กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ขับน้ำ -อาศัยคอนแทรคไทล์แวคิวโอ(contractile vacuole)ซึ่งเป็นโครงสร้างควบคุมแรงดัดออโมติก (osmoregulator) ทำหน้าที่คล้ายไตของสัตว์ชั้นสูง

ขับแอมโมเนียและ CO2- อาศัยเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)

ตัวอย่างเช่น อะมีบา พารามีเซียม

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

2. หนอนตัวแบน (flat worm) (phylum platyhelminthes)

- อาศัยโครงสร้างเรียกว่าเฟลมเซลล์ (Flame cell) กำจัดน้ำที่มากเกินพอ (excess water)

- ของเสียคือ น้ำ

- ตัวอย่างเช่นพลานาเรีย

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

3. ไส้เดือนดิน earthworm (phylun Annelida)

อาศัย -โครงสร้างเรียกว่าเนฟริเดีย (nephridia)

- มีโครงสร้างและการทำหน้าที่คล้ายหน่วยไต (nephron) ของสัตว์ชั้นสูงมากที่สุด

- ของเสียอยู่ในรูป ยูเรีย

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

4. แมลง (Phylum arthropoda)

อาศัย -มัลพิเกียน ทิวบูล(Malpighian tubule)

-ลักษณะเป็นถุงหลายถุงยื่นออกมา อยู่ระหว่างทางเดินอาหารส่วนกลางและส่วนท้าย ปลายข้างหนึ่งเปิดเข้าสู่ทางเดินอาหาร

- ของเสียที่ออกมาประกอบด้วยกากอาหาร + กรดยูริก + แร่ธาตุ

- สัมพันธ์กับทางเดินอาหารมากที่สุด

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

5. หอย ใช้ไตในการขับถ่ายของเสีย

6. สัตว์มีกระดูกสันหลัง ใช้ไต (kidney) ในการขับถ่ายของเสีย

ปลา, สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ขับถ่ายในรูป = ยูเรีย

สัตว์เลื้อนคลานและนกขับถ่ายออกมาในรูป = กรดยูริก

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

1.คอนแทร็กไทล์แวคิวโอลของพารามีเซียมเทียบได้กับอวัยวะในข้อใด (Ent’ ตุลา 45)

ก. ลำไส้เล็ก ข. ไต

ค. เนฟริเดียม ง. ท่อมัลพิเกียน

1. ก 2. ข 3. ก ข ค 4. ข ค ง

2.สัตว์ 3 ชนิด คือ A, B และ C มีการกำจัดของเสียที่เป็นสารประกอบไนโตรเจนในปริมาณที่แตกต่างกัน ดังนี้

A แอมโมเนีย > ยูเรีย B ยูเรีย > กรดยูริก C กรดยูริก > ยูเรีย

A, B และ C คือ สัตว์ชนิดใด ตามลำดับ (Olymp’ 49)

1. ปลานิล สุนัข กบ 2. ปลานิล สุนัข นกแก้ว 3. สุนัข กบ ฉลาม 4. กบ สุนัข นกแก้ว


การขับถ่ายของเสียผ่านทางไตคน

ไต (Kidney)

- ไต 2 ข้างทางด้านหลังของท้องใกล้กระดูกสันหลังบริเวณเอว

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

หน้าที่ของไต คือ

กำจัดของเสียจากเลือด ที่เกิดจากการ metabolism สารโปรตีน (หมู่อะมิโน –NH3) ช่วยกำจัดสารบางอย่างซึ่งอาจมิใช่ของเสียเช่นน้ำเพื่อให้เกิดสภาวะ homeostasis

โครงสร้างของไตในมนุษย์

1. เนื้อไต ประกอบด้วย 2 ชั้น คือ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.1 ชั้นนอก (Cortex) ประกอบด้วยหน่วยไต (Nephron) ข้างละ 1ล้านหน่วย

1.2ภาวะปกติจะทำงานข้างละ 5 แสนหน่วย แต่ถ้ามีไตเพียง 1 ข้าง ข้างที่เหลือจะทำหน้าที่ทั้งหมด 1 ล้านหน่วย (ในสัตว์ต่างชนิดกันจะมีจำนวนหน่วยไตแต่ละข้างไม่เท่ากันหนูถีบจักรข้างละประมาณ 25,000 หน่วย)

2. ชั้นใน (Medulla) ประกอบด้วยโครงสร้างของหน่วยไตที่ยื่นลงมาเรียกว่า Henle’s loop

-ท่อรวม (Collecting duct) เป็นตำแหน่งแรกสุดที่ของเหลวภายในหน่วยไตเรียก “ปัสสาวะ”

-กรวยไต (Pelvis) แหล่งรวมน้ำปัสสาวะจากท่อรวมต่างๆ

-หลอดไต (Ureter) ส่งปัสสาวะไปยังกระเพาะปัสสาวะ

โครงสร้างของหน่วยไต (nephron)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. คอร์พัสเซิล (Corpuscle) ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1.1 Bowman capsule ลักษณะพองออกเป็นลูกกลมๆ มีรอยบุ๋มตรงกลาง

1.2 Glomerulus กลุ่มหลอดเลือดฝอย (capillary) สานเป็นลูกกลมๆ โดยแยกมาจากหลอดเลือดแดง Renal artery ที่นำเลือดเข้ามาในไต โดยพันเป็นกลุ่มก้อนภายใน glomerulus ก่อนแตกเป็นแขนงพันรอบๆ ส่วนของ Convoluted tubule ที่เรียก Vasa recta

2. ท่อหน่วยไต (convoluted tubule) แบ่งเป็น 3 ส่วน

- ท่อหน่วยไตตอนต้น (proximal convoluted tubule),

- Henle's loop

- ท่อหน่วยไตตอนปลาย (Distal convoluted tubule)

3. ส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

- Collecting duct หรือ Collecting tubule เป็นท่อที่ติดต่อกับแต่ละ Distal convoluted tubule พบในส่วนคอร์เทกซ์และเมดุลลา

- Renal pelvis (กรวยไต)

- Ureter (หลอดไต)

การทำงานของหน่วยไต

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

การกรองที่โกลเมอรูลัส (glomerular filtration)

-แรงดันในหลอดเลือดแดง renal artery ดันเลือดเข้าสู่ glomerulus ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นเลือดฝอย สารต่างๆจะเคลื่อนที่ออกจากกลุ่มของเส้นเลือดฝอย glomerulus เข้าสู่โบว์แมนแคปซูล

-สารที่กรองได้เรียกว่า พลาสมาที่กรองได้ หรือ Glomerular filtrate โดยปราศจากเม็ดเลือดแดง โปรตีนและไขมันโมเลกุลใหญ่

-อัตราเร็วของการกรองในคน 125 ml ต่อนาที 180 ลิตรต่อวัน (กรองจากเลือดที่เข้ามาไตจำนวน 1,200 มิลลิลิตรต่อนาที)

สารในของเหลวที่กรองได้เรียงตามลำดับได้ดังนี้

น้ำ > โปรตีน > คลอไรด์ > โซเดียม > กลูโคส > ยูเรีย > ซัลเฟต = ยูริก > แอมโมเนีย

ต่อมาสารต่างๆที่กรองได้จะเคลื่อนที่เข้าสู่ส่วนต่างๆของหน่วยไตที่อยู่ถัดมาเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของสารที่กรองได้ก่อนจะกลายเป็นปัสสาวะโดยจะผ่านส่วนต่างๆเพิ่มเติมดังนี้

1. ท่อขดหน่วยไตส่วนต้น (Proximal convoluted tubule) (Tubular reabsorption)

- มีการดูดสารมีประโยชน์กลับคืนมากที่สุด

- ดูดสารจำพวกกลูโคสและวิตามินกลับหมดในสภาพปกติ หากขาด insulin การดูดกลับของน้ำตาลจะเกิดได้น้อย ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้

- น้ำถูกดูดกลับคือ 80%

- โซเดียม, คลอไรด์, กรดอะมิโน, ซัลเฟตและวิตามินบางชนิด เซลล์ของหลอดไตส่วนนี้จะดูดกลับไปใช้

2. Henle loop (ห่วงเฮนเล)

2.1 บริเวณตอนต้น (descending limb หรือส่วนลง) พบว่า

1. น้ำถูกดูดซึมออกมา

2. โซเดียมและยูเรียถูกขับเข้าไป

3. สารภายในท่อมีความเข้มข้นสูงสุดที่ฐานรูปตัวยูของ Henle loop

2.2 บริเวณตอนปลาย (ascending limb) หรือส่วนขึ้นของห่วงเฮนเล

1. โซเดียมจะถูกลำเลียงออก

2. น้ำไม่ถูกดูดกลับ ทำให้ความเข้มข้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

3. Distal convoluted tubule (ท่อหน่วยไตตอนปลาย) อาศัยฮอร์โมนช่วยควบคุม

- ฮอร์โมน ADH หรือ vasopressin สร้างจากสมองส่วน hypothalamus (เเต่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland)) จะช่วยทำให้ดูดน้ำกลับเพิ่มขึ้น ถ้าขาดฮอร์โมนดังกล่าวจะทำให้เป็นเบาจืด

- ฮอร์โมน Aldosterone จาก adrenal cortex ควบคุมการดูดกลับ Na+ถ้าขาดฮอร์โมนตัวนี้จะทำให้เป็นโรคเบาเค็ม

ลักษณะและปริมาณของน้ำปัสสาวะ

-สารที่กรองผ่านหน่วยไต (glomerular filtrate) จะถูกเรียกเป็นปัสสาวะตั้งแต่บริเวณ ท่อรวม (collecting duct)

-Glomerular filtrate เมื่อมาถึง Collectting duct จะเรียกเป็นน้ำปัสสาวะ (Urine) เป็นตำแหน่งแรกสุด

-สัดส่วนของน้ำปัสสาวะพบว่า

-น้ำ > ยูเรีย > คลอไรด์ = โซเดียม > ซัลเฟต > กรดยูริก = แอมโมเนีย

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

1). สารในข้อใดที่ท่อของหน่วยไตดูดกลับคืนสู่เส้นเลือดฝอยที่ปกคลุมบริเวณหน่วยไต แต่พบในปัสสาวะในปริมาณมากกว่าในหน่วยไต (Ent’ มีนา 48)

ก. โปรตีน ข. กลูโคส ค. โซเดียม ง. คลอไรด์

1. ก และ ข 2. ข และ ค 3. ค และ ง 4. ก และ ง

2). ข้อใดไม่เป็นจริง สำหรับหน่วยไต (Nephron) ในไตของคนเรา (Ent’ ตุลา 44)

1. ปริมาณกลูโคส ยูเรีย โซเดียมไอออน ที่กรองผ่านโกลเมอรูลัสใกล้เคียงกับในพลาสมา

2. ไม่พบฮีโมโกลบินและอัลบูมินในปัสสาวะ เพราะสารดังกล่าวไม่สามารถผ่านผนังโกลเมอรูลัส

3. ไตขับปัสสาวะมากขึ้นเมื่อมีการหลั่ง ADH ออกในกระแสเลือดมาก

4. ตามปกติจะไม่พบกลูโคสในปัสสาวะเนื่องจากกลูโคสถูกดูดกลับได้ 100%

3). ข้อใดเป็นจริงเกี่ยวกับกระบวนการดูดซึมกลับ (reabsorption) ของหน่วยไตของสัตว์ชั้นสูง (Ent’ ตุลา 41)

1. การเคลื่อนที่ของ Na+ จากของเหลวระหว่างเซลล์เข้าสู่หลอดขดส่วนต้น

2. จากเคลื่อนที่ของน้ำจากโกลเมอรูลัส (Glomerulus) ผ่านไตออกสู่กระเพาะปัสสาวะ

3. การเคลื่อนที่ของกลูโคสจากท่อขดส่วนต้นออกสู่ของเหลวระหว่างเซลล์

4. การเคลื่อนที่ของยูเรียจากของเหลวระหว่างเซลล์เข้าสู่หลอดขดส่วนท้าย


การธำรงดุลหรือดุลยภาพของน้ำและแร่ธาตุ (Homeostasis)

1. Protozoa

โพรโตซัวน้ำจืด ใช้คอนแทรกไทล์ แวคิวโอล (contractile vacuole) สำหรับกำจัดน้ำ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

2. แมงกะพรุน (jellyfish)

แมงกระพุนอาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อลำตัวในการบีบดันน้ำออกสู่ภายนอก (hydrostatic pressure)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

3. ปลากระดูกแข็งในน้ำเค็ม (รูป a)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ปัญหาที่พบ สูญเสียน้ำจากการออสโมซิสของน้ำออก แต่ได้รับเกลือแร่มากพอ

การแก้ไข

  1. ผิวหนังและเกล็ด ป้องกันการสูญเสียน้ำและการได้รับเกลือแร่
  1. ดื่มน้ำทะเลมาตลอดเวลา เป็นวิธีสำคัญที่สุดในการรักษาดุลยภาพของน้ำ
  1. ขับเกลือแร่ ไปกับกากอาหารโดยไม่ดูดซึม รวมทั้งขับเกลือแร่ออกทางเหงือกโดย active transport
  1. ไตขับปัสสาวะน้อยและเข้มข้นสูง (hypertonic urine)

4 ปลากระดูกแข็งในจืด (รูป b)

ปัญหาที่พบ คือ ได้รับน้ำมากเกินจากภาวะออสโมซิสเข้าสู่ร่างกาย แต่สูญเสียเกลือแร่

การแก้ปัญหา

1). ผิวหนังและเกล็ด ป้องกันน้ำและแร่ธาตุ

2). น้ำที่ออสโมซิสเข้าทางเหงือก จะถูกขจัดออกกับปัสสาวะโดยไม่ดูดกลับโดยปรับตัวให้ท่อหน่วยไตสั้น ปัสสาวะจึงมากและเจือจาง (hypotonic urine)

3). เกลือแร่ที่สูยเสียไปทางเหงือกและทางปัสสาวะนั้น จะใช้เซลล์พิเศษที่เหงือกดูดแร่ธาตุกลับคืนโดย active transport

4). ดื่มน้ำน้อยหรือไม่ดื่มน้ำ

5 การรักษาดุลยภาพของน้ำในคน

อาศัยสมองส่วนส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งควบคุมการหลั่ง ADH เพื่อควบคุมปริมาณน้ำ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ศูนย์ควบคุมน้ำในร่างกายคนเรา คือสมองส่วนไฮโพทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งควบคุมการหลั่ง ADH เพื่อควบคุมปริมาน้ำ

ตัวอย่างข้อสอบ entสิ่งมีชีวิตในข้อใดที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำและมีความเข้มข้นของสารละลายในร่างกายใกล้เคียงกับของสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (Ent’ มีนา 45)

1. ปลาทะเลกระดูกแข็ง 2. ปลากระดูกแข็งในน้ำจืด

3. เต่าทะเล 4. แมงกะพรุนน้ำเค็ม


ระบบหมุนเวียนเลือดในสัตว์

ระบบหมุนเวียนเลือด แบ่งเป็น 2 ระบบ คือ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรเปิด (Open circulatory system)

เลือดไหลออกจากหัวใจไปตามหลอดเลือด ผ่านช่องว่างลำตัว และที่ว่างระหว่างอวัยวะต่าง เลือด และน้ำเหลืองจึงปนกันได้ เรียกว่า ฮิโมลิมพ์ (Haemolymph) พบในพวกอาร์โทรพอด มอลลัสก์ (ยกเว้นปลาหมึก) โพรโทคอร์เคต (เพรียงหัวหอม และแอมฟิออกซัส) และอาร์โทรพอด (แมลง แมง กุ้ง กั้ง ปู ตะขาบ และกิ้งกือ)

2. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบวงจรปิด (Closed circulatory system)

เลือดจะไหลเวียนอยู่ในท่อของหลอดเลือดตลอดเวลา พบในแอนิลิต (ไส้เดือน, ทากดูดเลือด) ปลาหมึก สัตว์มีกระดูกสันหลัง

ระบบหมุนเวียนโลหิตในสัตว์

1 ไส้เดือนดิน

หัวใจเทียม (Pseudoheart) ข้างละ 5 ห่วง บริเวณส่วนหัวเชื่อมระหว่างหลอดเลือดใหญ่ ด้านหลังและด้านท้องใหญ่เม็ดเลือดไม่มีสี (Amoebocyte) ไม่ลำเลียงแก๊ส

เลือด (blood)น้ำเลือดมีสีแดงของรงควัตถุใช้ลำเลียงแก๊ส

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

2 ปลา (ปลาปากกลม ปลากระดูกอ่อน และปลากระดูกแข็ง)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นวงจรเดี่ยว (single circulation) โดยเลือดไหลเวียนทั่งร่างกายครบรอบจะผ่านหัวใจครั้งเดียว หัวใจมี 2 ห้อง

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

3 สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibians)

-หัวใจ มี 3 ห้อง

-เลือดไหลเวียนทั่วร่างกายครบรอบจะผ่านหัวใจ 2 ครั้ง (double circulation)

4 สัตว์เลื้อยคลาย (Reptiles)

-หัวใจ มี 4 ห้อง

-Double circulation

5 นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Bird and Mammals)

-หัวใจมี 4 ห้องสมบูรณ์

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาลัย

1. สัตว์ใน class ใดที่มีหัวใจแบบ 4 ห้องไม่สมบูรณ์ และชนิดที่มีแบบ 4 ห้องสมบูรณ์ (Ent’ เมษา 41)

1. Amphibian 2. Reptilia

3. Amphibian และ Reptilia 4. Reptilia และ Aves

2.ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระบบลำเลียงสารของสัตว์ชนิดต่างๆ (Ent’ ตุลา 45)

ก. ปลามีหัวใจ 2 ห้อง เลือดในแอเตรียมมีออกซิเจนต่ำ เลือดในเวนตริเคิลมีออกซิเจนสูง

ข. กบมีหัวใจ 3 ห้อง ในหัวใจห้องล่างมีเลือดที่มีออกซิเจนสูงและเลือดที่มีออกซิเจนต่ำซึ่งมีโอกาสปนกัน

ค. คนมีหัวใจ 4 ห้อง มีเส้นเลือดใหญ่เส้นเดียวนำเลือดที่มีออกซิเจนสูงออกจากหัวใจห้องล่าง

1. ก ข 2. ข ค 3. ก ค 4. ก ข ค


ระบบหมุนเวียนเลือดในคน (human blood circulation)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

หัวใจ (heart)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

- ขนาด : กว้าง ยาว หนา = 9 12 5 cm หนัก 300 g.

- Pericardium หุ้มรอบหัวใจ

- ผนังหัวใจมี 3 ชั้น

- ห้องหัวใจ 4 ห้อง

1 ห้องบนขวา (Right atrium = RA) รับเลือดใช้แล้ว (CO2) จาก

1.1 Superior vena cava ลำเลียงเลือดจากศีรษะและแขน

1.2 Inferior vena cava ลำเลียงเลือดจากอวัยวะภายในและขา

2 ห้องล่างขวา (Right ventricle = RV) รับเลือดจาก RA

- สูบฉีกเลือดไปฟอกที่ปอด โดยส่งไปกับหลอดเลือด Pulmonary artery (มี CO2สูงสุด)

3 ห้องบนซ้าย (Left atrium = LA) รับเลือดฟอกแล้วจากปอด เลือดลำเลียงมากับ Pulmonary vein(O2สูงสุด)

4 ห้องล่างซ้าย (Left ventricle = LV) รับเลือดจาก LA

- สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกายโดยส่งไปกับ Aorta (Artery ใหญ่สุด)

- มีผนังกล้ามเนื้อหนาสุด

ลิ้นหัวใจ

1 Tricuspid valve

- มี 3 แผ่นอยู่ระหว่าง RA และ RV

2 Bicuspid valve (Mitral valve)

- มี 2 แผ่นอยู่ระหว่าง LA และ LV

3 Pulmonary valve

- มี 3 แผ่นอยู่ฐาน Pulmonary artery

4 Aortic valve

- มี 3 แผ่นอยู่ที่ฐาน Aorta

หลอดเลือด (Blood vessel)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

สิ่งเปรียบเทียบ

หลอดเลือดอาร์เทอรี

หลอดเลือดเวน

หลอดเลือดฝอย

1. ทิศทางการไหลของเลือดในหลอดเลือด

ไหลออกจากหัวใจ

ไหลเข้าสู่หัวใจ

รับเลือดจากอาร์เทอรีแล้วส่งให้กับเวน

2. ลักษณะของเลือดในหลอดเลือด

มี O2สูง ยกเว้นในหลอดเลือด Pulmonary artery

มี CO2สูง ยกเว้นในหลอดเลือด Pulmonary artery

มีทั้ง O2สูง และ CO2สูง

3. ลิ้นในหลอดเลือด

ไม่มี ยกเว้นที่ฐานของหลอดเลือด Pulmonary artery และ Aorta

มี ยกเว้นในหลอดเลือด Pulmonary Vein

ไม่มี

4. ความหนาของผนังเซลล์หลอดเลือด

หนาที่สุด

บางกว่า

บางที่สุด โดนมีเฉพาะเซลล์เยื่อบุ ไม่มีกล้ามเนื้อ

5. ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของท่อหลอดเลือด

แคบกว่าเวน

กว้างกว่าอาร์เทอรี

แคบที่สุด โดยเม็ดเลือดแดงจะไหลเรียงตัวกันไปทีละเม็ด

6. ปริมาณเลือดในหลอดเลือด

10-12%

60-70%

4-5%

7. การมองเห็นจากภายนอก

ไม่เห็น

เห็น

ไม่เห็น

8. ความเร็วของกระแสเลือดในหลอกเลือด

เร็วที่สุด

ปานกลาง

ช้าที่สุด

9. การไหลของเลือดในหลอดเลือด

อาศัยการบีบตัวของหัวใจ

อาศัยการบีบตัวของกล้ามเนื้อลายที่อยู่รอบ

อาศัยการบีบตัวของหัวใจ

10. แรงดันเลือด

สูงสุด

ต่ำสุด

ปานกลาง

เลือด (Blood)

- ปริมาณในร่างกาย 7-9 % ของน้ำหนักตัวหือประมาณ 5 ลิตร

องค์ประกอบ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

เม็ดเลือดแดง (Erythrocyte = Red blood cell = RBC)

แหล่งสร้าง : ไขกระดูก

แหล่งทำลาย : ม้าม (spleen) ตับ (liver)

อายุ 90 - 120

เม็ดเลือดขาว (Leucocyte = White blood cell = WBC)

ปริมาณ : ไขกระดูก

แหล่งสร้าง : ไขกระดูก แหล่งทำลาย : ม้าม

อายุ 3 – 12 วัน

ประเภทของเม็ดเลือดขาว

จำแนกตามหน้าที่

  1. เซลล์ฟาโกไซต์ phagocytic cell ทำลายเชื้อโรคโดย Phagocytosis

NeutrophilEosinophilBasophilMonocyte

2. Lymphocyteมี 2 ชนิด B – lymphocyte (B - cell) สร้าง Antibody

T – lymphocyte (T - cell)

- พัฒนาที่ Thymus glandถูกทำลายโดย AIDS Virus

เกล็ดเลือด (Platelet = Thombocyte)

มีขนาด 2 – 4 µmรูปร่างลักษณะกลมรี และแบนมีอายุ 8 – 14 วันปริมาณ 250,000 – 500,000 ชิ้น/mm3หลั่ง ธรอมโบพลาสติน (Thromboplastin) ในการแข็งตัวของเลือด เมื่อเกิดบาดแผล


การควบคุมอุณหภูมิร่างกายในสัตว์

สัตว์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท โดยยึดอุณหภูมิเของร่างกายเป็นหลัก คือ

(1) สัตว์เลือดอุ่น (Homeothermic animals)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

สัตว์เลือดอุ่น เป็นสัตว์ที่อุณหภูมิของร่างกายคงที่เป็นอิสระจากอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม สัตว์เลือดอุ่นมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

สัตว์เลือดอุ่นสามารถควบคุมและรักษาอุณหภูมิร่างกายให้คงที่ตลอดเวลา หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ไม่ว่าอุณหภูมิภายนอกจะหนาวเย็นหรือร้อนเพียงใดก็ตาม

(2) สัตว์เลือดเย็น (Poikilothermic animals)

สัตว์เลือดเย็น เป็นสัตว์ที่มีอุณหภูมิในร่างกายเปลี่ยน – แปลงไปตามอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ ดังนั้นอุณหภูมิของร่างกายจึงอยู่ใกล้เคียงกับอุณหภูมิบรรยากาศแวดล้อมที่สัตว์อาศัยอยู่

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1 การปรับโครงสร้างร่างกาย

การปรับโครงสร้าง มีการปรับโครงสร้างร่างกายแตกต่างกันระหว่างสัตว์เมืองหนาวและสัตว์เมืองร้อน

สิ่งเปรียบเทียบ

สัตว์เมืองหนาว

สัตว์เมืองร้อน

1. ขนาดร่างกาย

ใหญ่ ทำให้อัตราส่วนขนาดร่างกายต่อพื้นที่ผิวลด เก็บความร้อนได้มากสูญเสียความร้อนน้อย

เล็กกว่า ทำให้อัตราส่วนขนาดร่างกายต่อพื้นที่ผิวเพิ่ม ช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี

2. ขน

ยาว หนา ปุกปุย เป็นฉนวนกั้นความร้อน

สั้น บาง ช่วยให้ระบายความร้อนได้ดี

3. ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง

หนา เช่น ในวาฬ และแมวน้ำ ช่วยผลิตความร้อน และเป็นฉนวนกั้นการสูญเสียความร้อน

บางกว่า

4. ใบหู และหาง

สั้น ช่วยลดพื้นที่ผิว ในการระบายความร้อน

ยาวกว่า ช่วยระบายความร้อนได้มาก

5. ผิวที่ร่างกาย

ตึง ทำให้พื้นที่ผิวรอบกายลด

ย่น ช่วยให้พื้นที่ผิวรอบกายมากขึ้นระบายความร้อนได้มาก

2 การปรับพฤติกรรม

2.1 อากาศหนาว สัตว์จะปรับพฤติกรรมโดย

2.1.1 นอนผึ่งแดดในตอนเช้า ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เช่น สัตว์เลื้อยคลาน

2.1.2 อพยพย้ายถิ่น (migration) เช่น นกนางแอ่นบ้าน

2.1.3 นอนหลับในถ้ำนานขึ้น เช่น หมีขั้วโลก

2.1.4 หนีหนาวไปจำศีล (Hibernation) เช่น สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก

2.2 อาการร้อน สัตว์จะปรับพฤติกรรมโดย

2.2.1 หลบลงรู เพราะรูในระดับลึกลงไปจะเย็นมากขึ้น

2.2.2 นอนแช่ปลักในหนองน้ำเล็กๆ เช่น ควาย

2.2.3 หนีร้อนไปจำศีล (Estivation)

2.2.4 เลียขนและอุ้งเท้า พบในสุนัข แมว และหนู เป็รการระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพต่ำที่สุด

3. การปรับสรีระ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

การปรับสรีระ เป็นการปรับหน้าที่ กลไกลการทำงายของระบบร่างกาย โดยมีศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย คือ สมองส่วนไฮโพทาลามัส

ตัวอย่างข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย

1. หมีที่อยู่ในเขตหนาว เมื่อถึงฤดูหนาวจะขุดโพรงอยู่จนกว่าฤดูหนาวจะหมดไป เราถือว่าเป็นการจำศีลหรือไม่ (Ent’ 38)

1. เป็นการจำศีล เพราะไม่เคลื่อนไหวตลอดฤดูหนาว

2. เป็นการจำศีล เพราะไม่กินอาหารเลยตลอดฤดูหนาว

3. ไม่เป็น เพราะเมทาบอลิซึมและอัตราการหายใจยังคงเดิม

4. ไม่เป็น เพราะมีการกินอาหารตุนไว้ก่อนถึงฤดูหนาว

2. สิ่งมีชีวิตที่มีอุณหภูมิร่างกายตามกราฟ A B และ C คือข้อใด (Ent’ มีนา 45)

A

B

C

1.

2.

3.

4.

นกเงือก

อูฐ

นกยาง

แมวน้ำ

ฉลาม

ลิงแสม

คน

ม้าลาย

พะยูน

งูจงอาง

ปลาโลมา

หมีแพนด้า

3. สัตว์ในข้อใดมีอัตราเมแทบอลิซึมสูงขึ้นกว่าปกติ (Ent’ มีนา 47)

ก. กบขณะจำศีล ข. หูนทดลองขณะถูกใส่ไว้ในตู้เย็น ค. หนูทดลองขณะถูกใส่ไว้ในตู้ 50 องศาเซลเซียส

1. ก 2. ข 3. ก และ ข 4. ก และ ค

4. ข้อใดเป็นวิธีการระบายความร้อนออกจากร่างกาย (Ent’ มีนา 43)

1. การหดตัวของกล้ามเนื้อบริเวณโคนขน 2. การขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณผิวหนัง

3. การเพิ่มอัตราเมแทบอลิซึมของร่างกาย 4. การลดอัตราการหายใจ


ระบบย่อยอาหาร (Digestive System) เรื่องสารอาหารที่จำเป็น (Essential Nutrient)

ทำไมสิ่งมีชีวิตต้องกินอาหาร?

1.เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน

2.เพื่อให้ได้อินทรีย์สารสำหรับนำมาใช้สังเคราะห์ส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย

3.เพื่อให้ได้สารอาหารที่จำเป็นต่างๆ ที่ร่างกายสังเคราะห์เองไม่ได้

สารอาหารที่จำเป็น: สารอาหารที่ร่างกายสัตว์สร้างเองไม่ได้ ต้องได้รับจากอาหารมี 4 ชนิด คือ

1. Essential amino acid ร่างกายคนเราต้องการกรดอะมิโนเพื่อใช้ในการสร้างโปรตีนจำนวน 20 ชนิด แต่มีกรดอะมิโนจำเป็น(essential amino acid) จำนวน 8 ชนิดที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ คือ Tryptophan, Methionine, Valine, Threonine, Phenylalanine, Leucine, Isoleucine, Lysine (ในทารกมีตัวที่ 9 คือ Histidine)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

2.Essential fatty acid ที่จำเป็นในสัตว์คือ กรดไขมันไม่อิ่มตัว(unsaturated fatty acid) ที่พบในคนเช่น linoleic acid

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

3.วิตามิน ร่างกายต้องการในแต่ละวันปริมาณน้อย ที่จำเป็นมีทั้งหมด 13 ตัวแบ่งเป็น

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

3.1 water-soluble vitamins ได้แก่ B complex, C

3.2 fat-soluble vitamins ได้แก่ A, D, E, K

4.เกลือแร่ (minerals)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม


การจำแนกสิ่งมีชีวิตตามรูปแบบการกินอาหาร

แบ่งสิ่งมีชีวิตตามการจัดหาสารอาหาร เป็น 2 พวก คือ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. Autotroph (auto = self, trophe = nutrition) พวกที่สร้างอาหารได้เองจากสารอนินทรีย์ ได้แก่ พืชสีเขียวต่าง ๆ เเบคทีเรีย สาหร่าย โปรโตซัวบางเช่น (ยูกลีน่า)

2. Heterotroph (hetero = other) พวกที่สร้างอาหารเองไม่ได้ ได้แก่ สัตว์ต่าง ๆ

แบ่ง Heterotroph ตามลักษณะของอาหารที่กิน เป็น 3 ชนิด คือ

1. Herbivore พวกที่กินพืชเป็นอาหารเช่น วัว, ม้า, กระต่าย

2. Carnivore พวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร เช่น เสือ, แมว

3. Omnivore พวกที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารเช่น แมลงสาบ, อีกา และคน


กระบวนการกินอาหาร (food processing) ประกอบด้วย

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. Ingestion (การกิน)การนำอาหารเข้าสู่ร่างกาย

2. Digestion (การย่อย)การทำให้อาหารที่กินเข้าไปมีขนาดเล็กลง

2.1 Mechanical digestion

-การเคี้ยว

2.2 Chemical digestion

-การย่อยโดยเอนไซม์

3. Absorption (การดูดซึม)

4. Elimination (การขับออก)

การย่อยอาหารระดับเเบ่งเป็น 2 ระดับ

1. การย่อยอาหารภายนอกเซลล์ (Extracellular digestion)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

เช่น แบคทีเรียและรา โดยเซลล์จะปล่อยน้ำย่อย ออกไปนอกเซลล์เพื่อย่อยอาหารให้มีอนุภาคเล็กลง

2.การย่อยอาหารภายในเซลล์ (Intracellular digestion)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

อนุภาคของอาหารเข้าสู่เซลล์โดยกระบวนการ endocytosis และอาหารถูกย่อยภายใน vacuolesสิ่งมีชีวิตในกลุ่ม Protista • Paramecium • Amoeba • Euglena


ประเภทของทางเดินอาหารสัตว์

1. No digestive tract ได้แก่สัตว์ในไฟลัมพอริฟอร่า เช่น ฟองน้ำ

1. Incomplete digestive tract คือทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

ทางเดินอาหารที่มีปากและทวารออกอยู่ช่องเดียวกัน เช่น สัตว์ในไฟลัม ไนดาเรีย ได้แก่ ไฮดรา แมงกระพรุน Phylum Platyhelminthes (หนอนตัวแบน) พลานาเรีย พยาธิใบไม้

2. Complete digestive tract คือทางเดินอาหารสมบูรณ์ เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิด 2 ทาง คือปากและทวาร Phylum Nematoda (หนอนตัวกลม) พยาธิปากขอ Phylum Annelida (หนอนปล้อง) ไส้เดือนดิน ปลิง Phylum Mollusca หอยกาบเดี่ยว หอยงาช้าง หมึก Phylum Arthropoda กุ้ง ปู แมลง Phylum Echinodermata ดาวทะเล Phylum Chordata ปลา ฉลาม ปลากระเบน

สัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร

PhylumPorifera เช่น ฟองน้ำหินปูน ฟองน้ำแก้ว บางชนิดเป็นเส้นใยโปรตีน เรียกว่า spongin

ฟองน้ำ Sponge(PhylumPorifera)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ฟองน้ำ เป็นfilter feederคือ กินอาหารโดย การกรอง คัดแยกแบคทีเรียและสารอินทรีย์ที่ลอยในน้ำได้

•ฟองน้ำ ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ

  1. Collar cell หรือ Choanocyte เป็นเซลล์ขนาดเล็กคล้ายปลอกคอ มีเฟลกเจลลัม 1 เส้น ยื่นออกมาจากคอลลาร์เซลล์
  1. Amoebocyte (อะมีโบไซต์ ) เป็นเซลล์ขนาดใหญ่กว่า collar cell พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำ

Phylum Plathyhelmintisเช่น พยาธิตัวตืด

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

สัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์

PhylumCnidariaเช่น ไฮดรา

PhylumPlathyhelmintisเช่น พยาธิใบไม้ตับ

Hydra (Phylum Cnidaria)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

เป็นสัตว์ในPhylumCnidariaหรือPhylumCoelenterata

ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่าหนวดจับ (Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดรา

คือ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆ และใช้เซลล์ที่มีเข็มพิษ เรียกว่าNematocystอยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่าGastrovascularcavity

•เซลล์ Gastrodermis เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. Nutritive cell บางเซลล์มีแซ่ 2 เส้น เรียกว่า Flagellate cell บางเซลล์คล้ายอะมีบา เรียกว่า Amoebiol cell ทำหน้าที่ยื่นเท้าเทียมออกมาล้อมจับอาหาร ส่วนแฟลเจลเลตเซลล์ มีหน้าที่โบกพัดให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ และโบกพัดให้กากอาหารเคลื่อนที่ออกทางปากต่อไป

2. Gland cell or digestive cell เป็นเซลล์ที่สร้างน้ำย่อยและปล่อยออกมา ซึ่งการย่อยอาหารโดยเซลล์ต่อม จัดเป็นการย่อยอาหารแบบนอกเซลล์ ส่วนการย่อยโดย Amoebiol cell จัดเป็นการย่อยอาหารแบบภายในเซลล์


สัตว์ที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์

ทางเดินอาหารของหนอนมีปล้อง Phylum Annelida

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.Mouth ปาก

2.Pharynx ทำหน้าที่ดันอาหาร

3.Esophagus หลอดอาหาร

4.Crop กระเพาะพักอาหาร

5.gizzard ทำหน้าที่บดอาหาร

6.Intestine ลำไส้

7. Anus ทวารหนัก

มีทางเปิดของปาก(mouth)และทวารหนัก(anus) แยกกันเรียก complete digestive tract หรือ alimentary canal

-crop และกระเพาะอาหารทำหน้าที่เก็บอาหาร (บางครั้งอาจมีการย่อย) -gizzard ทำหน้าที่บดอาหาร

(Extracellular digestion in complex animals พบในสัตว์ส่วนใหญ่ ตั้งแต่หนอนตัวกลมจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลัง)

การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารของสัตว์เคี้ยวเอื้อง

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.อาหารเข้าสู่กระเพาะRumenมีจุลินทรีย์ช่วยในการหมัก

2.จากกระเพาะRumenส่งไปที่กระเพาะReticulumส่งอาหารกลับไปเคี้ยวในปาก

3.กระเพาะReticulumส่งอาหารกลับไปเคี้ยวในปาก

4.จากปากส่งไปที่กระเพาะOmasumทำหน้าที่ดูดซับน้ำ

5.จากกระเพาะOmasumเข้าสู่กระเพาะAbomasumเป็นกระเพาะที่แท้จริง


ทางเดินอาหารของคน

อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะผ่านเข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของทางเดินอาหาร ซึ่งประกอบด้วย

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

•Digestive Tract (ส่วนที่เป็นทางเดินอาหาร)

•Associated glandular organs(ส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร)

Digestive Tract (ส่วนที่เป็นทางเดินอาหาร)

•ปาก(Mouth) •คอหอย(Pharynx) •หลอดอาหาร (Esophagus) •กระเพาะอาหาร (Stomach) •ลำไส้เล็ก (Small intestine) •ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) •ทวารหนัก (Anus)

Associated glandular organs (ส่วนที่จำเป็นต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร)

•ต่อมน้ำลาย (Salivary gland) • ตับ (Liver) • ถุงน้ำดี (Gall bladder) และตับอ่อน (Pancreas) •ส่วนต่างๆ ของทางเดินอาหารจะมีกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter)

กล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนบน (Upper esophageal sphincter) อยู่บนบริเวณหลอดอาหารตอนบน

2. กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง (Lower esophageal sphincter หรือ Cardiac sphincter) อยู่บนบริเวณหลอดอาหารตอนล่างติดกับกระเพาะอาหารส่วนบน

3.กล้ามเนื้อหูรูดไพลอรัส (Pyloric sphincter) อยู่บริเวณตอนปลายของกระเพาะอาหารกับลำไส้เล็กส่วนต้น

4.กล้ามเนื้อหูรูดลีโอซีคัล (Ileocecal sphincter) อยู่บริเวณตอนปลายของลำไส้เล็กกับส่วนของ Cecum

5.กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักด้านในและด้านนอก (Internal และ External anal sphincter) อยู่บริเวณทวารหนัก


การย่อยอาหารในปาก

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ส่วนประกอบของปาก

  1. ริมฝีปาก (Lip)
  1. ช่องแก้ม (Buccal cavity) คือส่วนที่ถัดจากริมฝีปาก อยู่ระหว่างฟันกับแก้มมีต่อมที่บริเวณเยื่อบุข้างแก้ม เป็นจำนวนมาก และประกอบด้วยต่อม น้ำลาย (Salivary gland)

3)โพรงปาก (Oral cavity) อยู่ภายในอุ้งฟันหมดเขตบริเวณลิ้นไก่ (Uvula) ส่วนบนตอนหน้าของโพรงปากเป็นเพดานแข็ง (Hard palate) และทางส่วนท้ายเป็นเพดานอ่อน (Soft palate) บนเพดานแข็งจะมีสันตามขวางหลายอันทำให้อาหารที่เข้าปากหลุดออก

มายาก ส่วนเพดานอ่อนห้อยโค้งลงมาใกล้กับโคนลิ้นส่วนขอบปลายสุดของเพดานอ่อนยังมีต่อมน้ำเหลืองอีกคู่ซึ่งอยู่ในแอ่งเล็ก ๆ มีหน้าที่สำหรับเป็นกับดักแบคทีเรียในปากไม่ให้เข้าไปในทางเดินอาหารส่วนอื่น ๆต่อมน้ำเหลืองนี้คือ ต่อมทอนซิล(Palatine tonsil)

  1. ลิ้น (Tongue) ลิ้นของคน ส่วนมากใช้เป็นอวัยวะในการรับรสประกอบด้วยกล้ามเนื้อเป็นส่วนใหญ่เคลื่อนไหวได้หลายอย่างและใช้งานได้ดีเช่น เป็นส่วนสำคัญในการการพูดของคนช่วยในการคลุกเคล้าน้ำลายกับอาหารให้ทั่วและช่วยในการกลืน เป็นต้น

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ลิ้น (Tongue) เป็นกล้ามเนื้อซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วในหลายทิศทาง ทำหน้าที่ช่วยในการกลืน ลิ้นทำหน้าที่ในการรับรสอาหาร เพราะที่ลิ้นมีปุ่มรับรส เรียกว่า Taste Bud อยู่ 4 ตำแหน่ง คือรสหวานปลายลิ้นรสเค็มปลายลิ้นและข้างลิ้นรสเปรี้ยวข้างลิ้น

รสขมโคนลิ้น

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

เป็นต่อมมีท่อ ทำหน้าที่ผลิตน้ำลาย (Saliva)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ต่อมน้ำลายของคน มีอยู่ 3 คู่คือ

1. ต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual Gland) 1 คู่ อยู่บริเวณใต้ลิ้น เป็นต่อมน้ำลายที่เล็กที่สุดน้ำลายมีลักษณะเหนียวมากกว่าใสมีเมือกมาก แต่มี เอนไซม์อะไมเลสน้อยต่อมนี้สร้างน้ำลายประมาณ5%

2. ต่อมน้ำลายใต้ขากรรไกรล่าง (Submandibulary Gland) 1 คู่เดิมเรียกว่า Submaxillaryglands อยู่ใต้ขากรรไกรล่างส่งน้ำลายออกมาตามท่อ Wharton’s duct สร้างน้ำลายชนิดใสมากกว่าชนิดเหนียวสร้างน้ำลายประมาณ70%

3. ต่อมน้ำลายข้างกกหู (Parotid Gland) 1 คู่ อยู่ด้านหน้าของกกหู มีขนาดใหญ่ที่สุด ปล่อยน้ำลายออกมตามท่อ Stensen’sduct น้ำลายมีองค์ประกอบเป็นน้ำ เกลือ และเอนไซม์อะไมเลสย่อยแป้ง แต่ไม่สร้างมิวซิน (Mucin) ซึ่งเป็นเมือกน้ำลายจึงมีลักษณะใส และมีน้ำมากต่อมน้ำลายใต้กกหูถ้าเกิดการติดเชื้อไวรัสจะทำให้อาการคางทูม (Mumps) ต่อมนี้สร้างน้ำลายประมาณ 25% ทำหน้าที่สร้างน้ำลายที่มีน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) เป็นน้ำย่อยสารอาหารจำพวกแป้ง


กระเพาะอาหาร (Stomach)

กระเพาะอาหารอยู่ภายในช่องท้องด้านซ้าย ใต้กระบังลมมีผนังกล้ามเนื้อหนา แข็งแรงยืดหยุ่นได้ดีขยายความจุได้ถึง500-2,000cm3มีกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่งคือ ติดกับหลอดอาหารและบริเวณต่อกับลำไส้เล็ก

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

ผนังของกระเพาะอาหาร มีลักษณะเป็นคลื่น เรียกว่าRugaeมีต่อมสร้างน้ำย่อย35ล้านต่อมทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยเรียกว่าGasticjuiceมีกล้ามเนื้อหูรูดอยู่2แห่ง คือCardiac sphincter(กล้ามเนื้อหูรูด ที่ต่อกับหลอดอาหาร)Pyloric sphincter(กล้ามเนื้อหูรูดที่ต่อกับลำไส้เล็ก)น้ำย่อยรวมตัวกับอาหารจนเหลวเรียกว่าChymeจะถูกส่งเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

gastric gland (ต่อมในกระเพาะอาหาร) ประกอบด้วยเซลล์ 3 ชนิด

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.Mucous cell หลั่งเมือกป้องกันไม่ให้เซลล์กระเพาะถูกย่อย

2.Parietal cell หลั่งกรดเกลือ (Hydrogen chloride:HCl)

3.Chief cell หลั่ง pepsinogen กรดเกลือเปลี่ยน pepsinogen เป็น pepsin

acid chyme ส่วนผสมของอาหารที่ กลืนลงไปกับน้ำย่อย

การย่อยอาหารในกระเพาะ

กระเพาะจะมีน้ำย่อยซึ่งขับออกมาจากต่อมน้ำย่อยของเยื่อบุกระเพาะประมาณ วันละ 3 ลิตรซึ่งจะหลั่งตามเวลาที่รับประทานอาหาร น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารจะมีส่วนประกอบสำคัญ ดังนี้

1.มิวซิน(mucin)เป็นสารเมือกมีฤทธิเป็นด่าง ทำหน้าที่เคลือบกระเพาะ ลดความเป็นกรดและหล่อลื่นอาหารให้ไหลไปตามท่ออาหารได้สะดวก

2.เพปซิโนเจน (pepsinogen)เป็นน้ำย่อยไม่มีฤทธิ์ ย่อยโปรตีนในภาวะที่เป็นกรด

3.แกสทริกไลเปส(gastric lipase)ย่อยอาหารประเภทไขมัน

4.เรนนิน(rennin)ย่อยโปรตีนในน้ำนม เป็นน้ำย่อยที่พบในทารกแรกเกิด ไม่มีในผู้ใหญ่

5. อินทริสิกแฟคเตอร์ (intrinsic factor) เป็นสารที่จำเป็นในการดูดซึมวิตามินบี 12 จำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าเยื่อเมือกของกระเพาะอาหารไม่สร้างสารนี้ จะทำให้เกิดโรคโลหิตจางชนิด เพอร์นิเชียส (pernicious anemia)

6. กรดเกลือ (hydrochloric acid) สร้างในต่อมน้ำย่อยในกระเพาะ มีความเข้มข้น 0.2-0.5% มีพีเอชประมาณ 1.0 กรดเกลือจะเพิ่มมากขึ้นจนถึงอายุประมาณ 30-40 ปี และจะสร้างลดลง ในเพศชายจะสร้างได้มากกว่าเพศหญิงเล็กน้อย ยกเว้นวัยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปหญิงจะมากกว่าชาย

หน้าที่ของกรดเกลือในกระเพาะอาหาร

1. ทำให้กระเพาะมีสภาพเป็นกรดเหมาะแก่การทำงานของน้ำย่อยโดยเฉพาะเพปซิน

2. ทำให้อาหารอ่อนตัว ทำให้โปรตีนจากอาหารผิดลักษณะไปเหมาะที่เพปซินจะออกฤทธิ์ย่อยได้

3. ช่วยในการดูดซึมเหล็กโดยเปลี่ยนสภาพเหล็กที่อยู่ในอาหารจากเฟอริคให้เป็นเฟอรัส

4. ฆ่าแบคทีเรียที่ปนมากับอาหาร ทำให้อาหารไม่บูดเน่า หรือไม่ติดเชื้อ

5. เปลี่ยนเพปซิโนเจน ให้เป็นเพปซิน

6. ช่วยละลายพวกเกลือที่ละลายยากบางอย่าง เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก


ลำไส้เล็ก

อาหารที่ย่อยแล้วและไม่ได้ย่อยจะเคลื่อนผ่านกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารเข้าสู่ำไส้เล็กลำไส้เล็กมีลักษณะเป็นท่อ 6-7mแบ่งเป็น 3 ส่วน

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.Duodenum ยาวประมาณ 25cm.

2.Jejunum ยาวประมาณ 2.50m.

3.Ileum ยาวประมาณ 4m.

การย่อยอาหารในลำไส้เล็กเกี่ยวข้องกับการทำงานของตับอ่อนและผนังลำไส้เล็ก

การย่อยอาหารในลำไส้เล็ก

1. การย่อยอาหารโดยน้ำย่อยจากตับอ่อนตับอ่อนเป็นอวัยวะรูปคล้ายใบไม้ อยู่ระหว่างกระเพาะอาหารด้านหลังกับสำไส้เล็กตอนต้น สิ่งขับออกมาจากตับอ่อน ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

1.1 ส่วนที่เป็นด่าง ค่าพีเอช8.0 หลั่งวันละ200-500 ลบ.ซม.ไบคาร์บอเนตมาก มีหน้าที่ยับยั้งกรดของอาหารที่มาจากกระเพาะ

1.2 น้ำย่อย เป็นน้ำย่อยที่สำคัญสำหรับย่อยอาหาร 3 ชนิด คือคาร์โบไฮเดตรไขมัน โปรตีน สารและเอนไซม์จากตับอ่อน

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

- ทริปซิโนเจน (Trypsinogen) เป็นสารเคมีที่ไม่พร้อมจะทำงานต้องอาศัยเอนไซม์เอนเทอโรไคเนส (Enterokinase) จากลำไส้เล็ก

- ไคโมทริปซิโนเจน (Cyhmotrypsinogen)

-โพรคาร์บอกซิเพปทิเดส (Procarboxypeptiddase) ทำหน้าที่ย่อยโปรตีนตรงปลายสุดด้านหมู่คาร์บอกซิลเท่านั้น การย่อยอาหารโดยน้ำดีจากตับ (bile)

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

น้ำดีมีลักษณะเป็นสีเขียวๆเหลืองๆ มีฤทธิ์เป็นด่าง พีเอช5-7หรือสูงกว่านี้ ถูกขับออกวันละ 500-800 มิลลิลิตรอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับจำนวนอาหาร น้ำดีประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ

คือ

- เกลือน้ำดี (bile pigments)

- กรดน้ำดี (bileacids)

-รงควัตถุในน้ำดี (bile pigments)คอเลสเทอรอลฟอสโฟลิปิดอัลบูมินกรดไขมัน และเกลืออนินทรีย์

น้ำดีมีความสำคัญต่อการย่อยและดูดซึมอาหารประเภทลิปิด คือ

1. กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ เพอริสทับซิส(peristasis)ในระบบทางเดินอาหาร

2. ช่วยลดความเป็นกรดของอาหารที่ผ่านมาจากกระเพาะ ทำให้เป็นสภาพเหมาะสมกับการ

ทำงานของน้ำย่อยจากลำไส้เล็ก

3. ทำหน้าที่เป็น อิมัลซิไฟอิงเอเจนต์ (emulsifying agent) ทำให้เม็ดไขมันแตกเป็นอนุภาค

ที่เล็ก เพื่อน้ำย่อยไลเปสในลำไส้เล็กเข้าไปย่อยได้ ถ้าไม่มีน้ำดี การย่อยลิปิดจะไม่สมบูรณ์มีผล

ทำให้การย่อยประเภทอื่นๆไม่สมบูรณ์ไปด้วย

4. ช่วยลดแรงตึงผิวของไขมัน ทำให้น้ำย่อยสามารถแทรกเข้าไปสัมผัสและย่อยไขมันได้ทั่วถึง

5. ช่วยให้ไขมันที่ย่อยแล้วละลาย เพื่อจะได้ดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กเข้าไปในท่อน้ำเหลืองได้


การย่อยโปรตีน ไขมัน เเละ คาร์ดบไฮเดรต ที่เกิดภายในลำใส้เล็ก

การย่อยโปรตีนในลำไส้เล็กของคน

ในลำไส้เล็กมี peptidase enzyme 2 ชนิด

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1. Endopeptidase ย่อย polypeptide ในสาย protein เช่น trypsin, chymotrypsin

2. Exopeptidase ย่อย polypeptide จากปลายด้านนอก ของ สายprotein เช่น arboxypeptidase,amino peptidase (สร้างจากเซลล์ลำไส้)เล็ก)

- Dipeptidase ย่อย dipeptide

- Peptide จะถูกย่อยต่อโดย dipeptidaseได้เป็น amino acid

การย่อยไขมันในลำไส้เล็กของคน

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

• ตับทำหน้าที่สร้าง bile (น้ำดี) เก็บไว้ที่ gall bladder (ถุงน้ำดี)

• น้ำดีมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ bile salt (เกลือน้ำดี) ช่วยให้ไขมันแตกตัวเป็นหยดไขมันเล็กๆ และแทรกรวมกับน้ำได้ในรูป emulsion (อิมัลชัน)

• ตับอ่อนและเซลล์ที่ผนังลำไส้เล็กจะสร้าง lipase enzymes ซึ่งจะย่อยไขมันที่อยู่ในรูป emulsion ให้เป็น fatty acid และ glycerol

• bile salt ถูกดูดซึมที่ลำไส้ใหญ่ เพื่อให้ตับนำกลับมาใช้ใหม่

การย่อยคาร์โบไฮเดรตในลำไส้เล็กของคน

ตับอ่อนสร้างamylase แล้วส่งมาที่ลำไส้เล็กเพื่อย่อยstarch, dextrin, glycogenให้เป็นmaltoseเซลล์ผนังด้านในลำไส้เล็กส่วนduodenumผนังลำไส้เล็กผลิต

- maltaseย่อยmaltoseให้เป็นglucose 2โมเลกุล

- sucrase ย่อย sucrose ให้เป็น glucose และ fructose

- lactase ย่อย lactose ให้เป็น glucose และ galactose

สรุปการย่อยอาหารบริเวณลำไส้เล็ก

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

น้ำย่อยที่ลำไส้เล็กผลิต ได้แก่

1ไลเปส- ย่อยไขมันให้เป็น โมในกลลีเซอไรด์กรดไขมันและกลีเซอรอล

2 เอนเทอโรไคเนส- ช่วยเปลี่ยนทริปซิโนเจนซึ่งเป็นน้ำย่อยจากตับอ่อนเป็นทริปซิน

3อะมิโนเพปทิเดส- ย่อยโพลีเพปไทด์เป็นกรดอมิโน

4 ไดเพปทิเดส– ย่อยไดเพปไทด์กรดอมิโน

5 นิวคลีเอส– ย่อยกรดนิวคลีอิก นิวคลีโอไทด์

6 นิวคลีโอทิเดส– ย่อยกรดนิวคลีโอไทด์นิวคลีโอไซด์ และกรดฟอสฟอริค

7 นิวคลีโอทิเดส– ย่อยนิวคลีโอไซด์พิวรีนและเพนโทส

8ซูเครส - ย่อย ซูโครส ฟรักโทส,กลูโคส

9มอลเทส- ย่อยมอลโทส กลูโคส 2 โมเลกุล

10แลคเทส- ย่อยแลคเทสกาแลคโทส,กลูโคส

11เลซิติเนส-ย่อยเลซิตินไดกลีเซอไรด์,โคลีนฟอสเฟต


สำไส้ใหญ่ ยาวประมาณ 1.50 m กว้างประมาณ 6 cm

แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ

กระเด อง ทำจากเหล ก หร อ อล ม เน ยม

1.Cecumเป็นลำไส้ใหญ่ส่วนต้น ยาวประมาณ 6.3-7.5cmมีAppendix(ไส้ติ่ง)เหนือท้องน้อย ทางด้านขวา

2.Colonประกอบด้วย

- ลำไส้ใหญ่ขวา (ascending colon)

- ลำไส้ใหญ่กลาง (transverse colon)

- ลำไส้ใหญ่ซ้าย (descending colon)

มีหน้าที่ดูดซึมน้ำและวิตามิน B12ที่แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่สร้างขึ้นและขับกากอาหารเข้าสู่Rectumออกสู่Anus