จากลูกกระสุนปืนเข้ามา เราไม่สามารถจำแนกได้อย่างถี่ถ้วนว่า สถานะเดิมของเขาคืออะไร? เป็นทหารจากกองพลไหน? เป็นกองกำลังแตกทัพจากฝ่ายใด? หรือเป็นบุคคลอันตรายแฝงเข้ามาขอลี้ภัยหรือเปล่า?

ยิ่งถ้าเป็นพวกชนกลุ่มน้อยที่มีหลายก๊ก หลายเหล่า เมื่อครั้งที่เขาเฟื่องฟูจากธุรกิจค้ายาเสพติด ทำธุรกิจสีเทามาจากฝั่งประเทศเขา บรรดาผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็มักจะมีอิทธิพล มีท่อน้ำเลี้ยง มีขุมทรัพย์ จากช่องทางทำมาหากินแบบเก่า ๆ ติดมือเข้ามาอาศัยอยู่ในศูนย์อพยพผู้หลบหนีภัยสงคราม ฝั่งบ้านเราอยู่เสมอ

นานวันเข้า เมื่อคนพวกนี้ตั้งหลักในแผ่นดินของเราได้ ก็ทำให้เกิดการรวมตัวกันของชุมชน “ชาวพม่าสีเทา” ในกลุ่มผู้หนีภัยตามค่ายอพยพ

กระบวนการฟอกร่างของผู้ลี้ภัย ตามสูตร จากการตีสนิทผู้ดูแลศูนย์พักพิงฯ, อาสาสมัครรักษาดินแดน, ทหารพราน, แกนนำ หรือผู้นำประจำหมู่บ้านชาวไทย ต่อยอดไปถึงการเสนอผลประโยชน์วิ่งเต้นขอเข้าสวมสิทธิความเป็นประชาชนคนไทย ซึ่งมีสารพัดวิธี เช่น การจ้างคนไทยมาจดทะเบียนสมรส การขอแต่งงานกินอยู่กับสามี ภรรยา คนไทย ทำให้ได้สัญชาติและสวัสดิการของไทยทั้งตัวเองและทายาท การปลอมแปลงบัตรประชาชน การสวมสิทธิ์คนตาย การสวมสิทธิ์บุคคลในทะเบียนบ้านกลาง ที่ขาดความเคลื่อนไหวทางธุรกรรมทะเบียนราษฎร์

จนถึงการขยายอาณาเขต ลักลอบออกไปเป็นแรงงานต่างด้าวนอกพื้นที่พักพิงชั่วคราว ปลูกสร้างบ้านเรือน ซื้อที่ดิน เช่าอาคาร เปิดร้านทำธุรกิจในผืนแผ่นดินไทย โดยมีคนไทยเป็นนอมินี

จากเหตุสู้รบที่กำลังครุกรุ่นซึ่งเกิดขึ้นภายในประเทศเพื่อนบ้านล่าสุดนี้ พบว่า มีผู้ลี้ภัยสงครามทะลักเข้ามาเพิ่มขึ้นจากเดิม เนื่องจากประสบปัญหาการสู้รบกับในพื้นที่รัฐกะยาที่อยู่ติดกับชายแดนไทย ด้านจ.แม่ฮ่องสอน

เพราะก่อนหน้านี้เมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ทางการไทยออก แถลงการณ์ศูนย์สั่งการชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านด้านพม่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน รายงานสถานการณ์บริเวณพื้นที่แนวชายแดนว่ามีการสู้รบกันตลอด

กระทั่ง วันที่ 19 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา สถานการณ์การสู้รบที่รัฐกะยา เลวร้ายลงไปกว่าเก่า เมื่อกองกำลังติดอาวุธ KA, KNDF, PDF และ KNPLF รุกกดดันทหารรัฐบาลพม่า อย่างหนักในพื้นที่ตัวเมืองลอยก่อว์ เมืองโมเบีย เมืองแผ่โข่ง จนฝ่ายต่อต้านสามารถยึดฐานที่มั่นของทหารพม่า ได้อีก 17 ฐาน

โดยในส่วนของสถานการณ์ในรัฐกะยา ตรงจุดนี้นั้นติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตรงข้ามบ้านในสอย ต.ปางหมู อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอนซึ่งทหารพม่า ได้ยิงลูกยิงระเบิด ค.120 มม.โจมตีไปยังค่ายผู้ลี้ภัย ดอว์ นกกุ ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยในค่ายดังกล่าว ต้องพากันหนีเข้าสู่ประเทศไทย เพิ่มเติม อีกราวๆ 2,500 คน

อัปยศ เจ้าหน้าที่ไทย หากินกับ “ผู้ลี้ภัย”

ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา มีแฟนรายการสนธิทอล์ค ซึ่งเป็นชาวบ้านในพื้นที่ บ้านแม่ทะลุ หมู่ที่ 5 อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน Inbox เข้ามาร้องเรียน หลังประสบกับความไม่ชอบมาพากลของผู้ลี้ภัยสงครามชาวพม่า ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว ณ บ้านแม่ลามาหลวง อ.สบเมย จ.เเม่ฮ่องสอน

แหล่งข่าวรายนี้ให้ข้อมูลว่า หลังภัยสงคราม พบการอพยพเข้ามาของชนกลุ่มน้อย รวมถึง ทหารกะเหรี่ยง มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้นำหมู่บ้านโดยเฉพาะผู้ใหญ่บ้านมีการเรียกรับผลประโยชน์เพื่อให้ผู้ลี้ภัย ได้มีที่พักอาศัยนอกเหนือจากเขตพื้นที่พักพิงชั่วคราว

มีการอพยพเข้ามาครอบครองที่ดินทำกินของคนไทย แย่งงานคนไทย ปลูกสร้างบ้านเรือนในพื้นที่ของคนไทยและสร้างความแตกแยกในหมู่ราษฎรไทย รวมถึงมีกระบวนการช่วยเหลือให้ผู้ลี้ภัยได้สวมสิทธิเป็นคนไทย ผ่านการช่วยเหลือจากผู้นำหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน ที่รักษาความเรียบร้อยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวง

ซึ่งแหล่งข่าวได้บรรยายสภาพภายในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแห่งนี้ สรุปได้ดังนี้คือ

-การแบ่งโซนภายในพื้นที่พักพิงชั่วคราวบ้านแม่ลามาหลวง แบ่งออกเป็น 7 โซน -มีความเป็นอยู่ไม่ต่างจากชุมชนของผู้มีอิทธิพลพม่า เพราะคนไทยไม่สามารถไปก้าวล่วงความเป็นอยู่ของพวกผู้ลี้ภัยได้

-ใน 7 โซน แต่ละโซนจะมีทหารกะเหรี่ยงทำหน้าที่เป็นชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ดูแลกันเอง โดยที่เจ้าหน้าที่ไทย ทั้งทหารพราน และอาสาสมัครรักษาดินแดน ซึ่งมีประจำการอยู่ ราว 4-5 นาย ไม่สามารถควบคุม สั่งการ หรือเข้าไปจัดระเบียบชุมชนผู้ลี้ภัยเหล่านี้ได้

-ซ้ำร้ายไปกว่านั้นเมื่อควบคุมสั่งการไม่ได้ เจ้าหน้าที่กลับไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆ ให้กับกลุ่มผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราวกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

นานวันเข้าเจ้าหน้าที่อาสาสมัครรักษาดินแดน ก็ได้ภรรยาชาวพม่า ที่เป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่ในศูนย์ฯ อยู่กินจนมีลูกหลานได้รับสัญชาติไทยไปโดยปริยาย ทำให้อาสาสมัครรักษาดินแดนคนนั้นแปรพักตร์ไปรวมหัวกับผู้ใหญ่บ้าน คอยจัดสรรเรื่องการค้าขายสินค้าภายในศูนย์พักพิงชั่วคราว

โดยจะอนุญาตแต่พ่อค้าและแม่ค้าที่เป็นพวกตัวเอง นำสินค้าเข้าไปขายภายในศูนย์ฯ ได้เท่านั้น นอกจากนี้ยังคอยจัดสรร โยกย้ายขนส่งผู้ลี้ภัย เข้า-ออกบริเวณศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลว่านำไปสถานพยาบาล ทั้งที่จริงแล้วมีทั้งผู้ลี้ภัยที่ออกมารับจ้างทำงานแบบออกเช้า-เย็นกลับ บ่อยครั้งที่ผู้ลี้ภัยออกไปแล้วไม่กลับมายังศูนย์พักพิงชั่วคราวอีกเลย !

พฤติกรรมของผู้นำหมู่บ้านแม่ทะลุ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรักษาความปลอดภัยภายในศูนย์พักพิงชั่วคราวแม่ลามาหลวง นั้นก็มีความเชื่อมโยงกันอย่างมีเหตุมีผล

ที่ผ่านมามีกลุ่มอดีตผู้ลี้ภัยสงคราม พัฒนาตัวเองมาทำธุรกิจขนย้าย ซื้อขายแรงงานเถื่อน ในพื้นที่ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอนแผ่อิทธิพลไปได้จนถึงชายแดนด้าน อ.แม่สอด จ.ตากได้ตั้งนานแล้ว ผ่านปัญหาที่เรียกกันติดปาก จนเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา ว่า “ปัญหาผู้ลี้ภัยการหลบหนีออกจากศูนย์พักพิงชั่วคราว”

ประเด็นคือ หากไม่มีเจ้าหน้าที่คนไทย ช่วยเหลือ ให้การสนับสนุน ผู้ลี้ภัยหรือผู้หนีภัยจากการสู้รบเหล่านี้ จะทะลักเข้าสู่พื้นที่อื่นๆ ภายในประเทศไทยได้อย่างไร ดังนั้นปัญหาแรงงานพม่า ที่ลักลอบผ่านชายแดนเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติตามตะเข็บชายแดนต่างๆ จึงถือเป็นภัยความมั่นคงในยามปกติ

ปัญหาแรงงานพม่า ที่หลบหนีออกจากศูนย์พักพิงชั่วคราวฯ ในประเทศไทย ถือเป็นภัยความมั่นคงของชาติ ในสถานการณ์พิเศษที่น่าจับตาไปกว่านั้น เนื่องจากผู้ลี้ภัยได้แสดงความจำนงเข้ามาขอพึ่งพิงเราในฐานะผู้หนีภัยจากการสู้รบ ท้ายที่สุดก็แสวงหาหนทางจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ไทย เพื่อให้ตัวเองได้โอกาสไปมีชีวิตใหม่ในแผ่นดินไทยได้เช่นกัน

เช็กบิลขบวนการสวมบัตรประชาชน

เรื่องดังกล่าว สอดคล้องกับข้อมูลที่ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง หรือ “ผู้บัญชาการก้อง” ได้เก็บรวบรวมเอาไว้ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้ทำข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความมั่นคงเรื่องการสวมบัตรประชาชน ของบุคคลต่างด้าว ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย

โดยก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งข้อสังเกตุ ว่า พบข้อมูลบุคคลเป้าหมายที่เป็นกลุ่มชาวพม่าที่ลี้ภัยเข้ามาทางชายแดนฝั่ง อ.แม่สอด จ.ตาก และ อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน มีการครอบครอง “บัตร 10 ปี” (บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง มีอายุ 10 ปี) โดยบ้านที่นำคนต่างด้าวเข้าทะเบียนบ้าน ตรวจพบชื่อในห้องทะเบียนราษฎร์กว่า 100 คน

สอดคล้องกับเมื่อ ช่วงกลางปี 2566 ที่ผ่านมา นายประเสริฐ ปวงละคร นายกเทศมนตรีนครแม่สอด มีคำสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ห้องทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครแม่สอด 3 ราย โดยกระจายไปอยู่ส่วนการงานอื่น ๆ หลังพบพฤติกรรมว่ามากรออกบัตรประชาชนอายุ 10 ปี ให้ชาวพม่า

ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มชาวพม่า ที่ลี้ภัยในแม่สอด และ กลุ่มกองกำลัง PDF หรือ กองกำลังปกป้องประชาชนจากฝั่งพม่า(กองกำลังฝั่งรัฐบาลเก่าที่นำโดย อองซาน ซูจี)ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในแม่สอด รวมทั้งชาวพม่าทั่วไป ที่มีนายหน้าประสานเข้ามาขอให้ออกบัตรประชาชน โดยช่วงนั้นมีการตรวจพบว่า กระบวนการออกบัตร 10 ปี ให้ชาวพม่า มีการทำมานานถึง 3-4 เดือนแล้ว

มีการออกบัตรประชาชนอายุ 10 ปี ให้กับคนต่างด้าวไปแล้ว 700 ราย (เฉลี่ยวันละ 15 - 20 ราย) จนคนไทยในพื้นที่ ที่ไปทำบัตรประชาชน ต้องไปรอคิวการทำบัตรประชาชน บางวันต้องไปใช้บริการที่ว่าการอำเภอแม่สอด เพราะที่เทศบาลเต็มไปด้วยชาวพม่า ที่ไปทำบัตร 10 ปี

มีการเรียกรับสินบนค่าทำบัตร หัวละ 40,000 บาท – 100,000 บาท เพื่อแลกกับบัตร 10 ปี ลองคำนวณดูแล้ว รวมเงินสินบนทั้งสิ้นประมาณ 28 - 30 ล้านบาท

โดยเรื่องขบวนการทำบัตร 10 ปี มีคนร้องเรียนมากทั้งจากประชาชน และเจ้าหน้าที่ ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว ไปยังนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก

ทำให้มีเจ้าหน้าที่จากสำนักทะเบียนกลาง ไปตรวจสอบที่ห้องทะเบียนราษฎร์ เทศบาลนครแม่สอด และไปยังบ้านที่นำคนต่างด้าว เข้าทะเบียนบ้าน บางครัวเรือน พบว่า มีชื่อคนต่างด้าวเข้าไปอยู่ในห้องทะเบียนราษฎร์นับ 100 คน

พฤติกรรมที่ทำกันมานานแค่ 3 เดือน ยังทำกันได้ถึงเฉลี่ยวันละ 20 ราย แล้วก่อนหน้านี้ บานปลายออกไปเท่าไหร่ เรื่องนี้ต้องขออนุโมทนาบุญ ไปถึง ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ที่กล้าสั่งการรื้อระบบด้วยการตรวจสอบ

เพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวนกลาง ตรวจพบว่า มีข้าราชการห้องทะเบียนบางราย เป็นข้าราชการเคยถูกตั้งกรรมการสอบสวนมาแล้ว จากทางจังหวัดตาก และทางฝ่ายปกครองแม่สอด ร่วมกันสอบสวนข้อเท็จจริงแต่เรื่องก็หายเงียบไป ขณะที่คนที่ถูกตั้งกรรมการสอบสวน ยังคงอยู่ที่เดิมไม่ได้รับโทษอะไร และยังกลับมาทำพฤติกรรมเดิม ๆ อีก

ทั้งนี้ พล.ต.ท.จิรภพ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองปราบปราม เคยร่วมงานกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท.จับกุมแก๊งปลอมและสวมบัตรประชาชน ในพื้นที่ อ.สังคม จ.หนองคาย มาแล้วตั้งแต่ปลายปี 2562

ครั้งนั้นกองปราบปรามมีผลงานการจับกุมขบวนการทำบัตรประชาชนปลอม ให้บุคคลต่างด้าวที่มาสวมสิทธิ์เป็นคนไทย ในการทำธุรกิจ มีการออกหมายจับผู้กระทำความผิด 9 คน มีทั้ง เจ้าหน้าที่รัฐซึ่งเป็นถึงอดีตปลัดอำเภอมีทั้ง พลเรือนและนายหน้าผู้ให้การสนับสนุน

อีกหน่วยงานหนึ่งที่จะต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ คือกระทรวงมหาดไทย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้องเข้มงวดกวดขันเรื่องขบวนการสวมบัตรประชาชนเอาไว้ให้มากๆ เนื่องจากบัตรประชาชนแต่ละใบ ที่คนไทยทั่วทั้งประเทศถืออยู่ รวมถึงบุคคลต่างด้าวที่เข้ามาสวมสิทธิปลอมแปลง แอบแฝงตัวเข้ามาถือ ล้วนเป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่นายอนุทินกำกับดูแลอยู่

“ที่ผมเกริ่นถึงมันเป็นปัญหาเฉพาะที่พวกพม่า เข้ามาสมคบคิดกับเจ้าหน้าที่ไทยทำระยำตำบอนกัน แต่ คุณอนุทิน ทราบไหม ผมมีข้อมูลลึกไปยิ่งกว่านั้น อย่างที่รู้กันประเทศไทยเป็นไข่แดง ตั้งอยู่ท่ามกลางหมู่มิตรเพื่อนบ้านที่มีประชากรหนาแน่น สังคมต้องแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ในขณะที่ทุกๆ คนต้องการแสวงหาความรุ่งเรือง

“เมืองไทย จึงเป็นที่หมายตาของทั้งชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวปากีสถาน ชาวลาว ชาวพม่า ไม่นับรวมไปถึงไอ้พวกอาชญากรข้ามชาติทางฝั่งอาหรับ และฝั่งตะวันตก ที่ปรารถนามาใช้ชีวิตบั้นปลาย แต่งงานกินอยู่กับภรรยาคนไทย แม้กระทั่งสุดท้ายยอมตายในแผ่นดินไทย” นายสนธิกล่าว

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีช่องทางให้คนต่างด้าวเข้ามาดำเนินธุรกิจผิดกฎหมายได้ง่าย ก็เพราะการใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐไม่เข้มงวดแข็งแรง จึงมีช่อง มีโอกาส ให้คนต่างด้าวได้เข้ามาเคลื่อนไหว บ่อนทำลายความมั่นคงทุกด้านได้อยู่เสมอ

จากผลงานการปราบปรามกลุ่มมาเฟียต่างชาติที่ผ่านมา เช่น กลุ่มจีนเทาสวมบัตรปลอมแปลงเอกสารเข้ามาทำธุรกิจอุ้มบุญ, “จาง หยาง” มาเฟียจีนสวมบัตรยิงตำรวจพัทยา, กลุ่มนายตู้ห่าวและเครือข่าย, มาเฟียจีนสวมบัตรมาเปิดผับในไทย, ล่าสุดนำเข้าคนพิการมานั่งขอทานกลางเมืองใหญ่ ๆ

พวกนี้ สมคบกับเจ้าหน้าที่ แผ่อิทธิพลเหนือกฎหมาย มีการค้ามนุษย์ ฟอกเงินผ่านการลงทุน มีพฤติกรรมพัวพันกับยาเสพติด แก๊งคอลเซ็นเตอร์ โรแมนซ์สแกม หลอกลงทุน ทำธุรกิจไกด์เถื่อน สร้างความเสียหายใหญ่หลวงต่อประเทศไทยมากมายมหาศาล

ย้อนกลับมาที่ข้อมูลที่ทางกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง รวบรวมเอาไว้ ขณะนี้ตรวจพบชาวต่างชาติทั้ง ชาวจีน ชาวอินเดีย ชาวปากีสถาน และชาติอื่นๆ ที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเกินกำหนดวันที่ได้รับอนุญาตหรือ Overstay มากกว่า 2 ล้านคน !!!

คนต่างด้าวพวกนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในสถานะ “กลับบ้านไม่ได้ อยากอยู่ต่อไปก็กลัวจะอยู่ไม่ถึง” จึงรอจังหวะ รอโอกาส รอรวบรวมทุนทรัพย์วิ่งเข้าหานายหน้า คอยเวลาที่ตัวเองจะได้สวมบัตรประชาชนคนไทย แนวทางที่ชาวจีน ชาวอินเดีย และชาวปากีสถาน ใช้คือสวมบัตร/จ้างคนไทยสมรส

ส่วน ชาวลาว ซึ่งมีพรมแดนติดกับเรา ใช้วิธีเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้าน/การจดทะเบียนขอรับรองบุตร ด้าน ชาวพม่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ลี้ภัยสงคราม หรือแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบเข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ นิยมใช้วิธีการขอเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้าน/ทำบัตรอายุ 10 ปี

พวกแขกอินเดีย ปากีสถาน มักจะพบว่าไปขอจดทะเบียนสมรสกับสาวไทยมากเป็นพิเศษในพื้นที่ จ.นครปฐม และ จ.สระบุรี มีการสวมบัตรผู้เสียชีวิตชาวไทยที่ญาติไม่แจ้งตาย เที่ยวไปเดินเร่ขายของจำพวกผ้าปาเต๊ะ ผ้าโสร่ง พรม ชุดเครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์มือถือ ด้วยระบบเงินเชื่อ

ไม่ต้องบอก รมว.มหาดไทยก็คงรู้ว่า แก๊งอาชญากรรม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการสวมบัตรประชาชนนั้น ทางเจ้าหน้าที่อำเภอ นายทะเบียนผู้ออกบัตร และผู้นำท้องถิ่น ทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีความสำคัญกับองคาพยพของกระบวนเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน

กลุ่มกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือผู้นำชุมชนต่างๆ จะทราบดีว่า ลูกบ้านแต่ละหลังมีใครตาย ใครเกิด ใครพิการ ใครไม่เคยทำบัตรประชาชน จากนั้นจะไปติดต่อญาติ หรือเจ้าบ้านของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ให้ทำการขายข้อมูล

โดยผู้นำชุมชนจะประสานกับนายหน้า หรือแม้กระทั่งเป็นนายหน้าเสียเอง ก่อนทำการรับรองสถานะของบุคคลเจ้าของประวัติ เพื่อส่งสัญญาณให้เจ้าหน้าที่ ที่ว่าการอำเภอ ไฟเขียว ทำการสวมบัตรประชาชนให้บุคคลต่างด้าวซึ่งเป็นเป้าหมาย

จากข้อมูลการสืบสวน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจพบว่าค่าดำเนินการสวมบัตรในพื้นที่ต่าง ๆ จะแตกต่างกันออกไป เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณรายละ 300,000 – 500,000 บาท

ตัวเลขที่เคยได้รับทราบกรณีที่จ่ายสูงสุดคือ ชาวจีน ทำบัตรประชาชนชาวไทยที่ จ.ปัตตานี โดยจ่ายเงินเป็นค่าดำเนินการถึง 7 ล้านบาท โดยรายนี้ยังมีการ คิดค่าเปลี่ยนชื่ออีก 3 ล้านบาท

การขอทำบัตรพร้อมได้เล่มทะเบียนบ้านอยู่ที่รายละ 1,100,000 บาท

ผู้นำชุมชน ญาติที่ขายข้อมูล หรือผู้รับรอง จะได้ค่าตอบแทนรายละ 20,000-60,000 บาท

ตอนนี้สถานการณ์สู้รบกันในประเทศพม่า ยิ่งทำให้มีผู้อพยพคนต่างด้าวทะลักเข้ามาเพิ่มขึ้นในประเทศไทย หรือปัญหาคนต่างด้าวสารพัดสัญชาติ Overstay ที่คงค้างอยู่ในระบบนับล้านชีวิต

เรื่องนี้สำคัญไม่แพ้กับเรื่องการจัดการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ที่เชื่อมโยงกับกลุ่มอิทธิพล 4-5 ตระกูลในโกก้าง รวมไปถึงกลุ่มมิจฉาชีพ จีนเทา ที่ตั้งฐานปฏิบัติการอยู่รอบ ๆ ประเทศไทยที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่รัฐต้องเร่งจัดการ ซึ่งรัฐบาลต้องเข้าไปจี้ให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะ ตำรวจ ดีเอสไอ มหาดไทย รวมถึงหน่วยงานความมั่นคงจัดการอย่างเด็ดขาด โดยจะใช้โมเดลของทางจีนแผ่นดินใหญ่ก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น ขีดเส้นให้คนไทยพวกที่ไปอิงแอบอยู่กับแก๊งจีนเทา-แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต้องเดินทางกลับประเทศไทยภายใน 15-30 วัน มิฉะนั้นจะถูกตัดสิทธิ เช่น เรื่อง SIM โทรศัพท์, สวัสดิการต่าง ๆ

รวมไปถึงดำเนินคดีอย่างเด็ดขาด เหมือนกับที่ทางตำรวจพยายามคัดกรองคนไทย 200-300 คน ที่ลี้ภัยสงครามมาจากโกก้าง แล้วทางเจ้าหน้าที่จีนเขาสอบสวนมาแล้ว ว่าคนนี้เกี่ยวข้องกับขบวนการคอลเซ็นเตอร์, คนนี้มีคดีเรื่องเพศ-ค้าประเวณี, คนนี้ฟอกเงิน, คนนี้ถูกหลอกไปจริง

เรื่องแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พวกนี้รัฐบาลไทย และเจ้าหน้าที่ไทย ต้องเอาจริงเสียที เหมือนช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ที่ ทางการลาว กับ ทางการจีนจับมือกันล้างบางแก๊งจีนเทา - แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เกือบ 500 คนที่ฝั่งตัวอยู่ที่แขวงบ่อแก้ว สามเหลี่ยมทองคำ ตรงข้ามกับ อ.แม่สาย จ.เชียงรายของไทยนี่เอง